งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ ๓ อภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ ๓ อภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเถรวาท"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ ๓ อภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเถรวาท
บทที่ ๓ อภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

2 วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ประจำบท
๑. เข้าใจหลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒. อธิบายหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓. วิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของพุทธปรัชญาจากหลักปรัชญากลุ่มอื่น

3 ขอบข่ายเนื้อหา • เบญจขันธ์ • ไตรลักษณ์ • ปฏิจจสมุปบาท
• ธรรมชาติของจิต • เบญจขันธ์ • ไตรลักษณ์ • ปฏิจจสมุปบาท • กรรมและการเกิดใหม่ • นิพพาน

4 ความรู้เรื่องปรัชญา อภิปรัชญาเป็น ศัพท์บัญญัติของคำว่า Metaphysics หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ญาณวิทยา หรือเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นการศึกษาถึงเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์เราว่าคืออะไร อะไรควรทำหรือไม่ควรทำเพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดสุนทรียศาสตร์

5 ไม่เป็นประโยชน์ โต้เถียงกันกว่าจะได้คำตอบก็อาจจะตายไปก่อน
เหตุผลที่ไม่ทรงตอบคำถามทางอภิปรัชญา ไม่เป็นประโยชน์ โต้เถียงกันกว่าจะได้คำตอบก็อาจจะตายไปก่อน ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จึงเสียเวลาเปล่าที่จะโต้เถียง ไม่ใช่เรื่องด่วน เรื่องด่วนคือการดับทุกข์ ไม่ใช่เพราะพระองค์ไม่ทรงทราบคำตอบ

6 ความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาทมีอะไรบ้าง ?
สมมติสัจจะ ความจริงสมมติ (Conventional Truth) หรือความจริงที่สังคมรับรู้ร่วมกัน ปรมัตถสัจจะ ความจริงปรมัตถ์ (Ultimate Truth) ความจริงแท้ ความจริงสูงสุด หรือความจริงตามธรรมชาติ

7 ธรรม ๒ ประเภท พระพุทธศาสนาแบ่งธรรม(สิ่ง, สภาวะ, ปรากฏการณ์) ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมหรือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นหรือถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (conditioned / compounded things) ได้แก่สรรพสิ่งยกเว้นพระนิพพาน ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่ถูกสร้างขึ้นหรือไม่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (the unconditioned) ได้แก่ พระนิพพาน

8 เครื่องหมายกำหนดรู้สังขตธรรม
๑. อุปปาทะ (ความเกิดขึ้นปรากฏ) ๒. วยะ (ความแตกดับปรากฏ) ๓. อัญญถัตตะ (เมื่อดำรงอยู่ความผันแปรปรากฏ) เครื่องหมายกำหนดรู้อสังขตธรรม ๑. ไม่ปรากฏความเกิด ๒. ไม่ปรากฏความแตกดับ ๓. เมื่อดำรงอยู่ไม่ปรากฏความผันแปร

9 ท่าทีในการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า
เอกังสพยากรณ์ – ตอบตรงๆว่าใช่ หรือไม่ใช่ วิภัชชพยากรณ์ – ตอบแบบวิเคราะห์ ปฏิปุจฉาพยากรณ์ – ตอบแบบย้อนถามว่าหมายถึงอะไร ฐปนียพยากรณ์ – บางคราวต้องยกปัญหาเอาไว้ก่อน

10 วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระไตรปิฎก
๑. ทรงแสดงทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในพรหมชาลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๙) ๒. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในปัญจัตตยสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔) ๓. ทรงแสดงทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ตามทรรศนะของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนาไว้ในปาฏิกสูตร และตามแนวพุทธไว้ในอัคคัญญสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑) ๔. ทรงแสดงเรื่องลัทธิครูทั้ง ๖ ในสามัญญผลสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค)

11 ๕. ทรงวิเคราะห์หลักกรรมของลัทธินิครนถ์นาฏบุตรไว้ในเทวทหสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔) ๖. ทรงวิเคราะห์ทิฏฐิที่ขัดแย้งกัน ๕ คู่ ไว้ในอปัณณกสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓) ๗. ทรงวิเคราะห์พรหมของศาสนาพราหมณ์ไว้ในเตวิชชสูตร (ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค) ๘. ทรงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมตามหลักมหากัมมวิภังค์ ไว้ในมหากัมมวิภังคสูตร (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์)

12 ๓.๒ ธรรมชาติของจิต จิตเกิดดับแต่ละขณะออกเป็น ๓ ระยะ คือ
(๑) อุปปาทะ ระยะที่จิตเกิดขึ้น (๒) ฐิติ ระยะที่จิตดำรงอยู่ (๓) ภังคะ ระยะที่จิตดับ

