ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประเภทที่ ๑ วิจัยในชั้นเรียน
2
ชื่อผู้วิจัย : นายโชติพัฒน์ องอาจ ชื่อสถาบัน : วิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ชื่อเรื่องวิจัย : การประเมินเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร ด้วยเกณฑ์การ ให้คะแนนแบบรูบริค ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ ( ) ของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ชั้นปีที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย ปีการศึกษา 2559
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการประเมินบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร ด้วยเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย ปีการศึกษา 2559
4
เกณฑ์การให้คะแนน แบบรูบริค การพัฒนาบุคลิกภาพ การพูดแบบพิธีกร
กรอบแนวคิดการวิจัย ตัว แปรต้น เกณฑ์การให้คะแนน แบบรูบริค การพัฒนาบุคลิกภาพ การพูดแบบพิธีกร ตัว แปรตาม
5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาสาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ ( ) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 นักศึกษาสาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีเอเชีย ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ ( ) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 11 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง
6
เครื่องมือในการวิจัย
เกณฑ์การให้คะแนนโดยใช้การเขียนรูบริค แบบแยกเป็นประเด็นย่อย โดยเทียบเกณฑ์การให้คะแนนกับประเด็นบุคลิกภาพทางการพูดที่ดี แบบประเมินบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร บุคลิกภาพการพูด 6 ด้าน ได้แก่ การใช้สายตา การแสดงสีหน้า การแสดงท่าทางประกอบ การเคลื่อนไหว การแต่งกาย และการใช้ไมโครโฟน ใช้มาตราประมาณค่า และการพรรณาคุณภาพของเกณฑ์
7
เครื่องมือในการวิจัย
ระดับคะแนน ประเด็น การประเมิน เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค 4 3 2 1 การใช้สายตา สบสายตาผู้ฟังเป็นระยะ กวาดสายตาไปรอบๆ อย่างทั่วถึง สบสายตาผู้ฟังเป็นระยะ กวาดสายตาบ้าง สบสายตาผู้ฟังเป็นระยะ ไม่มีการกวาดสายตา ไม่สบสายตาผู้ฟัง การแสดงสีหน้า ยิ้มแย้มแจ่มใส มีสีหน้าสอดคล้องกับสถานการณ์และโอกาส ยิ้มแย้มแจ่มใส สีหน้าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และโอกาส ยิ้มแย้มแจ่มใสบ้าง แต่ไม่สม่ำเสมอตลอดการพูด ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า การแสดงท่าทางประกอบ มีการใช้มือและแขนประกอบการอธิบาย และสัมพันธ์กับ สีหน้า แววตา ดูเป็นธรรมชาติและดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ มีการใช้มือและแขนประกอบ การอธิบาย และสัมพันธ์กับ สีหน้า แววตา แต่ดูไม่เป็นธรรมชาติ มีการใช้มือและแขนประกอบการอธิบาย ยังไม่สัมพันธ์กับ สีหน้า แววตา ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มีการใช้มือและแขน ประกอบการอธิบาย
8
เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
ระดับคะแนน ประเด็น การประเมิน เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค 4 3 2 1 การเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ มีการเดินในลักษณะก้าวเท้า แล้วหยุดพูด เป็นระยะ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ มีการเดินในลักษณะก้าวเท้าช้าหรือเร็ว เกินไป เคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ แต่เดินตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหว ยืนนิ่งกับที่ การแต่งกาย แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ สุภาพ สะอาดสะอ้าน ถูกกาลเทศะ แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ สุภาพ สะอาดสะอ้าน แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ สุภาพ แต่งกายไม่ถูกต้องตาม ระเบียบ ไม่สุภาพ การใช้ไมโครโฟน มีการทดสอบเสียงก่อนการใช้ ไมโครโฟนห่างจากปาก ในระยะเหมาะสม ไม่ก้มหน้า หรือเงยหน้าขณะใช้ไมโครโฟน มีการทดสอบเสียงก่อนการใช้ ไมโครโฟนห่างจากปาก ในระยะเหมาะสม ก้มหน้าหรือเงยหน้าขณะใช้ไมโครโฟน มีการทดสอบเสียงก่อนการใช้ ไมโครโฟนห่างจากปาก มาก หรือใกล้ปากเกินไป ก้มหน้าหรือเงยหน้าขณะใช้ไมโครโฟน ไม่มีการทดสอบเสียงก่อนการใช้ ไมโครโฟนห่างจากปาก มาก หรือใกล้ปากเกินไป ก้มหน้าหรือเงยหน้าขณะใช้ไมโครโฟน
9
การเก็บข้อมูล นำแบบประเมิน ไปใช้ประเมินในกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง การพูดแบบพิธีกร โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจำนวน 2 ครั้ง มีระยะเวลาในการประเมินห่างกันอย่าง น้อย 1 สัปดาห์ โดยนำผลการประเมินในครั้งแรกแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนเพื่อให้ทราบข้อ พบพร่อง-ข้อดี แล้วนำไปพัฒนาตนเองตามข้อแนะนำ แล้วจึงทำการประเมินครั้งที่สอง
10
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการให้คะแนนแบบรูบริค รายบุคคล เกียรติศักดิ์ ศรีเมือง การประเมินครั้งที่ 1 การประเมินครั้งที่ 2 การใฃ้สายตา 1 3 การแสดงสีหน้า 2 การแสดงท่าทางประกอบ การเคลื่อนไหว การแต่งกาย 4 การใช้ไมโครโน ภาพรวม 2.17 3.17
11
ตารางแสดงผลการประเมินบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร โดยการให้คะแนนแบบรูบริค แยกตามบุคลิกภาพ 6 ด้าน ( ค่าเฉลี่ย ) ค่าเฉลี่ย การใช้สายตา การแสดงสีหน้า การแสดงท่าทางประกอบ การเคลื่อนไหว การแต่งกาย การใช้ไมโครโฟน การประเมินครั้งที่ 1 2.09 2.00 1.36 2.73 การประเมินครั้งที่ 2 3.18 2.82 2.91 3.00 3.09 พัฒนาการของนักศึกษา +1.09 +0.82 +1.46 +0.27
12
ตาราง แสดงผลการเปรียบเทียบ การให้คะแนนบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร โดยการให้คะแนน แบบรูบริค ภาพรวม ทั้ง 6 ด้าน ในการประเมินครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 2 ผลการประเมิน จำนวนนักศึกษา ค่าเฉลี่ย S.D. t df sig การประเมินครั้งที่ 1 11 2.03 0.10 17.71* 9.00 0.00 การประเมินครั้งที่2 2.95 0.08
13
สรุปผลการวิจัย ผลการประเมินบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกรครั้งที่ 2 สูงกว่าการประเมินบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกรครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 เกณฑ์ใช้งานง่ายชัดเจน/เห็นเป็นรูปธรรม ข้อมูลป้อนกลับ กระตุ้นให้นักศึกษาเห็นเป้าหมายที่จะพัฒนา การให้คะแนนตรงตามสภาพจริง
14
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำเกณฑ์การให้คะแนนบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกรแบบรูบริค ไปใช้ ควรใช้เกณฑ์การให้คะแนนบุคลิกภาพการพูดแบบพิธีกร แบบรูบริค กับการให้คะแนนบุคลิกภาพในการพูดรูปแบบอื่นๆ เช่น การพูดในโอกาสต่างๆ การพูดในงานอาชีพ เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการให้คะแนนการพูดในประเด็นอื่นๆ ที่ต้องการความชัดเจน และเห็นเป็นรูปธรรม ไม่เกิดข้อโต้แย้งในการให้คะแนน และมีข้อมูลป้อนกลับให้นักศึกษาเพื่อการพัฒนา เช่น การใช้ถ้อยคำในการพูด การลำดับความ การออกเสียง เป็นต้น
15
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ขอบคุณครับ ควรนำวิธีการให้คะแนนแบบรูบริคไปใช้ในการประเมินทักษะทางภาษาไทยในด้านอื่นๆ ได้แก่ ทักษะด้านการฟัง การอ่าน และการเขียน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.