ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุสุมา ชูศิลป์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2
วัตถุประสงค์ อธิบายเป้าหมายของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก
อธิบายแนวปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ อธิบายหลักฐานเชิงประจักษ์ของบันได 10 ขั้น
3
คำจำกัดความ โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก หมายถึง โรงพยาบาลที่มีแนวปฏิบัติในการให้บริการสุขภาพแม่และเด็ก ตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขององค์การอนามัยโลกและองค์การ UNICEF
4
เป้าหมาย เพื่อผลักดันให้โรงพยาบาลทั่วโลกปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนให้ทารกทุกคนได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นจนถึงขวบปีที่ 2 หรือนานกว่านั้น เพื่อหยุดยั้งการรับบริจาคหรือจัดซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทารกราคาถูกในหอผู้ป่วยหรือในโรงพยาบาล
5
หลักเกณฑ์การประเมินโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก
เป็นมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของบันได 10 ขั้นในการประเมินโรงพยาบาลสาย สัมพันธ์แม่ลูก ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก มีเกณฑ์การดูแลแม่อย่างมิตร มีแนวปฏิบัติการให้อาหารทารกในทารกติดเชื้อเอชไอวี/ การอบรมเจ้าหน้าตามหลักสูตรที่กำหนด รายงานผลการประเมินตนเองก่อนการตัดสินจากภายนอก รวมทั้งสถิติการให้อาหารทารก บูรณการบันได 10 ขั้นที่ได้ในระบบงานประจำ
6
บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หลักเกณฑ์ในการประเมิน โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกระดับโลก
7
บันไดขั้นที่1 มีนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่สามารถสื่อสารได้เป็นประจำกับ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข Step1: Have a written breastfeeding policy that is routinely communicated to all health care staff
8
กลวิธีบันไดขั้นที่1 นโยบายต้องครอบคลุมบันไดทั้ง10ขั้นรวมทั้งหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาด ผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็ก บุคลากรในสถานบริการแม่และเด็กทุกคนต้องได้รับการชี้แจงและจัดทำแนวปฏิบัติ ที่สามารถสื่อกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ปิดประกาศนโยบายให้เห็นชัดเจนในที่ให้บริการ เช่น ห้องฝากครรภ์ แลหอผู้ป่วย หลังคลอด
9
นโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การดูแลด้านโภชนาการของแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยและการผ่าตัดคลอด การจัดซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก เหตุผลทางการแพทย์ในการเสริมน้ำ นมผสมหรืออาหารอื่น การให้สุขศึกษาอันตรายของการเลี้ยงด้วยนมผสม การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้อาหารทารกแก่แม่ที่ติดเชื้อโรคเอชไอวี/เอดส์ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
10
บันไดขั้นที่2 ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคนมีทักษะ ที่จะนำนโยบายที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติ Step 2. Train all health-care staff in skills necessary to implement this policy.
11
กลวิธีบันไดขั้นที่2 ปฐมนิเทศและฝึกอบรมบุคลากรทางการ แพทย์แลสาธารณสุขทุกคนในโรงพยาบาล ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย18ชั่วโมง ร่วมกับการฝึกปฏิบัติใน หอผู้ป่วย3 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น จัดตั้งทีมดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมในโรงพยาบาล
12
บันไดขั้นที่3 ชี้แจงหญิงตั้งครรภ์ทุกคนให้ทราบถึง ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Step 3. Inform all pregnant women about the benefits and management of breastfeeding.
13
มีการทำแผนการสอนและจัดทำสื่อที่มีคุณภาพ
กลวิธีบันไดขั้นที่3 หญิงวัยเจริญพันธ์ทุกคนที่เข้ามารับบริการต้องได้รับการให้สุขศึกษาหรือมีส่วน ร่วมในโรงเรียนพ่อแม่ ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกและการตัดสินใจใน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการทำแผนการสอนและจัดทำสื่อที่มีคุณภาพ แจกคู่มือให้มารดานำไปศึกษาด้วยตนเอง
14
Step 4. Help mothers initiate breastfeeding within one hour of birth.
บันไดขั้นที่4 ช่วยมารดาเริ่มให้ลูกดูดนมภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด หรือให้ดีที่สุด ดูดทันทีหลังคลอด Step 4. Help mothers initiate breastfeeding within one hour of birth.
