งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวคิดเดิม Medical Model ผู้พิการเป็นเรื่องส่วนบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวคิดเดิม Medical Model ผู้พิการเป็นเรื่องส่วนบุคคล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)

2 แนวคิดเดิม Medical Model ผู้พิการเป็นเรื่องส่วนบุคคล
แนวคิดใหม่ Social Model หรือ Human Rights Model คือ การที่ว่า คนพิการเป็นเจ้าของสิทธิและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับคนอื่น Medical Model อย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การละเมิดสิทธิ หรือการเลือกปฏิบัติได้ ซึ่งส่งผลใหญ่กว่าความบกพร่อง

3 ความเป็นมา CRPD มองว่าปัญหาที่ใหญ่กว่าความบกพร่อง อยู่ที่ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ปัญหาที่แท้จริงอีกอย่างคือ การไม่สามารถเข้าถึงสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม เช่น บริการ หรือยา การที่คนพิการไม่ได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับบริการซึ่งเกี่ยวกับชีวิตของเขาโดยตรง เขาเป็นเพียงผู้ถูกกระทำ ดังนั้นถ้าเราสามารถแก้ปัญหาหลัก 3 อย่างโดยใช้การขจัดการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination) การเข้าถึงสภาพแวดล้อม บริการต่างๆ (Accessibility) และการมีส่วนร่วม (Participation) เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความพิการ และคนพิการได้

4 อนุสัญญา CRPD ให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
เคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเองเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล - CRPD ไม่ยอมรับ “การตัดสินใจ/การคิดแทนโดยปริยาย” (Substituted Decision-Making) CRPD แต่ยอมรับเรื่องการช่วย “การสนับสนุนการตัดสินใจ” (Supported Decision-Making) เพราะคนพิการไม่ใช่ Unable หรือ Disable ที่แปลว่าไม่สามารถทำได้ มองว่าการกระทำของผู้อื่นทำให้ความสามารถของคนพิการนั้นถูกจำกัดลง

5 CRPD ไม่เห็นด้วยกับ “การบังคับรักษา” ซึ่งขัดกับ CRPD เป็นการคิดแทนทำแทนการทำโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ คนพิการจะต้องมีสิทธิอยู่ที่บ้าน อยู่ที่ชุมชน เว้นแต่เขาจะต้องการได้รับการรักษาซึ่งเขาจะต้องได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์และยอมรับจริงๆ (full and informed consent) และการรักษานั้นจะต้องดำเนินการโดยคณะบุคคล รวมทั้งเพื่อประโยชน์ของคนพิการเองเท่านั้น

6 ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ
การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมของคนพิการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในสังคม เคารพความแตกต่าง ยอมรับคนพิการว่าเป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างของมนุษยชาติและความเป็นมนุษย์  

7 ความเทียมของโอกาส ความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิง การเคารพขีดความสารถของเด็กพิการที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการเพื่อสงวนรักษาอัตลักษณ์แห่งตน

8 หลักการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ (Accessibility)
1. การปรับสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ อาคารสถานที่ รวมถึงการคมนาคมขนส่ง สารสนเทศและการสื่อสาร และบริการต่างๆ ฯลฯ ให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ต่อคนทุกกลุ่ม เช่น การออกแบบและก่อสร้างสุขาสำหรับคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป การออกแบบบริการข้อมูลผ่านเวปไซท์หรือสื่ออีเล็กทรอนิกส์อื่นใดให้อยู่ในรูปแบบที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น          

9 2. การจัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สำหรับคนพิการแต่ละประเภท เช่น เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก โปรแกรมอ่านจอภาพคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอด หรือป้ายบอกทางซึ่งใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ เป็นต้น 3. การให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมหรือสมเหตุผล (Reasonable Accommodation) เพื่อลดความเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการล่ามภาษามือให้แก่คนหูหนวก การให้มีผู้ช่วยคนพิการสำหรับคนพิการที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ อันไม่อาจตอบสนองได้โดยวิธีการทั่วไป รวมถึงความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

10 สิทธิของคนพิการตามอนุสัญญา CRPD
สิทธิความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของบุคคล สิทธิได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถตามกฎหมายบนพื้นฐานอันเท่าเทียมกัน เสรีภาพจาการถูกทรมาน เสรีภาพจาการถูกแสวงหาประโยชน์ การใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิด สิทธิที่จะได้รับการเคารพต่อศักดิ์ศรี ทางร่างกายและจิตใจ    

11 เสรีภาพในการย้ายถิ่นฐานและการถือสัญชาติ
กรณีสิทธิในการอพยพเข้าไปพักในเกาหลีใต้ มีข้อห้ามชัดเจนว่า ถ้าเป็นคนพิการทางจิต ไม่สามารถขอ VISA เข้าไปในเกาหลีใต้ได้ ทำได้หรือไม่ ? สิทธิในการอาศัยอยู่ในชุมชน เสรีภาพในการแสดงออและแสดงความคิดเห็น สิทธิการเคารพการเป็นส่วนตัว

12 สิทธิการเคารพในการสร้างครอบครัว และสถาบันครอบครัว
กรณี“การบังคับทำหมัน” (Forced Sterilization) ทำได้หรือไม่? สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิทางการศึกษา สิทธิด้านการทำงาน สิทธิสำหรับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เพียงพอ สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเรื่องสาธารณ สิทธิการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม นันทนาการการผ่อนคลายยามว่างและกีฬา

13 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา CRPD  โดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป การเป็นรัฐภาคีมีนัยว่ารัฐบาลประเทศนั้นตระหนักว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการมิได้ จะต้องเคารพ คุ้มครองและสิทธิที่พึงมีแก่คนพิการเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้จะต้องมีการปฏิบัติดังนี้

14 1. รัฐภาคีจะต้องกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลัก(Focal Point) เพื่อเป็นกลไกประสานงานภาครัฐ ดูแลประเด็นที่สนับสนุนการดำเนินงาน ในภาคส่วนต่างๆ และประเทศไทยได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักตามอนุสัญญาฉบับนี้ 2. รัฐภาคีจะต้องจัดตั้งโครงสร้างภายใน เพื่อส่งเสริมพิทักษ์และติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับนี้ เช่น ตั้งคณะกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับอนุสัญญา โดยมีองค์ประกอบที่มาจากทุกภาคส่วน 3. รัฐภาคีจะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมโดยเฉพาะคนพิการ และองค์กรของคนพิการให้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการติดตามการดำเนินงาน 4. รัฐภาคีจะต้องมรการจัดทำรายงานเกี่ยวกับมาตรการในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาภายในเวลา 2 ปี หลังจากอนุสัญญามีผลบังคับใช้ และหลังจากนั้นต้องส่งฉบับต่อๆ ไป อย่างน้อยทุกๆ 4 ปี หรือเมื่อคณะกรรมการร้องขอ

15 กฎหมายไทยที่สอดคล้องกับอนุสัญญา CRPD
  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ.2550 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 พรบ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 พรบ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551


ดาวน์โหลด ppt แนวคิดเดิม Medical Model ผู้พิการเป็นเรื่องส่วนบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google