งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
โดย ธัชดา จิตมหาวงศ์ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์

2 ขอบเขตเนื้อหาการบรรยาย
ภาพรวมของระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)  ความหมาย ที่มาและความสำคัญของระบบ GFMIS  ประโยชน์จากการนำระบบ GFMIS มาใช้ในภาครัฐ  สิทธิการใช้งานในระบบ GFMIS  ระบบงานในระบบ GFMIS - ระบบงบประมาณ - ระบบการรับและนำส่งเงิน - ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง - ระบบสินทรัพย์ถาวร - ระบบการเบิกจ่ายเงิน - ระบบบัญชีแยกประเภท  ข้อมูลในระบบ GFMIS - ข้อมูลในระบบปฏิบัติการ - ข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร  ช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของ GFMIS หัวข้อนำเสนอ - ความหมาย ที่มาและความสำคัญของระบบ GFMIS - ระบบงานและข้อมูลในระบบ GFMIS - ช่องทาง/สิทธิการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสำหรับผู้บริหาร (EIS) สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2

3 ความหมาย ที่มาและความสำคัญ
ของระบบ GFMIS หัวข้อที่ 1 ความหมาย ที่มาและความสำคัญของระบบ GFMIS สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3

4 แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผน
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ 2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงินและการพัสดุ 3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล 4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐสามารถนำบริการที่ดีมีคุณภาพสูงไปสู่ประชาชน มีระบบการทำงานและเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงเท่าเทียมกับมาตรฐานสากล และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามีแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผนคือ 1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ 2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงินและการพัสดุ 3.แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล 4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย 5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรและคนในองค์กร 5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรและคนในองค์กร สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 4

5 แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผน
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ แผนงาน 2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน และการพัสดุ แผนเงิน แผนงานที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด คือ แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “แผนงาน” และแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน และการพัสดุ หรือที่เรียกว่า “แผนเงิน” ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กันไป แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานภาครัฐได้กำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารไปสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) โดยตั้งประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน มีการวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบทั้งในแง่ของประสิทธิผล ประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยมีตัวชี้วัดผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเปิดเผยผลการดำเนินการของภาครัฐให้แก่สาธารณชน เป็นการยืนยันความรับผิดชอบและความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 5

6 แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผน
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ ภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหาร ไปสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) การวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดตัวชี้วัดผลงานอย่างเป็นรูปธรรม การเปิดเผยผลการดำเนินการของภาครัฐให้แก่สาธารณชน เป็นการยืนยันความรับผิดชอบและความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ แผนงานที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด คือ แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “แผนงาน” และแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน และการพัสดุ หรือที่เรียกว่า “แผนเงิน” ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กันไป แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานภาครัฐได้กำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารไปสู่การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM) โดยตั้งประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน มีการวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบทั้งในแง่ของประสิทธิผล ประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยมีตัวชี้วัดผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเปิดเผยผลการดำเนินการของภาครัฐให้แก่สาธารณชน เป็นการยืนยันความรับผิดชอบและความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 6

7 แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผน
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน บัญชีและการพัสดุ แผนเงิน วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น เป้าหมาย ให้มีระบบบัญชีที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเห็นข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อ ในส่วนของแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุนั้น รัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น โดยมีเป้าหมาย ให้มีระบบบัญชีที่สะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความเป็นจริง พร้อมทั้งจัดทำระบบการเบิกจ่ายใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกับระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างและระบบงานอื่นๆ เพื่อทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของรัฐรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเห็นข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 7

8 แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐประกอบด้วยแผนงานหลัก 5 แผน
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีการบริหารงานภาครัฐ แผนงาน 2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน บัญชีและการพัสดุ แผนเงิน วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น เป้าหมาย ให้มีระบบบัญชีที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเห็นข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อ ในส่วนของแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุนั้น รัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรม มีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น โดยมีเป้าหมาย ให้มีระบบบัญชีที่สะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความเป็นจริง พร้อมทั้งจัดทำระบบการเบิกจ่ายใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกับระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างและระบบงานอื่นๆ เพื่อทำให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของรัฐรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเห็นข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 8

