งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง
1. ผู้นำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งเงินตราปลอม เงินตราแปลง มีโทษเท่ากับผู้ทำปลอม มาตรา243 โดยจะนำ เข้ามาโดยวิธีใดก็ได้ เช่น หิ้วเข้ามาเอง ส่งมากับพัสดุ

2 2. ผู้มีไว้เพื่อนำออกมาใช้ ซึ่งสิ่งใด ๆ อันได้มาโดยรู้ว่า
เป็นเงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง ผู้นั้นต้องระวางโทษตาม มาตรา244 องค์ประกอบ 1. มีไว้ 2. เพื่อนำออกใช้ 3. ซึ่งสิ่งใดๆอันได้มาโดยรู้ว่าเป็นเงินตราปลอม เงินตราแปลง 4. โดยเจตนา

3 2.1 องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ
ได้แก่ การมีไว้ ซึ่งหมายถึง มีไว้ในความครอบครอง 2.2 ความผิดมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าสิ่งที่ตน ได้มานั้นเป็นเงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง ตั้งแต่ขณะ แรกที่ได้มา 2.3 การมีไว้ผู้กระทำต้องกระทำโดยมีเจตนา พิเศษ “เพื่อนำออกใช้” ดังนั้นหากขาดเจตนาพิเศษ การมีไว้ซึ่งเงิน ตราปลอม เงินตราแปลง ไม่เป็นความผิดมาตรานี้

4 ฎีกาที่143/2529 จำเลยนำธนบัตรปลอมฉบับละ 500 บาท
ออกใช้ 2 ฉบับ ได้เงินทอน 850 บาท แล้วยังนำออกใช้อีก 1 ฉบับ เมื่อเข้าค้นธนบัตรปลอมจากจำเลย พบอีก 5 ฉบับ ซึ่งเป็นจำนวน หลายฉบับ จำเลยมีไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว ดูจากพฤติการณ์โดยรวม มุ่งหวังเงินทอน

5 2.4 ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำ
โดยเจตนา กล่าวคือ รู้ว่าสิ่งที่ตนมีไว้นั้นเป็นเงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง ประกอบกับมีเจตนาพิเศษข้างต้น 2.5 ความผิดมาตรานี้เป็นความผิดสำเร็จเมื่อ มีไว้ซึ่งเงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง โดยมีเจตนา พิเศษ เพื่อนำออกใช้

6 3. ผู้ใดได้มาโดยไม่รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นเงินตราปลอม หรือ
เงินตราแปลง แต่ต่อมารู้แล้วยังนำออกใช้ จะมีความผิดตาม มาตรา245 องค์ประกอบ 1. ได้มาโดยไม่รู้ว่า 2. เงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง 3. ต่อมารู้แล้วยังขืนนำออกใช้ 4. โดยเจตนา

7 3.1 องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่
“การนำออกใช้” 3.2 การจะเป็นความผิดมาตรานี้ ขณะที่ได้เงินตรา มา ผู้กระทำจะต้องไม่รู้ว่าเป็นเงินตราปลอม หรือเงินตราแปลง 3.3 ความผิดมาตรานี้ เพียงแต่ผู้กระทำมีเงินตรา ปลอมหรือเงินตราแปลง ยังไม่เป็นความผิด จะเป็นความผิดเมื่อ มีการนำออกใช้ 3.4 ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดย เจตนา กล่าวคือ ขณะที่นำออกใช้ รู้ว่าสิ่งดังกล่าวเป็นเงิน ตราปลอม หรือเงินตราแปลง

8 4. ผู้ทำ หรือมีเครื่องมือ หรือวัตถุสำหรับปลอม หรือแปลงเงิน
ตรามีความผิดตามมาตรา 246 5. ถ้าการกระทำใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น เกี่ยวกับเงินตราของ รัฐบาลต่างประเทศ ผู้ กระทำความผิดจะต้องรับโทษตาม มาตรา 247 ซึ่งจะต้องรับโทษเพียงกึ่งหนึ่งของความผิดมาตรานั้น ๆ

