งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม
ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน

2 จริยธรรม (Ethics) ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม เป็นหลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง ก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม

3 จริยธรรม (Ethics) ศีล 5

4 ความเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่น
1. ประมวล กฎหมาย 2. ปรัชญาทางศีลธรรม 3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์

5 คุณธรรม (Morality/Virtue)
สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ยอมรับว่าดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ และความดีงามที่ดีที่แท้จริงต่อสังคม จริยธรรมและคุณธรรมจึงเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ การคิดในทางที่ถูกต้อง ดีงาม มีคุณประโยชน์ทั้งตนเอง และส่วนรวม การปรับตัวเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน

6 กฎหมาย (Law) กฎเกณฑ์ กติกา หรือ มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติตาม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่น ด้วยเหตุที่กฎหมายมีสภาพบังคับ ทำให้สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย

7 จรรยาบรรณ (Ethics) เป็นมาตรฐานความประพฤติของสังคม จรรยาบรรณเป็นมาตรฐานความประพฤติทางวิชาชีพ (Professional Ethics ) เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

8 จรรยาบรรณ (Ethics) จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
จรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณแพทย์พยาบาล

9 กฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ
เป็นคำสั่ง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เป็นหลักประพฤติปฏิบัติให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ออกโดยรัฐ เกิดจากสังคม ออกโดยกลุ่มอาชีพ เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องความสมัครใจ มีบทลงโทษที่ชัดเจนและแน่นอน ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน อาจมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณค่าทางจิตใจคน มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ

10 จริยธรรมสารสนเทศ หรือจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ
จริยธรรมสารสนเทศ หรือจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ หลักประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงการใช้สารสนเทศ เพื่อให้การจัดการและการใช้สารสนเทศเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด รวมถึงไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง

11 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
1. สิทธิส่วนบุคคลและสารสนเทศ สิทธิของแต่ละบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรในการตัดสินใจว่า ข้อมูลข่าวสารของตนเองนั้นจะถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่น เมื่อใด อย่างไร และมีขอบเขตมากน้อยเพียงใด

12 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
สิทธิส่วนบุคคลและสารสนเทศ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ความเป็นส่วนตัวในดินแดนหรืออาณาเขตของตนเอง ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย และความเป็นส่วนตัวใน การติดต่อสื่อสาร และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล “การคุ้มครองข้อมูล (Data Protection) ”

13 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
สิทธิส่วนบุคคลและสารสนเทศ ในด้านสารสนเทศสิทธิส่วนบุคคลถือเป็นหลักพื้นฐานสำคัญคือ เป็นเงื่อนไขที่กําหนดว่าบุคคลหนึ่งไม่สามารถล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นได้โดยปราศจากความชอบธรรม ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของตน

14 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
สิทธิส่วนบุคคลและสารสนเทศ ในระบบสารสนเทศ การรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล การใช้งาน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลนั้นด้วยโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บหรือประมวลผล

15 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
2. จริยธรรมในการผลิตและจัดเก็บสารสนเทศ การผลิตและการจัดเก็บสารสนเทศ จะเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล และการประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อให้เป็นข้อมูลที่พร้อมนำไปใช้งาน การรวบรวมข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง

16 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
3. จริยธรรมในการเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้ การเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้ ไม่ว่าโดยบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานใดก็ตามหากไม่มีอำนาจหน้าที่ ในการเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง จะนำสารสนเทศไปเผยแพร่หรือไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวไม่ได้

17 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
3. จริยธรรมในการเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสาธารณะ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ประวัติทางการแพทย์ ประวัติอาชญากรรม องค์กรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้จะต้องยึดหลักจริยธรรมในการเผยแพร่และนำสารสนเทศไปใช้งาน

18 ความเกี่ยวข้องจริยธรรมกับสารสนเทศ
4. จริยธรรมสารสนเทศและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)  2. ความถูกต้องของข้อมูล (Information Accuracy)  3. ความเป็นเจ้าของข้อมูล (Information Property)  4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) 

19 ปัญหาการทำผิดจริยธรรม
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม 2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย 3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล 4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ 5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น 6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

20 ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
1. ความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ โดยบุคคลที่มีอำนาจเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้อง 2. ความเสี่ยงเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อาจเกิดจากการถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง

21 ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
3. ความเสี่ยงเกี่ยวกับการไม่สามารถใช้ข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องในเวลาที่ต้องการ  4. ความเสี่ยงเกี่ยวกับการที่องค์กรไม่ได้จัดให้มีการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีที่ดี 

22 จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์: จริยธรรมแห่งวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย
1)  เว็บไซต์ต้องไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระเกินจริง 2)  เมื่อมีการคัดลอกข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายใดๆ จากเว็บไซต์ ต้องทำเพื่อการศึกษา 3)  การเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีการพาดพิงถึงผู้อื่นต้องเปิดโอกาสให้แสดงข้อเท็จจริงได้

