งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ เพื่อการประกันคุณภาพการพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ เพื่อการประกันคุณภาพการพยาบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ เพื่อการประกันคุณภาพการพยาบาล
กุลดา พฤติวรรธน์ ประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพการพยาบาล

2 มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (สำนักการพยาบาล) มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (สภาการพยาบาล) มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA) มาตรฐานระดับสากล (JCI)

3 มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2 (เหลืองสุพรรณหงส์)

4 มาตรฐานการพยาบาล มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ) โดยใช้แนวคิด 1. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( Public Sector Management Quality : PMQA) ( กพร.) 2. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี พ.ศ (พรพ.) 3. มาตรฐานบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ พ.ศ (สภาการพยาบาล) 4. กระบวนการพยาบาล 5. การพยาบาลแบบองค์รวม

5 Total Quality Management
Leadership Information & Analysis Strategy Deployment HR Focus Business Results Process Management Customer & Market Focus Enablers Achievement

6 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจประเมินการดำเนินการของส่วนราชการในประเด็นต่าง ๆ ตามหมวดของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ทำให้เห็นโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการของส่วนราชการ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่อไป 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 การนำองค์กร หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล หมวด 6 การจัดการกระบวนการ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

7 เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 1. การนำ องค์กร 7. ผลลัพธ์ การดำเนินการ 3. การให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การจัดการ กระบวนการ 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

8 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ตัวผลักดันให้เกิดผลลัพธ์
ความเชื่อมโยงของ การพัฒนาระบบราชการ กับ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 1.เกิดประโยชน์สุขของ ประชาชน 2.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3.ประสิทธิภาพและคุ้มค่า 4.ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5.ปรับปรุงภารกิจของ ส่วนราชการ 6.อำนวยความสะดวก ให้กับประชาชน 7.ประเมินผลการปฏิบัติ ราชการ พรฎ. การจัดการ กระบวนการ การมุ่งเน้น ทรัพยากร บุคคล การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การนำ องค์กร การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ การให้ความ สำคัญกับผู้รับ บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตัวผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ ประสิทธิผล คุณภาพ ประสิทธิภาพ พัฒนาองค์กร ผลลัพธ์

9 องค์ประกอบของเกณฑ์ ลักษณะสำคัญขององค์กร 1. การนำองค์กร 2 ข้อ 7 หมวด
1.1 การนำองค์กร 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม 19 หัวข้อ 30 ประเด็น ที่ควรพิจารณา ก. การกำหนดทิศทาง ของส่วนราชการ ข. การควบคุมดูแลให้มีการจัดการภายในที่ดี ค. การทบทวนผล การดำเนินการขององค์กร 90 คำถาม (1) (2)

10 ลักษณะสำคัญขององค์กร ค. ระบบการปรับ ปรุงผลการดำเนินการ
1. ลักษณะองค์กร 2. ความท้าทายต่อองค์กร ก. ลักษณะพื้นฐานของส่วนราชการ ข. ความ สัมพันธ์ ภายในและภายนอกองค์กร ก. สภาพการแข่งขัน ข. ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ค. ระบบการปรับ ปรุงผลการดำเนินการ

11 หมวด 1 การนำองค์กร 1.1 การนำองค์กร 1.2 ความรับผิดชอบต่อสังคม
ก. การกำหนด ทิศทาง ของส่วนราชการ ข. การกำกับ ดูแลตนเองที่ดี ค. การทบทวน ผลการดำเนินการของส่วนราชการ ก. ความ รับผิดชอบ ต่อสาธารณะ ข. การดำเนินการอย่างมี จริยธรรม ค. การให้การสนับสนุนต่อ ชุมชนที่สำคัญ การกำหนด วิสัยทัศน์ ค่านิยม ทิศทาง ผลการ ดำเนินการที่คาดหวัง และการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ การสร้างบรรยากาศการให้อำนาจตัดสินใจ นวัตกรรมและความคล่องตัว ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบ การปกป้อง ผลประโยชน์ ของประเทศชาติ การทบทวน ผลการดำเนินการ การนำผลมาปรับปรุงส่วนราชการ การดำเนินการกรณีที่การปฏิบัติงานมีผลกระทบ ต่อสังคม การดำเนินการต่อความกังวลของสาธารณะ การดำเนินการอย่างมีจริยธรรม การวัดและการตรวจติดตาม การมีจริยธรรม องค์กร การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชนที่สำคัญ

12 หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์ 2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ก. กระบวนการ จัดทำยุทธศาสตร์ ข. เป้าประสงค์ เชิงยุทธศาสตร์ ก. การจัดทำ แผนปฏิบัติการและ การนำแผนไปปฏิบัติ ข. การคาดการณ์ ผลการดำเนินการ การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ การนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการวางแผน เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกรอบเวลา ในการบรรลุ ความสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด การจัดทำแผนปฎิบัติการ การนำแผนไปปฎิบัติ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากร การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง แผนหลักด้านทรัพยากรบุคคล การคาดการณ์ผลการดำเนินการ เกณฑ์เปรียบเทียบ ที่สำคัญต่างๆ

13 หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1 ความรู้เกี่ยวกับผู้รับ บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.2 ความสัมพันธ์และความ พึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความ สัมพันธ์กับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข. การวัดความพึงพอใจของ ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความรู้เกี่ยวกับผู้รับ บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำหนดกลุ่มผู้รับบริการ การรับฟังและเรียนรู้เพื่อกำหนดความต้องการของผู้รับบริการ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ กลไกหลักๆที่ผู้รับบริการติดต่อส่วนราชการ กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน การวัดความพึงพอใจ ไม่พึงพอใจ การใช้ช้อมูลมาปรับปรุงการดำเนินการ การติดตามช้อมูลจากผู้รับบริการ

14 หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
4.1 การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของส่วนราชการ 4.2 การจัดการสารสนเทศ และความรู้ ก. ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ ข. การจัดการ ความรู้ ก. การวัดผลการดำเนินการ ข. การวิเคราะห์ผลการดำเนินการ การทำให้ข้อมูลและ สารสนเทศพร้อมใช้งาน การเปิดเผยข้อมูลและ สารสนเทศ ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย ใช้งานง่าย การจัดการความรู้ การทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ ถูกต้อง ทันการณ์ เชื่อถือได้ ปลอดภัย แม่นยำ และเป็นความลับ การเลือกการรวบรวม ข้อมูลและสารสนเทศที่สอดคล้อง และ บูรณาการ การเลือกและการใช้ ข้อมูลสารสนเทศ เชิงเปรียบเทียบ การวิเคราะห์เพื่อประเมินผลการดำเนิน-การและแผนเชิงกลยุทธ์ การสื่อผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

