งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย
สื่อประกอบการสอน รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย (The Public Opinion and Democracy Regime) รหัสรายวิชา POS 3303 โดย อาจารย์ บารมีบุญ แสงจันทร์

2 เนื้อหารายวิชา บทที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับมติมหาชน บทที่ 2 ความหมายและคุณค่าของมติมหาชน บทที่ 3 การสื่อสารกับมติมหาชน บทที่ 4 ระบอบประชาธิปไตย บทที่ 5 การพัฒนาทางการเมืองไทย

3 (เอกสารอ่านประกอบ) -หนังสือ มติมหาชน การสื่อสารและการเมือง) ผู้แต่ง เสถียร เชยประทับ - ลัทธิประชาธิปไตย หนังสือ ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 3

4 แบบทดสอบก่อนเรียน รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย
1. ให้นักศึกษาจงอธิบาย คำว่า “มติมหาชน” มาพอสังเขป 2. ระบอบประชาธิปไตย ตามแนวคิดของนักศึกษาคือรูปแบบการปกครองที่มีลักษณะอย่างไรบ้าง จงอธิบาย 3.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบอบประชาธิปไตย กับ มติมหาชน มาพอเข้าใจ

5 ส่วนที่ 1 กำเนิดและวิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชน
บทที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับมติมหาชน

6 จุดกำเนิดของแนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชน
แนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชนส่วนใหญ่ เป็นผลิตผลของยุครู้แจ้ง (Enlightenment) แนวคิดนี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับปรัชญาการเมืองเชิงอิสรภาพนิยม ในปลายศตวรรษที่ 17 ศตวรรษที่ 18 เช่น Lock , Rousseau และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทฤษฎีประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 19 เช่น Bentham

7 มีคำถามว่า มติมหาชน ถูกนำมาใช้ตั้งแต่เริ่มแรกอย่างไร?
แม้แนวคิดเกี่ยวกับ มติมหาชน จะไม่ถูกนำมาใช้อย่างชัดเจนจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 ข้อเขียนเกี่ยวกับมติมหาชนในยุคเริ่มแรกจะรวมความคิด เกี่ยวกับ “การคาดหมายและการกะประมาณ” ตามแนวคิดมติมหาชนในยุคปัจจุบันไว้ด้วย เช่น ปรัชญาการเมืองของกรีซสมัยโบราณ จะคาดหมายถึงอันตรายหรือผลดีของการปกครองแบบประชาธิปไตย

8 Plato ไม่เห็นด้วยกับการเมืองแบบประชาธิปไตย ไม่เชื่อว่าประชาชนจะมีความเชี่ยวชาญในการตัดสินใจในเรื่องการเมือง การเมืองควรเป็นเรื่องของกษัตริย์นักปรัชญา (Philosopher King) ในทางตรงกันข้าม Aristotle เชื่อว่า ประชาชนสามารถตัดสินใจในเรื่องการเมืองได้ดี แม้ข้อเขียนตั้งแต่ สมัยนครรัฐของกรีซ ดังกล่าว ฟังดูจะคล้ายๆกับมติมหาชน แต่ความแตกต่างกันระหว่างรัฐ และ สังคม และระหว่างข้าราชการกับประชาชน ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน มิได้เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาการเมืองของ Athens เลย

9 การนำคำสองคำ คือ มติหรือความคิดเห็น และคำว่า มหาชน
รวมกันจนกลายเป็นแนวคิดที่สำคัญในทางการเมืองนั้น ปรากฏในปรัชญาการเมืองแบบอิสรภาพนิยม หรือ ประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 18

10 Baker ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชน ซึ่งเป็นผลิตผลของยุครู้แจ้ง ในศตวรรษที่ 18 นั้น ส่อนัยให้เห็นถึงความขัดแย้งในตัวเอง กล่าวคือ การนำคำว่า มติ มารวมกับ คำว่า มหาชน และ กลายเป็น มติมหาชนนั้น นั้น นักวิชาการในยุครู้แจ้งชี้ให้เห็นว่า คำนี่ส่อนัยถึง “ความเป็นสากล” เป็น วัตถุวิสัย และมีเหตุผล” (Universal, Objective and rationality)

11 แต่ในทางตรงกันข้าม คำว่า ความคิดเห็น หรือ มติ (Opinions) นั้น ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ความเป็นจิตวิสัย และความไม่แน่นอน การนำคำว่า มติ มารวมกับ คำว่า มหาชน ในยุครู้แจ้ง ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของปรัชญาเชิงอิสรภาพนิยม ที่จะรวมคนคนหนึ่งเข้ากับหลายๆคน และที่จะเชื่อมความชอบหรือความผาสุกของคนโดยรวมเข้ากับความชอบหรือความผาสุกของแต่ละคน

12 แนวคิดเดิมเกี่ยวกับมหาชนหรือสาธารณะ
โดยในยุคแรกๆ คำว่า มหาชน หรือ สาธารณะ มีความแตกต่างกัน แต่มีความหมาย 2 ประการที่ควรแก่การตัดสินใจ คือ ความหมายแรก มหาชน หรือ สาธารณะ หมายถึง การเข้าถึงร่วมกัน (Common access) ดังเช่นในสถานที่สาธารณะ ที่ Habermas กล่าวถึง คือ สมบัติใดๆที่เปิดกว้างสำหรับประชาชน และในยุคเจ้าขุนมูลนาย สามัญชน ถือว่าเป็นสาธารณชน อาทิ บริเวณน้ำพุ หรือบริเวณตลาด ความหมายที่สอง คือ เกี่ยวข้องกับความกังวลหรือความห่วงใยทั่วๆไป โดยเน้นที่ความสนใจร่วมกัน หรือ ความดีร่วมกัน (Common Interest, Common good

13 แม้แนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชน จะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะถึงยุครู้แจ้ง แต่คำว่า ความคิดเห็น (Opinion) และมหาชน (Public) ในยุคก่อนยุครู้แจ้ง ก็มีความหมายหลายความหมาย ซึ่งยังคงเกี่ยวข้องกับแนวคิดตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน ที่ชัดเจนที่สุด คือ คำว่า ความคิดเห็น ถูกนำมาใช้เพื่อกล่าวถึงการรับรู้ซึ่งเป็นไปตามเหตุผล (Ration) และกระบวนการทางสังคม

14 กำเนิดมติมหาชน การรวมกันของคำว่า มหาชน (Public) เข้ากับคำว่า ความคิดเห็น (Opinion) ให้กลายเป็นคำคำเดียวนั้น เกิดขึ้นตามแนวโน้มทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในยุโรป แม้นักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งจะให้เกียรติชาวอังกฤษที่เป็นชาติแรกที่ใช้คำว่า “ ความคิดเห็นของประชาชน” (Opinion of the Public) ตั้งแต่ในปี ค.ศ แต่ชาวฝรั่งเศส มักถูกมองว่าเป็นผู้ประดิษฐ์และเผยแพร่แนวคิดนี้ จาก Rousseau

15 เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ผลักดันให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับมติมหาชน คือ การประดิษฐ์แท่นพิมพ์กูเตนเบิก พัฒนาการของเทคโนโลยีด้านการพิมพ์นี้ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์อย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 16 พร้อมๆกับการเจริญเติบโตทางการค้าและการขยายตัวของการอ่านออกเขียนได้ อ่านออกเขียนได้ ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในศตวรรษที่ 16 ที่นำไปสู่นิกายโปรเตสแตนท์ (Protestant Reformation) ซึ่งก่อให้เกิดมหาชนผู้อ่านอย่างกว้างขวาง

