ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน และนายศรัณย์ ธรรมทักษิณ
การเสริมสร้างความสุขคนทำงาน ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Promoting Employee Happiness in the Work Place of Mahidol University Library and Knowledge Center นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน และนายศรัณย์ ธรรมทักษิณ
2
เครื่องมือ HAPPINOMETER
Happy Body (สุขภาพดี) Happy Relax (ผ่อนคลายดี) Happy Heart (น้ำใจดี) Happy Soul (จิตวิญญาณดี) Happy Family (ครอบครัวดี) Happy Society (สังคมดี) Happy Brain (ใฝ่รู้ดี) Happy Money (สุขภาพเงินดี) Happy Work-life (การงานดี) พัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ., 2555, น. 30)
3
เครื่องมือ HAPPINOMETER
ประกอบด้วยข้อคำถาม 81 ข้อ ข้อมูลทั่วไปขององค์กรและคนทำงาน 18 ข้อคำถาม ข้อคำถามประเมินความสุขคนทำงาน 9 มิติ 62 ข้อคำถาม คำถามระดับความสุขในปัจจุบัน 1 ข้อคำถาม
4
เกณฑ์ระดับคะแนนความสุข
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 0.00 – Very Unhappy = ไม่มีความสุขเลย คะแนนเฉลี่ยระหว่าง – Unhappy = ไม่มีความสุข คะแนนเฉลี่ยระหว่าง – Happy = มีความสุข คะแนนเฉลี่ยระหว่าง – Very Happy = มีความสุขมาก
5
ผลคะแนน Happinometer ในการสำรวจความสุข คนทํางานในองค์กร (ระดับประเทศ)
คะแนนความสุขคนทำงานในองค์กรระดับประเทศ ประจำปี 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ย คะแนน จัดอยูในระดับ “HAPPY” หรือ “ระดับมีความสุข” (ช่วงคะแนน คะแนน)
6
ปัญหา หอสมุดและคลังความรู้ฯ มีการจัดตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความสุขของส่วนงานตั้งแต่ ปี 2557 และมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 ปี ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ 1. บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ ทำให้ผู้ตอบแบบสำรวจน้อย ผลคะแนนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 2. คะแนนบางมิติยังต่ำเกินไป **ใส่ตาราง **
7
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถามมากขึ้น เพื่อผลคะแนนที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตให้แก่บุคลากรของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อผลคะแนนความสุขHAPPINOMETER เฉลี่ยปี 2561 สูงขึ้นกว่าปี 2560
8
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานวิจัย
ผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้ฯ กำหนดนโยบาย แต่งตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความสุขคนทำงานและเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืนของหอสมุดและคลังความรู้ฯ ผู้นำกิจกรรมจะมีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในแต่ละมิติ แสวงหาและคัดเลือกผู้นำกิจกรรม จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสุข 6 มิติ ภายใน 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561) (Happy Relax, Happy Soul, Happy Heart, Happy Body, Happy Money และHappy Society ) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ขั้นตอนสรุปผลแต่ละกิจกรรม ขั้นตอนการรวบรวมแบบสำรวจ HAPPINOMETER ประจำปี 2561 จากบุคลากร ผลคะแนน HAPPINOMETER จากทางมหาวิทยาลัย
9
คำขวัญ Happy Libraries We Mahidol
10
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ระยะเวลา 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561)
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ระยะเวลา 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561)
11
มิติที่ 1 Happy Relax (ผ่อนคลายดี)
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม มิติที่ 1 Happy Relax (ผ่อนคลายดี) - จัดกิจกรรมเพื่อให้บุคลากรรู้สึกผ่อนคลายจากการทำงาน - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม
12
กิจกรรมที่ 1 “Happy Relax : ฝึกทักษะทฤษฎีดนตรีสากล และวิธีการใช้เสียงเบื้องต้น”
- จัดสอนทั้งสิ้น 6 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง
13
กิจกรรมที่ 2 “ดนตรีสบาย สไตล์หอสมุด”
- เพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ และการขับร้องแสดงดนตรีสากลให้กับบุคลากร นักศึกษา ผู้ใช้บริการห้องสมุด และบุคคลทั่วไป ลานหน้าหอสมุดและคลังความรู้ฯ - จัดแสดงทั้งสิ้น 8 ครั้ง ทุกวันศุกร์ เวลา – น.
