ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยนีราชา บุตโต ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
FAD4502 วิชาฝึกประสบการวิชาชีพ นักออกแบบเครื่องแต่งกาย
2
ข้อแนะนำการฝึกงาน
3
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ต้องลงทะเบียนวิชาเตรียมฝึก ประสบการณ์วิชาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกายจำนวน 2(180) หน่วยกิต กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนการ ฝึกประสบการณ์จริงพัฒนาให้มีความรู้ทักษะเจต คติแรงจูงใจ และคุณสมบัติที่เหมาะสมกับวิชาชีพ การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยการกระทำใน สถานการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพการ ออกแบบเครื่องแต่งกาย
4
นักศึกษาฝึกงานทุกคนเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยฯ ดังนั้น ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้นอยู่กับการกระทำของ นักศึกษา ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยและกฎ ข้อบังคับของ หน่วยงานที่ นักศึกษาฝึกงาน เสมือนหนึ่งว่านักศึกษาเป็นบุคลากรคนหนึ่งของ หน่วยงานนั้นๆ นักศึกษาไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตในการทำงาน ซึ่งจะเป็นอาชีพของนักศึกษาในอนาคต จึงควรศึกษาทั้งด้านเทคโนโลยี กฎระเบียบ และการบริหารงานในสถานที่ฝึกงาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเตรียมตัวทั้งด้านความรู้ และด้านวินัยให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษา
5
นักศึกษาต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ต้องเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมงาน และให้ความเคารพในประสบการณ์ของบุคคล ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ทั้งตนเอง และแก่ทรัพย์สินใด ๆ ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายนักศึกษาจะต้องทำการชดใช้ค่าเสียหาย ให้เป็นไปตามหน่วยงานนั้นจะเห็นสมควร
6
นักศึกษาจะต้องมีบุคลิกภาพและการวางตัวที่เหมาะสม นักศึกษาต้องแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษา หรือชุดทำงาน สถานที่ฝึกงานหรือที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนดไว้ นักศึกษาต้องตรงต่อเวลา เข้าทำงานและเลิกงานตามเวลา ของสถานที่ฝึกงาน ควรใช้เวลาฝึกงานให้เป็นประโยชน์ ที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะได้ตักตวงความรู้และ ประสบการณ์ ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน
7
นักศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎ-ระเบียบข้อบังคับของสถานที่ ฝึกงาน ในเรื่องการลากิจ ลาป่วย และไม่ลางานโดยไม่ จำเป็น กรณีนักศึกษาชายที่จะต้องไปคัดเลือกเข้ารับ ราชการทหาร ต้องแจ้งสำนักงานกิจการนักศึกษา และ สถานที่ฝึกงานทราบล่วงหน้า นักศึกษาจะต้องมีความอดทน และพยายามปรับตัวให้เข้า กับสภาพการปฏิบัติงานจริง จะต้องไม่รังเกียจที่จะทำงาน ประเภทใช้แรงงานบ้างเป็นบางครั้งเมื่อได้รับมอบหมาย และพยายามปรับตัว ให้เข้ากับผู้ร่วมงาน ในการสอบถาม หรือการแสดงความคิดเห็น ควรกระทำอย่างสุภาพและมี เหตุผล
8