16 นอกเหนือจากผลกระทบต่อการเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์ทางศาสนาแล้ว การปฏิรูปศาสนาคริสต์ที่นำไปสู่นิการโปรเตสแตนท์ ยังมีความสำคัญอีกหลายประการ คำสอนของ Calvin และ Luther ท้าทายอำนาจที่มีมายาวนานของสังฆราช ให้แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นปัจเจกบุคลนิยม ให้อำนาจกับฝ่ายอาณาจักรทุกเรื่อง ยกเว้น เรื่องศีลธรรมและศาสนา และสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ปัจเจกบุคคล คือ “นายเหนือชะตาชีวิตของตนเอง” ในปลายศตวรรษที่ 18 แนวคิดดังกล่าว ก็วิวัฒน์เป็นปรัชญาเชิงอิสรภาพนิยม ซึ่งเน้นว่า ปัจเจกบุคคลควรมีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนชอบในทุกแง่มุมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสดา เศรษฐกิจ การเมือง สังคม

17 ปัญหาเกี่ยวกับมติมหาชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แม้คำว่า มติมหาชน จะส่อนัยถึงการพูดคุย หรือ การอภิปรายกัน อย่างรอบรู้ข่าวสารและการปกครองโดยเสียงข้างมาก (แนวคิดที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุครู้แจ้งและมาจากทฤษฎีประชาธิปไตยที่ผ่านผู้แทน) แต่คำนี้ก็แสดงนัยถึงความหมายอื่นๆด้วย แม้นักเขียนในยุครู้แจ้ง จะเน้นเหตุผลของมนุษย์และความก้าวหน้าของสังคมผ่านการศึกษา แต่ก็ไม่ลืมที่จะกล่าวถึงด้านไม่มีเหตุผล หรือด้านอารมณ์ของมติมหาชนด้วย

18 การขาดความสามารถหรือความเชี่ยวชาญ
ความสงสัยในความสามารถของมติมหาชน ที่จะชี้นำกิจการสาธารณะหรือกิจกรรมทางการเมืองมีอดีตย้อนหลังไปยาวนาน อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ยุคเพลโต แต่ความสงสัยหรือความไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลโดยประชาชน เป็นผลผลิตของศตวรรษที่ 20 นี้เอง นั่นคือ งานเขียนของ Lippmann ชื่อ Public Opinion และหนังสือที่ตามมาอีกเล่มชื่อ The Phantom public เหตุผลหลักที่ Lippmann ไม่เชื่อในความสามารถหรือความเชี่ยวชาญในทางการเมืองของมหาชนก็คือ ปรัชญาประชาธิปไตย เรียกร้องสิ่งต่างๆจากประชาชนคนสามัญมากเกินไป

19 เราไม่อาจคาดหวังให้ประชาชนคนสามัญมีพฤติกรรมเหมือนสภานิติบัญญัติ มีความกระตือรือร้นและความเข้าเกี่ยวกับปัญหาและกิจการสาธารณะทุกอย่างได้ เหตุผลส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้ คือ มหาชน ขาดความสนใจไม่เข้าเกี่ยวข้องกิจการทางการเมือง Bryce ตั้งข้อสังเกตว่า “เรื่องเกี่ยวกับกิจการสาธารณะมีความสำคัญเป็น อันดับที่ 3 หรือ 4 ของบรดดาสิ่งต่างๆที่น่าสนใจในชีวิต

20 Lippmann เห็นว่าหนังสือที่นักประชาธิปไตยหัวก้าวหน้า กล่าวว่า เป็นเครื่องมือในการให้การศึกษาและในการพัฒนาประชาชนนั้น กลับสร้างความเสียหายไม่สมบูรณ์ให้กับความคิดเห็นของประชาชน Lippmann ยังย้ำว่าหนังสือพิมพ์ ใช้งานไม่ได้และเพื่อพิจารณาลักษณะของข่าวแล้วจะเห็นว่ามันเป็นไปไม่ได้เลย…. ถ้าหนังสือพิมพ์ มีหน้าที่ในการตีความกิจการสาธารณะ หรือเรื่องทางการเมืองของมวลมนุษยชาติแล้ว ถือได้ว่า มันประสบความล้มเหลว มันจะต้องล้มเหลวทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

21 การขาดทรัพยากร Dewey Dewey ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า มหาชนมีความไม่เหมาะสมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยใช้เหตุผลว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มหาชนไม่มีความสามารถหรือไม่มีความเชี่ยวชาญ แต่อยู่ที่การขาดวิธีการสื่อสารที่เพียงพอ โดยเห็นว่า เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ได้พัฒนาไปไกลกว่าความสามารถในการคิด ในการแสวงหาคำตอบ และการจัดระเบียบ โดยเห็นต่างจาก Lippmann ตรง Lippmann ที่ เชื่อว่าสังคมใหญ่ (Great society) จะไม่มีวันกลายเป็นชุมชนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีก่อนที่จะมีประชาธิปไตยระดับชาติที่แท้จริง

22 แต่ Dewey เห็นว่า ชุมชนใหญ่ที่ว่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่ามันจะไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการของชุมชนในระดับท้องถิ่นก็ตาม ส่วนหนึ่งของคำตอบสำหรับการที่จะเกิดชุมชนใหญ่ ก็คือ การศึกษาประชาชนไม่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะที่จะต้องตรวจสอบปัญหาร่วมกันทุกปัญหาอย่างเป็นระบบ เพียงแค่ให้ประชาชนมีความสามารถในการตัดสินข้อเสนอที่ผู้เชี่ยวชาญส่งมาให้ก็พอแล้ว

23 ทรราชย์โดยเสียงข้างมาก
ในต้นศตวรรษที่ 19 Tocqueviile กล่าวเตือนว่า ในสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน ปัจเจกบุคคลที่อยู่ในฝ่ายข้างน้อยจะถูกทอดทิ้งให้อยู่ “ตามลำพังและไม่มีอะไรป้อกัน” จากฝ่ายข้างมากที่มีอำนาจเหนือปัญหาเกี่ยวกับความสอดคล้องกับความคิดเห็นของฝ่ายข้างมาก เป็นหัวข้อใหญ่ที่มีการพูดถึงตลอดศตวรรษที่ 20 หรือเรียกว่า การหยุดแสดงความคิดเห็นโดยฝ่ายข้างน้อย เมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันของฝ่ายข้างมากกว่า “ขดแห่งความเงียบ” (Spiral Silence)

24 ทรราชย์โดยเสียงข้างมาก
ในต้นศตวรรษที่ 19 Tocqueviile กล่าวเตือนว่า ในสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน ปัจเจกบุคคลที่อยู่ในฝ่ายข้างน้อยจะถูกทอดทิ้งให้อยู่ “ตามลำพังและไม่มีอะไรป้อกัน” จากฝ่ายข้างมากที่มีอำนาจเหนือปัญหาเกี่ยวกับความสอดคล้องกับความคิดเห็นของฝ่ายข้างมาก เป็นหัวข้อใหญ่ที่มีการพูดถึงตลอดศตวรรษที่ 20 หรือเรียกว่า การหยุดแสดงความคิดเห็นโดยฝ่ายข้างน้อย เมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันของฝ่ายข้างมากกว่า “ขดแห่งความเงียบ” (Spiral Silence)

25 การถูกจูงใจได้ง่าย ปัญหาต่อมา คือ การถูกจูงใจได้ง่ายของมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจูงใจที่กระทบความรู้สึกหรืออารมณ์อย่างมาก เป็นที่ทราบกันดีว่า ความสำเร็จของระบบการปกครองแบบฟาสซิสต์ ในยุโรป ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ร่วมกับการใช้สื่อมวลชนอย่างเข้มข้นของรัฐบาล ทำให้นักสังคมศาสตร์ชาวอเมริกัน ให้ความสนใจอย่างมากกับการวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อและการจูงใจ โดยชี้ให้เห็นถึงพลังของสื่อมวลชนในการกระตุ้นพฤติกรรมด้านอารมณ์ ผ่านละครวิทยุเรื่อง “สงครามระหว่างพิภพ” (War of the World)