14
กิจกรรมที่ 3 “Happy Relax : ดนตรีไทย...ออเจ้าใดว่าเชย”
- เชิญวงดนตรีไทยเดิมจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลมาบรรเลงสด ให้กับบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้ฯ และบุคคลทั่วไป เพื่อผ่อนคลาย และตอบโจทย์ให้กับบุคลากรบางกลุ่มที่ชื่นชอบดนตรีย้อนยุค หรือกระแสละครดังในช่วงดังกล่าว
15
มิติที่ 2 Happy Soul (จิตวิญญาณดี)
- จัดกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศาสนา รักษาประเพณี และวัฒนธรรม - จัดกิจกรรม ทั้งสิ้น 3 กิจกรรม
16
กิจกรรมที่ 1 “ทัศนาจรเติมบุญ...ตามรอยพุทธศาสนา”
นำบุคลากรไปทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้บุคลากรได้มีโอกาสไหว้พระ ทำบุญ
17
กิจกรรมที่ 2 “รวมใจเข้าวัดทำบุญ
กิจกรรมที่ 2 “รวมใจเข้าวัดทำบุญ...น้อมถวายเป็นพุทธบูชาวันวิสาขบูชา ๒๕๖๑” ณ วัดเนกขัมมาราม จังหวัดปทุมธานี นำบุคลากรไปสักการะหลวงพ่อขาว พร้อมเวียนเทียนรอบมณฑป และทัศนศึกษาวัดเจดีย์หอย เนื่องในวันวิสาขบูชา
18
กิจกรรมที่ 3 “จุลศักราช ๑๓๘๐ แล้วหนอ...ออเจ้า”
จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ ณ อาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ เพื่อให้บุคลากรได้มีโอกาสทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ รักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย
19
มิติที่ 3 Happy Heart (น้ำใจดี)
- เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมจิตอาสา - จัดกิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ”
20
กิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ”
1) ขอรับบริจาคกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า จากหน่วยงานต่าง ๆ 2) สอนวิธีการประดิษฐ์สมุดทำมือ
21
กิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ”
3) เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมาสอนทักษะการออกแบบและวาดภาพบนปกสมุดทำมือ 4) นำสมุดทำมือ 130 เล่มพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียน ไปมอบให้แก่ “โครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้องเปเปอร์เรนเจอร์” ณ บ้านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปบริจาคให้แก่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
22
มิติที่ 4 Happy Body (สุขภาพดี)
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากร ในการกระตุ้นให้บุคลากรมีความสนใจและเห็นประโยชน์ที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ - จัดกิจกรรม ทั้งสิ้น 2 กิจกรรม
23
กิจกรรมที่ 1 “Happy Body ชีวิตดี๊ดี เริ่มต้นที่การออกกำลังกาย”
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่บุคลากรโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีกรรายการ Healthy Fine Day ทางช่อง Mahidol Channel มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ พร้อมสาธิตเทคนิคพื้นฐานในการออกกำลังกายที่ถูกวิธี
24
กิจกรรมที่ 2 “Happy Body ออกกำลังกายหลังเลิกงาน”
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่องและหลายหลายตามความสนใจของกลุ่มบุคลากร เช่น ปั่นจักรยานแรลลี่, เต้นแอโรบิก, Zumba Dance, เดินวิ่ง, Jogging เบา ๆ และโยคะ เป็นต้น - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 10 ครั้ง เวลา น.
25
มิติ 5 Happy Money (สุขภาพเงินดี)
- เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 2 กิจกรรม
26
กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่บุคลากร
- เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการใช้เงิน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และการออม (จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 2 ครั้ง) หัวข้อ “การให้ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล (ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้าง)” โดยนักทรัพยากรบุคคล กองทรัพยากรบุคคล หัวข้อ “How to be เศรษฐีพอเพียง” โดย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเศรษฐกิจพอเพียง
27
กิจกรรมที่ 2 Health...Food Good…Product @Library mini market
เพื่อให้บุคลากรนำสินค้า ขนม อาหารหรือเสื้อผ้ามือสอง มาจำหน่าย เพื่อหารายได้เสริม โดยวางจำหน่ายบริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ โดยจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ทุกวันที่ 1 และ16 ของเดือน ในช่วงเวลา น.และ น.