13

14 เจตสิก มีลักษณะ ๔ ประการคือ
๑. เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต ๒. เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต ๓. เอกาลมฺพน รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต ๔. เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุอย่างเดียวกับจิต

15

16 ๓.๓ เบญจขันธ์

17 ขันธ์ ๕ : องค์ประกอบ (ธรรมชาติ) ของชีวิต
O ชีวิตคือการรวมตัวกันของส่วนประกอบ ๕ ส่วน (Five Aggregates) รูป ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรม หรือสสารและพลังงานทั้งหมด เวทนา (Feeling) ส่วนประกอบเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ สัญญา (perception) ส่วนประกอบเกี่ยวกับการกำหนดรู้หรือหมายรู้อารมณ์ สังขาร (Mental Formations) ส่วนประกอบเกี่ยวกับการคิดปรุงแต่งหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต วิญญาณ (Consciousness) ส่วนประกอบเกี่ยวกับการรู้อารมณ์ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ และทางใจ

18 อรูปธรรม จิต เจตสิก รูปธรรม
มหาภูตรูป (สสาร) ๔: ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อุปาทายรูป (คุณสมบัติของสสารและพลังงานที่แฝงอยู่ในสสาร) ๒๔ อย่าง ๑) ปสาทรูป ๕ ๒) โคจรรูป ๔ ๓) สภาวรูป ๒ ๔) หทัยรูป ๑ ๕)ชีวิตรูป ๑ ๖) อาหารรูป ๑ ๗) ปริเฉทรูป ๑ ๘) วิญญัติรูป ๒ ๙) วิการรูป ๓ ๑๐) ลักษณรูป ๔ อรูปธรรม จิต เจตสิก

19 เจตสิก (เวทนา สัญญา สังขาร) มีลักษณะ
เจตสิก (เวทนา สัญญา สังขาร) มีลักษณะ เอกุปปาท (เกิดพร้อมกับจิต) เอกนิโรธ (ดับพร้อมกับจิต) เอกาลัมพน (รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เอกวัตถุก (อาศัยวัตถุอย่างเดียวกับจิต) จิต (วิญญาณ) มีลักษณะ ๑. อุปปาทะ (ระยะเกิด) ๒. ฐิติ (ระยะดำรงอยู่) ๓. ภังคะ (ระยะดับ)

20

21 การทำงานของขันธ์ ๕

22 ๓.๔ ไตรลักษณ์ หมายถึง "ลักษณะสำคัญ ๓ ประการ" หรือจะเรียกชื่อว่า "สมัญญลักษณะ" หมายถึง "ลักษณะสามัญหรือลักษณะอันมีอยู่ทั่วไปของสิ่งทั้งหลาย" ได้แก่ (๑) อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน ความไม่คงที่ ความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว (๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ความขัดข้อง ความทนอยู่ไม่ได้ (๓) อนัตตตา ความไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีอะไรเป็นของตน

23 ๓.๕ ปฏิจจสมุปบาท (Dependent Origination)
แปลว่า "การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น"

24

25

26 ปฏิจจสมุปบาท : การเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยของสรรพสิ่ง (Dependent Origination / Co-Arising)
ปฏิจจสมุปบาทในฐานะกฎธรรมชาติ “ตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ(หลัก)นั้น ก็ยังดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม หรือหลักอิทัปปัจจยตา ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่าย และจึงตรัสว่า “จงดูสิ” “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ” “ภิกษุทั้งหลาย ตถตา (ภาวะที่เป็นอย่างนั้น) อวิตถตา (ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้) อนัญญตา(ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น) คือหลักอิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมานี้แล เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท” (สํ.นิ. เล่ม ๑๖)

27 (๑) อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี
หลักทั่วไป (สากล) (๑) อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี (๒) อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (๓) อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี (๔) อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (สํ.นิ. ๑๖) สายเกิด (สมุทัยวาร) สายดับ (นิโรธวาร)

28 หลักประยุกต์ สายเกิด (สมุทัยวาร) เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม (การเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ ) สายเกิด (สมุทัยวาร)

29 สายดับ (นิโรธวาร) เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ (การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ ) สายดับ (นิโรธวาร)

30 ปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ
ชาติอดีต อวิชชา สังขาร ชาติปัจจุบัน วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอนาคต ชาติ ชรา มรณะ (โสกะ ฯลฯ)

