งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด
ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด วันที่ ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

2 นั่งตามสบาย เอาที่สบายใจแล้วกัน

3

4 1. รู้ และเข้าใจเรื่อง “สิทธิมนุษยชน”
วัตถุประสงค์หลัก 1. รู้ และเข้าใจเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” 2. ตระหนักว่า “สิทธิมนุษยชน” เกี่ยวข้องกับ ทุกคน ทุกองค์กร ทุกภาคส่วน 3. ทุกองค์กรนำเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” มา บูรณาการ ในแผนพัฒนาจังหวัด

5 Equality Human dignity Human Rights Pitak kerdhom

6 ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะเป็นคน ซึ่งทำให้คนๆนั้นมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างมีความเหมาะสมแก่ความเป็นคนและสามารถพัฒนาตนเองได้

7 สิทธิมนุษยชน มี 2 ระดับ ระดับแรก ระดับสอง
25/02/62 สิทธิมนุษยชน มี 2 ระดับ สิทธิที่ติดตัวคนทุกคน มาแต่เกิด ระดับแรก สิทธิที่ได้รับรองในรูปของกฎหมาย ระดับสอง

8 และไม่สามารถถ่ายโอนกันได้
1 25/02/62 หลักการสำคัญ ของ สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ความ เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ เป็นสากล และไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ แบ่งแยกไม่ได้ 5 2 3 4

9 1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
25/02/62 1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

10 การให้คุณค่าของมนุษย์ในสังคม
คุณค่าของคนในฐานะตามธรรมชาติของมนุษย์ คุณค่าของคนตาม ฐานะตำแหน่งทางสังคม การดำรงชีวิต เพศ / อายุ / เชื้อชาติ สุขภาพ สภาพทางร่างกาย ฯลฯ ฐานะทางเศรษฐกิจ บทบาททางสังคม สถานภาพทางสังคม การดำรงตำแหน่งสังคม ที่มา : ไพโรจน์ พลเพชร : สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

11 “การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
25/02/62 นิยาม “การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ดูหมิ่น เหยียดหยาม ลดทอน หรือลดคุณค่าความเป็นมนุษย์เป็นเพียงวัตถุ สิ่งของ เลือกปฏิบัติ หรือปฏิบัติต่อบุคคลเสมือนไม่ใช่มนุษย์ เข้าไม่ถึง

12 ความสัมพันธ์ระหว่าง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
คุณค่าความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และเป็นที่มาของ “สิทธิของมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงเป็นรากฐานของ สิทธิมนุษยชน การเคารพสิทธิมนุษยชน ทำให้ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

13 25/02/62 2. ความเสมอภาค

14

15 นิยาม “ความเสมอภาค” (Equality)
25/02/62 การปฏิบัติต่อบุคคลที่มีคุณลักษณะและสาระสำคัญที่เหมือนกันอย่างเหมือนกันหรือ การปฏิบัติต่อบุคคลที่มีคุณลักษณะและสาระสำคัญที่ต่างกันอย่างต่างกัน เหมือนกันอย่างเหมือนกัน ต่างกันอย่างต่างกัน แรงงานหญิงและชายทำงานประเภทเดียวกันต้องได้รับค่าแรงเท่ากัน กฎหมายภาษีอากร ใครรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อยและใครรายได้มากก็เสียภาษีมาก

16 ตัวอย่าง กรณีบุคคลที่มีคุณลักษณะที่มีสาระสำคัญ ที่ต่างกันต้องได้รับการปฏิบัติอย่างต่างกัน
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใครรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อย และ ใครรายได้มากก็เสียภาษีมาก เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิด ถูกลงโทษหนักกว่า ประชาชนทำผิด ในข้อหาเดียวกัน

17 25/02/62 3. การไม่เลือกปฏิบัติ

18 นิยาม “การไม่เลือกปฏิบัติ” (Non -Discrimination)
25/02/62 นิยาม “การไม่เลือกปฏิบัติ” (Non -Discrimination) การปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึง เหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง

19 “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม”
25/02/62 “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” การเลือกปฏิบัติ ในการ เข้าถึงสิทธิที่รัฐจัดให้ คน บาง กลุ่มที่ด้อยโอกาส ซึ่งยากต่อการเข้าถึง “สิทธิ” มากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น คนยากจน พิการ เด็ก สตรี เป็นต้น ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ

20 ความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
25/02/62 ความเสมอภาค ไม่ใช่การได้รับเท่ากัน ความเสมอภาคคือการที่ทุกคนควรได้รับ จากส่วนที่ควรได้รับในฐานะเป็นคน ดูว่าอะไรคือ “สาระสำคัญ” ของเรื่องนั้น หากสาระสำคัญได้รับการพิจารณาแล้วถือว่า เสมอภาคกัน การ เลือกปฏิบัติ เป็นเหตุให้เกิด “ความไม่เสมอภาค”

21 4. ความเป็นสากลและ ไม่สามารถถ่ายโอนกันได้
25/02/62 4. ความเป็นสากลและ ไม่สามารถถ่ายโอนกันได้

22 คำอธิบาย ความเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้
25/02/62 - สิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคน เป็นสิทธิประจำตัวของมนุษย์ ไม่สามารถมอบอำนาจให้แก่ใครได้ ครอบครองสิทธิแทนกันไม่ได้ แตกต่างจากกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น การครอบครองที่ดิน หรือทรัพย์สิน

23 25/02/62 5. แบ่งแยกไม่ได้

24 นิยามของ “แบ่งแยกไม่ได้”
ไม่มีสิทธิใดสำคัญกว่าสิทธิใด สิทธิพลเมือง สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางการเมือง สิทธิทางสังคม สิทธิทางเศรษฐกิจ

25 ขอบเขตของสิทธิมนุษยชน
สิทธิ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา และ ครอบคลุม ทุกเรื่องในสังคม สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิ ทางสังคม

26 ตั้งแต่อยู่ใน “ครรภ์มารดา”
กรอบแนวคิด การเรียนรู้เรื่อง “สิทธิมนุษยชน” เป็น กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ “ทุกคน” ตั้งแต่อยู่ใน “ครรภ์มารดา” ถึง “เชิงตะกอน”

27 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ในบางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 18 ต.ค. 2516 โดย อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

28 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่อง สวัสดิภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผม มีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก พ่อกับแม่จะแต่งงานกันถูกฎหมาย หรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่พ่อกับแม่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ทำความอบอุ่นให้ผมและพี่น้อง ในระหว่าง 2-3 ขวบแรกของผม ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโตในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ โดย อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

29 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมสติปัญญาเรียนชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวย หรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่า ตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม บ้านเมืองที่ผมอาศัยอยู่จะต้องมีขื่อ มีแป ไม่มีการข่มขู่ กดขี่ หรือประทุษร้ายกัน ประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความคิด และวิชาของมนุษย์ทั้งโลก และประเทศของผมจะได้มีโอกาส รับเงินทุนจากต่างประเทศมาใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

30 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
ผมต้องการให้ชาติของผมได้ขายผลิตผลแก่ต่างประเทศ ด้วยราคาอันเป็นธรรม ในฐานะที่ผมเป็นชาวไร่ชาวนา ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีการ ทำกินแบบใหม่ ๆ มีตลาดดี และขายสินค้าได้ราคายุติธรรม ในฐานะที่ผมเป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นมีส่วนในโรงงาน บริษัท ห้างร้านที่ผมทำอยู่ ในฐานะที่ผมเป็นมนุษย์ ผมก็ต้องการอ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่น ๆ ที่ไม่แพงนัก จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ก็ได้ โดยไม่ต้อง ทนรบกวนจากการโฆษณามากนัก โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

31 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน”
ผมต้องการสุขภาพอนามัยอันดี และรัฐบาลจะต้องให้บริการป้องกันโรคแก่ผมฟรี กับบริการการแพทย์ รักษาพยาบาลอย่างถูกอย่างดี เจ็บป่วยเมื่อใดหาหมอพยาบาลได้สะดวก ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชะอุ่ม สามารถมีบทบาท และชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่าง ๆ เที่ยวงานวันงานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศลอะไรก็ได้พอสมควร ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำดื่มบริสุทธิ์สำหรับดื่ม เรื่องอะไรที่ผมทำเองไม่ได้ หรือได้แต่ไม่ดี ผมก็จะขอความร่วมมือกับเพื่อนฝูงในรูปสหกรณ์ หรือ สโมสร หรือสหภาพ จะได้ช่วยซึ่งกันและกัน โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

32 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชะอุ่ม สามารถมีบทบาท และชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่าง ๆ เที่ยวงานวัน งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศลอะไรก็ได้พอสมควร “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb) ประเทศของผมควรจะมีความสัมพันธ์อันชอบธรรม และเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ผมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความคิด และวิชาของมนุษย์ทั้งโลก และประเทศของผมจะได้มีโอกาส รับเงินทุนจากต่างประเทศมาใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