9 6. ในกรณีปลอม หรือแปลงเงินตรา ไม่ว่าเงินตรานั้นเป็น
เงินตราไทยหรือเงินตราต่างประเทศ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำ ความผิดมาตราอื่น ๆ ในการปลอม หรือการแปลงเงินตรา ผู้กระทำ ต้องรับโทษฐานปลอมเงินตราหรือแปลงเงินตรา เพียงมาตราเดียว ตาม ม.248

10 ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา
ความผิดฐานปลอมดวงตราแผ่นดิน มาตรา 250 องค์ประกอบ 1. ทำปลอมขึ้น 2. ซึ่งดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดิน หรือพระปรมาภิไธย 3. โดยเจตนา

11 ความผิดฐานปลอมดวงตราทบวงการเมือง มาตรา 251
องค์ประกอบ 1. ทำปลอมขึ้น 2. ซึ่งดวงตรา หรือรอยตราของทบวงการเมือง ขององค์การสาธารณะ หรือของเจ้าพนักงาน 3. โดยเจตนา

12 1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ การทำปลอม
ขึ้นใหม่ ซึ่งหมายถึง การทำขึ้นใหม่โดยผู้กระทำไม่มีอำนาจ โดย ผู้กระทำมีเจตนาให้เหมือนของแท้จริง 2. ความผิดตามมาตรานี้ จะต้องเป็นการปลอมสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังต่อไปนี้ ดวงตรา หมายถึง สิ่งที่มีรูป รอย เพื่อประทับให้ปรากฏ รอยตรา ไม่ว่าจะทำด้วยวัตถุชนิดใด รอยตรา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการประทับ ของดวงตรา โดยจะปรากฏรูป รอย อย่างใด ๆ ก็ได้

13 3. ความผิดตามมาตรานี้จะต้องเป็นการปลอมดวงตรา หรือ
รอยตราอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ก. ดวงตรา หรือรอยตราแผ่นดิน -จะใช้ประทับในเอกสารสำคัญๆของประเทศ เช่น พระราชบัญญัติ -มีชื่อเรียกว่าอีกอย่างหนึ่งว่า พระราชลัญจกร ข. พระปรมาภิไธย หมายถึง ลายมือชื่อ หรือลายเซ็นของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะใช้อักษรย่อ หรือใช้พระนามเต็ม

14 ค. ทบวงการเมือง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ง. องค์การสาธารณะ ได้แก่ องค์การที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสาธารณประโยชน์ จ. เจ้าพนักงาน หมายถึง ดวงตรา หรือรอยตราที่แสดงถึงตำแหน่ง หน้าที่ของเจ้าพนักงาน

15 4. ดวงตรา หรือรอยตรา จะต้องเป็นดวงตรา หรือรอยตรา
ที่กำหนดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจทางกฎหมาย การปลอมจึงจะมี ความผิด 5. การปลอมดวงตรา รอยตรามาตรานี้ ต้องเป็นการปลอม ดวงตรา รอยตรา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในงานราชการ จึงจะเป็น ความผิด ฎีกาที่ 1315/2503 ตรานกวายุภัส เป็นตราของกรมสรรพสามิต ซึ่งประทับบนไพ่ เป็นตราที่แสดงว่าเป็นไพ่ที่กรมนั้นผลิตขึ้นจำหน่าย เพื่อเป็นเครื่องหมายในทางการค้าของกรมสรรพสามิต ไม่ใช่ตราตาม ความหมายมาตรานี้

16 6. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา
-รู้ว่าตนไม่มีอำนาจทำดวงตราหรือรอยตรานั้นขึ้น

17 ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับดวงตราปลอมฯ
1. ผู้ใช้ดวง หรือรอยตราปลอม ตาม ม.250 ม251 ย่อมมีโทษ เท่ากับผู้ปลอม ดวงตราหรือรอยตราปลอมตาม มาตรา252 โดยการใช้ดวงตรา หรือรอยตราปลอมจะเป็นการ ใช้อย่างเป็นของจริง หรืออย่างเป็นของปลอมก็ได้ ความผิดฐานใช้ดวงตรา หรือรอยตราปลอม ตาม มาตรานี้ ย่อมความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้ดวงตรา หรือรอยตรา ปลอมนั้น