31 ตัวอย่างปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน
แดง กับ ดำ เป็นแฟนกัน อยู่มาวันหนึ่งดำทำหน้าบึ้งตึงไม่ยอมพูดจาด้วย อวิชชา : แดงไม่รู้สาเหตุว่าทำไมดำถึงเป็นอย่างนั้น สังขาร : คิดปรุงแต่งสร้างภาพไปต่างๆ นานาว่า เขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามพื้นนิสัยเดิม นามรูป : เกิดความรู้สึก สภาพจิตใจ สีหน้าท่าทาง สอดคล้องไปด้วยกนในทางที่จะแสดงออกมาเป็นผลรวมคือ ภาระของอาการโกรธ วิญญาณ : วิญญาณขุ่นมัวไปตามการคิดปรุงแต่งนั้น และคอยรับรู้กิริยาอาการที่น่าสงสัย ของดำอยู่ตลอด

32 ตัวอย่างปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน (๒)
สฬายตนะ: อายตนะต่างๆ มีตา หู เป็นต้นพร้อมที่จะทำหน้าที่รับรู้ ผัสสะ: สัมผัสกับลักษณะอาการแสดงออกต่างๆ เช่น ความบูดบึ้ง ความกระด้าง ตัณหา: เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้นหายไป เวทนา: รู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว อุปาทาน : เกิดความยึดถือผูกใจต่อพฤติกรรม ภพ : พฤติที่ตกอยู่ภายใต้อุปาทานเกิดเป็นพฤติ จำเพาะบางอย่างที่สนองอุปาทานนั้น ชาติ: เกิดภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักข์ แยกออกเป็นเรา-เขา ชรามรณะ: ตัวตนที่เกิดภาวะปฏิขักข์จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ ต้องอาศัยความหมายต่างๆ ที่พ่วงมา

33 องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท
๑. อวิชชา ความไม่รู้ (Ignorance) ๒. สังขาร การคิดปรุงแต่ง (Kamma-Formations) ๓. วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ (Consciousness) ๔. นามรูป นามและรูป (Mind and Matter) ๕. สฬายตนะ อายตนะ ๖ (Six Sense-Bases) ๖. ผัสสะ ความกระทบ (Contact) ๗. เวทนา ความเสวยอารมณ์ (Feeling)

34 องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท
๘. ตัณหา ความทะยานอยาก (Craving) ๙. อุปาทาน ความยึดมั่น (Clinging / Attachment) ๑๐. ภพ ภาวะชีวิต (Becoming) ๑๑. ชาติ ความเกิด (Birth) ๑๒. ชรามรณะ ความแก่และความตาย (Decay and Death)

35 วงจรปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร ชรามรณะ วิญญาณ ชาติ นามรูป ภพ สฬายตนะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสส อุปายาส สังขาร ชรามรณะ วิญญาณ ชาติ นามรูป ภพ สฬายตนะ อุปาทาน ผัสสะ ตัณหา เวทนา

36 ๓.๖ นิพพาน นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลส และกองทุกข์แล้ว
นิพพานมี ๒ ระดับ คือ ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานที่ยังมีอุปธิเหลือหรือดับกิเลสยังเหลือเบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอยู่ ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปธิเหลือหรือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์

37

38 โดยธรรมชาติของบุคคลจะมีอยู่ ๔ ประเภทคือ
๑. อุคฆฏิตัญญู บุคคลผู้รู้ หรือเข้าใจได้ฉับพลันในเมื่อยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง ๒. วิปจิตัญญู บุคคลผู้รู้หรือเข้าใจได้ ต่อเมื่อได้อธิบายเนื้อความธรรมให้พิสดารออกไป ๓. เนยยะ บุคคลผู้ที่จะค่อยชี้แจงแนะนำให้เข้าใจได้โดยวิธีการฝึกสอนอบรมต่อไป ๔. ปทปรมะ บุคคลผู้อับปัญญา สอนให้รู้ได้แต่เพียงตัวบท คือ พยัญชนะ หรือถ้อยคำแต่ไม่อาจเข้าใจอรรถ คือความหมาย

39 ประโยชน์ของนิพพานมี ๒ อย่างคือ
๑. ตัดการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างเด็ดขาด และขจัดความทุกข์ในอนาคตได้เด็ดขาดอันเป็นสภาวะถอนรากสงสารวัฏเหตุที่ก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดได้ และไม่มีการเกิดขึ้นอีกต่อไป อันเป็นไปในทาง ปฏิเสธ (Negative) ๒. เข้าถึงความสงบสุข เยือกเย็นสมบูรณ์ในภพนี้ ชาตินี้ กล่าวคือ บุคคลผู้ได้บรรลุนิพพานแล้วย่อมได้รับสันติสุขที่สมบูรณ์ตลอดไปเท่าที่ชีวิตยังคงอยู่ ความสุขสงบอันนี้ต่างจากความเพลิดเพลินที่เกิดจากความอยาก