15
กลวิธีบันไดขั้นที่4 ช่วยให้มารดาตัดสินใจเลือกการให้นมแม่ขณะรอคลอด
อธิบายมารดาถึงความสำคัญของการโอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อ และการเริ่มต้นดูด นมครั้งแรกโดยเร็วหลังคลอด เน้นการคลอดที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่มีข้อบงชี้ทางการแพทย์ หลังตัดสายสะดือและเช็ดตัวลูกด้วยผ้าแห้งให้นำลูกที่ตัวเปล่ามาวางบนหน้าอกแม่ ทันที ควรให้ลูกอยู่กับมารดานานอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง
16
ความรู้มารดาที่คลินิกฝากครรภ์
Benefits of breastfeeding Early initiation Importance of rooming-in (if new concept) Importance of feeding on demand Importance of exclusive breastfeeding How to assure enough breastmilk Risks of artificial feeding and use of bottles and pacifiers (soothers, teats, nipples, etc.)
17
อิทธิพลการให้สุขศึกษาต่อ พฤติกรรมการให้อาหารทารก
Adapted from: Nielsen B, Hedegaard M, Thilsted S, Joseph A, Liljestrand J. Does antenatal care influence postpartum health behaviour? Evidence from a community based cross-sectional study in rural Tamil Nadu, South India. British Journal of Obstetrics and Gynaecology, 1998, 105:
18
ผลการวิเคราะห์งานวิจัยที่ตีพิมพ์ การให้สุขศึกษาและการให้นมแม่
Adapted from: Guise et al. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: Systematic evidence review and meta-analysis… Annals of Family Medicine, 2003, 1(2):70-78.
22
Slide 4g
23
วิธีปฏิบัติโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ
ลูกจะพยายามเข้าหาเต้านมแม่ เจ้าหน้าที่ให้กำลังใจแม่ ช่วย แม่กระตุ้นลูกได้ ดูดนมแม่เร็ว โดยการโอบกอดลูกให้กระชับและให้ปากลูกใกล้หัวนมแม่ ให้ลูกอยู่กับแม่เนื้อแนบเนื้อ จนกระทั่งดูดนมแม่ครั้งแรกได้สำเร็จในห้องคลอด และนานเท่าที่แม่ต้องการ แม่ที่คลอดโดยการผ่าตัด ก็ควรให้ลูกได้อยู่กับแม่เนื้อแนบเนื้อหลังลูกเกิด เช่นเดียวกัน
24
ทำไมต้องเริ่มดูดนมแม่ภายใน1ชั่วโมง
กระตุ้นชาตญานความเป็นมนุษย์และความ เป็นแม่ ลดอัตราการตกเลือดของมารดา ช่วยให้ลูกหัดดูดนมในขณะที่ตื่นตัว สร้างความผูกพันทางจิตใจระหว่างแม่ลูก กระตุ้นให้น้ำนมแม่มาโดยเร็ว สร้างภูมิต้านทานบนผิวของลูกด้วยจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ของแม่ ลูกได้รับสารปกป้องการติดเชื้อจากหัวน้ำนม
25
ผลของการได้รับนมแม่เร็ว
มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก ช่วยเร่งการขับขี้เทา ช่วยลดการเกิดตัวเหลือง ลูกได้รับภูมิคุ้มกัน Secretory IgA อย่างเต็มที่ การฝึกดูดนมเร็วช่วยการเชื่อมโยงเซลล์สมอง สมองว่องไวต่อการรับรู้และเสริมสร้างพัฒนาการ ทารกร้องกวนน้อยกว่า เพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ลูกอบอุ่นและมีการเพิ่มน้ำหนักตัวที่เร็วขึ้น
26
การเริ่มดูดนมเร็วช่วยเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Early contact: min suckling and skin-to-skin contact within first hour after delivery Control: No contact within first hour Adapted from: DeChateau P, Wiberg B. Long term effect on mother-infant behavior of extra contact during the first hour postpartum. Acta Peadiatr, 1977, 66:
27
บันไดขั้นที่5 แสดงให้มารดาเห็นวิธีการให้นมที่ถูกต้อง และการคงสภาพการหลั่งสร้างน้ำนม แม้ว่าแม่ลูกต้องแยกจากกัน Step 5: Show mothers how to breastfeed and how to maintain lactation, even if they are separated from their infants. ปฏิบัติทันทีที่มารดาอยู่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด หรือประมาณ 2 ชั่วโมงหลังคลอด
28
กลวิธีบันไดขั้นที่5 มารดาได้รับการประเมินวิธีการให้นม เช่น การใช้ LATCH score มารดาได้รับการช่วยเหลือการให้นมลูกอย่างถูกวิธี สอนและแสดงวิธีการบีบนมในกรณีที่แม่ลูกแยกจากกัน ให้เหตุผลการทำให้มีน้ำนมเพียงพอ และการให้นมแม่อย่างเดียว สร้างความมั่นใจการมีน้ำนมพอขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
29
กรณีที่แม่-ลูกต้องแยกจากกัน
สอนแม่ express milk โดยเร็ว 6 ชั่วโมงหลังคลอด ~ ทุก 3 ชม. (ไม่ เกิน 4 ชม.) เพื่อเก็บ colostrum ให้ลูก ช่วงที่มีน้ำนมเป็นหยด ควรเก็บ นมด้วยกระบอกฉีดยาขนาด 1 ซีซี และนำไปป้อนปากลูกเพื่อรักษาช่องปาก
30
วิธีเก็บ colostrum Video ตั้งแต่หลังคลอดจนถึง 36 ชม.