33 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชะอุ่ม สามารถมีบทบาท และชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่าง ๆ เที่ยวงานวัน งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศลอะไร ก็ได้พอสมควร โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

34 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
ผมจำเป็นต้องมีเวลาว่างสำหรับเพลิดเพลินกับครอบครัว มีสวนสาธารณะที่เขียวชะอุ่ม สามารถมีบทบาท และชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรมต่าง ๆ เที่ยวงานวัน งานลอยกระทง งานนักขัตฤกษ์ งานกุศลอะไรก็ได้พอสมควร “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb) เรื่องที่ผมจะเรียกร้องข้างต้นนี้ ผมไม่เรียกร้องเปล่า ผมยินดีเสียภาษีอากรให้ส่วนรวมตามอัตภาพ ผมต้องการโอกาสที่มีส่วนในสังคมรอบตัวผม ต้องการ ผมต้องการโอกาสที่มีส่วนในสังคมรอบตัวผม ต้องการมีส่วนในการวินิจฉัยโชคชะตาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของชาติ โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

35 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
เมียผมก็ต้องการโอกาสต่าง ๆ เช่นเดียวกับผม และ เราสองคนควรจะได้รับความรู้และวิธีการวางแผนครอบครัว เมื่อแก่ ผมและเมียก็ควรได้ประโยชน์ตอบแทนจากการประกันสังคม ซึ่งผมได้จ่ายบำรุงตลอดมา เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือ ตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

36 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่น ๆ บ้าง ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตอง ในงานศพให้วุ่นวายไป โดย ป๋วย อึ้งภากรณ์

37 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
นี่แหละคือความหมายของชีวิต นี่แหละคือการพัฒนา ที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่อุตส่าห์อ่านมาจนจบ ขอความสุขสวัสดีและสันติสุข จงเป็นของท่านทั้งหลาย และพระท่านกล่าวไว้ดังนี้เกี่ยวกับความสวัสดี โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

38 “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” (from Womb to Tomb)
" เราตถาคตไม่เห็นความสวัสดีอื่นใดของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา เรื่องตรัสรู้ ความเพียร ความสำเร็จอินทรีย์ และความเสียสละ " . โดย อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์

39 เป้าหมายหลัก ของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3
“เป็นสังคมที่ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และ ความเท่าเทียม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ เพื่อนำไปสู่สังคมสันติสุข”

40 แผนสิทธิมนุษยชนมี 11 ด้าน
1. ด้านสาธารณสุข 2. ด้านการศึกษา 3. ด้านเศรษฐกิจ 4. ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 5. ด้านที่อยู่อาศัย 6. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา 7. ด้านข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร 8. ด้านการขนส่ง 9. ด้านการเมืองการปกครอง 10. ด้านกระบวนการยุติธรรม 11. ด้านความมั่นคงทางสังคม

41 แผนสิทธิมนุษยชนกำหนด 15 กลุ่มเป้าหมาย
10. เด็กและเยาวชน 11. สตรี 12. คนพิการ 13. ผู้ไร้รัฐ ชาติพันธุ์ กลุ่มผู้แสวงหา ที่พักพิง หรือผู้หนีภัยการสู้รบ 14. ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ความรุนแรง 15. ความหลากหลายทางเพศ/ อัตลักษณ์ทางเพศ 1. ผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง 2. ผู้พ้นโทษ 3. ผู้ต้องหาคดียาเสพติดฯ 4. เหยื่อ/ผู้เสียหาย 5. ผู้ติดเชื้อ HIV 6. ผู้ใช้แรงงาน 7. คนจน 8. เกษตรกร 9. ผู้สูงอายุ

42 2. คุ้มครอง สิทธิมนุษยชน 4. พัฒนา องค์กรเครือข่าย ทุกภาคส่วน
25/02/62 มิติของแผนสิทธิฯ ฉบับที่ 3 1. ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2. คุ้มครอง สิทธิมนุษยชน 4. พัฒนา องค์กรเครือข่าย ทุกภาคส่วน 3. พัฒนากฎหมายและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย

43 ขอบคุณค่ะ

44 ปัญหาความไม่เป็นธรรม
ปัญหาสังคม ปัญหาความไม่เป็นธรรม ปัญหาสิทธิทั่วไป ปัญหาสิทธิมนุษยชน

45


ดาวน์โหลด ppt “ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google