งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปฏิบัติงานด้านการจัดหาพัสดุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฏิบัติงานด้านการจัดหาพัสดุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฏิบัติงานด้านการจัดหาพัสดุ
โดย น.ส.นิตยา อัศวินานนท์ ผู้อำนวยการกองตรวจจ่าย สำนักการคลัง

2 ขั้นแรกเริ่มต้นที่งบประมาณ
มีรายการกำหนดในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี (ค่าครุภัณฑ์ และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) มีงบประมาณตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายนั้น ๆ (ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดเงินอุดหนุน หมวดรายจ่ายอื่น) ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอนุญาตให้จ่ายได้

3 การดำเนินการก่อนการเริ่มจัดหาพัสดุ
ค่าวัสดุ ต้องมีรายการและรายละเอียดของวัสดุที่จะจัดซื้อ พร้อมเลข มอก. (ถ้ามี) ราคาต่อหน่วยที่จำหน่ายตามท้องตลาด และราคาซื้อครั้งสุดท้ายเท่าใด เมื่อใด ค่าครุภัณฑ์ ชื่อรายการถูกต้องตามงบประมาณที่ได้รับ มีรายละเอียด และคุณลักษณะเฉพาะตามที่กำหนดในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ของสำนักงบประมาณ หรือราคามาตรฐานของกรุงเทพมหานคร (สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร) หรือมาตรฐานครุภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กระทรวง ICT)

4 การดำเนินการก่อนการจัดหาพัสดุ
กำหนดรายละเอียดของวัสดุ ได้แก่ ขนาด กว้าง ยาว สูง น้ำหนัก ขนาดบรรจุ(ปริมาตร) หรือชนิดของวัสดุ เช่น กระดาษ เหล็ก ไม้ ผ้า พลาสติก หรือวัสดุอื่นใด หรือสัดส่วนวัตถุดิบ เช่น ฝ้าย 35% โพลีเอสเตอร์ 65% มีรายละเอียดครุภัณฑ์ ได้แก่ ขนาด ชนิดวัสดุ สมรรถนะ (แรงม้า) ประสิทธิภาพ (เช่น สามารถทำอะไรได้บ้าง) ระยะเวลารับประกัน เป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อนกรณีไม่มีกำหนดในมาตรฐานครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ หรือของกรุงเทพมหานคร ต้องตั้งคณะกรรมการกำหนดและระบุรายชื่อยี่ห้อสินค้าที่ตรงตามรายละเอียด ที่กำหนด อย่างน้อย 3 ยี่ห้อ กำหนดวันส่งของ (วัน / วันทำการ)

5 การดำเนินการก่อนการเริ่มจัดหาพัสดุ
กรณีครุภัณฑ์ที่จะจัดซื้อไม่มีรายละเอียดและคุณลักษณะในบัญชี ราคามาตรฐาน หน่วยงานต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนด รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ ตามคำสั่ง กทม.ที่ 5804/2555 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2555 (อำนาจอนุมัติเป็นของผู้มีอำนาจจัดซื้อ- จัดจ้างตามวงเงินก่อหนี้ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ) เมื่อคณะกรรมการฯ กำหนดแล้ว ต้องเสนอขออนุมัติต่อผู้แต่งตั้ง รายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด ต้องเปิดกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจง สินค้ารายใดรายหนึ่ง และต้องระบุชื่อสินค้าในท้องตลาดอย่างน้อย 3 ยี่ห้อที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

6 การดำเนินการก่อนการจัดหาพัสดุ
รายละเอียดของการจัดจ้าง มีรายการเนื้องานที่จะจ้างเหมา แจกแจงชนิดของงาน (เช่น จ้างเหมา ซ่อมครุภัณฑ์ จ้างเหมาบำรุงรักษาครุภัณฑ์ จ้างงานก่อสร้าง) มีราคาต่อหน่วยที่ประมาณการไว้ หากเป็นงานจ้างเหมาก่อสร้าง ต้องแยกรายการวัสดุและค่าแรง มีรูปแบบผังบริเวณ (ค่าที่ดิน) กำหนดวันแล้วเสร็จ