9 มารู้จัก GFMIS กันเถอะ
เป็น เครื่องมือ ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การ บริหารงานการคลัง ภาครัฐ และ สามารถใช้เป็น ข้อมูลในการตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายการคลัง ( ซึ่งเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่รัฐบาล ใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ) ได้อย่างทันท่วงที G Government F Fiscal M Management I Information S System สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 9

10 นโยบายรัฐบาล นโยบายเศรษฐกิจ
1. นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค 2. นโยบายสร้างรายได้ 3. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ 4. นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชน การบริหารจัดการระบบขนส่งสินค้าและบริการ 5. นโยบายพลังงาน 6. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ 3. นโยบายเศรษฐกิจ 4. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค 1. สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสาน นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล 2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน 3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ 4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ 5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการ ฯลฯ 6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 10

11 นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค (7 เรื่อง)
ดำเนินการกระจายรายได้และสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการ เจริญเติบโตของ เศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคาและการจ้างงาน (กค. ธปท. สศช.) 2. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน (สถาบันการเงิน) 3. พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ - ให้เข้มแข็ง (ธปท.) 4. ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม สร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว (กค.) 5. ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้ เหมาะสม มีระบบการบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ (กค.) - โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมาย การเงินการคลังของรัฐเพื่อเป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี 11

12 นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค (ต่อ)
6. ปรับโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มี ปัญหาฐานะการเงิน (กค. โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) - โดยการลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับ ดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงินและการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 7. บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ (กค.) 12

13 นโยบายเศรษฐกิจมหภาค - สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสาน นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน (Monetary policy)           นโยบายการเงิน คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลด-เพิ่มปริมาณเงินใน ระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้ แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด-เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็น หน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนด ทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงิน 13

14 นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง (Fiscal policy)
นโยบายเศรษฐกิจมหภาค - สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสาน นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง (Fiscal policy)            นโยบายการคลัง คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยในการจัดหารายได้ของรัฐบาลจะมาจากการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ จากทั้งผู้ผลิต เช่น ภาษีนิติบุคคล ที่เก็บจากบริษัทห้างร้านต่างๆ หรือการจัดเก็บจากผู้บริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันว่า VAT หรือจัดเก็บจากผู้มีรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีภาษีอีกหลายประเภท เช่น ภาษีสรรพสามิต ที่จัดเก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ บุหรี่ สุรา ไพ่ หรือภาษีนำเข้าเก็บจากสินค้านำเข้า เช่น ภาษีรถยนต์ น้ำหอม นาฬิกา และเครื่องสำอางค์ เป็นต้น 14

15 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
นโยบายเศรษฐกิจมหภาค - สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสาน นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุล เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - ภาวะที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆ มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม สอดคล้อง และไม่ผันผวนจนเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ 15

16 เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค
1. ไม่ต้องการให้เงินเฟ้อสูงเกินไป เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การประกอบอาชีพของประชาชน (เงินเฟ้อพื้นฐาน (0.5 – 3.0) เม.ย. 58 : 1.02%) 2. ไม่ต้องการให้มีการว่างงานมากเกินไป (อัตราการว่างงาน ปี 57 = 0.85% ) 3. ไม่ต้องการให้มีหนี้สาธารณะสูงเกินไป ( ณ 31 มีนาคม หนี้สาธารณะ 5.73 ล้านล้านบาท หรือ 43.33% ของ GDP (ประมาณการ GDP ล้านล้านบาท)) 4. อัตราแลกเปลี่ยน / ค่าเงินบาท ไม่ขึ้นลงเกินไป (33.92 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ณ 27 พ.ค. 58) 5. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน % ณ 27 พ.ค. 58) 16