15 หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
5.1 ระบบบริหารงานบุคคล 5.2 การเรียนรู้ของบุคลากร และการสร้างแรงจูงใจ 5.3 ความผาสุกและความ พึงพอใจของบุคลากร ก. การจัดระบบบริหารงาน บุคคล ข. ระบบการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของ บุคลากร ค. การจ้างงาน และความก้าวหน้าในการงาน ก. สภาพแวดล้อม ในการทำงาน ข. การให้การสนับสนุนและ สร้างความพึงพอใจ แก่บุคลากร การจัดระบบและบริหารงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และความคล่องตัว การนำความคิดที่หลากหลายมาใช้ในระบบงาน การประเมินผลและให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อสนับสนุนผลการดำเนินการ การบริหารค่าตอบแทน รางวัล และสิ่งจูงใจต่างๆ การกำหนด คุณ ลักษณะและทักษะที่จำเป็น การสรรหาว่าจ้างการสืบทอดตำแหน่ง การปรับปรุงสุขอนามัย ป้องกันภัย การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน การกำหนดปัจจัยที่สำคัญต่อความผาสุกความพึงพอใจ และแรงจูงใจ การบริการ สวัสดิการ และนโยบายสนับสนุนพนักงาน ก. การศึกษา การฝึก อบรม และการพัฒนาบุคลากร ข. การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนา ความก้าวหน้าในงาน การหาความต้องการในการฝึกอบรม การส่งเสริมการใช้ความรู้และทักษะใหม่ การจูงใจให้พนักงานพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่

16 หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
6.1 กระบวนการที่สร้างคุณค่า 6.2 กระบวนการสนับสนุน ก. กระบวนการสนับสนุน ก. กระบวนการที่สร้างคุณค่า การกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่า การจัดทำข้อกำหนดของกระบวนการสร้างคุณค่า การออกแบบกระบวนการเพื่อตอบสนองข้อกำหนดที่สำคัญ การควบคุมและปรับปรุงกระบวนการที่สร้างคุณค่า การลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจสอบ ทดสอบและตรวจประเมิน การกำหนดกระบวนการสนับสนุน การจัดทำข้อกำหนดของกระบวนการสนับสนุน การออกแบบกระบวนการเพื่อตอบสนองข้อกำหนดที่สำคัญ การควบคุมและปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน การลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจสอบ ทดสอบและตรวจประเมิน

17 หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
7.1 มิติ ด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ 7.2 มิติ ด้านคุณภาพ การให้บริการ 7.3 มิติ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ 7.4 มิติ ด้านการพัฒนา องค์กร ผลการบรรลุความสำเร็จของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงาน ผลด้านการบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกันในการให้บริการ หรือการปฏิบัติงาน ผลด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการที่สร้างคุณค่า ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการสนับสนุน ผลด้านระบบบริหารงานบุคคล ผลด้านการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากร ผลด้านความผาสุก ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของบุคลากร ผลด้านการสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ผลการเปิดเผยรายงานผลการใช้งบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตรวจสอบได้ ผลด้านการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมาย ผลด้านการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารงาน ผลด้านการเป็นองค์กรที่ดี (Organizational Citizenship) ในการสนับสนุน ชุมชนที่สำคัญ ผลการบรรลุความสำเร็จของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงาน ผลด้านการบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกันในการให้บริการ หรือการปฏิบัติงาน (*)

18 Score (Maturity of Management system)
Advanced Self-assessment (SA) Improvement Plan Implemented Tools Management Tools PMQA 700 PMQA Strategic Planning KPI & BSC Benchmarking BPR / Risk Management TPM SM OEE JIT IE 7 Waste ABM ABC COQ 6 Sigma DOE SQC Problem Solving QC Tools Waste Assessment 5S. ISO 9000 Visual Control QCC Suggestion System Mature Advanced Self-assessment (SA) Improvement Plan Implemented Tools 500 User 300 Self-assessment (SA) Improvement Plan Implemented Tools Entry 100 Time

19 มิติ กระบวนการ “กระบวนการ’’ หมายถึง วิธีที่องค์กรใช้และปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินกระบวนการ ได้แก่ แนวทาง (Approach - A) การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment - D) การเรียนรู้ (การทบทวนและปรับปรุง) (Learning - L) การบูรณาการ (Integration - I)

20 1 ลักษณะองค์กร ก. ลักษณะพื้นฐานของส่วนราชการ

21 1 ลักษณะองค์กร ข. ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร

22 2 ความท้าทายต่อองค์กร ก. สภาพการแข่งขัน

23 2 ความท้าทายต่อองค์กร ข. ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ

24 มิติการประเมินผล ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 1 : มิติด้านประสิทธิผล ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนตามแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการเช่น การลดค่าใช้จ่าย และการลดระยะเวลาการให้บริการ เป็นต้น 50% 10% มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพการให้บริการ ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ มิติที่ 4 : มิติด้านการพัฒนาองค์กร ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์การ ได้แก่ การพัฒนาระบบบริหารความรู้ การจัดการสารสนเทศ การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง การจัดทำแผนพัฒนากฎหมาย และการดำเนินงานตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ การบริหารจัดการภาครัฐ เป็นต้น 15% 25% Customer Perspective Learning & Growth Perspective

25 มาตรฐานการบริหารการพยาบาล มาตรฐานการบริการพยาบาล
ลักษณะสำคัญขององค์กร 4. การวัด วิเคราะห์ การจัดการสารสนเทศ และความรู้ 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการพัฒนาองค์กร 7. ผลลัพธ์ 1. การนำองค์กร การให้การบริการพยาบาล 3. การให้ความสำคัญ กับผู้ใช้บริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การจัดการ กระบวนการ 1. กระบวนการพยาบาล 1.1 การประเมินการพยาบาล 1.2 การวินิจฉัยการพยาบาล 1.3 การวางแผนการพยาบาล 1.4 การปฏิบัติการพยาบาล 1.5 การประเมินผลการพยาบาล 2. การดูแลต่อเนื่อง 3. การสร้างสุขภาพ 4. การคุ้มครองสุขภาพ 5. การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ 6. การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานการบริการพยาบาล มาตรฐานบริการพยาบาล และการผดุงครรภ์ระดับ ทุติยภูมิและตติยภูมิ กระบวนการพยาบาล การพยาบาลองค์รวม มาตรฐานการพยาบาล ในโรงพยาบาล พ.ศ. 2550 ชุติกาญจน์ หฤทัย

26 ขอบเขตของมาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล
การบริหารการพยาบาล การบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก การบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การบริการพยาบาลผู้ป่วยใน การบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก การบริการพยาบาลทางสูติกรรม การบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด การบริการพยาบาลวิสัญญี การบริการปรึกษาสุขภาพ การบริการพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