นักศึกษาอาจจะได้รับความรู้ หรือประสบการณ์ที่ไม่ตรง ตามสาขาวิชาที่ตนเรียนมา ในกรณีที่ ได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ นักศึกษา จะต้องขวนขวายศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ควรอ่านตำรา คู่มือ หรือสอบถามอาจารย์ผู้สอนจนสามารถทำงานที่ได้รับ มอบหมายนั้นได้ หากเป็นการเหลือวิสัยที่จะหาความรู้ได้ ทันในระยะเวลาจำกัดจำเป็นต้อง รายงานให้ผู้ควบคุมงาน ทราบ
9
นักศึกษาควรจะแสดงความขอบคุณ และอำลาผู้ควบคุม งาน ผู้รับผิดชอบการฝึกงาน หรือหัวหน้างาน เมื่อสิ้นสุด การฝึกงาน และขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าถ้านักศึกษาสร้าง ชื่อเสียง แสดงความรู้ความสามารถและความประทับใจใน การฝึกงานไว้ดี จะมีผลต่อการเข้าทำงานของนักศึกษาและ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยฯ ได้ทำประกันอุบัติให้กับนักศึกษาฝึกงาน ทุกคนแล้ว หากมีปัญหาเกิดขึ้นให้ติดต่อกองพัฒนานักศึกษา
10
ขั้นตอนการฝึกงาน ส่งใบประเมินและรายงานผลการฝึกงาน กรอกแบบฟอร์มส่งตัว
ที่ฝ่ายวิชาการคณะฯ 1-30 ตุลาคม รับจม.ส่งตัวไปมอบให้หน่วยงาน หน่วยงานที่ฝึกงาน 3-5 วันทำการ รับหนังสือตอบรับให้เข้าฝึกงาน 40 วัน 400 ชม. ฝึกงาน อาจารย์นิเทศไปประเมิน ระหว่างการฝึกงาน รายงานผลการฝึกงาน ส่งใบประเมินและรายงานผลการฝึกงาน
11
จดหมายรายงานตัว จะประกอบด้วย
1. จดหมายส่งตัว จะมีรายชื่อนักศึกษาทุกคนที่ไปฝึกงานหน่วยงานนั้น 2. สมุดบันทึกการฝึกงาน (คนละ 1 ชุด ) จะมีสมุดบันทึกการฝึกงานและการประเมินผลและหนังสือส่งตัวถึงหัวหน้างานที่ดูแลนักศึกษาจะเป็นผู้ประเมินผล
12
ตัวอย่างใบตอบรับนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์
13
ตัวอย่างสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
14
ตัวอย่างสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หน้าประเมินผล
15
ข้อแนะนำการรายงานตัว
จดที่อยู่+เบอร์โทรศัพท์+ชื่อผู้ประสานงานของบริษัท โทรสอบถามวัน เวลา สถานที่รายงานตัวกับบริษัท นัดหมายวันเวลา สถานที่รายงานตัวกับเพื่อน (ต่างภาค)
16
ข้อแนะนำการรายงานตัว (ต่อ)
เตรียมหลักฐานต่างๆ ที่บริษัทกำหนด ศึกษาเส้นทางไปบริษัทล่วงหน้า รับจดหมายส่งตัวที่ฝ่ายวิชาการคณะฯ และสมุดบันทึกที่อาจารย์ที่ปรึกษา
17
ระหว่างการฝึกงาน นักศึกษาต้องเขียนบันทึกรายงานการ ฝึกงานประจำสัปดาห์ ให้ผู้ควบคุมงานลงนามรับรอง ทุกสัปดาห์ และนำข้อมูลไปแนบในเล่มรายงานด้วย
18
การประเมินผลการฝึกงาน
ส่งสมุดบันทึกการปฏิบัติงานและรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน 1 ส่งสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำรายงาน ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา คนละ 1 เล่ม ทำการนำเสนอผลการฝึกงานในโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบเครื่องแต่งกาย ส่งแบบประเมินผลการฝึกงานจากหน่วยงาน 2 นักศึกษาต้องได้รับการประเมินผลการฝึกงานจากหน่วยงานที่นักศึกษาฝึกงาน เมื่อการฝึกงานสิ้นสุดลงตามแบบฟอร์มซึ่งอยู่ในเล่มสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำการนำเสนอผลการฝึกงาน 3 นักศึกษาต้องทำการนำเสนอผลการฝึกงานในโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบเครื่องแต่งกาย
19
นักศึกษามีปัญหาในการฝึกงานสามารถติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.