ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้การศึกษาและจริยธรรม
การศึกษา (Education) = a process of training and instruction which is designed to give knowledge and develop skills. กระบวนการฝึกอบรมและสอน ออกแบบมาเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะ
2
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
บุคคล เพื่อพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สังคม รู้จักรักษาสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3
ความสำคัญของการศึกษาที่มีต่อชีวิต
ช่วยให้มีความรู้ รู้จักรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี มีทักษะในการประกอบอาชีพสุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม
4
ระบบการศึกษา ในระบบ เช่น ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย นอกระบบ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพต่าง ๆ ตามอัธยาศัย เรียนรู้ด้วยตนเอง
5
ความสำคัญของการศึกษาที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ทำให้ทราบความจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการพัฒนาและเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้รู้จักคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
6
รูปแบบการศึกษาเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมในอดีต
การสังเกต เช่น ก่อนฝนตก มดขึ้นสู่ที่สูง การบอกเล่า เช่น คำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น การบูชาต้นไม้ การเลียนแบบ ประสบการณ์ส่วนตัว
7
รูปแบบของการศึกษาเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
การศึกษาอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การเรียนการสอนในห้องเรียนและการศึกษาวิจัย
8
การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เช่น สื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ หน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรทางศาสนา
9
วีดิทัศน์ 8 ภาพยนตร์สารคดี เลสาบเรา 44 นาที youtu.be/yWc8phJ_U6U
บทบาทของตัวละคร กับ สิ่งแวดล้อมศึกษา เขน พี่ต้อย พี่โต้ง อุสมาน ปู่ ขวัญใจ
10
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ (สิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม) บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
11
มาตรา ๗๓ บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
12
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้ (๑) มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำ สาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน โดยจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำในแต่ละพื้นที่ (๒) มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำ (๓) มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล (๔) มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป (๕) มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือนโดยทั่วไป (๖) มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่น ๆ การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่งจะต้องอาศัยหลักวิชาการกฎเกณฑ์และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็น พื้นฐานและจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย
13
มาตรา ๙๙ ผู้ใดบุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าไปกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลาย ทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ หรือก่อให้เกิดมลพิษอันมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดตาม มาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
14
ผลบังคับทางกฎหมาย อาญา ระบุความผิดและโทษ ปรับ จำคุก แพ่ง ศาลสั่งห้ามจำเลยมิให้กระทำการใด ๆ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทน ปกครอง รัฐเข้าไปดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
15
วีดิทัศน์ 9 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ถ่าน..ไฟ..เก่า ตอน 2
youtu.be/uvA-55Awklk ถ่านไม้โกงกาง ยี่สาร อ.อัมพวา สมุทรสงคราม ข้อดีของถ่านไม้โกงกาง อุปสรรคในการปลูกโกงกาง ขั้นตอนการเผาถ่าน
16
บ้านยี่สาร : สวนป่าโกงกางเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย
ประมาณปี พ.ศ.2450 ราษฎรท้องถิ่นได้นำไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) มาปลูกเพื่อใช้ในการเผาถ่านตามความต้องการและได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า แสม และ จาก จึงได้เปลี่ยนแปลงมาปลูกไม้โกงกางใบเล็กในพื้นที่ที่จับจองไว้จนถึงปัจจุบัน
17
สำหรับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการครอบครอง (สค.1) ให้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 และปี พ.ศ.2504 จากนั้นได้สำรวจและออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส.3) ต่อมาปี พ.ศ.2516 ได้ออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (นส.4 หรือโฉนดที่ดิน) ซึ่งกล่าวได้ว่าชุมชนบ้านยี่สารเป็นชุมชนที่ต้องอยู่กับป่าชายเลน และเป็นสวนป่าชายเลนแห่งแรกของประเทศไทย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.