7 การกำหนดราคากลาง (หนังสือสำนักการคลัง ที่ กท 1305/982 ลงวันที่ 20 กันยายน 2556)
ราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้าง ประเภทอื่นที่ไม่ใช่งาน ก่อสร้าง ครุภัณฑ์ ยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างงานวิจัย การจ้างออกแบบและควบคุมงาน

8 การกำหนดราคากลาง ครุภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานตามบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ของ
สำนักงบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรี หรือสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร /ใช้ราคามาตรฐานเป็นราคากลาง ครุภัณฑ์ที่ไม่มีราคามาตรฐาน ต้องตั้งคณะกรรมการ ประมาณราคากลาง - ราคาที่นำมาใช้ประมาณการ ต้องเป็นราคาที่เคยจัดหาย้อนหลังไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ ถ้าไม่มีให้ใช้ราคาที่สืบทราบได้ตามราคาท้องตลาดโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลในเว็บไซด์ที่ค้นหาได้ (หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด นร 0505/ว 129 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2556 และหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด กค /12802 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2556) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ราคามาตรฐานตามที่กระทรวง ICT กำหนด หรือใช้ราคาตลาด รวมทั้งเว็บไซด์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง

9 การกำหนดราคากลาง การจ้างที่ปรึกษา ตามหลักเกณฑ์การคิดอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำหนด (หนังสือสำนัก การคลังด่วนที่สุด ที่ กท 1305/897 ลงวันที่ 5 กันยายน 2556 อ้างถึงหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556 ) การจ้างงานวิจัยฯ พิจารณาจากวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ ของที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงานใช้อัตราตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้นๆ กำหนดเป็นราคาอ้างอิง

10 การกำหนดราคากลาง ราคากลางงานก่อสร้าง
- หัวหน้าหน่วยงานที่จัดจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการราคากลางตามระเบียบ กรุงเทพมหานครว่าด้วยการจ้างเหมาก่อสร้าง พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554 และตามหนังสือสำนักการคลังที่ กท 1305/434 ลงวันที่ 26 เมษายน 2556 อ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุดที่ กค /ว 90 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2555 โดยแนบรายละเอียด การคำนวณราคากลาง ตาม BOQ ที่ต้องประกาศ ตามแบบฟอร์ม การคำนวณราคากลางแนบท้ายหนังสือดังกล่าว (จำแนกเป็นราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทางสะพานและท่อเหลี่ยม, และงาน ก่อสร้างชลประทาน)

11 การกำหนดราคากลาง ราคากลางงานจ้างที่ปรึกษา
- ดำเนินการตามหนังสือสำนักการคลังที่ กท 1305/897 ลงวันที่ 5 กันยายน 2556 อ้างถึงหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/ว ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556

12 การเผยแพร่ราคากลาง การจัดซื้อจัดจ้าง ที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐประกาศราคากลาง และรายละเอียดการคำนวณราคากลางไว้ในเว็บไซด์ของหน่วยงาน และในเว็บไซด์ศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (

13 การเผยแพร่ราคากลาง กำหนดเวลาในการเปิดเผยราคากลาง
กรณีจัดหาโดยวิธีสอบราคา ประกาศในระบบ e-GP พร้อมการทำร่าง TOR ลงประกาศเพื่อให้มีผู้วิจารณ์และเสนอแนะ กรณีจัดหาโดยวิธีตกลงราคา บันทึกไว้ในระบบ e-GP ด้วย การจ้างอย่างอื่น ประกาศพร้อมการลงประกาศเชิญชวน (สำหรับกรณีที่มีการแข่งขันราคา)