ใช้ syringe ขนาด ml. น้ำนมเพิ่มขึ้น ใช้ syringe ขนาด ml. Video
31
ลักษณะการดูดที่ถูกต้อง
หัวนมและลานนมรวมทั้งเนื้อเยื่อเต้านมถูกดึงลึกเข้า ไปในปากของทารก ช่องปากปิดสนิท ริมฝีปากเม้ม น้อยที่สุด ปลายลิ้นอยู่บริเวณริมฝีปากล่างเหนือเหงือกล่าง ขณะที่ลิ้นห่อลานหัวนมและเต้านมคล้ายถ้วย หัวนมยืดหยุ่นยาวออก 2 ถึง 3 เท่าของความยาว ปกติกลายเป็นหัวนมยืด (teat) ลึกจนถึงโคนลิ้นตรง รอยต่อระหว่างเพดานอ่อนและเพดานแข็ง กรามช่วยเคลื่อนลิ้นขึ้นไปกดลานหัวนม สัมผัสกับ แนวฟัน กดให้นมไหลออกจากกระเปราะน้ำนม
32
ลักษณะการดูดที่ถูกต้อง
ขณะที่ลิ้นส่วนหน้ายกขึ้น ลิ้นส่วนหลังถูกกดลงและ หดตัวทำให้น้ำนมเคลื่อนเป็นคลื่นตามการ เคลื่อนไหวของลิ้น ปริมาตรนมกระตุ้นการกลืน ด้านหลังของลิ้นยกขึ้น และกดไปด้านหลังลำคอ เพดานอ่อนถูกยกขึ้นและ ปิดช่องจมูกกล่องเสียงยกขึ้นไปด้านหน้า ขณะขยับกรามลง กระเปราะนมมีน้ำนมเติมจนเต็ม แล้วเริ่มการดูดใหม่ จังหวะการดูดตามการเคลื่อน ขึ้นลงของกรามพร้อมกับการกดและการยกของลิ้น เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อ 1 วินาที
33
การดูดนมของทารก
34
4 key signs of good attachment
เห็น areola ส่วนบนมากกว่า อ้าปากกว้าง ริมฝีปากล่างม้วนออก(ปากบาน) คางชิดเต้านม
35
บันไดขั้นที่ 6 อย่าให้น้ำ อาหาร หรือ เครื่องดื่มอื่นใดแก่ทารกแรกเกิด ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เน้นอันตรายของการให้น้ำ นมผสมหรือเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคภูมิแพ้
36
กลวิธีบันไดขั้นที่6 ไม่มีขวดน้ำหรือขวดนมในหอผู้ป่วยหลังคลอด
มีตู้เย็นสำหรับเก็บนมแม่ที่บีบไว้ มีห้องแยกเด็กป่วยที่มารดาอยู่ดูแลลูกได้ การให้นมแม่อย่างเดียวช่วยลดปัญหาสุขภาพ ระยะยาว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน การให้น้ำหรือนมผสมทำให้นมแม่มาช้า ถ้าดูดนมจากเต้าไม่ได้ ให้ป้อนนมแม่ที่บีบไว้ ด้วยแก้วเพื่อป้องกันการสับสนการดูดนม การให้นมผสมลดการดูดซึมสารอาหารในนม แม่ และลดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
37
ผลการให้อาหารก่อนน้ำนมหลั่ง หรือเสริมน้ำนม
ผลการให้อาหารก่อนน้ำนมหลั่ง หรือเสริมน้ำนม * นมแม่อย่างเดียวน้อยมากช่วงอายุ 6 สัปดาห์ * ลดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ * เริ่มต้นปัญหาของการให้นมลูก * เพิ่มความเสี่ยงของอุจจาระร่วง * ไว ต่อการแพ้น้ำนมวัว * ไม่ได้ลดภาวะถั่วเหลือง
38
Impact of routine formula supplementation
Decreased frequency or effectiveness of suckling Decreased amount of milk removed from breasts Delayed milk production or reduced milk supply Some infants have difficulty attaching to breast if formula given by bottle Slide 4.6.4