40 คำถามประจำบท ๑. กิเลส กรรม และวิบาก มีความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุผลอย่างไร อธิบายให้ชัดเจน ๒. จงวิเคราะห์ทัศนะเรื่องความตาย และชีวิตใหม่ในแง่ที่เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมมาให้ชัดแจ้ง ๓. กฎแห่งกรรมในพุทธปรัชญา มีหลักการขัดแย้งกับคำสอนเรื่องวิญญาณอมตะหรืออาตมันของ ฮินดูอย่างไรบ้าง อธิบาย ๔. จงกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการศึกษาเรื่องกรรม มาพอเป็นที่เข้าใจ ๕. กฏแห่งกรรมสัมพันธ์กับพฤติกรรม และความสุข ความทุกข์ของบุคคลอย่างไรบ้าง จงอธิบาย ๖. ตามหลักพุทธปรัชญาว่าด้วยกรรม มีหลักการปฏิเสธ และยอมรับทฤษฎีอะไรบ้าง จงชี้แจง ๗. กรรมหรือการกระทำเช่นไรบ้างที่ส่งเสริมความสุขความ สำเร็จในชีวิตโดยทั่วไปของบุคคล อธิบายให้ชัดเจน

41 ความรู้ในพุทธปรัชญานั้น เรียกว่า ปัญญา
ระดับความจำหรือสัญญา (Perception) ระดับความเห็นหรือทิฏฐิ (Conception หรือ View) ความรู้ระดับญาณ (Insight)

42 ความรู้ที่จัดตามธรรมชาติของความรู้เมื่อจำแนกตามหลักขันธ์ ๕
ความรู้ที่จำแนกตามสภาวะของขันธ์ได้แก่ สัญญา วิญญาณ และปัญญา

43 จำแนกโดยช่องทางการรับรู้
ความรู้ทางปัญจทวาร ความรู้ทางมโนทวาร

44 จำแนกโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษย์
สุตะ หรือ สุติ คือความรู้ที่ได้จากการสดับเล่าเรียนหรือถ่ายทอดกันต่อๆ มา ทิฏฐิ คือ ความเห็นทฤษฎี ลัทธิ ความเชื่อต่างๆ ญาณ คือ ความรู้ ความหยั่งรู้ ความรู้บริสุทธิ์ตรงตามสภาวะ จัดเป็นความรู้ที่ถูกต้องตามหลักพุทธ

45 จำแนกตามลำดับความรู้ความจริง
สมมติบัญญัติ (ความรู้ขั้นสมมติ) ปรมัตถสัจจะ (ความรู้ขั้นจริงแท้)

46

47

48

49

50 “…ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”
“…ภิกษุ ทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด…” “…ภาวะที่ตรงกันข้าม อันได้แก่ ชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา อยู่อย่างไม่มีความหลงยึดถือติดมั่นในตัวตน อยู่อย่างไม่มีความหลงยึดถือติดมั่นในตัวตน อยู่อย่างอิสระ อยู่อย่างประสานกลมกลืนกับความจริงของธรรมชาติ หรืออยู่อย่างไม่มีทุกข์…”

51

52 ไตรลักษณ์ : ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่างของสิ่งทั้งปวง
ไตรลักษณ์ : ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่างของสิ่งทั้งปวง ไตรลักษณ์ ชีวิตและสิ่งทั้งปวงมีลักษณะร่วมกัน ๓ ประการ คือ อนิจจตา (Impermanence) เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขตา (Suffering/Conflict) เป็นทุกข์ กดดัน ขัดแย้ง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตตา (Non-Self, Soullessness) ไม่มีตัวตน ไม่อาจดำรงอยู่เป็นอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง

53 อนิจจตา ข้อกำหนดรู้ อุปปาทวยปวัตติโน (เพราะเป็นไปโดยอาการแตกดับ)
วิปริณามโต (เพราะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ) ตาวกาลิกโต (เพราะตั้งอยู่ชั่วขณะ) นิจจปฏิกเขปโต (เพราะขัดแย้งต่อความเที่ยง)