14 ขั้นตอนแรก - การขอความเห็นชอบ
 เจ้าหน้าที่พัสดุเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอต่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง (ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ) พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดพัสดุที่จะจัดหา ประมาณการรูปแบบรายการ และผังบริเวณ กรณีจ้างเหมาก่อสร้าง) ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง เป็นไปตามวงเงินที่ดำเนินการจัดหา และเป็นไปตามวงเงินอำนาจอนุมัติให้ก่อหนี้ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ ข้อ 60 ข้อ 61 (วิธีพิเศษ)

15 การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจ สั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไป จะกระทำมิได้  วงเงินดำเนินการลดลงทำให้วิธีที่ใช้ในการจัดหาเปลี่ยนแปลง  วงเงินลดลงทำให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลง (ในทางต่ำลง)

16 รายละเอียดที่ต้องระบุในบันทึกขอความเห็นชอบ
เหตุผลและความจำเป็น (ใช้ทำอะไร ใช้ที่ไหน หรือเพื่อแก้ปัญหาใด) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้ของ กำหนดส่งมอบ กำหนดแล้วเสร็จ รายการพัสดุที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้าง ถ้ามีรายละเอียดมากหรือข้อความ ยาวมาก สามารถจัดทำรายละเอียดแนบท้าย โดยมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ พัสดุกำกับไว้ก็ได้ วิธีที่จะใช้ในการจัดหา วงเงินที่จัดหา แหล่งงบประมาณที่ใช้เบิกจ่าย (ปกติแล้วต้องได้รับอนุมัติ เงินประจำงวดก่อน เว้นแต่จะได้มีหนังสือสั่งการเป็นอย่างอื่น)

17 รายละเอียดที่ต้องระบุในบันทึกขอความเห็นชอบ
การจัดจ้างทุกกรณี ยกเว้นการจ้างที่ปรึกษา หรือการจัดจ้างอื่นใด ที่มีลักษณะของการคำนวณราคากลาง ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างก่อสร้าง ต้องจัดทำประมาณการรายละเอียด ประกอบการเบิกจ่ายเงิน เสนอหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาอนุมัติ และมี ลายมือชื่อผู้จัดทำกำกับไว้ (ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน ฯลฯ พ.ศ ข้อ 41)

18 การบันทึกรายการในระบบ e-GP
มี ของหน่วยงาน (ขอที่กองควบคุมระบบงานคอมพิวเตอร์) นามสกุล BKK.go.th ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้มีอำนาจอนุมัติ รหัสที่ได้รับจากระบบ e-GP ทาง ต้องยืนยันภายใน 15 วัน ต้องบันทึกราคากลาง พร้อมกับการลงประกาศในระบบ e-GP แล้วแต่วิธีดำเนินการจัดหาว่าลงประกาศในขั้นตอนใด

19 การบันทึกรายการในระบบ e-GP
ลง e-GP และ website ของหน่วยงานโดย ประกาศราคากลาง ไว้จนถึงวันที่ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง มีคำสั่งรับคำเสนอ ซื้อ/จ้าง หรือเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาผล เสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง แล้วแต่เวลาใดถึงกำหนดก่อน

20 รายละเอียดในการขอความเห็นชอบ
กรณีจัดหาโดยวิธีสอบราคา ต้องตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา กรณีจัดหาโดยวิธีพิเศษ ต้องตั้งคณะกรรมการจัดซื้อหรือจัดจ้าง โดยวิธีพิเศษ กรณีจัดหาโดยวิธีกรณีพิเศษ ต้องมีคำอธิบายว่าเป็นไปตามลักษณะใด ของข้อ 21 หรือ ข้อ 22 การจัดซื้อครุภัณฑ์ ต้องกำหนดว่าผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้ผลิตหรือ ผู้แทนจำหน่ายโดยตรง

