งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลุ่มงบประมาณ สำนักบริหารกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลุ่มงบประมาณ สำนักบริหารกลาง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลุ่มงบประมาณ สำนักบริหารกลาง
ส.ป.ก. ALRO. การบริหารงบประมาณ กลุ่มงบประมาณ สำนักบริหารกลาง

2 การบริหารงบประมาณ - งบประมาณที่ได้รับมา มีจำนวน 6 แผนงาน 2 ผลผลิต 12 โครงการ และ 21 กิจกรรม ดังนี้ หน้า 2

3 การบริหารงบประมาณ หน้า 3

4 การบริหารงบประมาณ หน้า 4

5 การบริหารงบประมาณ หน้า 5

6 การบริหารงบประมาณ **รายจ่ายตามงบประมาณแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ - รายจ่ายงบกลาง - หลักการจำแนกรายจ่ายตามงบประมาณ มี 5 ประเภท คือ 1. งบบุคลากร 2. งบดำเนินงาน 3. งบลงทุน 4. งบอุดหนุน 5. งบรายจ่ายอื่น (ตามหนังสือสำนักงบประมาณที่ นร 0704/ว33 ลว. 18 ม.ค.53 , ที่ นร 0704/ว68 ลว.29 เม.ย. 58 และที่นร0704/ว37 ลว. 6 ม.ค. 59) หน้า 6

7 การบริหารงบประมาณ 1. งบบุคลากร คือ รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ เงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงานราชการ เป็นต้น 2. งบดำเนินงาน คือ รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค 2.1 ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ค่าพาหนะเหมาจ่าย ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ หน้า 7

8 การบริหารงบประมาณ 2.2 ค่าใช้สอย รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ (ยกเว้นบริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ และรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่นๆ ได้แก่ * ค่าปักเสาพาดสายภายนอกสถานที่ราชการเพื่อให้ราชการได้ใช้บริการไฟฟ้า รวมถึงค่าติดตั้งหม้อแปลง เครื่องวัด และอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการไฟฟ้า * ค่าจ้างเหมาเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม รวมถึงการซ่อมแซม บำรุงรักษาหรือปรับปรุงระบบไฟฟ้า การเพิ่มกำลังไฟฟ้า การขยายเขตไฟฟ้า *การวางท่อประปาภายนอกสถานที่ราชการ หน้า 8

9 การบริหารงบประมาณ *ค่าติดตั้งมาตรวัดน้ำและอุปกรณ์ประปา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการประปา * ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน *ค่าธรรมเนียม *ค่าเบี้ยประกัน *ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน *ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ *ค่าเงินประกันสังคม 2.3 ค่าวัสดุ คือรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพไม่คงทนถาวร หรือตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน สิ้นเปลือง หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น ได้แก่ หน้า 9

10 การบริหารงบประมาณ * รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงวัสดุ * รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 20,000 บาท * รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่ใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ * รายจ่ายที่ต้องชำระพร้อมกับค่าวัสดุ เช่นค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกัน ค่าติดตั้ง เป็นต้น 2.4 ค่าสาธารณูปโภค คือ รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าบริการ ค่าภาษี เป็นต้น ได้แก่ หน้า 10

11 การบริหารงบประมาณ * ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าน้ำบาดาล ค่าบริการโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคม ค่าสื่อสารผ่านดาวเทียม ค่าใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เคเบิ้ลทีวี ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม 3. งบลงทุน คือรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ 3.1 ค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพคงทนถาวร หรือตามปกติมีอายุการใช้งานยืนนาน ไม่สิ้นเปลือง หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น รวมถึงรายจ่ายดังต่อไปนี้ *รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์ หน้า 11

12 การบริหารงบประมาณ *รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า 20,000 บาท *รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงสร้างของครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบิน เครื่องจักรกลยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงค่าซ่อมแซมบำรุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง * รายจ่ายเพื่อจ้างที่ปรึกษาในการจัดหาหรือปรับปรุงครุภัณฑ์ * รายจ่ายที่ต้องชำระพร้อมกับค่าครุภัณฑ์ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น 3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง คือ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ติดตรึงกับที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ดังต่อไปนี้ หน้า 12

13 การบริหารงบประมาณ * รายจ่ายเพื่อจัดหาที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
* รายจ่ายเพื่อปรับปรุงที่ดิน รวมถึงรายจ่ายเพื่อดัดแปลง ต่อเติมหรือปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง ซึ่งทำให้ที่ดิน สิ่งก่อสร้างมีมูลค่าเพิ่มขึ้น * รายจ่ายเพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าหรือระบบประปา รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการติดตั้งครั้งแรกในอาคาร ทั้งที่เป็นการดำเนินการพร้อมกันหรือภายหลังการก่อสร้างอาคาร รวมถึงการติดตั้งครั้งแรกในสถานที่ราชการ *รายจ่ายเพื่อจ้างออกแบบ จ้างควบคุมงานที่จ่ายให้แก่เอกชนหรือนิติบุคคล *รายจ่ายเพื่อจ้างที่ปรึกษาในการจัดหาหรือปรับปรุงที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง *รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง เช่น ค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชยกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นต้น หน้า 13

14 การบริหารงบประมาณ 4. งบอุดหนุน คือรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงหรือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยงานขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่ราชการส่วนกลางตามพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หน่วยงานในการกำกับของรัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาตำบล องค์การระหว่างประเทศ นิติบุคคล เอกชนหรือกิจการ อันเป็นสาธารณประโยชน์ ได้แก่ * เงินอุดหนุนทั่วไป คือเงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการ เช่น ค่าบำรุงสมาชิกองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เงินอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น * เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ คือเงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการและตามรายละเอียดที่สำนักงบประมาณกำหนด เช่นรายการค่าครุภัณฑ์ หรือค่าสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น หน้า 14