17 ทุนสำรองระหว่างประเทศ
เงินตราต่างประเทศที่สะสมอยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 14 พ.ย. 57 = 5,228.3 พันล้านบาท ธปท. ถือครองทองคำ 130 ตัน คิดเป็น 3 % ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ ปัจจุบัน 17

18 ปัจจัยที่จำเป็นและพอเพียงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกตลาด 3. การดูแลการนำกฎหมายมาปฏิบัติใช้อย่างจริง 4. การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 18

19 นโยบายการคลัง นโยบายการคลังถือเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล เพราะ รัฐบาลจะใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนและ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายการคลัง คือ การกำหนดเป้าหมายและการดำเนิน นโยบายได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับเวลา สถานการณ์ และดำเนินการได้ อย่างทันท่วงที 19

20 นโยบายการคลัง เป้าหมายของการดำเนินการนโยบายการคลังในระดับเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ มี 3 เป้าหมาย การรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น และความยั่งยืน ในระยะยาว เช่น การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา อัตราดอกเบี้ย อัตรา การจ้างงาน และอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ในระดับที่เหมาะสม การรักษาความสมดุลของเศรษฐกิจ ทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น ความสมดุลของมูลค่าการนำเข้าและส่งออก การรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน และการไหลเข้าออกระหว่างเงินทุนระหว่างประเทศ การจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนอย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ เช่น การลดความเหลื่อมล้ำระหว่างช่องว่างของคนจนและคนรวย การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน และการรักษา สิ่งแวดล้อม 20

21 นโยบายการคลัง แนวทางการดำเนินนโยบายการคลัง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเจริญเติบโตและการรักษาเสถียรภาพและความสมดุลของ เศรษฐกิจ ตลอดจนการกระจายรายได้และจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม มีดังนี้ การหลีกเลี่ยงการขาดดุลทางการคลังและการก่อหนี้มากเกินไป เพราะการชดเชยการขาดดุลของรัฐบาลด้วยการกู้ยืมเงินเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ การก่อหนี้เป็นการเพิ่มภาระรายจ่ายของรัฐบาล หากมีภาระหนี้มากเกินไป จะทำให้รัฐบาลไม่มีเงินเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศ นโยบายการคลังควรมีความยืดหยุ่นเพียงพอต่อการบริหารจัดการ เพื่อรักษาความสมดุลของเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ เพราะการที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาเศรษฐกิจโลก หรือประเทศอื่นมากเกินไป อาจก่อให้เกิด ความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจได้มาก หากเกิดความผันผวนของเศรษฐกิจโลก หรือเศรษฐกิจของ ประเทศที่เราพึ่งพา 21

22 นโยบายการคลัง แนวทางการดำเนินนโยบายการคลัง (ต่อ)
แนวทางการดำเนินนโยบายการคลัง (ต่อ) การเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ควรมุ่งเน้นการขยายฐานภาษีมากกว่าการเพิ่มอัตราภาษี โดยกำหนด อัตราภาษีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นธรรมและมีเสถียรภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนและเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการส่งเสริมการ ลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งสนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการบริโภค การนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะ ส่งผลต่อการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของประเทศให้เกิดการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน 22

23 ที่มาของระบบ GFMIS 1 ตุลาคม 2547 - 6 พฤศจิกายน 2549
7 พฤศจิกายน 2549 สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 23

24 ความรับผิดชอบระบบ GFMIS ของกระทรวงการคลัง
ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ จัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ นำข้อมูลจากรายงานในระบบ GFMIS ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารการคลังภาครัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง Hardware Network Software ความรับผิดชอบระบบ GFMIS ของกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ Hardware Software และNetwork และกรมบัญชีกลางรับผิดชอบกำกับดูแลเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิการใช้งาน และการพัฒนาระบบงานในระบบ GFMIS การให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ ตลอดจนการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ รวมทั้งการนำข้อมูลจากรายงานในระบบ GFMIS ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารการคลังภาครัฐ การที่ระบบ GFMIS สามารถให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐได้นั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาระบบ GFMIS ตลอดจนค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านธนาคารในการเบิกจ่ายเงิน รวมทั้งค่าดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้ใช้งานในระบบ GFMIS สามารถปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและผู้บริหารของหน่วยงานทั้งหน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำข้อมูลจากรายงานในระบบ GFMIS ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 24