18 2. ผู้ใช้ดวงตรา หรือรอยตราอันแท้จริงโดยมิชอบ ต้อง
ระวางโทษสองในสามส่วนของความผิดตามมาตรา 250 หรือ 251 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 3. ผู้นำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งดวงตราหรือรอยตรา ตาม มาตรา ตามลำดับ ต้องระวางโทษตาม มาตรา255

19 ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า มาตรา 273
องค์ประกอบ 1. ปลอม 2. เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น 3. ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว 4. โดยเจตนา

20 1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ การปลอม
อันหมายถึง การทำโดยไม่มีอำนาจโดยผู้กระทำมีเจตนาให้เหมือน แท้จริง 2. สิ่งที่ผู้กระทำได้ทำการปลอมตามมาตรานี้ได้แก่ เครื่องหมายการค้า

21 พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4
เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้ ในทางการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เพื่อใช้แยก สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า กับสินค้าอื่น

22 “เครื่องหมาย” หมายถึง
-ภาพถ่าย ภาพวาด เช่น น้ำพริกแม่ประนอม -ภาพประดิษฐ์ เช่น โลโก้การบินไทย -ตรา - ชื่อ เช่น เวอร์ซาเช่ , -ตัวหนังสือ เช่น cp -คำ เช่น Mita CANNON, -ตัวเลข -ลายมือชื่อ หรือ สิ่งของเหล่านี้ อย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างรวมกัน

23 3. เครื่องหมายการค้าซึ่งผู้กระทำได้ปลอมนั้นจะต้องเป็น
เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วไม่ว่าใน หรือนอกราช อาณาจักร ถ้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่จะไม่ได้จดทะเบียน ไม่ผิด มาตรานี้ อาจผิดตามมาตรา 272(1) ได้ มาตรา 272 ผู้ใด (1) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆในการ ประการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัสดุที่ใช้หุ้มห่อ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า...ของผู้อื่น นั้น...... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรับไม่เกิน สองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

24 4. ความผิดตามมาตรานี้สำเร็จเมื่อได้ทำการปลอม
แม้ว่าจะยังไม่ได้นำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าก็ตาม 5. ความผิดตรา นี้ เอาผิดต่อผู้ทำกระทำการปลอมเครื่อง หมายการค้า แต่ผู้กระทำการนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ลงมือปลอม เครื่องหมายการค้านั้นด้วยตนเอง เช่น เป็นผู้จ้างให้ทำ ดังนั้นผู้ที่จำหน่ายสินค้าอันมีเครื่องหมายการค้าปลอม จึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เพราะมิได้เป็นผู้ปลอมฯ

25 คำพิพากษาฎีกาที่ 3263/2533 จำเลยเป็นผู้สั่งทำถุงพลาสติก
ของกลาง ที่มีเครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วของบริษัท ผู้เสียหาย แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ทำถุงพลาสติกปลอมขึ้นด้วยตนเอง แต่การที่จำเลยสั่งให้ผู้อื่นจัดทำของปลอมนั้นขึ้น จำเลยก็มีความ ผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า

26 ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น มาตรา274
องค์ประกอบ 1. เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น 2. ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายใน หรือนอกราชอาณาจักร 3. เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายการค้า ของผู้อื่นนั้น 4. โดยเจตนา

27 1. ความผิดตามมาตรานี้องค์ประกอบความผิดส่วน
การกระทำได้แก่ การเลียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งหมายถึง การทำโดยมิได้ทำให้เหมือนของจริง แต่ทำให้พอคล้ายคลึงกับของที่แท้จริง จนอาจทำให้หลงเชื่อ ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น 2. ความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นการเลียนแบบเครื่องหมาย การค้าของผู้อื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายใน หรือนอกราชอาณาจักร