15 การบริหารงบประมาณ 5. งบรายจ่ายอื่น คือรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง หรือรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ใช้จ่าย ในงบรายจ่ายนี้ เช่น เงินราชการลับ เงินค่าปรับที่จ่ายคืนให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เงินค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษา วิจัย ประเมินผล หรือพัฒนาระบบต่างๆ ซึ่งมิใช่เพื่อการจัดหา หรือปรับปรุงครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว หน้า 15

16 การบริหารงบประมาณ - รายจ่ายงบกลาง ได้แก่
- รายจ่ายงบกลาง ได้แก่ * เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ * ค่าการศึกษาบุตร * ค่ารักษาพยาบาล * เงินบำเหน็จดำรงชีพ * บำเหน็จตกทอด เป็นต้น หน้า 16

17 การบริหารงบประมาณ การโอนเงินงบประมาณ
1. สวผ. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร ค่าบริหารสำนักงาน ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (กิจกรรมการบริหารจัดการ) - ค่าจ้างเหมาบริการ (กิจกรรมการจัดที่ดิน,กิจกรรมตรวจสอบที่ดิน เป็นต้น) 2. สจก. , สผส. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของกิจกรรมจัดที่ดิน และกิจกรรมส่งเสริมอาชีพและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแปลงรวม 3. สพท. , กปร. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร เช่น กิจกรรมการปลูกไม้-วนเกษตรฯ กิจกรรม Smart Farmer กิจกรรมทฤษฎีใหม่ กิจกรรมพืชสมุนไพร กิจกรรมปรับเปลี่ยนการผลิต เป็นต้น หน้า 17

18 การบริหารงบประมาณ 4. ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมศิลปาชีพ จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมศิลปหัตถกรรม 5. สพป. จัดสรรเงินงบประมาณในส่วนของกิจกรรมจัดการแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน การควบคุมงบประมาณ และการเบิกจ่าย 1. จัดทะเบียนควบคุมเงินงบประมาณ โดยแยกเป็นรายกิจกรรม 2. ควบคุมการเบิกจ่ายเงินให้ตรงตามกิจกรรม 3. ตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีฯ และตัวชี้วัดของ กพร ส.ป.ก. ดังนี้ - ภาพรวม - งบลงทุน - งบฝึกอบรม 4. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จะต้องดูผลงานจากโปรแกรม PARA ประกอบ ในการพิจารณาตัวชี้วัด หน้า 18

19 การโอนเงินงบประมาณในระบบ GFMIS
การบริหารงบประมาณ การโอนเงินงบประมาณในระบบ GFMIS กลุ่มงบประมาณ จะดำเนินการโอนเงินตามแผนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ เช่น 1. งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์สำนักงาน รายการค่าเครื่องปรับอากาศ ให้แก่ ส.ป.ก. แม่ฮ่องสอน แหล่งเงิน รหัสงบประมาณ รายการผูกพัน พื้นที่จังหวัด P หน่วยเบิกจ่าย หน้า 19

20 การบริหารงบประมาณ 2. งบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายการค่าก่อสร้างฝายบ้าน โพนเดื่อ ต.ทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้แก่ ส.ป.ก. ร้อยเอ็ด แหล่งเงิน รหัสงบประมาณ รายการผูกพัน 1208 พื้นที่จังหวัด P หน่วยเบิกจ่าย ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้ในการโอนเงินงบประมาณ แต่กรณีค่าที่ดินสิ่งก่อสร้าง เมื่อจะ วางฎีกาเบิกจ่ายเงิน รายการผูกพัน 1208 จะใช้รหัสบัญชีแยกประเภทไม่ได้ เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ยกเลิกรหัสนี้แล้ว และให้ส่วนราชการใช้เป็น รหัสบัญชีแยกประเภท หน้า 20

21 รหัสประเภทแหล่งของเงินที่ใช้เวลาเบิกจ่ายเงิน
การบริหารงบประมาณ รหัสประเภทแหล่งของเงินที่ใช้เวลาเบิกจ่ายเงิน 1. งบบุคลากร เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าจ้างพนักงานส่วนราชการ 2. งบดำเนินงาน ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค 3. งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง 4. งบอุดหนุน อุดหนุนทั่วไป อุดหนุนเฉพาะกิจ 5. งบรายจ่ายอื่น รายจ่ายอื่น หน้า 21

22 มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี2561
* งบลงทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 88 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 21.11% 43.11% 65.11% 88% ควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ กำหนดให้รายจ่ายลงทุนปีเดียว จะต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายใน ไตรมาสที่ 1 ยกเว้นรายการที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือจัดหาจากต่างประเทศ รายจ่ายลงทุน ที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนผูกพันรายการใหม่ จะต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายใน ไตรมาสที่ 2 หน้า 22

23 การบริหารงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2
* รายจ่ายประจำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 33% 55% 77% 98.36% การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ให้คำนึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับและระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นสำคัญ ควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการ ใช้จ่ายงบประมาณให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณใน ไตรมาสที่ 1 ให้ได้มากที่สุดหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร หน้า 23

24 การบริหารงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2
* ภาพรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 30.29% 52.29% 74.29% 96% หน้า 24

25 1

26 2


ดาวน์โหลด ppt กลุ่มงบประมาณ สำนักบริหารกลาง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google