21 การสรรหาผู้เสนอราคา ผู้เสนอราคา ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐในระบบ e-GP ด้วย วิธีตกลงราคา เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อร้านค้าให้เสนอราคาได้โดยตรง และต่อรองราคาด้วยวาจาก็ได้ และผู้เสนอราคาจะยืนยันราคาเดิม หรือลดราคา ก็ให้ระบุเพิ่มเติมไว้ในใบเสนอราคา การลดราคา ต้องระบุว่าลดราคารายการใด เนื่องจากในการทำสัญญาซื้อต้องระบุ ค่าปรับคำนวณจากมูลค่าสิ่งของที่ยังไม่ได้ส่งมอบ วิธีสอบราคา ต้องจัดทำประกาศสอบราคาและส่งประกาศดังกล่าว ไปยังผู้มีอาชีพทางนั้นให้มากที่สุด (ปกติอย่างน้อย ราย และต้อง แนบหลักฐานการส่งไปรษณีย์) รวมทั้งต้องติดประกาศที่หน่วยงานด้วย โดยมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันส่งประกาศถึงวันเปิดซองไม่น้อยกว่า10 วัน

22 การสรรหาผู้เสนอราคา ประกาศสอบราคา ต้องกำหนดวันประกาศรายชื่อผู้ไม่มีผลประโยชน์ ร่วมกันก่อนกำหนดการเปิดซองเสนอราคาด้วย วิธีกรณีพิเศษ เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจโดยทำหนังสือแจ้งให้เสนอราคา อย่างน้อยต้องเทียบราคา 3 ราย

23 การแจกจ่ายใบเสนอราคา
วิธีตกลงราคา ไม่มีข้อกำหนด ผู้เสนอราคาจะมาขอรับแบบพิมพ์ ใบเสนอราคา หรือจะจัดทำใบเสนอราคาตามแบบที่หน่วยงานกำหนด หรือไม่มีรูปแบบ แต่มีรายละเอียดครบถ้วนทำนองเดียวกันก็ได้ วิธีสอบราคา ผู้สนใจเสนอราคาต้องมารับเอกสารสอบราคาและ ใบเสนอราคาที่หน่วยงานผู้จัดหา และต้องมีการลงชื่อในทะเบียน ผู้รับใบเสนอราคาด้วย วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีการแจกจ่ายใบเสนอราคา

24 ใบเสนอราคา วิธีตกลงราคา ไม่ได้บังคับรูปแบบเอกสาร (แต่มีตัวอย่างแบบให้ใช้ได้) โดยใบเสนอราคาต้องมีสาระสำคัญชื่อรายการ (พร้อมระบุชนิดวัสดุ หรือขนาด ขนาดบรรจุ (ปริมาตร) หรือน้ำหนัก จำนวน ราคาต่อหน่วย ราคารวม เลขที่ มอก. กำหนดยืนราคา กำหนดระยะเวลารับประกัน (กรณีครุภัณฑ์) กำหนดส่งของ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) ลายมือชื่อ- ผู้เสนอราคา (เจ้าของกิจการ) พร้อมตราประทับ วิธีสอบราคา ใช้แบบพิมพ์ที่หน่วยงานผู้จัดหาพัสดุแจกหรือขายแบบ ให้ผู้มารับเอกสารสอบราคาเท่านั้น (ไม่สามารถทำสำเนาเอกสารเพิ่ม หรือจัดพิมพ์ให้มีรูปแบบเช่นเดียวกับที่หน่วยงานจัดทำไว้ แทนได้)

25 ใบเสนอราคา วิธีกรณีพิเศษ ไม่กำหนดรูปแบบบังคับ อาจเป็นหนังสือภายนอกก็ได้ แต่ต้องมีรายละเอียดทำนองเดียวกัน วิธีพิเศษ ไม่กำหนดรูปแบบข้อบังคับ แต่ต้องมีรายละเอียดเนื้องาน ราคาต่อหน่วย ราคารวม กำหนดส่งมอบ/แล้วเสร็จ การรับประกัน