25 ความสำคัญของระบบ GFMIS
1. เป็นการยกระดับการทำงานด้านการบริหารงานการคลังของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ 2. เป็นการรองรับการปฏิบัติงานด้านการคลัง 3. มีข้อมูลด้านการคลังของภาครัฐ งานด้านการคลัง 6 ด้าน ระบบงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบการรับและนำส่งเงิน ระบบสินทรัพย์ถาวร ระบบบัญชีแยกประเภท ระบบ GFMIS เป็นระบบที่มีความสำคัญในการบริหารการคลังภาครัฐเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ 1. เป็นการยกระดับการทำงานด้านการบริหารการคลังของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และให้มีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการอย่างครบวงจร โดยการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุน (Back Office) ของหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง 2. เป็นการรองรับการปฏิบัติงานด้านการคลัง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบงบประมาณ ด้านระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านระบบการเบิกจ่ายเงิน ด้านระบบการรับและนำส่งเงิน ด้านระบบบัญชีแยกประเภท และด้านระบบสินทรัพย์ถาวร 3. มีข้อมูลด้านการคลังของภาครัฐ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 25

26 ประโยชน์จากการนำระบบ GFMIS มาใช้ในภาครัฐ
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 26

27 สิทธิการใช้งาน ในระบบ GFMIS
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 27

28 สิทธิการใช้งานในระบบ GFMIS
1. กลุ่มผู้ใช้งานที่มีเครื่อง GFMIS Terminal ใช้งานผ่านบัตร GFMIS Smart Card 2. กลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่มีเครื่อง GFMIS Terminal ใช้งานผ่าน GFMIS Web Online 2.1 ใช้งานผ่านเครือข่าย Internet โดยใช้ผ่านอุปกรณ์ GFMIS Token Key และใส่รหัสผ่าน 2.2 ใช้งานผ่านเครือข่าย Intranet โดยใช้รหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่าน เนื่องจากผู้ที่จะเข้ามาใช้งานในระบบ GFMIS คือ หน่วยงานภาครัฐที่ได้รับเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก และมาจากภาษีอากรของประชาชนซึ่งเป็นเงินกลางของประเทศ ดังนั้นจึงมีระบบรักษาความปลอดภัย ในการเข้ามาทำงานในระบบ กล่าวคือต้องมีอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะมีการกำหนดสิทธิผู้ใช้งานในระบบโดยกำหนดกลุ่มผู้ใช้งานในระบบ GFMIS เป็น 2 กลุ่มหลักๆค่ะ กลุ่มผู้ใช้งานที่มีเครื่อง GFMIS Terminal จะใช้งานผ่านบัตร GFMIS Smart Card กลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่มีเครื่อง GFMIS Terminal จะใช้งานผ่าน GFMIS Web Online และมีช่องทางเพื่อเข้าปฏิบัติงานผ่าน GFMIS Web Online ได้ 2 ช่องทางค่ะ - ช่องทางที่หนึ่งคือใช้งานผ่านเครือข่าย Internet โดยใช้อุปกรณ์ GFMIS Token Key และรหัสผ่านในการเข้าปฏิบัติงาน - ส่วนช่องทางที่สอง ใช้งานผ่านเครือข่าย Intranet โดยใช้ รหัสผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน สำหรับบัตร GFMIS Smart Card อุปกรณ์ GFMIS Token Key และรหัสผู้ใช้งาน สามารถขอรับได้ที่กรมบัญชีกลาง สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 28

