งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ นายแพทย์ 9 วช (ด้านสาธารณสุข) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

2 เจตนารมณ์ วันบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย ให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น สะดวก มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม วันบังคับใช้กฎหมาย * หนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป * ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ บังคับใช้วันที่ 23 สิงหาคม 2551

3 สรุปสาระสำคัญ ในประเด็นที่อาจเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข
ลักษณะของคดีผู้บริโภค (ม.3) ต้องเป็นคดีแพ่งดังต่อไปนี้ 1) คดีพิพาทระหว่างผู้บริโภค (รวมถึงผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน ตาม ม.19) กับผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้า หรือบริการ 2) คดีพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย (Product Liability Law) 3) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีสองประเภทข้างต้น 4) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้

4 ความหมายของ “ผู้บริโภค” (ม.3)
ความหมายของ “ผู้บริโภค” (ม.3) หมายถึง ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค และหมายความรวมถึงผู้เสียหายตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิด ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย ประธานศาลฎีกา ผู้รักษาการตามกฎหมาย (ม.6) ประธาน ศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใด เป็นคดีผู้บริโภค (ม.8)

5 การรับฟังพยานหลักฐาน
มาตรา 10 นิติกรรมใดที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องคดีได้ ไม่ต้องนำมาใช้บังคับ มิให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94 มาบังคับใช้ (การสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร) มาตรา 11 ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากที่ทำสัญญาไว้ เช่น ข้อความโฆษณา หรือประกาศต่างๆ ถึงแม้มิได้ระบุข้อเสนอนั้นลงไปในสัญญา ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งสามารถนำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงได้

6 อายุความ (ม.13) การฟ้องคดี
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิเรียกร้องในกรณีความเสียหาย ที่เกิดขึ้นต่อ ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย ให้ผู้บริโภคใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจ แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย การฟ้องคดี 1. ผู้บริโภคฟ้องร้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลอื่นได้ แต่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจจะต้องฟ้องร้องต่อศาลที่ผู้บริโภค มีภูมิลำเนาอยู่เพียงแห่งเดียว (ม.17)

7 การฟ้องคดี (ต่อ) 2. มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจากผู้ฟ้อง (ม.18)
การฟ้องคดี (ต่อ) 2. มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจากผู้ฟ้อง (ม.18) 3. กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีผู้บริโภคแทนผู้บริโภคได้ (ม.19) 4. กำหนดให้มีการฟ้องโดยวาจาหรือปากเปล่าได้ โดยพนักงานคดีเป็นผู้บันทึกรายละเอียดคำฟ้องให้ (ม.20)

8 ภาระการพิสูจน์ การพิพากษาคดี
มาตรา 29 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระการพิสูจน์ ในประเด็นที่ต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะ การพิพากษาคดี มาตรา 39 : พิพากษาเกินคำขอได้ กรณีที่ศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้อง หรือไม่เพียงพอต่อการเยียวยาความเสียหาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยค่าเสียหายให้ถูกต้องและเหมาะสมได้

9 การพิพากษาคดี (ต่อ) มาตรา 40 : ศาลพิพากษาแล้วยังสามารถที่จะแก้ไขคำพิพากษา ได้อีก ภายในเวลาที่ศาลกำหนดแต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาล มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ในขณะที่พิพากษาคดี หากเป็นการพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้ได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยนั้นมีเพียงใด ศาลอาจสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

10 การพิพากษาคดี (ต่อ) มาตรา 42 : ค่าเสียหายเชิงลงโทษ
มาตรา 42 : ค่าเสียหายเชิงลงโทษ หากผู้ประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อเป็นการลงโทษจากค่าเสียหายที่แท้จริงได้ไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหาย ที่แท้จริงตามที่ศาลกำหนด

11 บทสรุปของกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญในการ....
เป็นเครื่องมือกับผู้บริโภค เนื่องจากช่องทางการฟ้องร้อง รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ถ้าเป็นการฟ้องร้องเพื่อกลั่นแกล้ง ก็จะต้องมีการจ่ายในภายหลัง การพิจารณาคดีเป็นไปตามหลักกฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญา

12 บทสรุปของกฎหมาย (ต่อ)
บทสรุปของกฎหมาย (ต่อ) มีระบบกลั่นกรองการฟ้องร้อง โดยมีประธานศาลอุทธรณ์ เป็นผู้วินิจฉัยเรื่องการฟ้องร้องทั้งหมดว่า คดีใดมีมูลนำเรื่อง เข้าพิจารณาคดี สำหรับแพทย์จะรับโทษทางแพ่งหรืออาญามากขึ้น หรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวข้องกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกระทำผิด ซึ่งศาลมีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอยู่แล้ว

13 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
1. ผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุข อาจทำให้เกิดระบบบริการแบบป้องกันตนเองมากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายต่อการเจ็บป่วยสูงขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนอาจขึ้นค่ารักษาพยาบาลเพื่อเตรียมการเมื่อหากถูกฟ้องร้องทางแพ่ง 2. เรื่องความปลอดภัยของแพทย์ผู้ทำการรักษาโดยสุจริตจะต้องทำประกันทางแพ่งเพิ่มขึ้นหรือไม่

14 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ต่อ)
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ต่อ) 3. ทรัพยากรทางสาธารณสุขประเทศต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อการนี้หรือไม่ อย่างไร ไม่เพียงแต่เงิน เวลาการขึ้นศาล กระบวนการกฎหมาย แทนการนำไปใช้เพื่อการรักษา คุ้มค่าหรือไม่ 4. เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคจริงหรือไม่ 5. กระบวนการคนกลางที่เกิดขึ้นจะเป็นรูปแบบใด ทนายความ นักกฎหมาย กระบวนการศาล การไกล่เกลี่ย รูปแบบการฟ้อง รวมถึงบริษัทประกันที่ต้องเข้ามาร่วมวงด้วยเช่นเดียวกับในต่างประเทศ


ดาวน์โหลด ppt พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google