26 การยื่นเอกสารใบเสนอราคา
วิธีตกลงราคา วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีการกำหนดไว้ แต่ควรลงรับ ตามระเบียบสารบรรณ (เพื่อประโยชน์ในการนับวันสิ้นสุดการยืนราคา) วิธีสอบราคา ต้องยื่นซองเสนอราคาแยกเป็น ใบเสนอราคา และเอกสาร ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองต่อเจ้าหน้าที่พัสดุ ภายในวันและเวลา ที่กำหนด โดยต้องลงลายมือชื่อผู้ยื่นในบัญชีรายชื่อผู้เสนอราคา เมื่อสิ้นวัน เจ้าหน้าที่พัสดุต้องรวบรวมซองเสนอราคาทั้งหมด ของแต่ละวันนำฝากหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย จนกว่าจะถึงวันเปิดซอง จึงจะส่งมอบให้คณะกรรมการเปิดซอง สอบราคาดำเนินการต่อ

27 เอกสารหลักฐานประกอบใบเสนอราคา
รูปแบบ แคตตาล็อก รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ (ครุภัณฑ์) เอกสารหลักฐานของผู้เสนอราคา กรณีร้านค้ามีใบจดทะเบียนพาณิชย์ บัตรประชาชนของเจ้าของ ภ.พ.20 (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) กรณีผู้เสนอราคาเป็นนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์รับรองไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันเสนอราคา บัญชีรายชื่อผู้มีอำนาจควบคุม บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น รายใหญ่ (ตามแบบที่คณะกรรมการพัสดุกำหนด) ใบมอบอำนาจ ติดอากร (ถ้ามี) หลักฐานการลงทะเบียนเป็นคู่สัญญาภาครัฐ บัญชีรายการเอกสารส่วนที่ 1 และบัญชีรายการเอกสารส่วนที่ 2

28 การพิจารณาราคา วิธีตกลงราคา เจ้าหน้าที่พัสดุเป็นผู้พิจารณาราคาที่เสนอที่เป็นราคา ที่เหมาะสมตามท้องตลาดทั่วไป และไม่เกินวงเงินงบประมาณ และ/หรือ ราคาประมาณการที่ได้รับความเห็นชอบ เสนอผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง วิธีสอบราคา คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตรวจสอบคุณสมบัติ และเอกสารหลักฐานจัดทำประกาศรายชื่อผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แล้วจึงตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร รายละเอียด และราคาพัสดุที่เสนอ โดยพิจารณาเลือกจากรายที่เสนอราคาถูกต้อง ตามเงื่อนไขในประกาศสอบราคาที่เสนอราคาพัสดุที่มีคุณภาพและเป็น ประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครที่เสนอราคาต่ำสุด คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจัดทำรายงานการเปิดซองเสนอผู้สั่งซื้อ สั่งจ้าง ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

29 ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร (มีอำนาจบริหารใน 2 กิจการ) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน (มีทุนหรือหุ้นส่วนอยู่ใน 2 กิจการ หรือมากกว่า)  ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หมายถึง ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน (ดูจากหนังสือบริคณห์สนธิ) มีความสัมพันธ์ไขว้กันระหว่างเชิงทุนและเชิงบริหาร พิจารณาเฉพาะกรณีเข้าเสนอราคาในคราวเดียวกัน

30 บันทึกอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง
ต้องมีรายละเอียดว่าซื้อหรือจ้างจากใคร ราคาเท่าใด กำหนดส่งของกี่วัน หรือเมื่อใด ขออนุมัติแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ (กรณีวงเงินไม่เกิน 10,000.- บาท) หรือแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง (จ้างเหมาก่อสร้าง) อนุมัติจ่ายเงิน โดยระบุแหล่งงบประมาณที่จะเบิกจ่าย อนุมัติจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี - กรณีตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ ข้อ 63)

31 บันทึกขออนุมัติ อนุมัติกำหนดค่าปรับเป็นรายวัน
อนุมัติทำสัญญา หรือทำใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง ทำหนังสือตอบตกลง ต่อหน่วยงานส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ (ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ไว้ต่อกัน) หรือไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (กรณีวงเงินจัดหาไม่เกิน 10,000.- บาท หรือกรณีตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2548 ข้อ 35) อ้างอำนาจว่าเป็นไปตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2538 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ ประกอบกับระเบียบ กทม.ว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน ฯลฯ พ.ศ ข้อ 33

32 คณะกรรมการ องค์ประกอบของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการจำนวนอย่างน้อย 2 คน
องค์ประกอบของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการจำนวนอย่างน้อย 2 คน และประธานกรรมการ 1 คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการไม่ต่ำกว่า ระดับ 3 (ปัจจุบันเป็นปฏิบัติการ หรือปฏิบัติงาน) ห้ามแต่งตั้งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ กรณีวงเงินจัดหาไม่เกิน 10,000.- บาท จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คนเดียวเป็นผู้ ตรวจรับพัสดุก็ได้ มติของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้าง ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ กรณีกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือกรรมการตรวจการจ้างคนใด ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการ ให้ทำความเห็นแย้งไว้และนำเสนอผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง เมื่อผู้สั่งซื้อสั่งจ้างสั่งการเป็นประการใด ก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น

33 การทำสัญญา ต้องมีการตรวจร่างโดยผู้มีความรู้ทางกฎหมาย (รูปแบบของสัญญา ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุกำหนด) สัญญาที่มีวงเงินจัดหา เกิน 70 ล้านบาท ต้องส่งให้สำนักงานกฎหมายและคดีตรวจร่างสัญญา การจัดหาที่ต้องมีการรับประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง หรือการจัดหา โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา วิธีประมูลด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ ต้องวางหลักประกันจำนวนร้อยละ 5 ของวงเงินในสัญญา หลักประกันที่เป็นหนังสือธนาคาร ต้องมีหนังสือแจ้งให้ธนาคารผู้ ออกหนังสือค้ำประกันยืนยันความถูกต้องด้วย

34 การทำสัญญา สัญญาจ้างต้องติดอากรอัตรา 1,000.- บาท ละ 1 บาท (เศษของ 1,000.- บาท ติดอากรเพิ่มอีก 1 บาท สัญญาจ้างวงเงินตั้งแต่ 200,000.- บาท ต้องติดตราสารแทนอากร (ที่สรรพากรเขต) ภายใน 15 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา ต้องบันทึกรายการในระบบ e-GP จะได้เลขคุมสัญญาในระบบ e-GP (รวมถึงใบสั่งซื้อสั่งจ้างด้วย)

35 การแก้ไขสัญญา เป็นอำนาจของ ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง
กรณีมีการเพิ่มวงเงิน และวงเงินตามสัญญาอยู่ในอำนาจ ป.กทม เป็นอำนาจของ ป.กทม. (ป.กทม.มอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงาน ตามคำสั่งที่ 2802/2553 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2553) กรณีวงเงินเกินอำนาจ ป.กทม.ให้เสนอ ผว.กทม. กรณีแก้ไขสัญญาแล้วมีการเพิ่มวงเงินและวงเงินนั้นสูงเกินอำนาจ ป.กทม.ให้เสนอ ผว.กทม. เงื่อนไขกรณีที่จะแก้ไขสัญญาได้ต้องเป็นความจำเป็น และไม่ทำให้ กรุงเทพมหานครเสียประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร

36 กรณีจัดทำใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง
จัดหาโดยวิธีตกลงราคา (กำหนดส่งของกี่วันก็ได้) จัดหาโดยวิธีกรณีพิเศษและการจัดหาจากส่วนราชการ จัดหาโดยวิธีอื่นที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งของได้ภายใน 5 วันทำการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษตามที่ข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2538 ข้อ 127 (4) (5) การซื้อ หรือการจ้าง โดยวิธีพิเศษ ข้อ 20(1)-(4) ข้อ 21 (1) –(4)

37 การส่งสำเนาสัญญา ข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การพัสดุ พ.ศ ข้อ 129 ให้หน่วยงาน ส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาท ขึ้นไป ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา

38 การบริหารสัญญา เมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาแล้ว ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ส่งมอบ พัสดุตามกำหนด หน่วยงานต้องมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิค่าปรับ โดยแจ้งระบุอัตราค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจนกว่าจะส่งมอบงาน เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบงานแล้ว ต้องมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิ จำนวนเงินค่าปรับทั้งหมด (รวมถึงการปรับกรณีพัสดุที่ส่งมอบครบถ้วน แต่ไม่ถูกต้องตามสัญญาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / ตรวจรับ งานจ้างไม่ตรวจรับพัสดุดังกล่าวด้วย)

39 การส่งมอบพัสดุตามสัญญา
ต้องมีใบส่งของ ควรลงรับเรื่องตามระเบียบสารบรรณเพื่อยืนยันวันที่ส่งมอบ โดยยึดถือวันที่ที่หน่วยงานลงรับเรื่องเป็นวันส่งมอบ (ยกเว้นกรณีการจ้างเหมา ที่วันสิ้นสุดสัญญาตรงกับวันหยุด ให้ลงรับเรื่องในวันเปิดทำการวันแรก) เพื่อการคำนวณวันปรับกรณีส่งมอบพัสดุเกินกำหนด ในใบส่งของต้องมีการลงลายมือชื่อผู้รับของไว้เป็นหลักฐานด้วย กรณีผู้ขายจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมใบส่งของ สำหรับการจ้าง ผู้รับจ้างจะออกใบกำกับภาษีพร้อมใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีอาจออกเป็นชุดพร้อมใบส่งของและใบแจ้งหนี้ (เลขที่เดียวกัน ทั้งชุด) หรือเป็นเอกสารแยกต่างหากจากใบส่งของก็ได้ (ขึ้นอยู่กับว่า กิจการนั้นได้แจ้งขออนุญาตกรมสรรพากรไว้อย่างไร)

40 การตรวจรับพัสดุ/งานจ้าง
การจัดซื้อ โดยปกติให้ตรวจรับให้แล้วเสร็จในวันที่ผู้ขายส่งพัสดุ (เนื่องจากผู้ขายต้องแจ้งวันส่งพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ซื้อเตรียมสถานที่ซึ่งหน่วยงานสามารถแจ้งกรรมการตรวจรับทราบล่วงหน้าได้ การจ้างเหมา ต้องแจ้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / งานจ้างทราบ ภายใน 2 วัน เพื่อตรวจรับพัสดุโดยเร็ว เมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับพัสดุแล้ว ต้องจัดทำใบตรวจรับพัสดุให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับด้วย และต้องบันทึกการตรวจรับในระบบ MIS2 เพื่อเชื่อมโยง ไปสู่ระบบงานทะเบียนทรัพย์สิน (ค่าครุภัณฑ์) และระบบงานบัญชี

41 รายงานการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ / คณะกรรมการตรวจการจ้าง เป็นผู้รายงานต่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง กรณีอำนาจอนุมัติเป็นของ ป.กทม. หรือ ผว.กทม.ให้รายงาน ผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดทำบันทึก นำส่งรายงานดังกล่าวตามระเบียบสารบรรณ

42 การลงทะเบียนทรัพย์สิน(ครุภัณฑ์)
กรณีจัดหาครุภัณฑ์ รหัสครุภัณฑ์จะแสดงในระบบทะเบียนทรัพย์สินโดยอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องยืนยันการรับพัสดุและพิมพ์ทะเบียนทรัพย์สินแนบประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ และจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ ในระบบ manual (ทำมือ) ด้วย

43 การตั้งเรื่องเบิกเงิน
ต้องตั้งเรื่องเบิกเงินให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับจากได้รับใบแจ้งหนี้ ในแต่ละปีงบประมาณ ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาตามประเภท ครุภัณฑ์ (1-20) ตามอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ใน ทะเบียนครุภัณฑ์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ของปี และส่ง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุฝ่ายการคลังตรวจสอบเพื่อจัดทำบัญชีเปรียบเทียบ มูลค่าทรัพย์สิน ประกอบงบการเงินประจำปี

44 จบการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt การปฏิบัติงานด้านการจัดหาพัสดุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google