26 การครอบงำโดยชนชั้นยอด
แม้บางคนจะกลัวการมีอำนาจมากเกินไปของมหาชน แต่ก็มีคนจำนวนมากที่เห็นว่ามหาชนมีอำนาจน้อยมาก ปัญหาที่ค้างคามายาวนาน คือ เกี่ยวกับมติมหาชนกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน มหาชนมีลักษณะเฉื่อยชามากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การครอบงำของชนชั้นยอดในรัฐบาลและในบรรษัทเอกชน Mills เห็นว่า ประชาชนชาวอเมริกันไม่ได้อภิปรายถกเถียงกันในเรื่องการเมืองอย่างเสรี แต่ถูกสื่อมวลชนทำให้ประชาชนเหล่านี้ กลายเป็น “ตลาด”ที่นำหน้าที่บริโภค ไม่ใช่มหาชนที่ผลิตความคิดและความคิดเห็น

27 ส่วน Ginsberg เห็นว่า การมีประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลถูกแทนที่ด้วยการพึ่งพิง (Dependence) การที่พึ่งพิงการบริการจากภาครัฐมากขึ้นๆ ทำให้ประชาชนในปัจจุบันเต็มใจที่จะสนับสนุนรัฐ กล่าวได้ว่า การปกครองของตะวันตกได้แปรเปลี่ยนความคิดเห็นจากการเคยเป็นปรปักษ์ คาดหมายไม่ได้ ก่อให้เกิดการแตกแยกมาเป็นความคิดเห็นที่เป็นอันตรายน้อยลงและอ่อนน้อมมากขึ้น

28 ความหมายและคุณค่ามติมหาชน
บทที่ 2 ความหมายและคุณค่ามติมหาชน

29 นิยามและความหมายของมติมหาชน
มติมหาชน เป็นการแสดงออกของทัศนคติที่มีอยู่ในกลุ่มคนต่างๆ ที่มีต่อปัญหาใดๆ มติมหาชน ไม่ได้เป็นเรื่องการลงประชามติในทางการเมืองเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากที่มามติมหาชน ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Public Opinion แปลภาษาไทยได้หลายความหมายที่คล้ายคลึงกัน โดยหากแปลตรงตัว หมายถึง ความคิดเห็นสาธารณะ หรือสาธารณมติ หมายรวมถึงมติมหาชนที่แสดงออกในเรื่องหนึ่งเรื่องใด

30 ดังนั้น มติมหาชน จึงเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในสังคม เพราะเป็น ทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่แสดงออกสู่สาธารณะ โดยมีผู้ให้ความหมายของมติมหาชนไว้อย่างกว้างขวาง เช่น วอลเตอร์ ลิปป์แมน (Walter Lippman) ได้นิยามว่า มติมหาชน เป็นเรื่องที่วางอยู่บนพื้นฐานของการมีทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของปัจเจกบุคคลร่วมกันเป็นการเฉพาะ โดยมีเรื่องของปัจจัยส่วนบุคคลทั้งในด้านอายุ เพศ การศึกษา ครอบครัว ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีเป็นตัวกำหนดทัศนคติ อันเป็นที่มาของมหาชนในอีกขั้นหนึ่ง

31 เฮอร์เบอร์ท บูมเมอร์ (Herbert Blummer)
ระบุว่า มติมหาชน เป็นผลผลิตร่วมของสาธารณชนที่เกิดจากการถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะของกลุ่มคนที่มีความสนใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกัน จนนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันเพื่อแสดงเจตจำนงของคนจำนวนมากในทางหนึ่งทางใด

32 ศ. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร อธิบายว่า มติมหาชน หมายถึง การแสดงออกซึ่งทัศนคติของมหาชนที่มีต่อปัญหาใดๆ ที่จำเป็นต้องให้มหาชนเหล่านั้นร่วมกัน ตัดสินวินิจฉัย หรือส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการ การแสดงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ จะนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนหรือปฏิบัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ดังกล่าว

33 รองศาสตราจารย์ เสถียร เชยประทับ อธิบายว่า มติมหาชน คือ ผลรวมของทัศคนคติของปัจเจกบุคคลแต่ละคน หรือคือระดับของผลผลิตที่เกิดจากการอภิปรายและพูดคุยกันโดยใช้วิจารณญาณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องมารยาท ศีลธรรม และประเพณี เป็นการเน้นบทบาทความคิดเห็นของประชาชน ที่เป็นเสมือนแรงกดดันควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่ง

34 สรุปได้ว่า มติมหาชน หมายถึง ผลรวมของการแสดงความคิดเห็น หรือการแสดงออกด้านต่างๆสู่สาธารณะ ในที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมของกลุ่มคนที่มีทัศนคติ ความคิดเห็น หรือความต้องการที่คล้ายคลึงกัน อันถือเป็นแรงขับเคลื่อนทางสังคมที่สำคัญ มติมหาชน มีบทบาทในการกำหนดความต้องการ (Demand) และเป็นการสนับสนุน (Support) ต่อการดำเนินการของฝ่ายต่างๆในสังคม เพราะสถาบันทางสังคม และระบบสังคม มีตัวบุคคลเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม

35 ที่มาของมติมหาชน มติมหาชน ไม่ได้เกิดจากแรงผลักดันภายในหรือเกิดขึ้นจากแรงกระทำภายนอกต่อปัจเจกบุคคลแต่ละคนโดยลำพัง แต่มติมหาชน เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในและภายนอกมากระทำต่อบุคคลกลุ่มต่างๆ ควบคู่กันไป จนเมื่อมีประเด็นสาธารณะเกิดขึ้นประชาชนกลุ่มนั้นๆ สามารถมีการแสดงออกซึ่งมติมหาชนในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

36 ปัจจัยภายใน ได้แก่ กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) มาในรูปแบบต่างๆ อาทิ การอบรมสั่งสอนจากสถาบันครอบครัว โรงเรียน จนก่อรูปเป็นความเชื่อ ทัศนคติ และแบบแผนพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากการสื่อสารในสังคม ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดสั่งสมเป็นทัศนคติพื้นฐานส่วนบุคคล ตลอดจนค่านิยม บรรทัดฐาน ประเพณีของแต่ละสังคม

37 ปัจจัยทั้งสองด้าน เป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประชาชนมีทัศนคติ ความเชื่อ ไปในทิศทางต่างๆ เมื่อมีสิ่งเร้า หรือปัจจัยแทรกเข้ามากระตุ้นทัศนคติหรือความเชื่อของประชาชนก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินใจในการกระทำเพื่อแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

38 การก่อตัวของมติมหาชน มีที่มาจากการตัดสินใจลงมติในเรื่องสาธารณะของแต่ละบุคคล โดยมีทัศนคติภายในที่แตกต่างกันเป็นตัวกำหนด ที่มาของมติมหาชน จึงขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมหลายประการตลอดจนประวัติศาสตร์ความเป็นมา ค่านิยมของแต่ละบุคคล และของแต่ละสังคม ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ 1. พื้นฐานครอบครัว เป็นพื้นฐานในการกำหนดให้บุคคลเติบโตขึ้นมาด้วยกรอบความคิดและค่านิยมอย่างไร เช่น บุคคลที่เติบโตมากับครอบครัวที่มีความเป็นประชาธิปไตยย่อมมีค่านิยมและทัศนคติที่เป็นบวกต่อระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น

39 2. สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของบุคคลนั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เป็นตัวก่อให้เกิดทัศนคติความเห็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น นักการเมืองย่อมมีทัศนคติต่อความเป็นไปในสังคมที่แตกต่างกันไปจากนักวิชาการและนักข่าว หรือคนจนกับคนรวย ย่อมมีทัศนคติต่อเรื่องเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไป เป็นต้น แม้กระทั่ง เสรีนิยม หรือ สังคมนิยม ,คอมมิวนิสต์