27 มาตรฐานการบริหารพยาบาล ( 1 )
ประกอบด้วย 7 หมวด 14 มาตรฐาน หมวดที่ 1 การนำองค์กร มาตรฐานที่ 1 การนำองค์กร มาตรฐานที่ 2 ความรับผิดชอบต่อสังคม หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่ 3 การจัดทำยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่ 4 การถ่ายทอดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปปฏิบัติ หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาตรฐานที่ 5 ความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาตรฐานที่ 6 ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

28 มาตรฐานการบริหารพยาบาล ( 2 )
ประกอบด้วย 7 หมวด 14 มาตรฐาน หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ การจัดการสารสนเทศและความรู้ มาตรฐานที่ 7 การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กรพยาบาล มาตรฐานที่ 8 การจัดการสารสนเทศและความรู้ หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มาตรฐานที่ 9 ระบบการบริหารงานบุคคล มาตรฐานที่ 10 การเรียนรู้และการสร้างแรงจูงใจบุคลากรทางการพยาบาล มาตรฐานที่ 11 ความผาสุกและความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล

29 มาตรฐานการบริหารพยาบาล ( 3 )
ประกอบด้วย 7 หมวด 14 มาตรฐาน หมวดที่ 7 การจัดการกระบวนการ มาตรฐานที่ 12 กระบวนการสร้างคุณค่าทางการพยาบาล มาตรฐานที่ 13 กระบวนการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล หมวดที่ 8 ผลลัพธ์การดำเนินการขององค์กรพยาบาล มาตรฐานที่ 14 ผลลัพธ์การดำเนินการขององค์กรพยาบาล

30 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ 1. ร้อยละของตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร พยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ 2. ร้อยละของแผนงาน / โครงการที่บรรลุตามเป้าหมาย

31 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาลในภาพรวม 1. ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ 1.1 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ใช้บริการผิดคน 1.2 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 1.3 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 1.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการให้เลือด และ/หรือ ส่วนประกอบของเลือด 1.5 อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล

32 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาลในภาพรวม 1. ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ 1.6 ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 1.7 อัตราการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาล 1.8 อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวน ปัสสาวะ 1.9 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วย 1.10 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจัดท่า การผูกยึด และการใช้อุปกรณ์ / เครื่องมือ

33 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาลในภาพรวม 2. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล ภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า 3. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ 3.1 การละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ 3.2 พฤติกรรมบริการของบุคลากรทางการพยาบาล 3.3 ร้อยละของการแก้ไขและ / หรือตอบกลับข้อร้องเรียน ของผู้ใช้บริการ

34 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาลในภาพรวม 4. จำนวนช่องทางการรับข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ เพื่อการจัดบริการพยาบาล 5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อบริการพยาบาล ในภาพรวม 6. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

35 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติการพยาบาล 1. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลดำเนินการคิดต้นทุน การบริการพยาบาล 2. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่มีผลิตภาพ ( Productivity) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่มียา / เวชภัณฑ์ / อุปกรณ์ การแพทย์หมดอายุ 4. ร้อยละของหน่วยบริการที่ให้บริการในลักษณะงานผู้ป่วยนอก ลดขั้นตอนและลดระยะเวลารอคอยของผู้ใช้บริการที่จุดคัดกรอง

36 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติการพยาบาล 5. ร้อยละของหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานตามแนวทางหรือ มาตรฐานวิธีปฏิบัติของหน่วยงาน 6. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่ใช้กระบวนการพยาบาล ในการให้บริการ 7. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลดำเนินงานตามระบบการ ประกันคุณภาพการพยาบาล

37 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรพยาบาล 1. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลมีสมรรถนะตามเกณฑ์ ที่กำหนด 2. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละระดับในความ รับผิดชอบขององค์กรพยาบาลได้รับการอบรมที่เกี่ยวข้อง กับงานที่รับผิดชอบระหว่างประจำการเฉลี่ยอย่างน้อย 10 วัน / คน / ปี 3. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละระดับได้รับการ ฟื้นฟูทักษะการฟื้นคืนชีพบุคลากรทางการพยาบาลขั้นพื้นฐาน อย่างน้อย 1 ครั้ง / คน /ปี

38 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรพยาบาล 4. ร้อยละของพยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน งานผู้ป่วยหนัก และงานวิสัญญีได้รับการฟื้นฟูทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง อย่างน้อย 1 ครั้ง / คน / ปี 5. จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของบุคลากร ทางการพยาบาลในความรับผิดชอบขององค์กรพยาบาล 6. ร้อยละของความพึงพอใจในงาน / บรรยากาศการทำงานของ บุคลากรทางการพยาบาลในความรับผิดชอบขององค์กรพยาบาล

39 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรพยาบาล 7. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลมีฐานข้อมูลจำเป็นตามมาตรฐาน ที่เป็นปัจจุบัน 8. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่มีการจัดการความรู้อย่างเป็น ระบบตามมาตรฐาน 9. จำนวนองค์ความรู้และ / หรือนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ผลิต โดยหน่วยบริการพยาบาลทั้งหมด

40 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในภาพรวมขององค์กรพยาบาล
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กรพยาบาล 10. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่นำองค์ความรู้ / วิจัย / เทคโนโลยีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริการ 11. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานตามเกณฑ์จริยธรรมวิชาชีพ 12. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลต่อการสนับสนุนขององค์กรพยาบาล

41 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยนอก 9 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยนอก 4 มิติ

42 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยนอก มาตรฐานที่ 1 การพยาบาลในระยะก่อนการตรวจรักษา 1.1 การตรวจคัดกรอง 1.2 การประเมินและเฝ้าระวังอาการผู้ใช้บริการ ต่อเนื่อง 1.3 การปฏิบัติการพยาบาล 1.4 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลและ ผลลัพธ์ทางการพยาบาล มาตรฐานที่ 2 การพยาบาลในระยะการตรวจรักษา

43 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยนอก มาตรฐานที่ 3 การพยาบาลในระยะหลังการตรวจรักษา มาตรฐานที่ 4 การดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 5 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล

44 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยนอก
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ 1. ร้อยละของแผนงาน / โครงการที่บรรลุตามเป้าหมาย มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ 1.1 ร้อยละของผู้ใช้บริการได้รับการส่งตรวจถูกห้องตรวจตาม ประเภท / ความรุนแรงของอาการ 1.2 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ใช้บริการผิดคน 1.3 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน

45 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยนอก
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ 1.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 1.5 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ของผู้ใช้บริการที่อาการไม่คงที่ หรือเสี่ยงต่อการเกิด อาการรุนแรงเฉียบพลัน 1.6 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดการพลัดตก หกล้มของผู้ใช้บริการ 1.7 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ใช้บริการบาดเจ็บจากการจัดท่า การผูกยึด และการใช้เครื่องมือ / อุปกรณ์

46 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยนอก
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. ร้อยละของผู้ใช้บริการได้รับคำแนะนำ / ข้อมูลทางด้านสุขภาพ เมื่อมารับการตรวจ 3. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่อง 4. ร้อยละของผู้ใช้บริการที่กลับมาตรวจรักษาพยาบาลก่อน กำหนดวันนัดจากการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง

47 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 8 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

48 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มาตรฐานที่ 1 การตรวจและบำบัดรักษาทางการพยาบาลบริการ การแพทย์ฉุกเฉิน 1.1 การคัดกรองผู้ป่วย 1.2 การปฏิบัติการพยาบาล 1.3 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลและการส่งต่อรักษา มาตรฐานที่ 2 การตรวจและบำบัดรักษาทางการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน 2.1 การคัดกรองผู้ป่วย 2.2 การประเมินอาการผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2.3 การปฏิบัติการพยาบาล 2.4 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์การพยาบาล

49 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มาตรฐานที่ 3 การดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 8 การบันทึกทางการพยาบาล

50 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ร้อยละของผู้ป่วยได้รับการคัดกรองถูกต้อง 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.1 ร้อยละของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตได้รับการแก้ไข ทันทีภายใน 4 นาที 2.2 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 2.3 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 2.4 จำนวนอุบัติการณ์การบาดเจ็บเพิ่มจากการเคลื่อนย้าย

51 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.5 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ 2.6 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 2.7 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด 2.8 จำนวนอุบัติการณ์การตายที่สามารถป้องกันได้ ( Preventable Death)

52 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 3. ร้อยละของผู้ป่วยที่ส่งต่อได้รับการดูแลต่อเนื่องทันทีที่ถึง โรงพยาบาล 4. จำนวนอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง ด้วยอาการรุนแรงจากสาเหตุความไม่รู้วิธีการเฝ้าสังเกต อาการผิดปกติหรือการดูลสุขภาพตนเอง

53 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยใน
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 11 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

54 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยใน
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใน มาตรฐานที่ 1 การประเมินปัญหาและความต้องการ มาตรฐานที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล มาตรฐานที่ 3 การวางแผนการพยาบาล มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 5 การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 6 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล

55 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยใน
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใน มาตรฐานที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 9 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 11 การบันทึกทางการพยาบาล

56 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยใน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 1.1 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 1.2 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 1.3 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 1.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด 1.5 จำนวนอุบัติการณ์การพลัดตก หกล้ม 1.6 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจัดท่า ผูกยึด การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ

57 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยใน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 1.7 อัตราการเกิดแผลกดทับ 1.8 อัตราการตืดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ 1.9 อัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำ 1.10 อัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ 1.11 อัตราการติดเชื้อที่สายสะดือของเด็กแรกเกิดที่ อายุต่ำกว่า 30 วัน 1.12 อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดสะอาด

58 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยใน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 1.1 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 1.2 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 1.3 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 1.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด 1.5 จำนวนอุบัติการณ์การพลัดตก หกล้ม 1.6 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจัดท่า ผูกยึด การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ

59 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยใน
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. จำนวนอุบัติการณ์การตายอย่างไม่คาดคิด 3. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า 4. ร้อยละผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 5. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรมบริการ การแก้ไข) 6. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อบริการพยาบาล 7. ร้อยละผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

60 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 11 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

61 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหนัก มาตรฐานที่ 1 การประเมินปัญหา ความต้องการ และ การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล มาตรฐานที่ 3 การวางแผนการพยาบาล มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 5 การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 6 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล

62 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหนัก มาตรฐานที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 9 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 11 การบันทึกทางการพยาบาล

63 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 1.1 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 1.2 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 1.3 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 1.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด 1.5 จำนวนอุบัติการณ์การพลัดตก หกล้ม

64 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 1.6 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจัดท่า ผูกยึด การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ 1.7 อัตราการเกิดแผลกดทับ 1.8 อัตราการตืดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวน ปัสสาวะ 1.9 อัตราการติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

65 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยหนัก
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. จำนวนอุบัติการณ์การย้ายผู้ป่วยกลับเข้าหอผู้ป่วยหนักอย่างไม่ คาดคิดภายใน 3 วัน ในแต่ละเดือน 3. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรมบริการ การแก้ไข) 6. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อบริการพยาบาล 7. ร้อยละผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

66 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฝากครรภ์ 11 มาตรฐาน มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลบริการคลอด 8 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

67 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฝากครรภ์ มาตรฐานที่ 1 การประเมินปัญหาภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล มาตรฐานที่ 3 การวางแผนการพยาบาล มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 5 การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 6 การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล

68 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฝากครรภ์ มาตรฐานที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 9 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 11 การบันทึกทางการพยาบาล

69 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลบริการคลอด มาตรฐานที่ 1 การพยาบาลระยะก่อนคลอด 1.1 การประเมินปัญหาและความต้องการ 1.2 การวินิจฉัยการพยาบาล 1.3 การวางแผนการพยาบาล 1.4 การปฏิบัติการพยาบาล 1.5 การประเมินผลการพยาบาล มาตรฐานที่ 2 การพยาบาลในระยะคลอด มาตรฐานที่ 3 การพยาบาลในระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง

70 มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลบริการคลอด มาตรฐานที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 8 การบันทึกทางการพยาบาล

71 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลทางสูติกรรม
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. บริการฝากครรภ์ 1.1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าน ANC ได้รับการบริการ ตามเกณฑ์มาตรฐานการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 1.2 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ เนื่องจากสาเหตุ ความไม่รู้วิธีการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าน ANC 1.3 จำนวนอุบัติการณ์การเกิด Tetanus Neonatorum ในทารก ที่คลอดจากมารดาที่ผ่าน ANC

72 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลทางสูติกรรม
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. บริการคลอด 2.1 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ เนื่องจากการเฝ้าระวังความก้าวหน้าการคลอดไม่เพียงพอ หรือจากการทำคลอด 2.2 จำนวนอุบัติการณ์ทารกบาดเจ็บจากกระบวนการคลอด 2.3 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจาก Birth Asphyxia 2.4 จำนวนอุบัติการณ์ระบุเพศทารกผิดและ/หรือส่งให้มารดาผิดคน

73 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลทางสูติกรรม
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 3. จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 4. จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน 5. จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 6. จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด 7. จำนวนอุบัติการณ์การพลัดตก หกล้ม 8. จำนวนอุบัติการณ์ผู้คลอดบาดเจ็บจากการจัดท่า การผูกยึด การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ

74 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลทางสูติกรรม
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 8. จำนวนอุบัติการณ์ผู้คลอดบาดเจ็บจากการจัดท่า การผูกยึด การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ 9. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรม บริการการแก้ไข) 10. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อ บริการพยาบาล 11. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ

75 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 9 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

