ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย การจัดประเภทของการวิจัย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2) โดย ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย การจัดประเภทของการวิจัย
2
การจัดประเภทของการวิจัย จัดได้หลายลักษณะ
เช่น
3
จัดตามปรัชญาความเชื่อ เกี่ยวกับความจริง
การจะค้นพบความจริงทำได้โดยการให้เหตุผล ครุ่นคิด (คิดอย่างมีเหตุผลจะทำให้ได้ความจริง) โดยอาศัยหลักการนิรนัย (Deductive) เป็นเครื่องมือ ความจริงที่ได้มาจากภายในมิใช่ภายนอกหรือจากประสบการณ์ ที่ผ่านเข้ามา ความจริงเป็นสิ่งนิรันดรไม่แปรเปลี่ยน หากใช้เหตุผลคิด อย่างรอบคอบก็จะพบความจริงดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism)
4
การจะค้นพบความจริงต้องอาศัยประสบการณ์ทั้งสิ้น วิธีการ ค้นหาจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากับประสบการณ์เดิม โดยอาศัยหลักการอุปนัย (Inductive) เป็นเครื่องมือสรุปข้อค้นพบ ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มประจักษ์นิยม (Rationalism)
5
วิจัยกับการค้นพบความจริง
ด้วยพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับความจริงและวิธีการค้นพบความจริงที่กล่าวมาแล้ว นำไปสู่การเกิด ระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีวิทยาการวิจัย (Research Methodology) ที่แตกต่างกัน 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์)
6
กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล)
การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงที่มีลักษณะเป็นการคิดและใช้ เหตุผล สรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยอาศัยการนิรนัย ความถูกต้อง หรือความรู้ความจริงที่ได้รับจะพิจารณาจากการลงสรุปอย่างสมเหตุ สมผลเป็นสำคัญ โดยไม่สนใจว่าจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ธรรมชาติหรือไม่ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ เป็นต้น
7
กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์)
การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสาท สัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ความจริงที่มุ่งค้นหาจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเป็น ปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่สามารถจับต้องได้ ความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การทดสอบพิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ประกอบกัน ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด
8
กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology
กลุ่มสำนักคิดที่ใช้ Empirical Research Methodology ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสำนักย่อย เนื่องจากพื้นฐานความเชื่อในการมองปรากฏการณ์ในธรรมชาติแตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)
9
1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) มุ่งค้นหาความจริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัส จับต้อง วัดค่าได้อย่างเป็นวัตถุวิสัยหรือมีความเป็นปรนัย และมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้น เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงที่ค้นพบนี้ ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้น ตามความต้องการ
10
2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์โดยอาศัยประสบการณ์และประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นพื้นฐาน (เช่นเดียวกับกลุ่มแรก) แต่กลุ่มนี้มีความเชื่อ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (ของมนุษย์) แตกต่างกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือมีความเป็นพลวัตสูงมาก นอกจากนั้น ยังขึ้นอยู่กับความเชื่อ การให้คุณค่า ความหมาย และวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมนั้น ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่ สามารถกระทำได้โดยการแจงนับ วัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากแต่ จะต้องเข้าใจถึงความหมาย ระบบคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนเสียก่อน
11
2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)
1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) 2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)
12
(Quantitative research)
1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) แบ่งตามลักษณะข้อมูลและวิธีการได้มา 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
13
1. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
มุ่งค้นหาความจริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัส จับต้องวัดค่าได้อย่างเป็นวัตถุวิสัยหรือมีความเป็นปรนัย (ได้ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข) และมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้น เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงที่ค้นพบนี้ ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้น ตามความต้องการ
14
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)
มุ่งศึกษาปรากฏการณ์โดยอาศัยประสบการณ์และประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นพื้นฐาน (เช่นเดียวกันกับการวิจัยเชิงปริมาณ) แต่มีความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (ของมนุษย์) แตกต่างกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือมีความเป็นพลวัตสูงมาก นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความเชื่อ การให้คุณค่า ความหมาย และวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมนั้น ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคม อย่างแท้จริงจึงไม่สามารถกระทำได้โดยการแจงนับ วัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากแต่จะต้องเข้าใจถึงความหมาย ระบบคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนเสียก่อน
15
2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research)
1. การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) แบ่งตามประโยชน์การใช้ผลการวิจัย 3. การวิจัยปฏิบัติการ (Action research)
16
2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research)
1. การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความรู้เป็นหลัก 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ และนำความรู้ที่ได้มารับใช้สนองตอบ ประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ 3. การวิจัยปฏิบัติการ (Action research) มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม/องค์การ
17
Gay (1992) จำแนกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ 4 ชนิดใหญ่
ต้องการข้อสรุปเชิงสาเหตุหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ จะมีการจัดกระทำหรือไม่ จะศึกษา-ทำนายความสัมพันธ์หรือไม่ ใช่ ใช่ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์/ การวิจัยเชิงทำนาย ไม่ใช่ ไม่ใช่ การวิจัยศึกษาย้อนหาสาเหตุ (Expose-facto research) การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)
18
ตัวแปรต้น (ตัวแปรจัดกระทำ)
การวิจัยเชิงทดลอง เป้าหมาย เพื่อศึกษาผลการจัดกระทำของผู้ทดลอง โดยพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด ตัวแปรตาม (ผล) ตัวแปรต้น (ตัวแปรจัดกระทำ) ตัวแปรแทรกซ้อน ควบคุมไว้
19
การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ / การวิจัยเชิงทำนาย
X1 X2 Y X3 X4
20
การวิจัยศึกษาย้อนหาสาเหตุ (Expose-facto research )
Y X4 X2 การวิจัยศึกษาย้อนหาสาเหตุ (Expose-facto research ) X5
21
อื่นๆ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ผสมผสาน
22
การทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ขอแนะนำ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.