40 3. กลุ่มเพื่อนสนิท เป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อการก่อตัวทางอารมณ์และความรู้สึก ความคิดเห็นของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น หากใครมีเพื่อนสนิทที่เป็นทหาร ย่อมมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อแวดวงสังคมทหาร เป็นต้น 4. สื่อมวลชน (Mass Media) เป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลในการให้ความรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกอย่างมากต่อประชาชน เพราะสื่อมวลชนเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีแนวโน้มที่จะยอมรับและเชื่อตามที่สื่อมวลชนนำเสนอ

41 ปัจจัยทั้ง 4 ประการที่กล่าวมานี้ ถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ให้บุคคลแต่ละบุคคลเกิด ทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) และแนวปฏิบัติเป็นสมาชิกในสังคม ซึ่งกระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เองที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้ (Cognitive) ในเรื่องต่างๆ สะสมเป็นความเชื่อ และทัศนคติ ที่ฝังอยู่ในความคิดคำนึงของแต่ละบุคคลนั้น เมื่อมีปัจจัยมากระทบไปในทางที่สอดคล้องหรือขัดแย้งต่อทัศนคติและความเชื่อเดิมก็จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้มีพฤติกรรม (Behavior)

42 รูปแบบมติมหาชน โดยรูปแบบมติมหาชนสามารถแบ่งตามลักษณะการแสดงออกได้ 3ลักษณะ คือ 1. มติมหาชนที่แสดงออกอย่างเป็นทางการ หมายถึง มติมหาชนที่เป็นผลรวมของทัศนคติของประชาชนที่แสดงออกมาต่อประเด็นสาธารณะ โดยมีกฎหมายกำหนดลักษณะการแสดงออกของประชาชน อาทิ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นต้น

43 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (Vote)
การแสดงออกถึงเจตจำนงของประชาชน

44 วิธีการเลือกตั้ง โดยตรง โดยอ้อม

45 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 เดือนมกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

46 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง (มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งก่อน วันที่..... เดือน..... พ.ศ

47 2. มติมหาชนที่แสดงออกในลักษณะของกึ่งทางการ หมายถึง มติมหาชนที่เป็นผลรวมของทัศนคติของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกมาต่อประเด็นสาธารณะอย่างเป็นระบบ พบได้จากรูปแบบการแสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะลักษณะต่างๆ อาทิ ผลการประชุมหรือการลงมติขององค์กรต่างๆที่มุ่งแสดงความคิดเห็นสาธารณะของกลุ่มที่มีระบบตัวแทน อาทิ สหพันธ์แรงงาน สมาคมหอการค้า รวมถึงการแสดงความคิดเห็นผ่านการสำรวจความคิดเห็นผ่านสำนักวิจัยต่างๆ เช่น โพล หรือการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะแบบกึ่งทางการ เนื่องจากใช้วิธีการทางสถิติและคณิตศาสตร์ ควบคู่ไปกับการออกไปสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ

48

49 3.มติมหาชนที่แสดงออกในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ หมายถึง ผลรวมของทัศนคติของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่แสดงออกมาต่อประเด็นสาธารณะ โดยไม่มีรูปแบบหรือระบบในการรวบรวมความคิดเห็นหรือการแสดงออกที่ชัดเจน เป็นการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกร่วมกันโดยไม่มีกฎหมายรับรอง อาทิ การประท้วง หรือการชุมนุมเรียกร้องเรื่องต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมรวมหมู่ใช้ความรุนแรงเพื่อจัดการกับเรื่องนั้น

50

51 อย่างไรก็ตาม รูปแบบของมติมหาชนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่มาตกกระทบกับระดับความเชื่อและทัศนคติของประชาชน ที่สามารถส่งผลให้ให้คนกลุ่มต่างๆ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงออก ซึ่งจากเดิมแสดงออกที่เป็นทางการไปสู่การแสดงออกที่ไม่เป็นทางการสลับกันได้

52 ตัวอย่างเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ
จากประชาชนที่เคยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สส. เพียง 1เดือน ได้ออกมารวมตัวกันขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร เนื่องจากไม่พอใจที่เข้าสู่ตำแหน่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (แม้ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้) ถึงแม้ว่า การเดินขบวนประท้วงจะไม่เป็นมติมหาชนที่เป็นทางการ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นแรงกดดันให้ พล.อ. สุจินดา ลาออก และต่อมาแต่งตั้ง นาย อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ประชาชนเกิดความรู้สึกพอใจ ไม่มีการชุมนุมขับไล่แต่อย่างใด เป็นต้น

53 คุณลักษณะของมติมหาชน
มติมหาชน มีคุณลักษณะดังนี้ มติมหาชนที่มีปริมาณที่แตกต่างกันทำให้สมรรถนะของมติมหาชน (competency)ที่แตกต่างกันไปตามขนาดของมติมหาชนที่มีต่อประเด็นสาธารณะนั้นๆ ซึ่งหากเป็นการแสดงทัศนคติ ความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของคนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันปรากฏสู่สาธารณะ เรียกว่า มติมหาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่หากเป็นมติมหาชนของคนสองกลุ่ม ที่มีความเห็นตรงกันข้าม เรียกว่า มติมหาชนสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน และถ้าเป็นติมหาชนในลักษณะหลากหลายความคิดเห็นไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า มติมหาชนแบบกระจายตัว

54

55

56

57 2. มติมหาชนที่มีคุณภาพที่แตกต่างกันทำให้ความเข้มข้นและความต่อเนื่องของมติมหาชนที่แตกต่างกัน (Intensity and Stability of public Opinion) หากเป็นมติมหาชนที่มีความเข้มข้นและต่อเนื่องมากถือเป็นมติมหาชนที่มีพลังหรืออำนาจบังคับที่มากขึ้นตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับ - สติปัญญาของมหาชนในเรื่องนั้น หากมหาชนในกลุ่มใดแสดงออกมาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ก็จะทำให้มติมหาชนในเรื่องนั้นมีคุณภาพด้อยลง

58 3.มติมหาชนลวง เป็นลักษณะของการแสดงทัศนคติ ความคิดเห็นที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการหรืออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่แท้จริง เรียกว่า มายาคติของมหาชน (Myth of public Opinion) หรือการสร้างภาพลวงตาแห่งมติมหาชน เช่น การว่าจ้างคนบางกลุ่มให้ออกมาชุมนุมประท้วง เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความไม่พอใจ โดยที่คนกลุ่มนั้นไม่มีความรู้ ความตระหนักในเรื่องนั้นมาก่อน

59 อิทธิพลของมติมหาชนต่อสังคม
มติมหาชนเป็นการประเมินคุณค่าสิ่งต่างๆ โดยสมาชิกในสังคม อาจเป็นเรื่องการประเมินพฤติกรรมของบุคคล สิ่งของ หรือสถาบันที่สำคัญๆทางสังคมในสถานการณ์ต่างๆ โดยเมื่อได้สื่อสารออกไปในทางหนึ่งทางใดแล้วย่อมมีผลต่อสังคมในทางใดทางหนึ่ง ในด้านการยอมรับหรือการต่อต้านในเรื่องนั้นๆ

60 อิทธิพลของมติมหาชนต่อสังคม ในด้นสำคัญ ดังนี้
อิทธิพลมติมหาชนกับการกำหนดทิศทางของสังคม กล่าวคือ มติมหาชนมีอิทธิพลต่อระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เพราะแต่เดิมมาเรื่องของวัฒนธรรมประเพณี เป็นเรื่องของความเห็นพ้องของคนในสังคม ที่สังคมยอมรับและสืบทอดกันมา อิทธิพลมติมหาชนกับการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ ในระบบสังคมประชาธิปไตยเสียงส่วนใหญ่ของมหาชนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นเสียงเรียกร้อง และสนับสนุนในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายให้กับสังคมนั้น