28 3. ความผิดตามมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยมมี
เจตนาพิเศษ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของ ผู้อื่น ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าที่ทำขึ้นนั้นว่ามี ลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นอันอาจทำให้ ประชาชนหลงเชื่อได้หรือไม่(สับสนในตัวสินค้า) 4. การเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นได้ หมายความว่า จะต้องมีเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นอยู่ก่อนแล้ว ผู้กระทำจึงได้ทำ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้า ที่มีอยู่ก่อนนั้น

29 คำพิพากษาฎีกาที่ 298-299/2510 ใช้เครื่องหมาย LEADTRA
เลียนเครื่องหมาย LEDERLE โดยการใช้ลีลาในการเขียนใช้อักษร L ตัวใหญ่ ตัวอักษรต่อไปใช้ตัวอักษรเล็กจิ๋วตามอย่างของแท้ เป็นความ ผิดตามมาตรานี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2405/2514 เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ใช้ชื่อว่า SONY ของจำเลยใช้ SONIO สำเนียงคล้ายกัน แต่โจทก์ เขียนด้วยตัวอักษรธรรมดา ของ จำเลยตัวหนา เส้นทึบ มีลวดลาย เส้นโค้งเห็นได้ชัด เพียงแต่สำเนียงใกล้กัน ไม่อาจทำให้ประชาชน หลงเชื่อ

30 คำพิพากษาฎีกาที่ 105/2511 เครื่องหมายการค้าของจำเลย
ใช้อักษร WINNER ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้า กระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ส่วนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ใช้อักษร WINNERR ไม่มีภาพประกอบ การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่จะเพียงแต่ เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันเพราะมีความแตกต่างกันบาง ประการเท่านั้น หาได้ไม่ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆประกอบ ด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่เมื่อเครื่องหมาย การค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศมี สำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันผู้ซื้อย่อม ติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่ายว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมาย เป็นอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมี ลักษณะเหมือนกัน

31 5. ความผิดมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา
6. บุคคลผู้จำหน่าย หรือนำเข้าเครื่องหมายการค้าที่ถูกเลียน แบบ จะมีความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 275

32 พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า
มาตรา 108 บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 109 บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายการค้า ...ของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือรปับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ End

33 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

34 ลักษณะและความหมายบัตรอิเล็กทรอนิกส์
มีอยู่ 3 ประเภท คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นเอกสารหรือวัตถุอื่นใด บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นรหัสข้อมูล บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นสิ่งที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

35 1.บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นเอกสาร หรือวัตถุอื่นใด
มาตรา 1(14) (ก) บัญญัติว่า “เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยจะบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า”

36 ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในความหมายนี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) บัตรที่มีลักษณะเป็นเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา1(7) ที่ได้มีการบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะนี้จะต้องมีลักษณะที่ปรากฏความหมายด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรที่มนุษย์สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางตาสื่อความหมายได้ เช่น บัตรเอทีเอ็มบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรประจำตัวพนักงาน บัตรคูปองอาหาร บัตรโทรศัพท์ บัตรสมาร์ตการ์ด หรือรหัสแท่ง (bar code)

37 2) บัตรที่เป็นวัตถุอื่นใดที่ไม่เป็นเอกสารตามกฎหมาย แต่มีการบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ไม่มีรอยปั๊มนูนหรือลวดลายใดๆบนด้านหน้าหรือด้านหลังของบัตร หากสื่อความหมายด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือรหัสที่บันทึกอยู่ในส่วนที่เก็บข้อมูลของบัตรเท่านั้น เช่น ซิมการ์ดในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เหรียญโดยสารในรถไฟฟ้ามหานคร หรือรีโมตคอนโทรล (remote control) เป็นต้น

38 2. บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นรหัสข้อมูล
มาตรา 1(14)(ข) บัญญัติว่า “ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ทำนองเดียวกับ (ก)” บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในความหมายนี้จะมุ่งเน้นที่ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หรือหมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ธนาคารหรือบริษัทผู้ให้บริการได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิหรือได้รับอนุญาต โดยไม่มีการออกเอกสารหรือ สิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะตามข้อ (ก)

