ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงร่างองค์กร (Organizational Profile : OP)
3
โครงร่างองค์กร (Organizational Profile : OP)
โครงร่างองค์กร คือ ภาพรวมขององค์กร เป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินงาน และเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่เป็นบริบทที่ใช้ตอบ หมวด 1-7 เป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินตนเอง และการเขียนรายงาน ช่วยในการระบุสารสนเทศสำคัญที่สำคัญขององค์กร ทำเข้าใจตัวเอง สื่อความเข้าใจในองค์กร ให้คนในองค์กรกรเข้าใจตรงกัน
4
ความสำคัญของ โครงร่างองค์กร (Organizational Profile : OP)
เป็นเอกสารฉบับแรกที่ควรเขียนเมื่อเริ่มเขียนรายงาน (Application Report) หรือเริ่มทำ Self-Assessment เป็นเอกสารที่ผู้ตรวจประเมินใช้เป็นพื้นฐานในการประเมิน พิจารณาให้รางวัล ScQA – OBECQA และ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) อาจนำมาใช้ในการทำ Self-Assessment ในระยะแรก ช่วยทำให้เราทราบจุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร
5
โครงร่างองค์กร 1. ลักษณะองค์กร 2. สภาวการณ์ขององค์กร
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร ข. ความสัมพันธ์ ระดับองค์กร ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน ข. บริบท เชิงกลยุทธ์ ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ (1)หลักสูตร (Product Offerings) (2) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม (Vision,Mission and Values) (3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร (Workforce Profile) (4) สินทรัพย์ (Assets) (5) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Regulatory Requirements) (1) โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) (2) นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Students and Stakeholders) (3)ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร (Suppliers and Partners) (1) ลำดับการแข่งขัน (Competitive Position) (2) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Changes) (3) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Data) (1) บริบทเชิงกลยุทธ์ (Strategic Context) : * ความท้าทาย เชิงกลยุทธ์ **ความ ได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ (1) การปรับปรุงผลการ ดำเนินงาน(Performance Improvement System) : * การประเมินกระบวนการ และปรับปรุงผลการดำเนินการที่สำคัญ
6
โครงร่างองค์กร (Organizational Profile : OP)
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) (รู้เรา – รู้จักภายในองค์กร) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียน คืออะไร (รู้เรา)
7
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (1) หลักสูตร (Product Offerings) โรงเรียนมี หลักสูตร(หลักสูตรสถานศึกษา) หรือโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญ อะไรบ้าง (โครงการห้องเรียนพิเศษ เช่น EP , GP ฯลฯ) * ความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของแต่ละหลักสูตรหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียน คืออะไร * กลไกที่โรงเรียนใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนจบการศึกษา อย่างมีคุณภาพตามหลักสูตร คืออะไร
9
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (2) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม (Vision,Mission and Values) * วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ที่โรงเรียนได้ประกาศไว้ คืออะไร * สมรรถนะหลักของโรงเรียน (Core Competency) คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไร กับพันธกิจของโรงเรียน
10
ตัวอย่าง
11
สมรรถนะหลักขององค์กร(Core Competencies)
หมายเหตุ สมรรถนะหลักขององค์กร(Core Competencies) เรื่องที่โรงเรียนมี ความชำนาญที่สุด เป็นเรื่องที่คู่แข่ง หรือผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ ลอกเลียนแบบได้ยาก * สมรรถนะหลัก คือ สิ่งที่ใครๆเขาก็กลัว * สมรรถนะหลัก คือ ศักยภาพ/ความสามารถของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนเราเหนือกว่าโรงเรียนอื่น สมรรถนะหลักของโรงเรียน จะช่วยคงความได้เปรียบในการแข่งขันของโรงเรียน เป็นขีดความ สามารถเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นแกนหลักในการทำให้โรงเรียนบรรลุพันธกิจ ทำให้ได้เปรียบในสภาพแวดล้อมของตลาดหรือการบริการของตน การไม่กำหนดสมรรถนะหลักที่ต้องการของโรงเรียน อาจส่งผลต่อความ ท้าทายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญการเสียเปรียบในตลาด
12
หมายเหตุ หัวใจของความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียน คือ การกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) ที่ชัดเจน และมีความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ การนำสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) ไปใช้อย่างเหมาะสม จะสร้างความโดดเด่นในตลาด การทำให้สมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) ทันต่อทิศทางเชิง กลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นส่วนประกอบในสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) จะช่วยสนับสนุนความยั่งยืน ตัวอย่าง