61

62 ดังนั้น มติมหาชนจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ สามารถแจกแจงได้ดังนี้
มติมหาชนกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย มติมหาชนกับฝ่ายบริหาร มติมหาชนกับฝ่ายตุลาการ มติมหาชนกับนโยบายต่างประเทศ

63 มติมหาชนกับองค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย
สมาชิกสภานิติบัญญัติ ถือเป็นตัวแทนของมหาชน เพราะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน การเลือกตั้งถือเป็นการแสดงออกซึ่งมติมหาชนอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติ จะต้องคอยรับฟังเสียงของมหาชนที่เลือกเข้ามาผลักดันนโยบาย

64 2) มติมหาชนกับฝ่ายบริหาร
รัฐบาลถือเป็นฝ่ายบริหารประเทศสูงสุดที่มาจากการเลือกตั้งของมหาชน ดังนั้นมติมหาชนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการสนับสนุนให้รัฐบาลนั้นๆ ดำรงอยู่ได้ หัวหน้ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้พยายามหาเสียงสนับสนุนจากมหาชน เพื่อให้บริหารต่อไปได้

65 3 มติมหาชนกับฝ่ายตุลาการ
ศาล ถือเป็นสถาบันสูงสุดในการใช้อำนาจตุลาการที่ต้องได้รับการยอมรับจากคนในสังคม ดังนั้น มติมหาชนมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายทางตุลาการ หรือการตัดสินคดีความต่างๆ ดังนั้นการตัดสินคดีความต่างๆ นอกจากจะยึดในตัวบทแล้ว กฎหมายก็ยังต้องยึดหลักการตัดสินที่คำนึงถึงความสงบเรียบร้อยในสังคม ที่อาจเกิดขึ้นจากการยอมรับและไม่ยอมรับในมติมหาชนด้วย

66 4.มติมหาชนกับนโยบายต่างประเทศ
มติมหาชนถือว่าแรงสนับสนุนสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะนอกจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศจะต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศแล้ว ผู้ทำหน้าที่ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ยังสามารถนำเอามติมหาชนนี้ ไปเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเจรจาต่อรองในการเจรจากับต่างประเทศ

67 การสื่อสารกับมติมหาชน
บทที่ 3 การสื่อสารกับมติมหาชน

68 วิวัฒนาการทางการสื่อสารกับมติมหาชน
มติมหาชนเป็นเรื่องของการให้การยอมรับในความคิดเห็นของประชาชน เป็นการให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจหรือกำหนดทิศทางทางสังคม รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นรูปแบบที่รองรับมติมหาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่ารูปแบบการปกครองอื่นๆที่ล้วนให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ปกครองเป็นหลัก

69 มติมหาชนกับการสื่อสารในยุคแรก
มติมหาชนมีรากกำเนิดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว นับตั้งแต่สมัยโรมันเรืองอำนาจ มีการใช้มติในงานของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การค้า ในบรรดากลุ่มขุนนาง ผู้ปกครอง อริโตเติล ปราชญ์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ ได้ให้ความสนับสนุนเรื่องมติมหาชนว่าเป็นสิ่งสำคัญในการปกครอง ผู้ปกครองที่ดีต้องคำนึงถึงเสียงของมหาชน เพราะเสียงประชาชนคือ เสียงของพระเจ้า แต่ถึงกระนั้น ผู้ปกครองก็ยังเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของอาณาจักร โดยอ้างอิงความชอบธรรม โดยผ่านพิธีกรรม ความศักดิ์สิทธิ์ ดังจะเห็นจากการปกครอง แบบ “เทวราชา”

70

71 ซึ่งการปกครองในระบบเทวราชาดั้งเดิม ล้วนเป็นการปกครองโดยผู้นำ หรือกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง ในลักษณะจากเบื้องสูงสู่เบื้องล่าง ประชานเป็นเพียงข้าทาสบริวาร ที่อยู่ในอาณาจักรนั้นๆ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปกครองกิจการใดๆของรัฐ ทั้งนี้มีรากฐานทางความคิดที่ว่า ประชาชนหรือสาธารณชนไม่รู้เรื่องกิจการของรัฐ ประชาชนมีความคิดที่ไม่มีเหตุผล ไม่คงเส้นคงวา จึงควรไม่ได้รับสิทธิในการปกครอง หรือครอบครองอำนาจตัดสินใจในกิจการสาธารณะ

72 ในเวลาต่อมา มติมหาชนเริ่มได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุครู้แจ้ง (Enlightenment) ที่สังคม เริ่มหันมาให้ความสำคัญของปัจเจกบุคคล ควบคู่กับหลักเหตุผล มากกว่าให้ความสำคัญกับผู้นำและหลักบัญชาแห่งสวรรค์ แม้ประชาชนจะอยู่ภายใต้การปกครองและการดูแลจากรัฐ แต่โดยวิถีปกติของประชาชนก็เริ่มมีการขยายตัวทางการค้าระหว่างรัฐมากขึ้น ประชาชนมีการใช้ชีวิตที่มีการติดต่อสื่อสาร เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้า นำไปสู่เกิดสถานที่ส่วนกลางที่ไม่ใช่ที่ทำงาน หรือบ้านเรือนเฉพาะบุคคล แต่เป็นสถานที่สาธารณะในรูปแบบของร้านค้า ร้านกาแฟ จนกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนมาชุมนุมพบปะพูดคุยกัน

73 ลักษณะดังกล่าว ทำให้ประชาชนเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น จนก่อให้เกิดทัศนคติ ความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในสังคมอังกฤษในช่วง 1680 เป็นต้นมา กลุ่มปัญญาชน ขุนนาง ประชาชน ได้ใช้ชีวิตพบปะสนทนากันตามร้านกาแฟ หรือเรียกว่า ซาลอน (Salon) ซึ่งกลายเป็นเวทีของการแสดงความคิดเห็น ทัศนคติ ต่อเรื่องสาธารณะ มีการหยิบยกหัวข้ออภิปราย ถกเถียงในเรื่องต่างๆ ที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีการใช้เหตุผลของตนเองได้อย่างกว้างขวาง แทนที่การเชื่อฟังผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครอง

74 มติมหาชนในยุคการสื่อสารมวลชน
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ความคิดเห็นสาธารณะได้ขยายขอบแดนจากวงแคบในกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม ไปสู่สังคมวงกว้างก็คือการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กูเตนเบิร์ก อันเป็นพัฒนาการสำคัญของเทคโนโลยีการพิมพ์ การขยายตัวของสื่อสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเจริญเติบโตทางการค้าและการออกเขียนได้ของประชาชนในศตวรรษที่ 16 ทำให้เกิดกลุ่มมหาชนที่มีความรู้มากขึ้น ความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มหนึ่งแพร่หลายออกไปผ่านสื่อมวลชนสู่กลุ่มมวลชนอย่างกว้างขวาง

75

76 ในศตวรรษที่ 17 นักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษ จอห์น ล็อค
ได้ชี้ให้คนในสังคมได้ตระหนักว่า มนุษย์โดยแท้จริงแล้ว มีเจตจำนงอย่างมีเหตุผลร่วมกันในการสร้างสัญญาประชาคมในการอยู่ร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มนุษย์ในสังคมยอมมอบเจตจำนงนี้ให้กับคนบางส่วน ให้ทำหน้าที่ปกครองสังคมที่ดำรงอยู่แทน ผู้ปกครองจึงต้องฟังเสียงประชาชน

77

78 การปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบกษัตริย์ หรือขุนนางผู้ผูกขาดอำนาจไปสู่ประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนเข้ามาบริหารประเทศ ล้วนมีหลักการที่สำคัญก็คือ การยึดมั่นและเชื่อมั่นในการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน เท่ากับ เป็นการยอมรับมติมหาชนในการปกครอง เป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชน สามรถทำการสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตนเอง ที่อยู่ในภาคสังคมข้ามแดนเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐ

79 อย่างไรก็ตาม เมื่อสังคมมีการพัฒนามากขึ้น ประชาชนได้รับการศึกษาจนมีความรู้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาสื่อมวลชนหลากหลายขึ้น และเกิดสื่อโทรทัศน์ที่แทรกเข้าไปในทุกครัวเรือนในกลุ่มประเทศตะวันตกอย่าง อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างการรับรู้เรื่องราวสาธารณะ และกระตุ้นให้ประชาชนคิดคำนึงถึงเรื่องราวต่างๆอญุ่ตลอดเวลา อันเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตัวของความคิดเห็นสาธารณะของประชาชนในสังคม

80 จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของมติมหาชนอย่างใกล้ชิด
โดยยุคแรก สังคมยังไม่มีระบบการสื่อสารมวลชน ประชาชนไม่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนคติ ความคิดเห็น ผู้ปกครองเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารไว้ในมือ ประชาชนจึงกระจัดกระจายอยู่ภายใต้การปกครองของขุนนางในแต่ละพื้นที่ ไม่ได้รับการยอมรับในสิทธิและเสียงของประชาชน

81 จวบจนกระทั่ง เกิดระบบการสื่อสารมวลชน ที่เป็นพลังสำคัญในการกระจายความรู้ ความคิด และทัศนคติของคนกลุ่มหนึ่งๆ ออกสู่ประชาชนในวงกว้าง นำไปสู่การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรวมกลุ่ม สร้างความตระหนักในพลังของปัจเจกชนที่สามารถรวมตัวกัน ได้กลายเป็นมติมหาชน ที่สามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงระบบสังคมการเมืองอยู่ตลอดเวลา

82 กระบวนการสื่อสารกับมติมหาชน
มติมหาชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารทั้งสิ้น ตั้งแต่ขั้นการก่อตัวของมติมหาชน ที่ต้องอาศัยการรับรู้เรื่องราวสาธารณะของปัจเจกบุคลนำไปสู่การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติ แล้วจึงสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตรวจสอบแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น เพื่อแสวงหากลุ่มที่มีทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน

83 การสื่อสารกับการก่อตัวของมติมหาชน
มหาชน เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนเป็นผู้รับสาร (Receiver) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากสังคมภายนอกสู่ความรู้สึกภายในตัวบุคคล แล้วจึงนำไปสู่การก่อรูปของความคิดเห็นที่บุคคลที่บุคคลมีต่อเรื่องนั้นที่พัฒนาต่อเนื่องจากทัศนคติและความเชื่อของบุคคลแต่ละคน แล้วนำไปเปรียบเทียบความเชื่อและทัศนคติทั่วไป สถาบัน และสิ่งแวดล้อมในสังคมเพื่อแยกแยะประมวลผลว่าสิ่งที่ตนคิดหรือรับรู้นั้นตรงกับฝ่ายไหนอย่างไร จึงค่อยนำไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อสื่อสารแสดงออกของมติมหาชน

84 การก่อตัวของมติมหาชน
การก่อตัวของมติมหาชน สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1 ระยะฟักตัวของมติมหาชน (Mass Behavior) เป็นช่วงการก่อตัวทัศนคติของแต่ละบุคคลที่เริ่มมีความคิด ความรู้สึกคล้ายคลึงกันกับหลายๆคน ทั้งนี้เนื่องมาจากการรับฟังข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆที่ใกล้เคียงกันเข้าผนวกกับความเชื่อเดิม จนเริ่มกำหนดรูปเป็นทัศนคติ หรือความโน้มเอียงทางความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องนั้น

85 2 ระยะแห่งความขัดแย้ง (Controversy)
เป็นระยะที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยของกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคม มีการแบ่งแยกออกจากกันเป็นกลุ่มก้อนต่างๆ เป็นช่วงที่ทุกฝ่ายหาเสียงสนับสนุนยืนยันความคิดเห็น ทัศนคติ ของกลุ่มตน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารที่มาสนับสนุนความคิดเห็นของกลุ่มตน

86 3 ระยะการแสดงตัวของมติมหาชน (Institutionalized decision –making)
เป็นช่วงของการที่กลุ่มคนทำการวินิจฉัย คิดวิเคราะห์ เพื่อหาข้อยุติในปัญหานั้นโดยการสื่อสารแสดงออกมาอย่างเป็นระบบ หรือทำการสื่อสารสู่สาธารณะให้ปรากฏอย่างชัดเจนในหลายรูปแบบ เช่น การแสดงออกโดยการชุมนุมประท้วง เมื่อวิเคราะห์แล้วว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม การตัดสินใจออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง เพื่อให้พวกของตนหรือบุคคลที่ต้องเห็นให้ความเห็นชอบได้รับชัยชนะ

87 โดยขั้นตอนของการก่อตัวของมติมหาชนทั้งสามขั้นตอน แสดงให้เห็นว่า เมื่อเกิดประเด็นหนึ่งประเด็นใดขึ้นมา ปัจเจกบุคคลจะเกิดการรับรู้ข่าวสารผ่านด้านต่างๆ หากประเด็นที่เกิดขึ้นรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตน หรือเป็นเรื่องที่ไปตรงกับความสนใจของประชาชน ก็จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ขึ้นในใจ เพื่อตัดสินใจลงมติว่าเรื่องนั้นๆตนเองเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โดยขั้นตอนนี้ ถือเป็นการสื่อสารภายในบุคคล ที่สำคัญสำหรับการแสดงออกซึ่งมติมหาชน

88 การสื่อสารของมติมหาชน
ภายใต้หลักการสื่อสาร ผลรวมความคิดเห็นของมหาชนที่แสดงออกมา ถือเป็นตัวสาร (Message) ที่ประชาชนต้องการสื่อสารออกมาให้สาธารณชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ แต่ขณะเดียวกันประชาชนหรือมหาชนโดยทั่วไปเป็นได้ทั้งผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งสาร (Sender) ขึ้นอยู่ช่องทางการสื่อสาร (Chanel) แสดงออก และช่วงเวลา

89

90

91 อาทิเช่น ในช่องทางการสื่อสารทางการเมืองในระบบการเลือกตั้ง
ขั้นแรก ประชาชนเป็นผู้รับสารจากนักการเมืองและพรรคการเมือง ที่สื่อสารโน้มน้าวให้ออกไปลงคะแนนเสียงสนับสนุน เมื่อถึงเวลาการเลือกตั้ง ประชาชนกลายเป็นผู้ทำการส่งสาร ตัดสินใจลงความเห็นของตนที่มีต่อนักการเมือง ผลของการเลือกตั้งเป็นมติมหาชนที่แสดงสารที่ประชาชนส่งไปในระบบการเมือง

92

93

94

95 แต่หากเป็นช่องทางการชุมนุมประท้วง
ประชาชนเป็นผู้ทำการสื่อสารตั้งแต่ต้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของตนกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงกลายเป็น ผู้รับสารในผลการประท้วงอีกขั้นหนึ่ง เนื่องจากมติมหาชนเป็นเรื่องการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องต่างๆสาธารณะ ประชาชนจึงมีบทบาทสำคัญสูงสุดในฐานะผู้ส่งสารขับเคลื่อนสังคม คือ การสื่อสารมติมหาชนที่มองเห็น และการสื่อสารมติมหาชนที่มองไม่เห็น

96 การสื่อสารมติมหาชนที่มองเห็น
ได้แก่ การแสดงออกของประชาชนโดยการลงมือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏ ในเชิงจำนวนของกลุ่มคนที่เห็นด้วยหรือคัดค้านเรื่องหนึ่งเรื่องใดเหมือนๆกัน อาทิ การแสดงความคิดเห็นผ่านโพล หรือการสำรวจความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกัน การออกไปลงคะแนนเสียงไปในทิศทางเดียวกัน การสื่อสารมติมหาชนที่มองเห็น ต้องอาศัยกลุ่มคนที่มีความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว (Active Citizen) พร้อมที่จะแสดงทัศนคติความคิดเห็น หรือการกระทำของตนออกสู่สาธารณะ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมหรือสังคมชาติ กลุ่มที่เป็นพลเมืองที่เข้าร่วมกันทำการสื่อสาร เหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่มีระดับทัศนคติหรือความโน้มเอียงทางความรู้สึกต่อเรื่องทางสังคม