76 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด มาตรฐานที่ 1 การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด 1.1 การประเมินปัญหา ความต้องการและเตรียม ความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด 1.2 การเตรียมความพร้อมพยาบาลผ่าตัดและ อุปกรณ์เครื่องมือ มาตรฐานที่ 2 การพยาบาลระยะผ่าตัด มาตรฐานที่ 3 การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด มาตรฐานที่ 4 การดูแลต่อเนื่อง

77 มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด มาตรฐานที่ 5 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล

78 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ร้อยละของผู้ป่วยที่นัดผ่าตัด ( Elective case ) ได้รับการประเมิน ปัญหาและเตรียมความพร้อมตามมาตรฐานก่อนวันผ่าตัด 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.1 จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ป่วยผิดคน 2.2 จำนวนอุบัติการณ์การผ่าตัดผู้ป่วยผิดคนหรือผิดตำแหน่ง 2.3 จำนวนอุบัติการณ์มีสิ่งของ/อุปกรณ์ตกค้างในร่างกาย ผู้ป่วยหลังผ่าตัด

79 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.4 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุที่ป้องกันได้ของผู้ป่วย 3. ร้อยละผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการประเมินอาการและ สอนการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด 4. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรมบริการ การแก้ไข) 5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อบริการพยาบาล 6. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

80 มาตรฐานการบริการพยาบาลวิสัญญี
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 9 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

81 มาตรฐานการบริการพยาบาลวิสัญญี
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลวิสัญญี มาตรฐานที่ 1 การพยาบาลระยะก่อนให้บริการทางวิสัญญี มาตรฐานที่ 2 การพยาบาลระยะให้บริการทางวิสัญญี มาตรฐานที่ 3 การพยาบาลระยะหลังให้บริการทางวิสัญญี มาตรฐานที่ 4 การดูแลต่อเนื่อง

82 มาตรฐานการบริการพยาบาลวิสัญญี
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลวิสัญญี มาตรฐานที่ 5 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล

83 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลวิสัญญี
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ร้อยละของผู้ป่วยที่นัดผ่าตัด ( Elective case ) ได้รับการประเมิน ปัญหาและเตรียมความพร้อมก่อนรับบริการทางวิสัญญี 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.1 จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน ในห้องพักฟื้น 2.2 จำนวนอุบัติการณ์การให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยผิดคน 2.3 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการบริหารยา 2.4 จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดจากการให้เลือด และ / หรือส่วนประกอบของเลือด

84 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลวิสัญญี
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 2. ความปลอดภัยของผู้ป่วย 2.5 จำนวนอุบัติการณ์การเกิด Aspiration 2.6 จำนวนอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการ ใส่ท่อช่วยหายใจ 2.7 จำนวนอุบัติการณ์การแพ้ยา 2.8 จำนวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตในห้องผ่าตัดเนื่องจาก การให้บริการทางวิสัญญี 3. ร้อยละผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการดูแลในห้องพักฟื้น

85 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลวิสัญญี
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 4. ร้อยละของผู้ป่วยที่ย้ายออกจากห้องพักฟื้นมีความพร้อมตาม เกณฑ์บ่งชี้ 5. ร้อยละของผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมหลังใช้บริการพยาบาลวิสัญญี 6. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรมบริการ การแก้ไข) 7. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อบริการพยาบาล 8. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

86 มาตรฐานการบริการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 9 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

87 มาตรฐานการบริการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 1 การประเมินปัญหาและความต้องการ มาตรฐานที่ 2 การวางแผนการให้บริการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 3 การปฏิบัติการให้บริการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 4 การประเมินผลการให้บริการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การให้บริการปรึกษาสุขภาพต่อเนื่อง

88 มาตรฐานการบริการพยาบาลด้านการปรึกษาสุขภาพ
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลกด้านการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การสร้างเสริมสุขภาพ มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล

89 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านบริการปรึกษาสุขภาพ
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. ร้อยละของผู้ใช้บริการมีความวิตกกังวลลดลงภายหลังรับบริการ ปรึกษาแต่ละครั้ง 2. ร้อยละของผู้ใช้บริการสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตของตนเอง ได้อย่างเหมาะสมภายหลังรับบริการปรึกษาแต่ละครั้ง 3. ร้อยละของผู้ใช้บริการปรึกษามาตามนัด 4. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (การละเมิดสิทธิ พฤติกรรมบริการ การแก้ไข) 5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ครอบครัวต่อบริการพยาบาล 6. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริการพยาบาล

90 มาตรฐานการบริการพยาบาลป้องกันและควบคุม การติดเชื้อในโรงพยาบาล
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ลักษณะสำคัญของงานบริการพยาบาลฯ 2 หมวด 2. มาตรฐานการบริหารงานบริการพยาบาลฯ 7 หมวด 3. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลฯ 9 มาตรฐาน 4. เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลฯ 4 มิติ

91 มาตรฐานการบริการพยาบาลป้องกันและควบคุม การติดเชื้อในโรงพยาบาล
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลด้าน IC มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการและติดตามกำกับระบบงาน IC มาตรฐานที่ 2 การดำเนินการและติดตามกำกับระบบการ เฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล มาตรฐานที่ 3 การปฏิบัติการให้บริการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 4 การประเมินผลการให้บริการปรึกษาสุขภาพ มาตรฐานที่ 5 การให้บริการปรึกษาสุขภาพต่อเนื่อง

92 มาตรฐานการบริการพยาบาลป้องกันและควบคุม การติดเชื้อในโรงพยาบาล
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลด้าน IC มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการและติดตามกำกับระบบงาน IC มาตรฐานที่ 2 การดำเนินการและติดตามกำกับระบบการ เฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2.1 การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยและ การดูแลผู้ป่วย 2.2 การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพเจ้าหน้าที่ที่เกิด การติดเชื้อหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2.3 การเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมและ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

93 มาตรฐานการบริการพยาบาลป้องกันและควบคุม การติดเชื้อในโรงพยาบาล
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลด้าน IC มาตรฐานที่ 3 การสอบสวนและควบคุมการระบาดของการติดเชื้อ ในโรงพยาบาล/โรคติดเชื้อรุนแรง อุบัติใหม่อุบัติซ้ำ มาตรฐานที่ 4 การพัฒนาความรู้ ทักษะและให้คำแนะนำ/ปรึกษา แก่บุคลากรทางการพยาบาล มาตรฐานที่ 5 การดูแลต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 6 การคุ้มครองภาวะสุขภาพ มาตรฐานที่ 7 การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ มาตรฐานที่ 8 การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย มาตรฐานที่ 9 การบันทึกทางการพยาบาล

94 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. อัตราการติดเชื้อที่ตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล 1.1 อัตราการติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 1.2 อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวน ปัสสาวะ 1.3 อัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการใส่สายสวน หลอดเลือด