39 บัตรฯลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้เพื่อทำธุรกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงตนว่าเป็นบุคคลที่มีสิทธิหรือได้รับอนุญาต เช่น หมายเลขโทรศัพท์ รหัสตัวเลขเพื่อใช้ในการชำระค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล หมายเลขบัญชีที่ออกให้โดยไม่ออกตัวสมุดบัญชีให้แก่ผู้ทรงสิทธิ หมายเลขบัตรเครดิตที่ออกให้โดยไม่ได้ออกตัวบัตรเครดิตให้

40 รหัสประจำตัว (PIN) ที่ใช้คู่กับบัตรเอทีเอ็ม รหัสที่เป็นชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อใช้บริการชั่วโมงอินเตอร์เน็ต หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขประจำตัวนักศึกษา หมายเลขประจำตัวพนักงาน หมายเลขประกันสังคม หมายเลขใบขับขี่ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าใช้บริการระบบคอมพิวเตอร์ หรืออีเมล์ ( address) ฯลฯ

41 3. บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 1(14)(ค) บัญญัติว่า “สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ” บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายนี้ คือ การนำลักษณะหรือสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้ระบุตัวบุคคลที่นำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ได้แก่ ลักษณะทางชีวภาพของบุคคล (Biometric) เช่น ลักษณะม่านตา ลายพิมพ์นิ้วมือ รอยฝ่ามือ รอยเท้า รอยฝีปาก คลื่นสมอง รูปทรงเลขาคณิตของใบหน้า คลื่นเสียง DNA เส้นผม ฟัน น้ำลาย

42 ความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ม.269/1
องค์ประกอบ 1. ทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ 1.1 ปลอมทั้งฉบับ หรือส่วนหนึ่งส่วนใด 1.2 เติม หรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วย ประการใดๆในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง 2. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือ ประชาชน 3. เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรที่แท้จริง 4. โดยเจตนา

43 1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ การปลอม
หมายถึง การทำโดยไม่มีอำนาจ 2. วิธีในการปลอม ผู้กระทำได้ใช้วิธีหนึ่งวิธีใดดังนี้ 2.1 ปลอมบัตรฯ ขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด

44 หมายถึง บัตรฯที่ ผู้ออก หรือทำ ไม่มีอำนาจทำขึ้น
-เป็นการหลอกลวงเกี่ยวกับตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ออกบัตรฯ ว่ามี อำนาจในการออก -ดังนั้น ถ้าผู้ออกบัตรฯ มีอำนาจในการออก แม้ข้อมูลจะไม่ เป็นจริง ไม่ถือว่าเป็นบัตรปลอม -ดังนั้น ถ้าผู้ออกไม่มีอำนาจในการออก แม้ข้อมูลจะถูกต้อง แท้จริง ก็ถือว่าเป็นบัตรปลอม

45 บัตรพลาสติก ข้อมูลในบัตร -ผู้มีสิทธิใช้ -จำนวนเงิน -วันหมดอายุ -รูปภาพ -ตัวอักษร EDC Terminal

46 บัตรพลาสติกขาว บัตรพลาสติกขาว ข้อมูลในบัตร -ผู้มีสิทธิใช้ -จำนวนเงิน -วันหมดอายุ -รูปภาพ -ตัวอักษร

47 2.2 แก้ไขเปลี่ยนแปลงในบัตรฯที่แท้จริง
-การปลอมวิธีนี้ ผู้กระทำจะต้องแก้ไขในบัตรฯที่แท้จริง โดยที่ผู้กระทำไม่มีอำนาจในการแก้ไขได้ เช่น การแก้ไขเกี่ยวกับวันหมดอายุของบัตร การแก้ไข ผู้มีสิทธิใช้บัตร การแก้ไขกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์

48 + การแก้ไขข้อมูลในบัตร

49 3. การปลอมผู้กระทำจะต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ประกอบ การกระทำ 4. การปลอม ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษ ประการหนึ่งประการใดดังต่อไปนี้ 4.1 เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรฯที่แท้จริง 4.2 เพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด

50 5. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา
6. ผู้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ต้อง ระวางโทษตาม ม.269/4 วรรคแรก 7. ผู้จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งบัตรฯ ปลอม ต้อง ระวางโทษตาม ม.269/4 วรรคสอง 8. ถ้าผู้ใช้ มีไว้เพื่อนำออกใช้ จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งบัตรฯปลอม เป็นผู้ทำบัตรฯ ขึ้นเอง กฎหมายให้ลงโทษตาม กรณีนี้ เพียงกระทงเดียว ตาม ม.269/4 วรรค ท้าย

51 9. ผู้นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งบัตรฯ
9. ผู้นำเข้าใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งบัตรฯ ปลอม ต้องระวางโทษตาม ม.269/3 10. ผู้ทำเครื่องมือ หรือวัตถุสำหรับปลอม หรือแปลง หรือ สำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอม หรือแปลง ซึ่งสิ่งใดๆตาม ม.269/1 หรือ มีเครื่องมือ หรือวัตถุ เช่นว่านั้น เพื่อใช้ หรือให้ได้ข้อมูลใน การปลอม หรือแปลง ต้องระวางโทษตาม ม.269/2 เครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือดัดแปลง เช่น - เครื่องปั๊มลายนูนบนบัตร - บัตรพลาสติกขาว เครื่องมือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง เช่น - เครื่อง Skimmer - เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์

52 11. ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตราต่างๆข้างต้น เป็น
การกระทำต่อบัตรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ฯ เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ ฯ ผู้กระทำต้องระวาง โทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆอีกกึ่งหนึ่ง ตาม ม.269/7

53 ความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ม.269/5
องค์ประกอบ 1. ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น 2. โดยมิชอบ 3. ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่นหรือประชาชน 4. โดยเจตนา

54 1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่
การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น -บัตรอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นบัตรที่แท้จริง 2. การใช้บัตรฯของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำ(ผู้ใช้)ต้องใช้โดยมิชอบ อันได้แก่ ผู้กระทำไม่มีสิทธิ หรือ ไม่มีอำนาจในการใช้ หรือใช้โดยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าของบัตรฯ

55 3. การใช้บัตรฯของผู้อื่นโดยมิชอบ ผู้กระทำได้กระทำใน
ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นพฤติการณ์ ประกอบการกระทำ 4. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ รู้ว่าบัตรฯที่ตนใช้นั้น เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง ของผู้อื่น และรู้ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะใช้ 5. ความผิดมาตรานี้ มีบทเพิ่มโทษตาม ม.269/7

56 ความผิดฐานมีไว้ซึ่งบัตรฯของผู้อื่นโดยมิชอบ ม.269/6
องค์ประกอบ 1. มีไว้ 2. เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ 3. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ประชาชน 4. โดยเจตนา

57 1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ ได้แก่ การมีไว้
ซึ่งบัตรฯของผู้อื่นโดยมิชอบ -มีไว้ ได้แก่ มีบัตรฯของผู้อื่นในความครอบครอง -บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตาม ม.นี้ ต้องเป็นบัตรฯที่ แท้จริง

58 2. การจะเป็นความผิดมาตรานี้ การมีไว้ซึ่งบัตรฯของผู้อื่น
ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ “เพื่อนำออกใช้” ดังนั้นถ้าขาดเจตนา พิเศษก็ไม่เป็นความผิดมาตรานี้ “มีไว้เพื่อนำออกใช้โดยมิชอบ” ผู้กระทำไม่มีอำนาจนำออกใช้

59 3. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำต้องกระทำในประการ
ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ ประกอบการกระทำ 4. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำต้องกระทำโดยเจตนา 5. ถ้าผู้กระทำความผิดมาตรานี้ ได้ใช้บัตรฯดังกล่าว ด้วย ผู้กระทำยังมีความผิดฐานใช้บัตรฯของผู้อื่นโดยมิชอบตาม ม.269/5 อีกมาตราหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบท ลงโทษบทหนักตาม ม.90 6. ความผิดมาตรานี้ มีบทเพิ่มโทษตาม ม.269/7


ดาวน์โหลด ppt ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google