97 การสื่อสารมติมหาชนที่มองไม่เห็น
การสื่อสารมติมหาชนที่มองไม่เห็น ได้แก่ การที่ประชาชนกลุ่มต่างๆตัดสินใจเลือกที่จะไม่แสดงออกหรือเลือกที่จะงดกระทำต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดร่วมกัน ถือว่าเป็นการสื่อสารอีกลักษณะหนึ่ง หากมีมากพอก็สามารถสื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกหรือทัศนคติที่อยู่ภายในของประชาชนกลุ่มนั้นๆ ได้เช่นกัน อาทิ การตัดสินใจร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่งๆที่จะไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การตกลงกันว่าจะไม่ซื้อสินค้าจากบริษัทที่กลุ่มของตนมีลักษณะเป็นลบ การเพิกเฉยของประชาชน ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินนโยบายของรัฐ

98 การสื่อสารมติมหาชนที่มองไม่เห็นนี้ จึงเป็นลักษณะของการสื่อสารด้วยการไม่ทำการสื่อสารตอบสนองต่อเรื่องราวสาธารณะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ถึงการที่มหาชนตัดสินใจลงมติ ไม่สื่อสารให้การสนับสนุนหรืออาจแสดงให้เห็นว่าประชาชนหรือมหาชนกลุ่มนั้นๆ ไม่ได้มีทัศนคติโน้มเอียงต่อเรื่องนั้นอย่างเข้มข้นมากพอ จนถึงขั้นลงมติสื่อสารออกสู่สาธารณะ ลักษณะเช่นนี้ พบได้อย่างมากในกรณีที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเพิกเฉยต่อเรื่องราวทางการเมือง หรือที่เรียกว่า เสียงส่วนใหญ่ที่นิ่งเงียบ (Silent Majority) ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากความเบื่อหน่ายในความขัดแย้งทางการเมือง

99 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารมติมหาชน
ผู้นำทางความคิดเห็น (Opinion leaders) สื่อมวลชน (Mass Media) ค่านิยม ความเชื่อของคนในสังคม (ความคิด ,วัฒนธรรม ,ประเพณี) สภาพแวดล้อมทางสังคมการเมือง

100 กล่าวโดยสรุป มติมหาชน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับกระบวนการสื่อสารโดยตลอด เมื่อมีการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ภายในสังคมสู่การรับรู้ของบุคคล ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบข่าวสาร การสื่อสารมติมหาชน เป็นการสื่อสารถึงผลรวมของการตัดสินใจของคนกลุ่มต่างๆ โดยมติมหาชนต้องอาศัยการสื่อสารผ่านการกระทำ การแสดง ท่าทาง การเผยแพร่ข้อเขียนต่างๆ การเกิดมติมหาชน จึงขึ้นกับการมีผู้นำทางความคิด ในการเปิดเปิดประเด็นสาธารณะให้มหาชนได้คิดพิจารณา เพื่อกำหนดจุดยืนหรือร่วมตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

101 แนวข้อสอบ ความเชื่อ และทัศนคติส่วนบุคคล มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับมติมหาชน มติมหาชนแสดงออกได้กี่รูปแบบ อะไรบ้าง และมีปัจจัยใดเป็นตัวกำหนด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารมติมหาชน ได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายบทบาทของระบบทางการเมืองต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ

102 บทที่ 4 ระบอบประชาธิปไตย

103 ระบอบประชาธิปไตย คำว่า “ ประชาธิปไตย” เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลก ปัจจุบัน เราจะสังเกตว่าประเทศต่างๆ แท้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมที่แตกต่างกัน แต่ก็อ้างว่าประเทศตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น

104 ความหมายของประชาธิปไตย
1. นิยามตามคำศัพท์ คำว่าประชาธิปไตย ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจากการผสมคำสองคำ คือ Demos กับ Kratos ซึ่ง Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratos หมายถึง การปกครอง ฉะนั้น Demoskratia จึงหมายถึง การปกครองของประชาชน

105 ส่วนภาษาไทย ได้บัญญัติศัพท์ขึ้นโดยเทียบกับศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นการนำเอาสองคำมารวมกัน คือ ประชา
ซึ่งเป็นคำสันกฤต รูปคำเดิม คือ ประชา แปลว่า ราษฎร หรือ ประชาชน และ คำว่า อธิปไตย แปลว่า ความเป็นใหญ่อย่างยิ่ง ฉะนั้น ประชาธิปไตย จึงหมายถึง ระบอบการปกครองที่ประชาชน มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ นั่นเอง

106 2. นิยามตามที่มาและขอบเขตของอำนาจ
มีผู้นิยามของประชาธิปไตย ไว้ว่า “อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน” ทั้งนี้โดยมนุษย์อ้างว่า ทุกคนเกิดทาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพโดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่จะคิดและกระทำการใดๆได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เราจะสละสิทธิและอำนาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำนาจนั้น ดำเนินการภายในกรอบที่กำหนด ฉะนั้น เราจะพบว่ารัฐบาลในประเทศประชาธิปไตยนั้น จะมีอำนาจจำกัด

107 3. นิยามที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค
3.1 ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของความปรารถนาของมนุษย์ที่ดำรงไว้ ซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 3.2 ประชาธิปไตย เป็นทั้งรูปแบบการปกครอง และวิถีชีวิต ที่ถือเอาเสรีภาพเป็นประเด็นหลัก 3.3 ประชาธิปไตย เป็นรูปแบบการปกครอง ที่ยอมรับในความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล

108 4. นิยามที่เน้นการเข้ามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน
4.1 ประชาธิปไตย เป็นการปกครอง โดยเสียงข้างมาก แต่ไม่ลืมสิทธิของเสียงข้างน้อยในสังคม 4.2 ประชาธิปไตย ได้แก่ การปกครองที่ถือว่าเสียงของประชาชน เป็นเสียงสวรรค์ 4.3 ประชาธิปไตย คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชน สามารถดำเนินการร่วมกัน โดยไม่สูญเสียเสรีภาพตามที่แต่ละคนปรารถนา

109 5. นิยามที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน
5.1 ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการดำรงชีวิต เพื่อความผาสุกร่วมกัน โดยมีเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นเครื่องชี้นำ 5.2 ประชาธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

110 จากความหลากหลายของนิยาม หรือความหมายของคำว่าประชาธิปไตย เราอาจกล่าวสรุป ได้ว่า ประชาธิปไตย จึงมีความหมายในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง รูปแบบการปกครอง และวิถีชีวิตของสมาชิกของสังคมใดๆ

111 ก. ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
อุดมการณ์จะยึดหลักการที่สำคัญๆ 3 ประการ ได้แก่ 1. เชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถในการใช้สติปัญญา รู้จักใช้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว และสามารถปกครองตนเองได้ ประชาธิปไตยนั้นเป็นระบบที่สมาชิกแสดงออกโดยเหตุผล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่ยอมรับร่วมกัน เชื่อว่าการดำเนินการใดๆหากดำเนินด้วยหลักเหตุผล ย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างไม่มีขีดจำกัด

112 ประชาธิปไตยกับระบอบประชาธิปไตย

113 ความหมายของการสื่อสารมวลชนกับมติมหาชน
การสื่อสารมวลชน (mass communication) หมายถึง กระบวนการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยผู้กระทำการส่งสารตัวเนื้อสารผ่านช่องทางการสื่อสารชนิดต่างๆ ไปยังประชาชนหลากหลายกลุ่มไม่สามารถแยกแยะได้โดยอย่างง่ายในเวลาเดียวกัน ภายใต้กระบวนการที่ต้องสื่อสารผ่านสื่อนี้เองที่ผู้ส่งสารในกระบวนการสื่อสารมวลชนส่วนมากมีลักษณะเป็นองค์กรที่สลับซับซ้อน (Complex Organization)

