งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

2 สรุปสาระสำคัญ 1.อาศัยอำนาจมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3 สรุปสาระสำคัญ 1.พื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้พิจารณาความเหมาะสมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคาร โรงงาน พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือเขตอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ และโบราณสถาน

4 สรุปสาระสำคัญ 2.การออกแบบและการก่อสร้างสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ 2.1 ก่อนการก่อสร้าง ควรเตรียมข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1) แผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศแสดงที่ตั้ง อาณาเขต และการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีขนถ่ายในรัศมี 1,000 เมตร 2) แผนผังแสดงกระบวนการปฏิบัติงานของสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย 3) ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ชนิดหรือประเภทมูลฝอย สัดส่วนมูลฝอยอินทรีย์ที่สามารถนำไปหมักปุ๋ย ปริมาณมูลฝอยที่เข้ากระบวนการหมักปุ๋ย รวมทั้งการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยในอนาคต

5 สรุปสาระสำคัญ 4) ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการหมักปุ๋ย กำลังการผลิต สารเติมแต่ง เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการกำจัดมูลฝอย รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการหมักปุ๋ย การคัดแยกมูลฝอย และการแปรสภาพมูลฝอยก่อนการหมักปุ๋ย 5) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากร จำนวนวันและชั่วโมงปฏิบัติงาน มาตรการความปลอดภัยในขณะทำงาน 6) ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยที่คัดแยกออก การจัดการมูลฝอยที่เหลือจากการหมักปุ๋ย และปริมาณปุ๋ยที่ผลิตได้

6 สรุปสาระสำคัญ 2.2 การออกแบบอาคาร และระบบต่างๆในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ควรพิจารณาข้อกำหนดดังต่อไปนี้ 1) การออกแบบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ใช้ในประเทศ เว้นแต่ไม่มีหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานใดในประเทศให้ปฏิบัติตามหรือประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และให้ระบุและแนบข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาประกอบด้วย

7 สรุปสาระสำคัญ 2) มาตรฐานงานโครงสร้าง งานถนน งานไฟฟ้า งานประปา งานเครื่องกล ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือข้อกำหนดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ และให้ระบุและแนบข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมาประกอบด้วย 3) การจัดวางผังบริเวณแสดงรายละเอียดการใช้พื้นที่ขององค์ประกอบต่างๆในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้ใช้มาตรส่วนที่เหมาะสม 4) อาคารและพื้นที่ที่ใช้ในการรับมูลฝอยอินทรีย์ การคัดแยก การแปรสภาพ การหมัก การบ่ม หรือการเก็บรวบรวมปุ๋ยที่ผลิตได้ ให้มีการควบคุมปัญหากกลิ่นรบกวน ระบบระบายอากาศที่ดี และการควบคุมเศษมูลฝอยปลิว

8 สรุปสาระสำคัญ 5) บริเวณพื้นที่ที่ใช้ในการหมักและบ่ม ควรเป็นพื้นแอสฟัลต์หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก 6) การพิจารณาความเหมาะสมของประเภท จำนวน และขนาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยก การแปรสภาพ การหมัก และการบ่ม 7) ระบบจัดการน้ำฝนต้องมีประสิทธิภาพ 8) ระบบควบคุมน้ำเสีย และควบคุมคุณภาพน้ำก่อนระบายทิ้งสู่ภายนอก ต้องไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

9 สรุปสาระสำคัญ 3.การจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ให้พิจารณาดังนี้
3.1 จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในชั่วโมงทำงาน และติดประกาศชั่วโมงปฏิบัติงานที่ประตูทางเข้า 3.2 จัดเตรียมเอกสารหรือคู่มือการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา โดยกำหนดให้มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน 3.3 จัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ และการจัดการไม่ให้มูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตรายปะปนกับมูลฝอยทั่วไปในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย 3.4 ควบคุมเศษมูลฝอย กลิ่น แมลง และพาหะนำโรค

10 สรุปสาระสำคัญ 3.5 บันทึกปริมาณมูลฝอยรายวันจากแหล่งกำเนิดต่างๆที่นำเข้าไปกำจัด ปริมาณและประเภทวัสดุที่คัดแยกออกหรือสิ่งตกค้าง รวมทั้งปริมาณสารเติมแต่งที่ใช้ (หากมี) 3.6 ให้มีมาตรการป้องกันอัคคีภัย แผนฉุกเฉิน 3.7 ต้องเคลื่อนย้ายมูลฝอยที่ถูกคัดแยกสิ่งตกค้าง และนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสม 3.8 ให้มีการรวบรวม บำบัดหรือใช้ประโยชน์น้ำเสียจากการปนเปื้อนมูลฝอย รวมถึงน้ำเสียใดๆทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย กรณีที่ระบายน้ำทิ้ง ต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

11 สรุปสาระสำคัญ 3.9 ติดตามตรวจสอบน้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินภายนอกอาณาเขตสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย โดยกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดังนี้ 1) ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินก่อนเริ่มโครงการ อย่างน้อย 1 ครั้ง 2) ตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน ปีละ 2 ครั้ง ให้ครอบคลุมในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน

12 สรุปสาระสำคัญ 4.ในกรณีที่มีการว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการบริหารจัดการสถานที่ ผู้ว่าจ้างต้องกำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่าง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามสัญญาจ้าง หรือกรณีมีเหตุรำคาญตามที่กฎหมายเกี่ยวข้อง

13 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างและการจัดการสถานที่หมักปุ๋ยจากมูลฝอย ประกาศในกรมควบคุมมลพิษ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google