29 สิทธิการใช้งานในระบบ GFMIS
ผู้บันทึก – บัตรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชี ผู้อนุมัติ – บัตรผู้อนุมัติการขอเบิกเงินการสั่งจ่ายเงิน และการนำส่งเงินแทนกัน การใช้งานผ่านบัตร GFMIS Smart Card นั้น มีการแบ่งสิทธิการเข้าใช้งานออกเป็น 2 สิทธิ ได้แก่ ผู้บันทึก - ผู้บันทึกนั้นจะมีสิทธิในการบันทึกงานด้านการเงินและบัญชี และด้านพัสดุ ผู้อนุมัติ - ส่วนผู้อนุมัตินั้นจะมีสิทธิในการอนุมัติการขอเบิกเงิน การอนุมัติเพื่อสั่งจ่ายเงิน และนำส่งเงินแทนกัน สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 29

30 การใช้งานผ่าน GFMIS Web Online
รหัสผู้ใช้งาน (xxxxxxxxxx10) + รหัสผ่าน Token Key ผู้บันทึก (สีขาว) ใช้สำหรับบันทึกใบสั่งซื้อสั่งจ้าง ขอเบิกเงิน นำส่งเงิน บันทึกบัญชีแยกประเภท ผ่าน Web Online รหัสผู้ใช้งาน (xxxxxxxxxx01) + รหัสผ่าน 2. Token Key ผู้อนุมัติเบิก P1 (สีฟ้า) ใช้สำหรับการอนุมัติเบิกเงิน รายการขอเบิก เงิน ผ่าน Web Online รหัสผู้ใช้งาน (xxxxxxxxxx02) + รหัสผ่าน 3. Token Key ผู้อนุมัติจ่ายเงิน P2 (สีส้ม) ใช้สำหรับการอนุมัติการจ่ายเงิน รายการขอ เบิกเงิน ผ่าน Web Online ผู้อนุมัตินำส่งเงิน P3 ใช้สำหรับการอนุมัติการนำส่งเงิน รายการ นำส่งเงินแทนหน่วยงานอื่น ผ่าน Web Online รหัสผู้ใช้งาน (xxxxxxxxxx20) + รหัสผ่าน 4. Token Key ผู้บันทึก-พัสดุ (สีเหลือง) ใช้สำหรับบันทึกใบสั่งซื้อสั่งจ้าง ผ่าน Web Online ในส่วนนี้คือ การใช้งานผ่าน GFMIS Web Online ซึ่งจะแบ่งสิทธิการทำงานเป็น 2 สิทธิค่ะ ผู้บันทึก - ผู้บันทึกจะมีสิทธิในการบันทึกรายการ 6 ระบบงาน ได้แก่ ระบบการบริหารงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบการรับและนำส่งเงิน ระบบบัญชีแยกประเภท และระบบสินทรัพย์ถาวร ผู้อนุมัติ - ผู้อนุมัติจะมีสิทธิในการอนุมัติการขอเบิก การสั่งจ่ายเงิน และนำส่งเงินแทนกัน -โดยหน่วยเบิกจ่ายทุกแห่ง จะได้รับสิทธิพื้นฐาน คือ ผู้บันทึกและผู้อนุมัติ (รหัสผู้ใช้งานผู้บันทึก ลงท้ายด้วย 10 Token Key จะเป็นสีขาว,รหัสผู้ใช้งานผู้อนุมัติเบิก P1 ลงท้ายด้วย 01 Token Key จะเป็นสีฟ้า,และรหัสผู้ใช้งานผู้อนุมัติจ่ายเงิน P2 ลงท้ายด้วย 02 Token Key จะเป็นสีส้ม) และเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึก ได้มีการเพิ่มสิทธิด้านพัสดุ (รหัสผู้ใช้งานลงท้ายด้วย 20 Token Key จะเป็นสีเหลือง) และด้านการเงินการบัญชี (รหัสผู้ใช้งานลงท้ายด้วย 30 Token Key จะเป็นสีม่วง) รหัสผู้ใช้งาน (xxxxxxxxxx30) + รหัสผ่าน 5. Token Key ผู้บันทึก –การเงิน (สีม่วง) ใช้สำหรับบันทึกเบิกเงิน นำส่งเงิน ผ่าน Web Online สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 30