28
มิติที่ 6 Happy Society (สังคมดี)
- จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคลากรให้เป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งต่อความสุขสู่ชุมชน/สังคมภายนอกได้ - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ภายใต้โครงการ “จิตอาสาเพื่อพลังแผ่นดิน ร่วมสร้างรอยยิ้ม จากงาน D.I.Y. BY Mahidol Library”
29
กิจกรรมที่ 1 Happy Society : ส่งความสุขผ่านผ้า ตุ๊กตามือบีบออกกำลังกาย
สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือโรคที่มีภาวะสมองผิดปกติที่มีอาการมือเกร็ง มอบให้โรงพยาบาลในอำเภอพุทธมณฑล/สามพราน
30
กิจกรรมที่ 2 Happy Society : ส่งความสุขผ่านสมุดคัดเขียนเรียน ก-ฮ สำหรับเด็กเล็ก
สำหรับเด็กเล็กมอบให้มูลนิธิเด็ก พุทธมณฑลสาย 4
31
กิจกรรมที่ 3 Happy Society : ส่งความสุขผ่านสบู่ทำมือ
มอบให้มูลนิธิหลวงตาน้อยเพื่อคนพิการ เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส
32
ขั้นตอนสรุปผลแต่ละกิจกรรม
33
ผลประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อกิจกรรม
การประเมินผลกิจกรรมโดยวัดจากความพึงพอใจบุคลากรที่เข้าร่วมเฉลี่ยมากกว่า ระดับ 4.00 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ยร้อยละ ของบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้ฯ (ค่าเป้าหมายไม่น้อยกว่า 3.5 ทุกมิติ)
34
ขั้นตอนการรวบรวมแบบสำรวจ Happinometer ประจำปี 2561 จากบุคลากร
35
ในการสำรวจปีที่ผ่านมาจะเป็นการสำรวจผ่านระบบออนไลน์ ผู้ตอบแบบสำรวจมีจำนวนน้อย ดังนั้น จึงดำเนินการสอบถามสาเหตุ พบว่าบุคลากรไม่ทราบข่าวเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยส่งมาทางอีเมล ต่อมาได้มีการประชาสัมพันธ์แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือมากพอ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหา คณะทำงานฯ จึงดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยการทำสำเนาแบบสำรวจแจกจ่ายให้แก่บุคลากรและดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง ผลคือมีผู้ตอบแบบแบบสำรวจเพิ่มขึ้น ปี 2559 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ คน ปี 2560 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ คน ปี 2561 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ คน
36
ผลจากการที่บุคลากรตอบแบบสำรวจเพิ่มขึ้น
หอสมุดและคลังความรู้ฯ ได้รับรางวัลลำดับที่ 2 (ระดับส่วนงานขนาดกลาง) ในการร่วมตอบแบบสำรวจความผูกพัน ความพึงพอใจ และความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2561
37
ผลคะแนน HAPPINOMETER จากทางมหาวิทยาลัย
38
หอสมุดฯ ได้รับผลคะแนนจากทางมหาวิทยาลัย ที่ ศธ 0517/ว6291 เรื่อง ขอส่งผลการสำรวจความผูกพัน ความพึงพอใจ และความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561
39
ข้อเสนอแนะ
40
ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้จัดกิจกรรม 6 มิติ ในระยะเวลา 6 เดือน ถึงแม้ว่าบางกิจกรรมจะสามารถครอบคลุมได้หลายมิติก็ตาม โครงการต่อไปจะดำเนินการจัดกิจกรรมให้ครบทั้ง 9 มิติ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของบุคลากรในองค์กร HAPPINOMETER เป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานระดับประเทศและเหมาะสำหรับประยุกต์ใช้กับทุกองค์กรรวมทั้งห้องสมุด/หอสมุดมหาวิทยาลัย
41
ขอขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.