39
ให้แม่ลูกอยู่ด้วยกันตลอด24ชั่วโมง ไม่ควรแยกกันเกิน2 ชั่วโมง
บันไดขั้นที่ 7 ให้แม่ลูกอยู่ด้วยกันตลอด24ชั่วโมง ไม่ควรแยกกันเกิน2 ชั่วโมง ไม่มีการแยกแม่ลูกหรือ จัดห้องอภิบาลทารก แม้ว่ามารดาผ่านการผ่าตัดคลอด
40
กลวิธีบันไดขั้นที่7 นำลูกที่ปกติมาอยู่ด้วยกันในหอผู้ป่วยหลัง คลอดตลอดเวลา ให้แม่และลูกนอนบนเตียงเดียวกัน หรือให้ลูก นอนบนเตียงของลูกที่อยู่ชิดกับเตียงของแม่ การที่แม่และลูกอยู่ด้วยกันช่วยให้แม่ให้นม ลูกบ่อยครั้งตามต้องการ กระตุ้นการสร้าง น้ำนม ลดโอกาสเสริมนมผสม และสร้างสาย สัมพันธ์แม่ลูก
41
Rooming-in 24 hours
42
บันไดขั้นที่ 8 สนับสนุนให้ลูกดูดนมบ่อยครั้งตามต้องการ ถ้านอนนานเกิน2-3ชั่วโมงต้องปลุกลูกขึ้นมาดูดนม เน้นการอุ้มลูกดูดนมจากเต้าเพื่อช่วยการเชื่อมโยงของเซลล์สมองและการช่วยขับน้ำนมออกจากเต้า
43
กลวิธีบันไดขั้นที่8 มารดาต้องอยู่กับลูกตลอด24ชั่วโมง
มารดาต้องฝึกสังเกตการแสดงความหิวของลูก การให้ลูกดูดนมแต่ละครั้งต้องให้เกลี้ยงเต้า ลูกควรดูดนมแต่ละครั้งจนอิ่มและหลับได้นาน ลูกควรดูดนมแม่ให้ได้ ครั้งต่อวัน
44
อย่าให้ลูกดูดหัวนมยางหรือ หัวนมหลอก
บันไดขั้นที่ 9 อย่าให้ลูกดูดหัวนมยางหรือ หัวนมหลอก Step 9. Give no artificial teats or pacifiers (also called dummies and soothers) to breastfeeding infants.
45
กลวิธีบันไดขั้นที่9 ควรพิจารณาการเสริมนมผสมหรือเครื่องดื่มอื่นใดเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ อธิบายกลไกที่ทำให้ทารกสับสนการดูดนมหลังการได้ดูดหัวนมยางหรือหัวนม หลอก ถ้าจำเป็นต้องให้นมหรืออาหารอื่นควรใช่วิธีการป้อนแก้วหรือใช้ช้อนป้อน การเริ่มต้นการดูดนมครั้งแรกด้วยหัวนมยางยิ่งทำให้ทารกมีปัญหาการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่มากยิ่งขึ้น การใช้ Nipple tube feeding หรือใช้สายให้อาหารติดที่หัวนมแม่และ ให้นมทางกระบอกฉีดยา ช่วยเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม
46
Slide 4u
47
ผลของการดูด หัวนมยาง/หัวนมหลอก
รบกวนการดูด/ติดหัวนมยาง ดูดนมไม่ถูกต้อง ลดอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกหายใจถี่ยาวมากขึ้น เพิ่มภาวะเครียดในทารกคลอดก่อนกำหนด เพิ่มอัตราการอักเสบของหูชั้นกลาง
48
บันไดขั้นที่ 10 : ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจำหน่าย คู่แม่ลูกออกจากโรงพยาบาล Step 10. Foster the establishment of breastfeeding support groups and refer mothers to them on discharge from the hospital or clinic.