31 การใช้งานผ่าน GFMIS Web Online
การบันทึกผ่าน Web Online Internet โดยใช้อุปกรณ์ GFMIS Token Key การบันทึกผ่าน Web Online Intranet โดยใช้ รหัสผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน รหัสผู้ใช้งาน : xxxxxxxxxxYY รหัสผ่าน : ในขั้นตอนนี้ คือ ขั้นตอนการบันทึกผ่าน GFMIS Web Online จะมีวิธีการเข้าปฏิบัติงานผ่าน GFMIS Web Online ได้ 2 ช่องทาง - ช่องทางที่หนึ่งคือการใช้งานผ่านเครือข่าย Internet โดยใช้อุปกรณ์ GFMIS Token Key และมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ ให้นำอุปกรณ์ GFMIS Token Key เสียบที่ช่อง USB Port จากนั้น เข้าเว็บไซต์ และกรอกรหัสผ่าน และเข้าสู่หน้าจอหลักของระบบ GFMIS Web Online - ช่องทางที่สอง คือการใช้งานผ่านเครือข่าย Intranet โดยใช้ รหัสผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน โดยเริ่มจาก เข้าเว็บไซต์ เมื่อเข้าไปแล้วให้กรอกรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน และจะเข้าสู่หน้าจอหลักของระบบ GFMIS Web Online ค่ะ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 31

32 การใช้งานผ่าน GFMIS Web Online
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 32

33 ระบบงาน ในระบบ GFMIS หัวข้อที่ 2 ระบบงานและข้อมูลในระบบ GFMIS
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 33

34 ระบบงานในระบบ GFMIS System Applications Products in Data Processing เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่กำหนดให้ระบบงานมีความเชื่อมต่อในฐานข้อมูลเดียวกัน (ของประเทศเยอรมนี) การบันทึกรายการเป็นแบบ Online Real Time สามารถตรวจสอบ ติดตามสถานะของข้อมูล และรายงานได้โดยไม่ต้องรอให้ปิดบัญชี การตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้ทั้งบนหน้าจอ หรือจากการพิมพ์ มีความยืดหยุ่นในการปรับระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของหน่วยงาน ขั้นตอนการทำงานของทุกระบบเป็นมาตรฐานเดียวกัน ระบบ GFMIS ได้นำโปรแกรม SAP (System Applications Product in Data Processing ) ของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาใช้ เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่กำหนดให้ระบบงานมีความเชื่อมต่อในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งการบันทึกรายการนั้นจะเป็นแบบ Online Real Time สามารถตรวจสอบ ติดตามสถานะของข้อมูล และรายงานได้โดยไม่ต้องรอให้ปิดบัญชี และการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้ทั้งบนหน้าจอเครื่อง หรือการพิมพ์ออกมาก็ได้ค่ะ ทั้งนี้ขั้นตอนการทำงานของทุกระบบจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 34

35 Skills Processes ระบบงานในระบบ GFMIS แยกเป็นส่วนๆ เชื่อมโยงบูรณาการ
บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานในระบบจำเป็นต้องมีทักษะความชำนาญในการบันทึกข้อมูล ซึ่งถ้าบันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ก็จะสามารถนำข้อมูลจากการบันทึกในระบบ GFMIS ไปทำการวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 35

36 ระบบงานในระบบ GFMIS User เป็นผู้บันทึก IT เป็นผู้ดูแล Data Program 5 3
1 Master Data 2 Transaction Data Program 5 Customized Program 3 Authorization Configuration 4 Function Configuration ข้อมูลที่ส่วนราชการบันทึกนั้นมี อยู่ 2 ลักษณะ คือ (1) ข้อมูลที่เป็นข้อมูลหลัก (Master Data) เป็นข้อมูลที่บันทึกเพียงครั้งเดียว ใช้งานได้หลายครั้ง เช่น ข้อมูลหลักผู้ขาย ข้อมูลหลักสินทรัพย์ รหัวบัญชีแยกประเภท รหสเงินฝากคลัง ในกรณีที่ต้องการแก้ไข กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการในระบบ (2) ข้อมูลที่แสดงเป็นแต่ละรายการย่อย (Transaction Data) เป็นข้อมูลที่ส่วนราชการบันทึกแล้วเสร็จเป็นครั้งๆไป เช่น ข้อมูลรายการขอเบิกเงิน ข้อมูลรายการจัดเก็บและนำส่ง รายการขอจ่ายเงิน เป็นต้น ดังนั้นส่วนราชการในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน (User) ซึ่งเป็นผู้เข้ามาบันทึกข้อมูลดังกล่าวข้างต้นในระบบ จึงมีความจำเป็นต้องเรียกใช้ข้อมูลในรูปรายงานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติงานเอง และผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงาน IT เป็นผู้ดูแล 36