54 ทุกขตา ข้อกำหนดรู้ อภิณหสัมปติปีฬนโต (เพราะถูกบีบคั้งตลอดเวลา)
ทุกขมโต (เพราะเป็นสภาพที่ทนได้ยาก) ทุกขวัตถุโต (เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์) สุขปฏิกเขปโต (เพราะขัดแย้งต่อความสุข) สังขตัฏฐโต (เพราะเป็นของปรุงแต่ง) สันตาปัฏฐโต (เพราะแผดเผา)

55 นัยความต่างกันแห่งทุกข์
ทุกข์ในเวทนา ทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกข์ในอริยสัจ ๔

56 ประเภทของทุกข์ ๑. ทุกข์ ๓ (ทุกขตา๓) คือ ทุกข์ที่ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของทุกข์ในไตรลักษณ์ (ทุกขทุกขตา/วิปริณามทุกขตา/สังขารทุกขตา) ๒. ทุกข์ ๑๒ คือทุกข์แสดงความหมายของทุกข์ในอริยสัจ ๔ ได้แก่(ชาติ/ชรา/มรณะ/โสกะ/ปริเทวะ/ทุกข์(ทุกข์กาย)/โทมนัส(ทุกข์ใจ)/อุปายาส(คับแค้น/สิ้นหวัง)/อัปปิยสัมปโยค/ปิยวิปโยค/อิจฉิตาลาภ/อุปาทานขันธ์ ๓. ทุกข์ ๒ คือเป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่ (ปฏิจฉันทุกข์/อัปปฏิจฉันทุกข์) ๔. ทุกข์ ๒ คือเป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่างๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่ (ปริยายทุกข์/นิปปริยายทุกข์(ทุกข์เวทนา))

57 อนัตตา ข้อกำหนดรู้ สุญญโต (เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า)
อัสสามิโก (เพราะไม่มีเจ้าของ) อวสวัตตนโต (เพราะไม่เป็นไปในอำนาจของใคร) อัตตปฏิกเขปโต (เพราะแย้งอัตตา) สุทธสังขารปุญชโต (เพราะเป็นกองสังขารล้วน) ยถาปวัตติโต (เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง)

58 อนัตตากับลิทธิอื่น ๑. ปฏิเสธทั้งลิทธิที่ถือว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) และลัทธิที่ถือว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๒. ปฏิเสธที่ถือว่ามีเทพสูงสุดเป็นผู้สร้างสรรค์บันดาลโลก (อิศวนิรมิตวาท) ๓. เป็นเครื่องสนับสนุนหลักกรรมตามหลักพุทธธรรมและปฏิเสธลัทธิอกิริยวาท/ลัทธิปุพเพกตวาท (กรรมเก่า)/ลัทธิอเหตุวาท(ไม่มีเหตุปัจจัย)/และลัทธินัตถิกวาท(นัตถิกวาท) ๔.แสดงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

59 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านยังประมวลลักษณะความเป็นอนัตตาไว้ ๔ ประการ รวมทั้งที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้ประมวลเพิ่มเติมเข้ามาอีก ๒ ประการ (ข้อ ๕-๖) รวมทั้งสิ้น ๖ ประการด้วยกันคือ ๑. เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า คือปราศจากตัวตนที่เป็นแก่น (สุญฺโต) ๒. เพราะเป็นสภาพไร้เจ้าของ คือไม่เป็นตัวตนของใคร ๆ (อสฺสามิโก) ๓. เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือไม่อยู่ในอำนาจของใคร ๆ (อวสวตฺตนโต) ๔. เพราะแย้งต่ออัตตา เพราะเป็นกระบวนธรรมที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กัน และดำเนินไปโดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ที่จะมาแทรกแซงบงการ หรือแม้แต่ขัดขวางความเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้ (อตฺตปฏิปกฺเขปโต) ๕. เพราะเป็นกองแห่งสังขารทั้งหลายล้วน ๆ (สุทฺธสงฺขารปุญฺชโต) ๖. เพราะความเป็นไปตามเหตุปัจจัย (ยถาปจฺจยปวตฺติโต)

60 ความเชื่อเรื่องกรรมก่อนพุทธปรัชญา
๑. ปุพเพกตเหตุวาท – ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท – ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพ ๓. อเหตุปัจจยวาท – ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะโชคชะตาล้วนๆ ไม่มีเหตุปัจจัย

61 “สิ่งทั้งปวงย่อมเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย”
อุตุนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฝ่ายวัตถุ ความเป็นไปของธรรมชาติ พีชนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ พันธุกรรม จิตตนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต กรรมนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ธรรมนิยาม – กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอาการที่เป็นเหตุเป็นผลกันของสิ่งทั้งหลาย

62


ดาวน์โหลด ppt บทที่ ๓ อภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google