95 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล 1. อัตราการติดเชื้อที่ตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล 1.4 อัตราการติดเชื้อจากแผลกดทับ 1.5 อัตราการติดเชื้อของสายสะดือในทารกแรกเกิด อายุต่ำกว่า 30 วัน 1.6 อัตราการติดเชื้อของแผลฝีเย็บ 1.7 อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดสะอาด

96 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการพยาบาล (ต่อ) 2. อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ( Incident Density Rate ) 3. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 4. การร้องเรียนของผู้ใช้บริการ / ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( พฤติกรรมบริการของ ICN / ICWN การจัดการขยะ การจัดการ/ บริการงานจ่ายกลาง การแก้ไข / การตอบกลับ) 5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่องาน IC

97 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติการพยาบาล 1. สัดส่วนของ ICN : จำนวนเตียงผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2. อัตราการส่งชุดห่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ Restrile 3. จำนวนครั้งการใช้น้ำยาทำลายเชื้อไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การใช้น้ำยาทำลายเชื้อ 4. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติตามมาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้

98 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร 1. ร้อยละของ ICN / ICWN มีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. ร้อยละของ ICN / ICWN ได้รับการอบรมเกี่ยวข้องกับงาน ที่รับผิดชอบเฉลี่ยอย่างน้อย 10 วัน / คน / ปี 3. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลได้รับการฟื้นฟูองค์ความรู้ / ทักษะการปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล / การระบาดโรคอุบัติเหตุอุบัติใหม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง / คน / ปี 4. ร้อยละของ ICN / ICWN ได้รับการอบรมฟื้นฟูทักษะการ ช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างน้อย 1 ครั้ง / คน /ปี

99 เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้าน IC
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร ( ต่อ ) 5. จำนวนอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของ บุคลากรทางการพยาบาล 6. ร้อยละของบุคลากรทางการพยาบาลได้รับการเฝ้าระวัง การติดเชื้อโรคติดต่อทางเลือด / น้ำเหลือง / สารคัดหลั่ง หลังเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน 7. ร้อยละความพึงพอใจในงาน / บรรยากาศการทำงานของ

100 มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล
มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับปฐมภูมิ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน/ศูนย์สุขภาพชุมชน มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิ-ตติยภูมิ มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับมหาวิทยาลัย

101 มาตรฐานการบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล
มาตรฐานการบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล หมวดที่ 1. มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมวดที่ 2. มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมวดที่ 3. มาตรฐานผลลัพธ์การบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์

102 มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ( สภาการพยาบาล )
มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ( สภาการพยาบาล ) หมวดที่ 1 มาตรฐานการบริหารองค์กร มาตรฐานที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหารองค์กร (7 ) มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (6) มาตรฐานที่ 3 การจัดระบบงานและกระบวนการให้บริการ ( 5 ) มาตรฐานที่ 4 ระบบการพัฒนาคุณภาพ ( 3 ) หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 1 การปฏิบัติการพยาบาล/การใช้กระบวนการพยาบาล ( 2 ) มาตรฐานที่ 2 การรักษาสิทธิ /จริยธรรม / จรรยาบรรณ (2) มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพ ( 2 ) มาตรฐานที่ 4 การจัดการการดูแลต่อเนื่อง ( 1 ) มาตรฐานที่ 5 การบันทึกและการรายงาน ( 2 ) หมวดที่ 3 หมวดที่ 3 มาตรฐานผลลัพธ์ มาตรฐานที่ 1 ความปลอดภัยจากความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ( 1 ) มาตรฐานที่ 2 การบรรเทาทุกข์ทรมาน ( 1) มาตรฐานที่ 3 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสุขภาพการรักษาพยาบาล ( 1) มาตรฐานที่ 4 ความสามารถในการดูแลตนเอง ( 1 ) มาตรฐานที่ 5 ความพึงพอใจ

103 ความเชื่อมโยงของมาตรฐานบริการการพยาบาลและ การผดุงครรภ์
หมวดที่ 1. โครงสร้าง นโยบาย ยุทธศาสตร์ / ระบบบริหารการพยาบาล ระบบและกลไกการบริหารงานบริการพยาบาล ผู้บริหารการพยาบาล หมวดที่ 2. การปฏิบัติการพยาบาล ระบบบริการพยาบาล คุณภาพการบริการพยาบาล ( ผู้ให้บริการ กระบวนการพยาบาล) หมวดที่ 3. ผลลัพธ์การพยาบาล ผลลัพธ์การบริหาร/บริการพยาบาล

104 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มาตรฐานที่ 3 การจัดระบบงาน และกระบวนการให้บริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ข้อกำหนดที่ 3.1 การจัดระบบบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีคุณภาพ องค์กรพยาบาลกำหนดระบบการให้บริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของหน่วยงานในความรับผิดชอบให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เหมาะสมกับลักษณะผู้ป่วย/ผู้รับบริการแต่ละกลุ่มและตามความเชี่ยวชาญขององค์กร ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย/ผู้รับบริการและครอบครัวเป็นปัจเจกบุคคล

105 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การจัดบริการมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับเครือข่ายบริการพยาบาลทั้งภายในโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพ ระหว่างหน่วยงานและภายนอกโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพ ในรูปแบบการส่งต่อและเครือข่ายการให้บริการ โดยจำแนกระบบบริการที่ชัดเจน

106 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การจัดระบบบริการกลุ่มผู้ป่วยทั่วไป เช่น ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน หน่วยส่งเสริมสุขภาพ เวชปฏิบัติครอบครัวและหน่วยเยี่ยมบ้าน เป็นต้น เป็นการจัดระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมที่สามารถให้บริการผู้ป่วย/ผู้รับบริการได้อย่างปลอดภัย ครอบคลุมการจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

107 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การจัดระบบบริการกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นการจัดระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวม โดยการส่งเสริม ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครอบครัวและผู้ดูแล การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งประโยชน์ที่มีอยู่มาใช้ในการให้บริการได้อย่างเหมาะสม ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

108 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การจัดระบบบริการผู้ป่วยกลุ่มวิกฤต/ฉุกเฉิน/เสี่ยงสูง เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤติ ฟอกไต ภูมิคุ้มกันต่ำและโรคติดต่อ ผู้ป่วยมีปัญหาการรับรู้สับสน ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น เป็นการจัดระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีการประเมินซ้ำ การคาดการณ์อาการเปลี่ยนแปลงก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียหรือเสื่อมหน้าที่ของอวัยวะสำคัญ มีการวิเคราะห์ ประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาที่คุกคามชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงทีตามขอบเขตความรับผิดชอบของวิชาชีพ

109 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การจัดระบบบริการกลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการที่ต้องการการดูแลเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง ( PALLIATIVE CARE )