37 2. ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Business Warehouse ) Software SAP BW
ระบบงานใน GFMIS 2. ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Business Warehouse ) Software SAP BW MIS EIS 1. ระบบปฏิบัติการ (Operation System) Software SAP R/3 ระบบ GFMIS ระบบงบประมาณ : FM ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง : PO ระบบการเบิกจ่ายเงิน : AP ระบบการรับและนำส่งเงิน : RP ระบบบัญชีแยกประเภท : GL ระบบสินทรัพย์ : FA ระบบงาน GFMIS ประกอบด้วย 2 ระบบงาน คือ (1) ระบบปฏิบัติการ (Operation System ใช้ software SAP R/3) คือระบบที่ผู้ปฏิบัติงานเข้ามาบันทึกรายการ ประกอบด้วยระบบการบริหารงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบการรับและนำส่งเงิน ระบบบัญชีแยกประเภท และระบบสินทรัพย์ถาวร แบ่งออกเป็น 6 ระบบ คือ - ระบบงบประมาณ : FM - ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง : PO - ระบบการเบิกจ่ายเงิน : AP - ระบบการรับและนำส่งเงิน : RP - ระบบสินทรัพย์ : FA - ระบบบัญชีแยกประเภท : GL (2) ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Business Warehouse ใช้ Software SAP BW) คือระบบข้อมูลที่ดึงมาจากระบบปฏิบัติการ เป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร ประกอบด้วยข้อมูลเพื่อการบริหารด้านการเงินการคลัง MIS และ EIS สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 37

38 ระบบงบประมาณ (Fund Management : FM)
3. กระบวนการติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณ 1. กระบวนการวางแผนและ จัดทำงบประมาณ ระบบ GFMIS การติดตามการใช้จ่าย งบประมาณ - เร่งรัดการจ่ายเงินให้ภาครัฐ - จัดทำต้นทุนผลผลิต ระบบ e - Budgeting การวางแผนและจัดทำงบประมาณ ยุทธศาสตร์กระทรวง และหน่วยงาน : Function ยุทธศาสตร์ที่ได้รับ มอบหมาย : Agenda ยุทธศาสตร์พื้นที่ (กลุ่มจังหวัด จังหวัด ภารกิจต่างประเทศ) : Area 2.กระบวนการบริหารงบประมาณ ระบบ GFMIS การบริหารงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การปรับแผนใช้จ่ายเงิน การโอน/เปลี่ยนแปลงงบประมาณ ระบบงบประมาณ (Fund Management : FM) ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับระบบงบประมาณในระบบ GFMIS นั้น จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับภาพรวมระบบงบประมาณของประเทศไทยก่อนนะคะ ระบบงบประมาณของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการที่สำคัญได้แก่ 1.การวางแผนและจัดทำงบประมาณ กระบวนการนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงบประมาณ ซึ่งได้มีการนำระบบงบประมาณแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-budgeting) มาใช้โดยให้ส่วนราชการเข้ามาบันทึกเกี่ยวกับแผนงาน/โครงการ รายการและวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร จำแนกตามยุทธศาสตร์และแผนงานตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2.กระบวนการบริหารงบประมาณ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ซึ่งเป็นกระบวนงานที่เกิดขึ้นหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้แล้ว เป็นส่วนที่ส่วนราชการต้องเข้ามาปฏิบัติงานในระบบ GFMIS โดยสำนักงบประมาณจะส่งข้อมูลที่ส่วนราชการบันทึกในระบบ e-budgeting ตามข้อ 1 มาให้กรมบัญชีกลางเพื่อเป็นวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ซึ่งเป็นการตั้งยอดเงินในระบบ GFMIS เพื่อให้ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ต่อไป ในส่วนของการดำเนินการในระบบ GFMIS ของส่วนราชการนั้น จะมี 2 ส่วนด้วยกัน 1.การปรับแผนการใช้จ่ายเงิน ในระบบ GFMIS ส่วนราชการสามารถเข้ามาปรับแผนการใช้จ่ายเงินในระบบ GFMIS เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กำหนด ส่วนมากกรมบัญชีกลางจะกำหนดให้เข้ามาปรับแผนได้ไม่เกิน 30 มิถุนายน ของแต่ละปี 2.การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณแบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 คือ การโอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณที่เป็นอำนาจของส่วนราชการ ส่วนราชการต้องเข้ามาเปลี่ยนแปลงในระบบ GFMIS กรณีที่ 2 เป็นการโอนเปลี่ยนแปลงในอำนาจของสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณจะเป็นผู้ดำเนินการในระบบ GFMIS 3.การติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณในระบบ GFMIS ส่วนราชการสามารถดึงข้อมูลผลการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS เพื่อนำไปใช้ในการติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและจัดทำต้นทุนผลผลิตต่อไป 38