13
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร (Workforce Profile) * มีการจำแนกบุคลากรออกเป็นกลุ่มและประเภทอะไรบ้าง และกลุ่มเหล่านี้มีข้อกำหนดด้านการศึกษาระดับใด * ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคลากรมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ และ พันธกิจ ของโรงเรียน คืออะไร * มีบุคลากรกลุ่มใดบ้างที่จัดตั้งให้ทำหน้าที่เจรจาสิทธิประโยชน์กับโรงเรียน * สิทธิประโยชน์และข้อกำหนดพิเศษด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่สำคัญของบุคลากร มีอะไรบ้าง
14
ตัวอย่าง
15
ตัวอย่าง
16
ตัวอย่าง
17
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (4) สินทรัพย์ (Assets) * โรงเรียนมีอาคารสถานที่ เทคโนโลยี ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่สำคัญต่อการบริหารจัดการหลักสูตร อะไรบ้าง
18
ตัวอย่าง
19
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (5) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (Regulatory Requirements) โรงเรียนดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับที่สำคัญอะไรบ้าง ในด้านต่อไปนี้ * กฎ ระเบียบด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย * ข้อกำหนดด้านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา * กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการบริการเสริมพิเศษ * กฎ ระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการศึกษา * กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านการเงิน และสิ่งแวดล้อม
20
ตัวอย่าง
21
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (1) โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) โครงสร้างองค์กร และระบบการกำกับดูแลองค์กร (Governance System) ของโรงเรียนมีลักษณะอย่างไร ระบบการรายงานระหว่างคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร ผู้นำระดับสูง หน่วยงานต้นสังกัด มีลักษณะเช่นใด
22
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (2) นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Students and Stakeholders) ส่วนตลาด หรือ เขตพื้นที่บริการ () กลุ่มนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ จำแนกตามหลักสูตรของโรงเรียนมีอะไรบ้าง ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของกลุ่มนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรและการบริการต่างๆ มีอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร
23
หมายเหตุ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการดำเนินการของส่วนราชการของท่าน เช่น ประชาชน ชุมชนในท้องถิ่น บุคลากรในส่วนราชการ ผู้ส่งมอบ รวมทั้งผู้รับบริการด้วย แม้ว่า “นักเรียน” (ผู้รับบริการ) เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ควรแยกผู้รับบริการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงออกมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังได้อย่างชัดเจนในหมวด 3 ( การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ การส่งมอบที่ตรงเวลา การให้บริการที่รวดเร็ว และผู้ให้บริการที่สุภาพ
24
หมายเหตุ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง การส่งมอบที่ตรงเวลา การให้บริการที่รวดเร็ว และผู้ให้บริการที่สุภาพ อาทิเช่น * การจบหลักสูตรชั้นสูงสุดของแต่ละระดับชั้นเรียนตามที่หลักสูตรกำหนด (เช่น ระดับประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี) * การได้ศึกษาต่อตามเส้นทางที่คาดหวังและเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน * ความปลอดภัย การป้องกันภัย การจัดสวัสดิการ และการให้บริการที่มีคุณภาพ * การใช้เทคโนโลยีที่เหนือชั้น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว การติดตามผู้เรียนหลังจากจบการศึกษา และ การจัดสอนเสริมภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ การส่งรายงานผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียน การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การให้บริการชุมชน
25
ตัวอย่าง
26
ตัวอย่าง
27
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (3) ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร (Suppliers and Partners) ผู้ส่งมอบ (Suppliers) พันธมิตร (Partners) และ ผู้ให้ความร่วมมือ (Collaborators) ที่สำคัญมีประเภทใดบ้าง และมีบทบาทอะไรในระบบงานของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน การจบหลักสูตรของนักเรียน และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียน
28
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
1. ลักษณะองค์กร (Organization Description) คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (3) ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร (Suppliers and Partners) (ต่อ) โรงเรียนมีกลไกที่สำคัญอะไรในการสื่อสารแบบสองทิศทางกับผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมอะไรในการสร้างนวัตกรรม ให้แก่โรงเรียน ข้อกำหนดที่สำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply- chain) ของโรงเรียน คืออะไร (พิจารณาจากระบบการบริหารจัดการหลักสูตร)
29
ตัวอย่าง
30
ตัวอย่าง
31
ผู้ส่งมอบ (Supplier) หมายเหตุ
32