114 การสื่อสารมวลชนจึงเป็นลักษณะของการสื่อสาร จากผู้ส่งสารจำนวนน้อยไปยังผู้รับสารที่มีลักษณะเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ปริมาณมาก แต่กระจัดกระจาย ไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย มีลักษณะชั่วคราว เกิดขึ้นเป็นมวลชนเมื่อมีการรับสารจากสื่อเท่านั้น หลังจากการเปิดรับจบแล้วก็กระจัดกระจายออกไปอย่างเดิม (Denis Mc Quail : 1987)

115 การสื่อสารมวลชน เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่มีการใช้สื่อ (Media) ที่เข้าถึงมวลชนได้จำนวนมาก เป็นตัวกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งภาพ เสียง และข้อความจากผู้ส่งสารออกไปให้คนในสังคมได้รับรู้ในเวลาเดียวกัน การสื่อสารมวลชน จึงแตกต่างจากการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือการสื่อสารภายในกลุ่มคน ที่ไม่ได้มีการใช้ช่องทางการสื่อสารที่กว้างขวางเหมือการสื่อสารมวลชน

116 ช่องทางการสื่อสารมวลชนกับมติมหาชน
ในปัจจุบันการสื่อสารมวลชน สามารถแบ่งได้เป็น 2ลักษณะ คือ สื่อดั้งเดิม (Tradition Media) หมายถึง สื่อที่มีมาตั้งแต่อดีตและยังคงมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน ที่ใช้การส่งข่าวสารได้แยกส่วนกัน ได้แก่ สื่อสิงพิมพ์ (Print Media) รวมถึงหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่ส่งข่าวสารผ่านตัวอักษรลงบนหน้ากระดาษ เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดส่งสารไปยังประชาชนจำนวนมากได้ในเวลาพร้อมๆกัน

117 สื่อกระจายสียงและภาพ (Broadcasting media) เป็นสื่อที่มีการกระจายภาพและเสียงคนออกไป โดยอาศัยเทคนิคการแพร่ภาพและกระจายเสียงขั้นสูง เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารครอบคลุมประชาชนได้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน ได้แก่ การสื่อสารผ่านรายการวิทยุ และรายการโทรทัศน์ สามารถส่งเข้าถึงประชาชนคนทั่วไป ไม่ว่าจะมีการศึกษาหรืออานหนังสือไม่ออกก็ตาม อีกทั้งยังสามารถทำให้ประชาชนรู้สึกได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเห็นจริงจากภาพและเสียง

118 สื่อเสมือนจริง (Visual Media) ได้แก่ สื่อที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและให้เสียงประกอบเหมือนเหตุการณ์จริง โดยอาศัยการผสมภาพและเสียงเข้าด้วยกัน ภายใต้การตัดต่อและบันทึกเสียงที่มีความสลับซับซ้อน ได้แก่ สื่อภาพยนตร์ สื่อวีดีทัศน์ ที่ผู้ผลิตเพื่อทำการสื่อสารใช้ช่วงเวลาในการผลิตมากและมีลำดับขั้นในการส่งสาร การสร้างฉาก ลำดับเหตุการณ์ เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมได้รู้สึกเสมือนอยู่ร่วมกับเหตุการณ์จริง

119 ขณะเดียวกัน ยังมีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือที่เรียกกันว่า Social Network ที่เป็นการเปิดพื้นที่โดยองค์กรหรือบริษัทเอกชนให้ประชาชนเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เนต เข้ามาร่วมกันทำการสื่อสารโดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดทำการผูกขาดการผลิตเนื้อหาได้โดยตรง แต่อาศัยเพื่อนและคนรู้จักกระจายข่าวสารต่อๆกันไป เช่น ผ่านระบบเฟสบุ๊ค ยูทูบ เอ็มเอสเอ็น เป็นต้น

120 ความสัมพันธ์ของการสื่อสารมวลชนกับมติมหาชน
การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอารมณ์ ความรู้สึก และทัศนคติระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารผ่านสื่อประเภทต่างๆ โดยมากผู้ส่งสารมักมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ต้องการให้เกิดกับผู้รับสาร แต่ทว่าผู้รับสารอาจได้รับสารตามวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อม และบริบทในการรับส่งสาร ความเหมือนและความแตกต่างทางทัศนคติ ความเชื่อ วัฒนธรรมระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร

121 บทบาทของการสื่อสารมวลชนกับมติมหาชน
การสื่อสารมวลชน เป็นช่องทางการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆไปยังคนจำนวนมากได้ในเวลาพร้อมกัน ทำให้ประชาชนเกิดการรับรู้ทัศนคติและความคิดเห็นอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ สามารถนำไปสู่การก่อตัวของมติมหาชนได้ ดังนั้น การสื่อสารมวลชน จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการกำหนดรูปของมติมหาชน ดังนี้

122 การสื่อสารมวลชน กับบทบาทการเป็นผู้ถ่านทอดค่านิยม
การสื่อสารมวลชน เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ในฐานะที่เป็นช่องทางการถ่ายทอดค่านิยมของสังคม (Value Transmission) ให้เกิดความต่อเนื่อง บทบาทของการสื่อสารมวลชน ที่มีต่อมติมหาชนพบได้อย่างชัดเจนในเรื่องของการสร้างชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐต้องมีการสถาปนาช่องทางการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดค่านิยม อุดมการณ์ความเป็นชาติเดียวกันไปยังประชาชนในทุกส่วนของประเทศ

123 การสื่อสารมวลชนจึงเป็นช่องทางในการแพร่กระจายความคิด ความเชื่อ และค่านิยม จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปยังกลุ่มคนอื่นๆ ทั้งกลุ่มคนที่มีค่านิยมคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ทำให้เกิดมติมหาชนที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผู้ที่ทำการส่งสารผ่านสื่อมวลชนได้ เช่น การสื่อสารกล่อมเกลาความรักชาติ โดยการเปิดเพลงชาติไทยผ่านเครือข่ายสถานีโทรทัศน์และวิทยุทั่วประเทศ ถือเป็นการตอกย้ำให้ประชาชนรู้สึกมีความรักชาติและเป็นชาติเดียวกัน

124 2. การสื่อสารมวลชน กับบทบาทการเป็นพื้นที่สาธารณะ การสื่อสารมวลชน มีบทบาทการเป็นพื้นที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นช่องทางการสื่อสารขนาดใหญ่ที่ประชาชนสามารถรับรู้และเข้าถึงเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างง่ายในเวลาพร้อมๆกัน การสื่อสารมวลชน จึงทำให้เรื่องส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง กลายเป็นเรื่องสาธารณะ กรณีที่พบบ่อยครั้งไดแก่ การนำเรื่องส่วนตัวของดารา ศิลปินนักแสดงมาให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ ทำให้ประชาชนมีการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆได้อย่างเปิดเผยไม่ถือเป็นการเข้าไปก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัว

125 การสื่อสารมวลชน จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพหรือเชิงภูมิศาสตร์ แต่เป็นพื้นที่ในการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร (Flow of communication) ที่เปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้หรือส่งผ่านข่าวสารอันเป็นแกนสำคัญที่ทำให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเป็นหลัก ดังนั้นช่องทางการสื่อสารมวลชนทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งสื่อออนไลน์ต่างๆ จึงกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ช่วยสร้างความเป็นพวกพ้องทางสังคมเดียวกัน (Social cohesion)


ดาวน์โหลด ppt รายวิชา มติมหาชนกับระบอบประชาธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google