งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
การพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริงรายวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู นางสาวจิราทิพย์ โสภิตชาติ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

2 กรอบแนวคิด จุดประสงค์รายวิชา บัญชีซื้อขายสินค้ามีดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการและขั้นตอนการจัดทำบัญชี สำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภทธุรกิจซื้อขาย 2. มีทักษะปฏิบัติงานบัญชีเบื้องต้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า 3. มีกิจนิสัยความมีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ มีวินัยตรงต่อเวลาและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี เครื่องมือที่พัฒนา เครื่องมือประเมินตามสภาพจริงประกอบด้วย 1. แบบทดสอบเขียนตอบมีลักษณะเป็นโจทย์ที่ฝึกความคิดชั้นสูงเลียนแบบสภาพจริงในชีวิตประจำวัน 2. แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงในการเรียนรู้วัดด้านความมีระเบียบ ด้านความละเอียด ด้านความรอบคอบ ด้านความมีวินัย ด้านการตรงต่อเวลา ด้านมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ 3. แฟ้มสะสมงานจากภาระงานเพื่อแสดงถึงความก้าว หน้าและพัฒนาการของผู้เรียน 1. หาคุณภาพของเครื่องมือ การหาคุณภาพของเครื่องมือมีดังนี้ 1.1 แบบทดสอบเขียนตอบ หาคุณภาพ มีดังนี้ -ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา -ความยากง่าย -อำนาจจำแนก -ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ -ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนน 1.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกการเรียนรู้หาคุณภาพด้าน -ความเชื่อมั่นของแบบสังเกต 1.3 แฟ้มสะสมงานหาคุณภาพด้าน -ความเที่ยงตรงตามสภาพ 2. สร้างคู่มือการใช้เครื่องมือ ประเมินตามสภาพจริง

3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อหาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง 2. เพื่อสร้างคู่มือการใช้เครื่องมือวัดประเมินตามสภาพจริง

4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากร (Population) ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 55 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู (ที่มา: ข้อมูลจากห้องทะเบียนวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู, สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2558) ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที 2 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 48 คน

5 วิธีการตรวจสอบคุณภาพ
1. การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2. นำแบบทดสอบเขียนตอบที่สร้างขึ้นจำนวน 30 ชุด ไปทดสอบ (Try Out) กับผู้เรียนสาขาการบัญชี 3. หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คำนวณความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนนสูตรสัมประสิทธิ์

6   การรวบรวมข้อมูล 1. รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและหนังสือการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า 2. ออกแบบทดสอบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม และแฟ้มสะสมงาน 3. ประสานงานกับอาจารย์มยุรี เกื้อสกุล หัวหน้าสาขาการบัญชี 4. ดำเนินการตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 1 เดือน

7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ความยากง่าย อำนาจจำแนก ผลการพิจารณา 1 0.67 0.51 ผ่านเกณฑ์ 2 0.50 0.48 3 0.54 0.52 4 0.46 0.23 5 0.72 0.26 6 0.64 0.15 ไม่ผ่านเกณฑ์ 7 0.69 0.10 8 9 0.17 10 0.75 0.28 11 0.55 0.29 12 0.14 13 0.37 0.19 14 0.27 15 0.71 0.34

8 จากตาราง พบว่า แบบทดสอบเขียนตอบ วิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า ฉบับที่ 1 วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัญชี จำนวน 15 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.75 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกข้อ และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.10 ถึง 0.51 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 10 คือ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 15 ไม่ผ่านเกณฑ์ 5 ข้อ คือ ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 12 และข้อ 13

9 ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบเขียนตอบ
ส่วนประกอบหลัก ส่วนประกอบย่อย 1. ความรู้ความเข้าใจทางบัญชี - การบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อสินค้า - การบันทึกรายการในสมุดรายวันส่งคืนสินค้า - การบันทึกรายการในสมุดรายวันขายสินค้า - การบันทึกรายการในสมุดรายวันรับคืนสินค้า ส่วนประกอบหลัก ส่วนประกอบย่อย 2. กระบวนการจัดทำบัญชี - การวิเคราะห์รายการค้า - การบันทึกรายการบัญชี - การผ่านรายการแยกประเภทเจ้าหนี้รายบุคคล - การผ่านรายการแยกประเภทลูกหนี้รายบุคคล

10 จากตารางทั้ง 2 พบว่า ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบเขียนตอบ รายวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า มีลักษณะข้อคำถามที่เน้นให้ผู้เรียนเขียนตอบ โดยให้นักเรียนแสดงความรู้เกี่ยวกับหลักงานของสมุดรายวันเฉพาะ และวิธีการบัญชีสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียว ประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า

11 สรุปผลการวิจัย 1. คุณภาพของเครื่องมือ 1.1 คุณภาพของแบบทดสอบเขียนตอบ
  สรุปผลการวิจัย 1. คุณภาพของเครื่องมือ 1.1 คุณภาพของแบบทดสอบเขียนตอบ -ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ต้องมีความสอดคล้อง -ความยากง่ายและอำนาจจำแนกรายข้อ -ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่า 0.90 และ 0.88 -ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนน เท่ากับ 0.98 1.2 คุณภาพของแบบสังเกต -ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีความสอดคล้อง -ความเชื่อมั่นของแบบสังเกต 1.3 คุณภาพของแฟ้มสะสมงาน - ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนน =0.94

12 อภิปรายผล เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า แบบทดสอบเขียนตอบวิชาบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า แบบทดสอบฉบับที่ 1 วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัญชีจำนวน 15 ข้อมีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.75 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดความยากง่ายของแบบทดสอบสอดคล้องกับพรรณทิพา รักขิตพนิจดุลย์ (2550) ที่ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริงรายวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545

13 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริง ไปใช้กับวิชาบัญชีเล่มอื่น ๆ 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบ ผลการใช้เครื่องมือประเมินตามสภาพจริงต่อนักเรียนที่มีระดับความสามารถของการ เรียนที่ต่างกัน

14 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวิจัย คือ ต้องคำนึงถึง
  ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวิจัย คือ ต้องคำนึงถึง ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และความเข้าใจร่วมกันของนักเรียนและครู การนำผลการวิจัยไปใช้ เป็นเครื่องมือประเมิน ตามสภาพจริงและได้คู่มือใช้วัดผลประเมินตาม สภาพจริง 5

15 THE END


ดาวน์โหลด ppt กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google