ในบางกรณีผู้ส่งมอบมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญในการดำเนิน ธุรกิจ/กิจการ และในการรักษาไว้หรือการบรรลุความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนของโรงเรียน
33
พันธมิตร (Partners) หมายเหตุ
คือ โรงเรียน องค์กรหรือกลุ่มบุคคล ที่สำคัญ...ที่ตกลงทำงานร่วมกับโรงเรียน เพื่อ ให้บรรลุเป้าประสงค์ร่วมกัน มักเป็นความร่วมมือที่เป็นทางการ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์เฉพาะ หรือเจตจำนงเฉพาะเจาะจง เช่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ หรือเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น มอบกิจกรรมการเรียนการสอนเฉพาะอย่าง มีความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทบาทและ ผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน พันธมิตร (Partners)
34
คู่ความร่วมมือ (Collaborators)
หมายเหตุ คือ หน่วยงานหรือบุคคลที่มีความร่วมมือในการดำเนิน การกับโรงเรียนที่จะสนับสนุน ในการจัดงานหรือกิจกรรมบางส่วนหรือผู้ที่ร่วมดำเนินการเป็นครั้งคราว เมื่อมีเป้าหมาย ระยะสั้นที่สอดคล้องกัน หรือเหมือนกัน โดยทั่วไป ความร่วมมือในลักษณะนี้มักไม่มีข้อตกลงหรือ รูปแบบที่เป็นทางการ คู่ความร่วมมือ (Collaborators)
35
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply -chain)
หมายเหตุ คือ กระบวนการของการบริหารจัดการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง กับผู้ส่งมอบ (Supplier) ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น นักเรียน บุคลากร เทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการเรียนการสอน (Process) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน และส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Customer) คือนักเรียน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply -chain)
36
โครงร่างองค์กร (Organizational Profile : OP)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) (รู้เขา – รู้จักภายนอกองค์กร) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร (รู้เขา – รู้จักภายนอก)
37
ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment) (1) ลำดับการแข่งขัน (Competitive Position) โรงเรียนอยู่ในลำดับที่เท่าใดในการแข่งขัน ให้อธิบายขนาดและการเติบโตของโรงเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนที่มีหลักสูตรลักษณะเดียวกัน หรือตลาดเดียวกัน โรงเรียนที่เป็นคู่แข่งมีจำนวนเท่าใด และประเภทอะไรบ้าง
38
ตัวอย่าง
39
หมายเหตุ การแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศโดยการจัดระดับเทียบเคียง (Benchmarking) กับองค์กรที่เป็นเลิศ = การค้นหากระบวนการและผลลัพธ์ซึ่งแสดงถึงการปฏิบัติและดำเนินการอย่างดีเยี่ยมในส่วนราชการด้วยการหรือองค์กรอื่นที่มีหน้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด (2) การแข่งขันเพื่อความอยู่รอด โดยเทียบเคียงกับองค์กรที่มีผู้รับบริการในกลุ่มเดียวกัน การค้นหาส่วนราชการด้วยกันหรือองค์กรอื่นที่มีผู้รับบริการในกลุ่มเดียวกันซึ่งเป็นคู่แข่ง ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานกลุ่มผู้รับบริการไว้กับส่วนราชการ
40
ตัวอย่าง
41
ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment) (2) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Changes) ระบุการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ถ้ามี) ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์ในการแข่งขันของโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ
42
ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (Competitive Environment) (3) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Data) ระบุแหล่งที่มาสำคัญ สำหรับข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และเชิงแข่งขันทางการศึกษา มีอะไรบ้าง มีข้อจำกัดอะไรบ้างในการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ หรือมีข้อจำกัดอะไรในการใช้ข้อมูลเหล่านี้
43
ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ (Strategic Context)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ (Strategic Context) ระบุ “ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ” ที่สำคัญ และ “ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์” ที่สำคัญ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการปฏิบัติการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านทรัพยากรบุคคล ของโรงเรียน
44
หมายเหตุ ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องเอาชนะเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ตัวอย่างความท้าทายตามพันธกิจ เช่น สถาบันการศึกษามีพันธกิจเกี่ยวกับการผลิตกำลังคนให้ออกไปรับใช้สังคม ความท้าทายตามพันธกิจ อาจได้แก่ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของสังคมของประเทศ ตัวอย่างความท้าทายด้านปฏิบัติการ เช่น การให้การโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคล เช่น การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรในองค์กร
45
ตัวอย่าง
46
ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Performance Improvement System)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Performance Improvement System) ระบุองค์ประกอบสำคัญ ของระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมทั้ง * กระบวนการประเมินผล * กระบวนการเรียนรู้ระดับโรงเรียน และ *กระบวนการสร้างนวัตกรรมของโรงเรียน
47
ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Performance Improvement System)
2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organization Situation) สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียน คืออะไร ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Performance Improvement System) ตัวอย่าง
48
หมายเหตุ การปรับปรุงประสิทธิภาพ หมายถึง การประเมินและปรับปรุง กระบวนการทำงานหลัก อย่างเป็นระบบ ตัวอย่าง : แนวทางและวิธีการในการปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนราชการ เช่น การดำเนินการเรื่อง Blueprint for Change ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000:2000 เครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้สำหรับการปรับปรุงกระบวนการ แนวทางในการประเมินกระบวนการทำงานหลัก เช่น การวัดจากจุดคุ้มทุน การสำรวจความ พึงพอใจของประชาชน การลดค่าใช้จ่าย คำถามนี้มุ่งหวังที่จะให้ส่วนราชการใส่ใจกับการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินการ และช่วยให้ส่วนราชการและผู้ตรวจประเมินกำหนดบริบทของแนวทางที่จะใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินการ
49
การจัดทำรายงาน Application Report
ต้องชัดเจนในทุกประเด็น การเขียนโครงร่างองค์กร ต้อง เชื่อมโยงกับ Criteria
50
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย 3. นักเรียน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. การนำ องค์กร 2. กลยุทธ์ 6.กระบวนการ 5. บุคคลากร 7. ผลลัพธ์ 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
51
โครงสร้างของรายงาน ประกอบด้วย ( หนา 100 หน้า)
โครงร่างองค์กร ( 10 หน้า) หมวดที่ 1 การนำองค์กร หมวดที่ 2 กลยุทธ์ หมวดที่ 3 นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวดที่ 4 การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ หมวดที่ 5 บุคลากร หมวดที่ 6 กระบวนการ หมวดที่ 7 ผลลัพธ์
52
การออกแบบหลักสูตรและกระบวนการ
ความเชื่อมโยงระหว่างโครงร่างองค์กร กับ เกณฑ์ โครงร่างองค์กร เกณฑ์ 6.1ก 1. ลักษณะองค์กร การออกแบบหลักสูตรและกระบวนการ 1. ก(1) หลักสูตร 6.1 ก(2) การออกแบบหลักสูตรและกระบวนการ 1.1 ก(1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม 1. ก(2) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม 2.1 ก ปัจจัยนำเข้าสำหรับกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ 5.1 ก ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร 5.1 ข บรรยากาศการทำงานของบุคลากร 5.2 ก ความผูกพัน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 5.2 ข การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ 1. ก(3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร 1. ก(4) สินทรัพย์ 3.1 เสียงของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 ความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. ก(5) กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 1.2 การกำกับดูแลองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคม 7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร 1. ข(1) โครงสร้างองค์กร 1.2 ก(1) ระบบการดูแลโรงเรียน 1.2 ข(2) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม 3.1ก (1,2) การรับฟังนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. ข(2) นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.1 ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการ 7.2 ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. ข(3) ผู้ส่งมอบและพันธมิตร 7.5 ก ( 2 ) ผลลัพธ์ด้านการตลาด
53
ความเชื่อมโยงระหว่างโครงร่างองค์กร กับ เกณฑ์
2.สภาวการณ์องค์กร 3.1ก (1,2) เสียงของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4.1ก(2) 3.1ข(2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ความพึงพอใจเปรียบเทียบกับคู่แข่ง 2. ก สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน 2.1 ก(3) การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ 2.1 ข(1) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ 7.4 ข ผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ 2. ข บริบทเชิงกลยุทธ์ 1.1 ก(3) การสร้างโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ 1.2 ก(2) การประเมินผลการดำเนินการ 3.1 ก(1, 2) การรับฟังนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 ก หลักสูตรและการสนับสนุนนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 ข การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4.1 ก(4) ความคล่องตัวของการวัดผล 4.2 ข(3) ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ 5.1 ข(1) สภาพแวดล้อมของการทำงาน 5.2 ข(2) ประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา 6.1 ข(3) การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการ 2. ค ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.