23 จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์: จริยธรรมแห่งวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย
4)  ในกรณีที่มีการเสนอข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ต้องรีบแก้ไข 5) ต้องระบุแหล่งที่มา 6) การนำเสนอข้อมูลต้องไม่ให้ล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 7)  เว็บไซต์ต้องไม่เสนอภาพที่อุจาด ลามก หรือน่าหวาดเสียว

24 จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์: จริยธรรมแห่งวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย
8) เว็บไซต์ต้องไม่เป็นแหล่งเผยแพร่ไวรัสคอมพิวเตอร์หรือสิ่งอื่นที่ทำลายระบบ 9) เว็บไซต์ต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลที่นำเสนอวิธีการสร้างความเสียหายแก่บุคคลอื่น 10) ในการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์เว็บไซต์ต้องให้ความเที่ยงธรรม

25 จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น 2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ 3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น 4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

26 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

27 จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

28 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures) 2. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) 3. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) 4. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) 5. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)

29 ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)
ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้

30 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) 2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

31 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
1. สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ตามกฎหมาย

32 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
สิทธิบัตรการผลิต (Invention Patent) คุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) คุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก

33 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
2. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit) แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า 3. เครื่องหมายการค้า (Trademark) สัญลักษณ์ หรือตรา ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า (Trademark) เครื่องหมายบริการ (Service Mark) เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) เครื่องหมายร่วม (Collective Mark)

34 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
4. ความลับทางการค้า (Trade Secret) ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป 5. ชื่อทางการค้า (Trade Name) ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ 6. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น

35 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

36 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ นับเป็น ทรัพย์สินทางปัญญา สามารถหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ของตนได้ เช่น ทำซ้ำ คือการคัดเลือก ทำสาเนา ทำแม่พิมพ์ ฯลฯ

37 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ 1. งานวรรณกรรม 2. งานนาฏกรรม 3. งานศิลปกรรม 4. งานดนตรีกรรม 5. งานโสตทัศนวัสดุ 6. งานภาพยนตร์ 7. งานสิ่งบันทึกเสียง 8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ 9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

38 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ 1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร 2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของราชการ 4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานรัฐจัดทำขึ้น 6. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีต่างๆ

39 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง โดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ไว้

40 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ 1. ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย 2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง 3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน 4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ 5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์

41 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
เจ้าของลิขสิทธิ์ทำอะไรได้บ้าง 1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง 2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน 3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง 4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น 5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม 1, 2 หรือ 3 โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ที่ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

42 ลิขสิทธิ์ (Copyright)
อายุการคุ้มครองตามลิขสิทธิ์ 1. อายุการคุ้มครองทั่วไป ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ถึงแก่ความตาย นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์ 2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่สร้างสรรค์ 3. งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มีอายุ 50 ปี นับแต่สร้างสรรค์ 4. งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์

43 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ

44 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ประเภทอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 1) การขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ 2) อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง 3) การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปลงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอฟต์แวร์โดยมิชอบ 4) ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

45 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ประเภทอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 5) ใช้คอมพิวเตอร์ในการฟอกเงิน 6) อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร 7) หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม 8) แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักลอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน 9) ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง

46 พระราชบัญญัติ (พ. ร. บ. ) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 3. ส่ง ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม 5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเราแล้วแจ้งผู้เกี่ยวข้องเจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

47 พระราชบัญญัติ (พ. ร. บ. ) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด 8. ไม่โพสต์สิ่งลามก อนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ 9. การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ 10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง 11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท 12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ 13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

48 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ให้เครดิต หรือการนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตนเอง การคัดลอกมาทั้งหมดโดยไม่ระบุที่มา หรือการนำข้อเขียนของผู้อื่นมาเรียบเรียงเขียนใหม่ในแบบของตัวเองโดยไม่ระบุที่มา

49 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
ในวงวิชาการถือว่าเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (academic dishonesty) “ การฉ้อฉลทางวิชาการ ”(academic fraud) ผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure )

50 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
การลอกเลียนวรรณกรรมที่ถือว่ามีความผิด 1. Plagiarism การคัดลอกผลงานคนอื่น 2. Duplication/self-plagiarism การพิมพ์ซ้ำผลงานของตนเอง 3. Co-submission ผลงานทำโดยหลายคน แต่มีการอ้างชื่อผู้แต่งแตกต่างกันเพื่อส่งงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำมากกว่าหนึ่งแห่ง

51 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
ประเภทของการลอกเลียนวรรณกรรม 1.ลอกผลงานผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง 2.การลอกโดยไม่ใส่เครื่องหมายอัญประกาศ “ ” 3.นำเอาความคิดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาดัดแปลงเพื่อใช้พูดหรือเขียนเสมือนหนึ่งตนเองเป็นเจ้าของความคิดนั้น 4.ให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับแหล่งที่อ้างอิง 5.เปลี่ยนคำบางคำในประโยค/ข้อความที่ลอกมาและไม่อ้างอิง

