งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(ศปท.) ในฐานะกลไกการขับเคลื่อน ศอตช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(ศปท.) ในฐานะกลไกการขับเคลื่อน ศอตช."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (ศปท.) ในฐานะกลไกการขับเคลื่อน ศอตช.
แนวทางการดำเนินงานของ (ศปท.) ในฐานะกลไกการขับเคลื่อน ศอตช. ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

2 ประวัติวิทยากร นางฉวีวรรณ นิลวงศ์
การศึกษา ปริญญาโท สาขานโยบายและการวางแผน จากมหาวิทยาลัย เกริก ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง วุฒิบัตร จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ณ เมืองโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับทุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน ตามโครงการ Leadership Exchange Program ประวัติการทำงาน ๑. ส่วนท้องถิ่น เคยดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๗ แห่ง ได้แก่ ( เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลเมืองระนอง เทศบาลเมืองสระบุรี และ เทศบาลนครรังสิต ) ๒. ส่วนภูมิภาค เคยดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครอง ( ปลัดอำเภอ ) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ๓. ส่วนกลาง กรมการปกครอง กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ปัจจุบัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ท.

3 บทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ท.
นายกรัฐมนตรี/คตช./ศอตช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ท. ขับเคลื่อนนโยบาย/ข้อสั่งการ การปราบปรามการทุจริต

4 การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ
ส่วนราชการ/หน่วยงานภาครัฐแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ภาคประชาสังคม (การแจ้งข้อมูลข่าวสาร) ปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน กรณีหัวหน้าส่วนราชการแก้ไขปัญหาแล้ว : สั่งยุติเรื่อง หนังสือร้องเรียน ศปท. รับเรื่อง / ส่งต่อ /ตรวจสอบ / ติดตาม /รายงานผล กรณีหัวหน้าส่วนราชการละเลย ละเว้น : ป.ป.ท. ตรวจสอบซ้ำ และทำความเห็นเสนอ ครม./คตช. ศอตช. (ป.ป.ท.) ศอตช. (ป.ป.ท.) กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ กรณีพบมูลความผิดทางอาญา : ส่ง ป.ป.ช. / ป.ป.ท. ดำเนินการตามกฎหมาย ภาคีเครือข่าย (เฝ้าระวังการทุจริต) ปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบ ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐดำเนินมาตรการทางบริหาร/วินัย/ส่งคดีอาญา

5 ความเป็นมา ศปท. ๓๕ หน่วยงาน
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เห็นชอบในหลักการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ รับทราบผลการดำเนินงานและเห็นชอบในหลักการตามรายงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านการป้องกันการทุจริต ใน คตช. ให้เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ประจำกระทรวง

6 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ตามที่ ศอตช. เสนอ ดังนี้ - ให้ อ.ก.พ.กระทรวง ปรับเกลี่ยอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวง ทุกกระทรวง เว้นแต่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้สอดคล้องกับภารกิจ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้ปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษหรือระดับเชี่ยวชาญ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกำหนดหรือมอบหมาย (๒) หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการหรือระดับชำนาญการพิเศษ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบหรือการส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรม แล้วแต่กรณี ตามที่หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตมอบหมาย

7 มติ คตช.ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๙
เห็นควรเพิ่มอำนาจหน้าที่ของ ศปท.กระทรวงดังนี้ เป็นศูนย์กลางในการประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในกระทรวง ให้ ศปท.กระทรวงทำหน้าที่ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตาม ให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในกำกับ ของกระทรวง ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานเช่นเดียวกับส่วนราชการในระดับกรม ให้ ศปท.กระทรวง ทำหน้าที่ตรวจสอบเปรียบเทียบผลการดำเนินการทางปกครอง วินัยของหน่วยงานในสังกัด และให้เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี แล้วแจ้งให้ ศอตช.ทราบ

8 บทบาทของ ศปท.กับการเป็นกลไก ศอตช.
บทบาทของ ศปท.กับการเป็นกลไก ศอตช.

9 คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

10 ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

11 โครงสร้างและกลไกการแก้ไขปัญหาการทุจริตของประเทศ
ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริต (ศอตช.) รมว.ยุติธรรม /ประธาน กรม องค์การมหาชน/ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัด สำนักงาน ป.ป.ท./ เลขานุการ ศอตช. คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ /ประธาน ศูนย์ดำรงธรรม กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ศปท. (กระทรวง) กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ระดับนโยบาย ประสานการขับเคลื่อนระดับชาติ ประสานขับเคลื่อนระดับกระทรวง ประชาชน/ผู้ร้องเรียน

12 อำนาจหน้าที่ของ ศปท. งานด้านป้องกันการทุจริต งานด้านปราบปรามการทุจริต
งานด้านส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม

13 ด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการ แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ตลอดจนบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ และส่วนราชการในสังกัด ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตามให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสาน ติดตามอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอตช. สั่งการหรือร้องขอ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบใน ส่วนราชการ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัด และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

14 ด้านส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม
คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการระดับกระทรวง หรือระดับกรม ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาข้าราชการของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัด ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ การดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัดเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินการให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ

15 กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
งานด้านการป้องกัน กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ - ทบทวนสถานการณ์การทุจริต / เรื่องร้องเรียน / ข้อรายงาน สตง. / ป.ป.ช./ป.ป.ท. - วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ผลการดำเนินงานตามแผนปีที่ผ่านมา - วิเคราะห์ความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะเกิดการทุจริต / ผลประโยชน์ทับซ้อน - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ฯลฯ แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ศปท. ระยะ ๕ ปี ศปท.๓๕ หน่วย ส่งให้สำนักงาน ป.ป.ท. ภายในไตรมาส แรกของปีงบปประมาณ เผยแพร่บน Website แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะ ๕ ปี ของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐในสังกัด S W O T - ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี - นโยบายรัฐบาล / คสช. / คตช. / ศอตช. / คำสั่ง คสช.ที่ ๖๙/๒๕๕๗ - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต - นโยบายของผู้บริหาร ฯลฯ เผยแพร่บน Website แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะ ๑ ปี และงบประมาณแบบบูรณาการของส่วนราชการ / หน่วยงานในสังกัด บันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน ป.ป.ช. (ตามระยะเวลาที่ สำนักงานป.ป.ช.กำหนด) ศอตช. / คตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สำนักงาน ป.ป.ช. / สำนักงาน ก.พ.ร. / สำนักงาน ก.พ.) เผยแพร่บน Website ศปท. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณในภาพรวมของส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐในสังกัด ส่งให้สำนักงาน ป.ป.ท. ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณถัดไป สำนักงาน ป.ป.ท. ประมวล/วิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนฯ ของ ศปท. ทั้ง ๓๕ หน่วยงาน

16 งานคุ้มครองจริยธรรมภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
กระบวนการดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศึกษาวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนวทาง วางมาตรการและจัดทำแผนดำเนินการในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้างวินัยข้าราชการ ให้คำปรึกษา แนะนำ ประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้าง วินัยข้าราชการ ผลักดัน และประสานให้ส่วนราชการ และส่วนราชการในสังกัดทบทวนและจัดทำข้อบังคับจรรยาข้าราชการ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและการเสริมสร้างวินัยข้าราชการ ประมวลข้อมูลสภาพปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของกระทรวงตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมฯ ต่อสำนักงาน ก.พ. ประสาน และกำกับการขับเคลื่อนตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้างวินัยข้าราชการในส่วนราชการ และส่วนราชการในสังกัด จัดทำรายงานการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้างวินัย ส่งให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

17 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
ผู้ร้องเรียน ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ข้อร้องเรียน กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม กรณีข้อร้องเรียนจริยธรรมของ ส่วนราชการในสังกัด กลุ่มงานคุ้มครองของกรมดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ ๑๗(๒) เพื่อรายงานผลต่อหัวหน้าส่วนราชการ กรณีไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัย ยุติเรื่อง สั่งการตามมาตรการทางจริยธรรม ดำเนินการทางวินัย ก.พ. หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา กรณีมีปัญหาอันเกิดจาก การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมฯ กรณีไม่มีปัญหาอันเกิดจากการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมฯ หรือไม่เข้าข่ายการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมฯ หรือกรณีการกระทำความผิดทางวินัย คณะกรรมการจริยธรรม พิจารณาวินิจฉัย ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีนั้น ๆ

18 การปราบปรามการทุจริต
(๑) การกำกับ ติดตามการใช้มาตรการทางการบริหาร(ปกครอง/วินัย) ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๖๙/๒๕๕๗ ให้ รายงานทุกวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน (ตามแบบ) (๒) การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน ตามมาตรา ๕๘/๒ ของพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้รายงานผลการดำเนินการ (เฉพาะกรณีมีการดำเนินการ) ทุกวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน (ตามแบบ)

19 การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในภาพรวม
ศปท. ประมวล / วิเคราะห์ ผลการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดในรอบปีงบประมาณ ของภารกิจงานทั้ง ๓ ด้าน คืองานด้านป้องกันการทุจริต งานด้านส่งเสริมการคุ้มครองจริยธรรม งานด้านปราบปรามการทุจริต สรุปในภาพรวมเป็นผลการดำเนินงานของ ศปท.ในรอบปีงบประมาณ พร้อม ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ให้จัดส่งรายงานดังกล่าวให้กับสำนักงาน ป.ป.ท. ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ ถัดไป โดยสำนักงาน ป.ป.ท.ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริต (ศอตช.) จะเป็นผู้สรุป วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของ ศปท. ทั้ง ๓๕ แห่งรายงาน คณะกรรมการค่อต้านการทุจริต และจัดส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ.) ต่อไป