110 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
กลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการระยะสุดท้าย ( END OF LIFE CARE )เป็นการจัดระบบบริการที่ครอบคลุมองค์รวมมุ่งแก้ไขปัญหา บรรเทาความไม่สุขสบายความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดและการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย/ผู้รับบริการและครอบครัวตามความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้รับบริการจากไปอย่างสงบ ( Good Death) โดย มีแนวทาง/คู่มือ/ มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย

111 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลเชื่อมโยงกับสหวิชาชีพ มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลทีมีคุณภาพ มีระบบการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ

112 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการจัดระบบบริการให้ถูกต้องหลักการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล/ สถานบริการสุขภาพ และระบบการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะฉุกเฉินและวิกฤต มีระบบการสื่อสารระหว่างวิชาชีพและเครือข่ายบริการ

113 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการจัดระบบบริการให้ถูกต้องหลักการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล/ สถานบริการสุขภาพ และระบบการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะฉุกเฉินและวิกฤต มีระบบการสื่อสารระหว่างวิชาชีพและเครือข่ายบริการ

114 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
 หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ข้อกำหนดที่ การปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพใช้ความรู้ ความสามารถปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ การประเมินปัญหา วินิจฉัยปัญหา/ความต้องการ วางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาล

115 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมกับ ปัจเจกบุคคล สอดคล้องกับทุกสถานการณ์สุขภาพครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ใช้บริการ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย/ผู้รับบริการและครอบครัว

116 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉินโดยบุคลากรที่มีศักยภาพ มีการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพและขอบเขตความรับผิดชอบ

117 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การช่วยเหลือดูแล การสอน การชี้แนะ การให้คำปรึกษา การวินิจฉัยปัญหาและเฝ้าระวัง การจัดการในสถานการณ์เร่งด่วนฉุกเฉิน การบำบัดอาการทางกาย จิตใจและจิตวิญญาณ

118 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพ / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชน

119 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ มาตรฐานที่ 1 การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ข้อกำหนดที่ 1.1 การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ขั้นต่ำผ่านระดับ 3) มีการใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ครอบคลุมองค์รวมในการปฏิบัติการพยาบาลผู้รับบริการรายบุคคล มีการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ใช้บริการครบองค์รวม สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการด้านสุขภาพ

120 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการวินิจฉัยทางการพยาบาลครอบคลุมปัญหา ความต้องการด้านสุขภาพ สอดคล้องกับข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพ มีแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับการวินิจฉัยทางการพยาบาล ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ กำหนดแผนการดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพ ครอบคลุมการดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ

121 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
ให้การพยาบาลตามแผนและมาตรฐานที่กำหนด มีการติดตาม ประเมินผลการพยาบาลเป็นระยะ และการติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพตามสภาพปัญหาความต้องการการดูแลขอผู้ป่วย/ผู้รับบริการอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

122 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการติดตามประเมินซ้ำและปรับข้อวินิจฉัย/ปรับข้อมูลปัญหาและแผนการพยาบาลตามปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ

123 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการใช้กระบวนการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย หัวหน้าหน่วยงานร่วมกับผู้ปฏิบัติกำหนดแนวทางในการนำกระบวนการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติในหน่วยงาน โดย มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จ ในการนำกระบวนการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติในหน่วยงาน

124 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
การสนับสนุนให้มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย/ผู้รับบริการร่วมกับทีมสหวิชาชีพในงานประจำ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการที่มีความซับซ้อน หัวหน้าหน่วยงานมีการติดตามประเมินการนำกระบวนการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติ เพื่อประเมินศักยภาพของผู้ปฏิบัติที่สะท้อนคุณภาพการพยาบาลเป็นรายบุคคล โดยใช้กิจกรรมทบทวนเวชระเบียนในงานประจำ การนิเทศหน้างาน การ Conference ฯลฯ

125 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ มาตรฐานที่ 4 การจัดการ การดูแลต่อเนื่อง ข้อกำหนดที่ 4.1 การจัดการดูแลต่อเนื่อง พยาบาลวิชาชีพในทุกหน่วยบริการสามารถประเมินความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย/ผู้รับบริการและครอบครัว วางแผนและจัดการให้ผู้ป่วย/ผู้รับบริการได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากบุคลากรทีมสุขภาพที่เหมาะสมและต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน สอดคล้องกับความต้องการการดูแลรักษาพยาบาลทันต่อปัญหา /การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย/ผู้รับบริการได้อย่างปลอดภัย ต่อเนื่องในหน่วยบริการ ระหว่างหน่วยบริการและระหว่างโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพในทุกระยะของการเจ็บป่วยทั้งในโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพและในชุมชน

126 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีระบบการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการต่อเนื่องในหน่วยงานที่มีความเชื่อมโยงระหว่างทีม/วิชาชีพอย่างชัดเจน ครอบคลุมการวางแผนจำหน่าย การส่งต่อ และการดูแลต่อเนื่อง มีการกำหนดกลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการสำคัญที่ต้องการการดูแลต่อเนื่อง การกำหนดเป้าหมายและและตัวชี้วัดการดูแลต่อเนื่อง

127 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์/สังเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลต่อเนื่องของหน่วยงาน มีการนำข้อมูลปัญหาอุปสรรคการดูแลต่อเนื่องที่ได้จากการวิเคราะห์/สังเคราะห์มาปรับปรุง/พัฒนาเป็นระบบอย่างต่อเนื่องและ มีระบบการสะท้อนข้อมูลปัญหาการดูแลต่อเนื่องแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

128 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
หมวดที่ 2 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ มาตรฐานที่ 5 การบันทึก และการรายงาน ข้อกำหนดที่ 5.1 ระบบการบันทึกและรายงาน (ขั้นต่ำผ่านระดับ 3) ข้อกำหนดที่ 5.2 การพัฒนาระบบการบันทึกการพยาบาลและการรายงาน (ขั้นต่ำผ่านระดับ 3) ระบบบันทึกและรายงานทางการพยาบาลมีความสมบรูณ์ ครอบคลุมประเด็นสำคัญเพื่อใช้ในการสื่อสารภาวะสุขภาพของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ เป้าหมาย และแผนการดูแลที่เชื่อมโยงกับสหสาขาวิชาชีพ สะท้อนคุณภาพผลการปฏิบัติงาน การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย/ผู้รับบริการ แสดงศาสตร์ ศิลปะและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติ เป็นหลักฐานทางกฎหมายและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่องค์กรพยาบาลกำหนด พยาบาลวิชาชีพในทุกหน่วยบริการพยาบาลมีส่วนร่วมในการกำหนด ประเมิน และวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ ปัญหาและอุปสรรคของระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

129 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
หัวหน้าหน่วยงาน ร่วมกับผู้ปฏิบัติวิเคราะห์นโยบาย แนวทางและเกณฑ์การบันทึกและรายงานทางการพยาบาลที่องค์กรพยาบาลกำหนดเพื่อออกแบบบันทึกและรายงานทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับลักษณะการให้บริการพยาบาลในหน่วยงาน สอดคล้องกับความต้องการของทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กำหนดระบบการติดตามประเมินผลระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลที่สะท้อนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลรายบุคคล

130 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
สื่อสารระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลที่หน่วยงานกำหนดให้ทีมการพยาบาลเพื่อนำสู่การปฏิบัติ รวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์/สังเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากการบันทึกและรายงานทางการพยาบาล และการทบทวนการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลเพื่อประเมินผลคุณภาพการพยาบาล/การปฏิบัติการพยาบาลและสะท้อนประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกและรายงานให้กับองค์กรพยาบาลเพื่อนำไปปรับปรุงระบบ/พัฒนาระบบการบันทึกและการรายงานทางการพยาบาลในภาพรวม

131 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
นำข้อมูลที่ได้จากการทบทวนไปปรับปรุง/พัฒนาระบบบันทึกและรายงานทางการพยาบาล/คุณภาพการพยาบาล/การปฏิบัติการพยาบาลและดำเนินการพัฒนาระบบการบันทึกและการรายงานทางพยาบาล ตามปัญหาสำคัญโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามลักษณะบริการและข้อจำกัดของหน่วยงาน

132 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
พยาบาลวิชาชีพ มีการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลในกลุ่มโรคสำคัญที่สะท้อนการปฏิบัติการพยาบาลในลักษณะปัจเจกบุคคลแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการกลุ่มโรคสำคัญในลักษณะองค์รวมตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

133 ประเด็นสำคัญในมาตรฐาน
ร่วมประเมิน และวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ ปัญหาและอุปสรรคของระบบการบันทึกและรายงานทางการพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สะท้อนประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกและรายงานทางการพยาบาลให้กับหัวหน้าหน่วยงานเพื่อนำไปปรับปรุง/พัฒนาระบบการบันทึกและการรายงานทางการพยาบาล

134 กรอบแนวคิดของการบริหารการพยาบาล ตามโครงสร้างมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

135 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ กระบวนการดูแลผู้ป่วย
ตอนที่ I ตอนที่ IV การวางแผน กลยุทธ์ การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล ด้านการดูแลผู้ป่วย ด้านการมุ่งเน้นผู้รับผลงาน ด้านการเงิน ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านประสิทธิผลของกระบวนการ ด้านการนำ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การนำ ผลการ ดำเนินงาน การมุ่งเน้นผู้ป่วย และสิทธิผู้ป่วย การจัดการ กระบวนการ ระบบงานสำคัญของ รพ. ตอนที่ II ตอนที่ III ความเสี่ยง ความปลอดภัย คุณภาพ การกำกับดูแลวิชาชีพ สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย การป้องกันการติดเชื้อ ระบบเวชระเบียน ระบบจัดการด้านยา การตรวจทดสอบ การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ การทำงานกับชุมชน กระบวนการดูแลผู้ป่วย กระบวนการดูแลผู้ป่วย การเข้าถึงและเข้ารับบริการ การประเมินผู้ป่วย การวางแผน การดูแลผู้ป่วย การให้ข้อมูลและเสริมพลัง การดูแลต่อเนื่อง 135 135 135

136 II – 2.1 การกำกับดูแลวิชาชีพ ด้านการพยาบาล (Nursing)
Overall Req. มีระบบบริหารการพยาบาลรับผิดชอบต่อการจัดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง เพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร ประสานความร่วมมือระดับองค์กร การใช้ยา, การควบคุมการติดเชื้อ การสร้างเสริมสุขภาพ คุณภาพและความปลอดภัย 1 ผู้นำทีมการพยาบาล ก. การบริหารการพยาบาล 4 บุคลากร ความรู้ความสามารถ ปริมาณ 2 ข. ปฏิบัติการพยาบาล 3 โครงสร้างและกลไก กำกับดูแลมาตรฐาน/จริยธรรม นิเทศ/กำกับดูแล ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการใช้กระบวนการพยาบาล ส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิก ดูแลผู้อยู่ระหว่างฝึกอบรม จัดการความรู้และวิจัย สิทธิผู้ป่วย จริยธรรมวิชาชีพ 2 ผลลัพธ์ของ ปฏิบัติการพยาบาล ความปลอดภัย บรรเทาทุกข์ทรมาน ข้อมูลและการเรียนรู้ การดูแลตนเอง การเสริมพลัง ความพึงพอใจ มาตรฐาน/ ข้อมูลวิชาการ 3 1 กระบวนการ พยาบาล สภาวะสุขภาพ ของผู้ป่วย 4 5 บันทึก ปรับปรุง Risk/Safety/Quality Management 6 5 ประเมิน

137 การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล (Joint Commission International: JCI)
JCI เป็นฝ่ายหนึ่งของ JCAHO (Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations) เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 JCAHO Boardตัดสินใจให้บริการรับรองมาตรฐานในต่างประเทศ มีเป้าหมาย : เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการด้านสุขภาพนอกประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประกาศใช้มาตรฐาน ตุลาคม พ.ศ.2542 และปรับปรุงมาตรฐานฉบับที่ 2 พ.ศ. 2546

138 หมวดที่ I : มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ACCESS TO CARE/CONTINUITY OF CARE - (ACC)   / การเข้าถึงการดูแลรักษา/การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง PATIENT AND FAMILY RIGHTS-(PFR) /สิทธิผู้ป่วยและครอบครัว  ASSESSMENT OF PATIENTS- (AOP) / การประเมินอาการผู้ป่วย LABORATORY SERVICES / บริการห้องปฏิบัติการ RADIOLOGY SERVICES / บริการรังสีวินิจฉัย CARE OF PATIENTS - (COP) / การดูแลผู้ป่วย CARE OF HIGH-RISH PATIENTS MEDICATION USE SURGICAL AND ANESTHESIA  Pain Management and End of Life Care PATIENT AND FAMILY EDUCATION - (PFE) / การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว  

139 หมวดที่ II : มาตรฐานการบริหารจัดการในองค์กร
 QUALITY IMPROVEMENT AND PATIENT SAFETY - (QPS)/     การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย PREVENTION AND CONTROL OF INFECTIONS - (PCI) /   การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ GOVERNANCE, LEADERSHIP AND DIRECTION (GLD) /   การปกครอง การนำและทิศทางขององค์กร FACILITY MANAGEMENT AND SAFETY - (FMS)/โครงสร้างและความปลอดภัย STAFF QUALIFICATIONS AND EDUCATION (SQE)/     คุณวุฒิและการศึกษาของ เจ้าหน้าที่ MANAGEMENT OF INFORMATION (MOI)/ การบริหารจัดการข่าวสารข้อมูล

140 มีคำถามไม๊คะ


ดาวน์โหลด ppt การนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ เพื่อการประกันคุณภาพการพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google