52 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
ไม่อ้างแหล่งที่ยกมา ได้แก่ ยกมาทั้งหมด ลอกชนิดคำต่อคำ ตัด-ปะ คัดลอกผลงานบางส่วนของผู้อื่นมาเป็นของตน ยำใหญ่ คัดลอกผลงานจากหลายๆแหล่งมารวมกัน โดยดัดแปลงตัดแต่งเป็นงานใหม่ แปลงโฉม ดัดแปลงผลงานของผู้อื่นโดยเปลี่ยนคำหรือสำนวนภาษา แต่ยังคงใจความเดิม เล่าใหม่ นำผลงานจากหลายแหล่งมาผสมผสานเขียนใหม่เพื่อให้แตกต่างไปจากเดิม แต่ไม่มีการใส่ความคิดของตนเข้าไป ย้อมแมวขาย นำผลงานเดิมของตนมาตัดแต่งให้เป็นผลงานใหม่ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดจรรยาบรรณทางวิชาการ และผิดวัตถุประสงค์ในการสร้างผลงานวิชาการ

53 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
อ้างแหล่งที่มาแต่ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ไม่มีเชิงอรรถ-นามปี มีการกล่าวถึงที่มาของข้อมูลแต่ไม่ให้รายละเอียดมากพอที่จะติดตามไปถึงแหล่งนั้น อ้างผิด อ้างถึงแหล่งข้อมูลผิด ทาให้ไม่สามารถติดตามเข้าถึงได้ ละเลยเครื่องหมายอัญประกาศ ทาให้เข้าใจผิดได้ว่าข้อความนั้น เป็นของตน มีแต่อ้างเท่านั้น มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องทุกประการ แต่เป็นการอ้างถึงงานของผู้อื่นทั้งหมดไม่มีความคิดเห็นของตนเอง อ้างไม่หมด มีการอ้างแหล่งข้อมูลในครั้งแรก แต่เมื่อมีการใช้แหล่งข้อมูลนั้น อีกกลับไม่มีการอ้างอิง

54 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
ตัวอย่างการลอกเลียนวรรณกรรม นิสิตอ่านบทความและพบความคิดที่ดีและโดนใจ และนำมาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเองในรายงาน จึงไม่จำเป็นต้องอ้างอิงบทความนั้น ถือว่าผิด เป็นการลอกเลียนวรรณกรรม

55 การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism)
การรับโทษจากการลอกเลียนวรรณกรรม โทษทางกฎหมาย จะต้องมีการฟ้องร้อง และพิสูจน์ว่าผิดจริง ในสถาบันการศึกษา นอกจากมีความผิดตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่าผิดจริยธรรมและความถูกต้องทางวิชาการด้วย ในสังคม ในวงการอื่นๆโดยเฉพาะองค์กรธุรกิจ การโจรกรรมทางวรรณกรรมถือเป็นความผิดร้ายแรงเพราะจะนำมาซึ่งการฟ้องร้องทางกฎหมายและความเสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์กร

56 พระราชนิพนธ์ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

57 รายการอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา . (ม.ป.ป). คู่มือการใช้งาน ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท เพจเมคเกอร์ จำกัด. จรวยพร ธรณินทร์. (2555). คุณธรรมและจริยธรรม. เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ จิรวัฒน์ พรหมพร. (2555). ประเภทของPlagiarism. เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก ชูมาน ถิระกิจ. (2560). โจรกรรมทางวรรณกรรม( Plagiarism ). เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก ธวัชชัย ชมศิริ. (2553). Computer & Network security ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. ประสงค์ ปราณีตพลกรังและคณะ. (2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์. พนิดา พานิชกุล. (2553). จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ Ethics in Information technology. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์. วัชรีวรรณ วัดบัว. (2552). โจรกรรมทางวรรณกรรม. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก วราภรณ์ วนาพิทักษ์. (2553). “กฎหมายและจริยธรรมสารสนเทศ” ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วาทินี นิลงาม. (2558). จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน เข้าถึงได้จาก web.chandra.ac.th/blog/wp.../จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ.pdf แววตา เตชาทวีวรรณ. (2560). Plagiarism การขโมยความคิด. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก facstaff.swu.ac.th/walta/Plagiarism_Ver2.pdf เอกภพ อินทรภู่. (2560). การประยุกต์ความเข้าใจเชิงจริยธรรมและเชิงกฎหมาย. เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก

58 รายงานและทดสอบ อย่าลืมส่ง ppt ที่จะนำเสนอภายใน 30 พ.ย. 60 ทางเมล์ที่อาจารย์กำหนดให้ ส่งตัวแทนกลุ่มละ 1 คนมาพูด และสไลด์ตามกำหนดอย่าให้เกิน อาจารย์กดสไลด์ให้ รักษาเวลากลุ่มละ 3-4 นาทีเท่านั้น การสอบใช้ Kahoot ในการสอบเตรียมมือถือและเน็ตมาให้พร้อม ในวันที่ 8 ธ.ค. 60 คะแนนเก็บรวม 50 คะแนน ปลายภาค 50 คะแนน ได้ 50 คะแนนจึงจะผ่านวิชานี้


ดาวน์โหลด ppt การใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google