20 กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
งานด้านการป้องกัน กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ - ทบทวนสถานการณ์การทุจริต / เรื่องร้องเรียน / ข้อรายงาน สตง. / ป.ป.ช./ป.ป.ท. - วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ผลการดำเนินงานตามแผนปีที่ผ่านมา - วิเคราะห์ความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะเกิดการทุจริต / ผลประโยชน์ทับซ้อน - การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ฯลฯ แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ศปท. ระยะ ๕ ปี ศปท.๓๕ หน่วย ส่งให้สำนักงาน ป.ป.ท. ภายในไตรมาส แรกของปีงบปประมาณ เผยแพร่บน Website แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะ ๕ ปี ของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐในสังกัด S W O T - ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี - นโยบายรัฐบาล / คสช. / คตช. / ศอตช. / คำสั่ง คสช.ที่ ๖๙/๒๕๕๗ - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต - นโยบายของผู้บริหาร ฯลฯ เผยแพร่บน Website แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะ ๑ ปี และงบประมาณแบบบูรณาการของส่วนราชการ / หน่วยงานในสังกัด บันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน ป.ป.ช. (ตามระยะเวลาที่ สำนักงานป.ป.ช.กำหนด) ศอตช. / คตช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สำนักงาน ป.ป.ช. / สำนักงาน ก.พ.ร. / สำนักงาน ก.พ.) เผยแพร่บน Website ศปท. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณในภาพรวมของส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐในสังกัด ส่งให้สำนักงาน ป.ป.ท. ภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณถัดไป สำนักงาน ป.ป.ท. ประมวล/วิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนฯ ของ ศปท. ทั้ง ๓๕ หน่วยงาน

21 คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีความเห็น
กระบวนการกำกับติดตามการใช้มาตรการทางการบริหาร (ปกครอง/วินัย)ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๖๙/๒๕๕๗ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีความเห็น ศปท. สรุปรายงานผลการบังคับใช้มาตรการทางการบริหาร (ปกครอง/วินัย) เรื่องร้องเรียนกรณีพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริต หัวหน้าส่วนราชการ/หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบฯ และโดยบังคับใช้มาตรการทางการบริหาร (ปกครอง/วินัย) ศอตช. ศปท. ส่งผลการดำเนินการใช้มาตรการทางการบริหาร (ปกครอง/วินัย) ของส่วนราชการ/หน่วยงาน ของรัฐในสังกัดตามแบบภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือนตามแบบรายงาน

22 หัวหน้าส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐ
งานด้านการปราบปราม กระบวนการกำกับ ติตามผลการดำเนินงานของส่วนราชการระดับกรม ตามมาตรา ๕๘/๒ ตาม พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ การดำเนินงานของของส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ ที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน/ ส่อไปในทางทุจริต สำนักงาน ป.ป.ท./ศอตช. หัวหน้าส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐ 1. สั่งการให้มีการตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหา ๒.แจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงาน ป.ป.ท. ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ติดตามผลความคืบหน้า รวบรวมผลการดำเนินงานตาม ม. 58/2 ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ (ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน) สำนักงาน ป.ป.ท. รวบรวมรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรา ๕๘ / ๒ (ถ้ามี)

23 มาตรา ๕๘/๒ มาตรา ๕๘/๒ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่า หน่วยงานของรัฐใดมีวิธีปฏิบัติหรือการดำเนินงานที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้บริการหรือประชาชน และส่อไปในทางทุจริตในภาครัฐหรือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ให้สำนักงานแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นทราบ เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องสั่งการให้มีการตรวจสอบและดำเนินการ แล้วแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานทราบด้วย ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นจงใจไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันควร ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. รายงานให้คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

24 ช่องทางการติดต่อประสานงาน
๑. ผู้ประสานงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ท. ๒. ช่องทางการรายงานผล ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม (ป.ป.ท.) ๙๙ หมู่ ๔ อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ ๓. เบอร์โทรศัพท์ / โทรสาร โทร ๐๒ ๕๐๒ ๖๖๗๐-๘๐ ต่อ ๑๕๐๐-๑๕๑๕ โทรสาร ๐๒ ๕๐๒ ๖๕๐๖ 4. E- Mail : 5. Website เลือก link ศอตช.

25 ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)


ดาวน์โหลด ppt (ศปท.) ในฐานะกลไกการขับเคลื่อน ศอตช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google