49
วิธีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การนัดเร็วเพื่อประเมินการให้นมแม่ในคลินิก ติดตามเยี่ยมที่บ้าน ติดตามหรือให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ จัดบริการในชุมชน - คลินิกนมแม่ -โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มแม่อาสา จัดระบบสนับสนุนครอบครัว
51
ผลการสนับสนุนติดตาม เพิ่มความเข้มแข็งการให้คำแนะนำและช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการให้อาหารเสริมตามวัยในคลินิก สุขภาพเด็กดี เพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพิ่มสัดส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 6 เดือนเพิ่มขึ้น มารดามั่นใจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
52
การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ช่วยปกป้องลูกและสังคม
53
ปัจจัยที่มีผลเชิงลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนมแม่ อุปสรรคในการให้นมแม่ การขาดการสนับสนุนจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ นโยบายของรัฐที่เอื้อต่อแม่และทารก การตลาดของอุตสาหกรรมนมผสม
54
ผลของโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Adapted from: Haider R, Kabir I, Huttly S, Ashworth A. Training peer counselors to promote and support exclusive breastfeeding in Bangladesh. J Hum Lact, 2002;18(1):7-12.
55
ผลของการเยี่ยมบ้าน ต่อการเลี่ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
From: Morrow A, Guerrereo ML, Shultis J et al. Efficacy of home-based peer counselling to promote exclusive breastfeeding: a randomised controlled trial. Lancet, 1999, 353:
56
ผลของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ต่อนมแม่อย่างเดียว 3 และ6เดือน
57
ผลของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ต่อสุขภาพของทารก
58
หลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ การตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก
International Code of Marketing of Breast milk Substitutes
59
คำจำกัดความและวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก เป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ที่สมัชชาสุขภาพโลก(WHA)ขององค์การอนามัยโลก(WHO) จัดทำในปี ค.ศ. 1981 เพื่อให้ทารกได้รับโภชนาการที่ปลอดภัยและเพียงพอ ปกป้องและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และมั่นใจว่ามีการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็กอย่างถูกต้องตามความจำเป็น บนพื้นฐาน ของข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอซึ่งผ่านสื่อสารการตลาดและการจำหน่ายอย่างเหมาะสม
60
การตลาดที่ขาดจริยธรรมของอุตสาหกรรมนมผสม: การจำหน่ายและการโฆษณา
61
ให้ข้อมูลเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กโดยไม่อธิบาย - ประโยชน์และคุณค่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ค่าใช้จ่ายและอันตรายของอาหารที่ใช้ทดแทนนมแม่ (Giving information on food for infants and small children without explaining the usefulness and importance of breastfeeding as well as the cost and risks of breast milk substitutes 28
62
พระราชบัญญัติการตลาดอาหารสำหรับ ทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีการโฆษณานมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และอาหารตามวัยของทารกและเด็กเล็กใน ที่สาธารณะ ไม่มีการแจกคัวอย่างผลิตภัณฑ์แก่แม่ ไม่ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ ในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ ไม่พยาบาล/พนักงานขายที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์แก่แม่ ไม่มีของขวัญหรือตัวอย่างแจกแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่มีถ้อยคำหรือรูปภาพที่แสดงสัญญาลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม เช่น รูปทารกบนผลิตภัณฑ์
63
พระราชบัญญัติการตลาดอาหารสำหรับ ทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลข่าวสารที่สื่อกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องเป็นวิทยาศาสตร์และเชื่อถือได้ ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงด้วยนมผสม เช่น ฉลาก ต้องอธิบาย ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ค่าใช้จ่าย และอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงด้วยนมผสม ไม่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ไม่คงรูป เช่นนมข้นหวานในการเลี้ยงดูทารก ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีคุณภาพสูงและต้องคำนึงถึงสภาพถูมิอากาศ และสภาพการเก็บของแต่ละประเทศ
64
การให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ ต้องระบุประโยชน์และคุณค่าที่เหนือกว่าของการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ควรใช้เมื่อบุคลากรทางการแพทย์แนะนำ ควรต้องมีคำเตือนถึงอันตรายของนมผสมถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ต้องไม่มีรูปทารกหรือรูปอื่นๆ ข้อความที่ชักจูงให้ อยากใช้อาหารทดแทนนมแม่
65
ขอขอบคุณ ที่จะช่วยเด็กไทย ให้กินนมแม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.