39 ข้อมูลเสนอซื้อเสนอจ้าง ทำสัญญา/ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง บันทึกบัญชีอัตโนมัติ
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (Purchasing Order : PO) FM ตรวจสอบงบประมาณ ระบบ e-GP PO AP เบิกจ่ายเงิน ข้อมูลเสนอซื้อเสนอจ้าง ทำสัญญา/ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (ตั้งแต่ 5,000.-) FA มูลค่าตั้งแต่ 5,000.- ในส่วนนี้คือ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (Purchasing Order : PO) จะเป็นกระบวนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกรายการก่อหนี้ผูกพัน หรือสัญญาที่มีวงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ซึ่งกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินตรงเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ทั้งนี้ก่อนที่หน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาทำงานในระบบ PO ในระบบ GFMIS หน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามาดำเนินการในระบบ e-GP (e-government procurement) ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงลงนามในสัญญา ซึ่งระบบ e-GP GL บันทึกบัญชีอัตโนมัติ ตรวจรับ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 39

40 ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (Purchasing Order : PO)
การเชื่อมข้อมูล e-GP กับระบบ GFMIS ระบบ GFMIS ระบบ e-GP 1 2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษี สัญญา ข้อตกลง ใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง เลขประจำตัว ผู้เสียภาษี ข้อมูลหลักผู้ขาย 3 เลขที่โครงการ เลขคุมสัญญา ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) 4 5 ตรวจรับ เลขที่คุมตรวจรับ ตรวจรับ ต่อ จะเชื่อมโยงกับระบบ GFMISโดยระบบ e-GP จะส่งข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เพื่อตรวจสอบว่ามีรหัสผู้ขายและข้อมูลหลักผู้ขายอยู่ในระบบ GFMIS แล้วหรือไม่ ในกรณีที่ยังไม่มีข้อมูลดังกล่าว ส่วนราชการต้องสร้างข้อมูลหลักผู้ขายในระบบ GFMIS และส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัญญา ได้แก่ เลขที่คุมโครงการ และเลขที่คุมสัญญา มายังระบบ GFMIS เพื่อสร้างใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) ในระบบ GFMIS และเมื่อมีการตรวจรับงานส่วนราชการต้องเข้าไปตรวจรับงานในระบบ e-GP ก่อน ซึ่งระบบ e-GP จะส่งข้อมูลเลขที่คุมตรวจรับมายังระบบ GFMIS และส่วนราชการก็จะทำการตรวจรับในระบบ GFMIS ได้ และดำเนินการเบิกจ่ายเงินในระบบการเบิกจ่ายเงินต่อไป 6 ข้อมูลการเบิกจ่าย เบิกจ่าย สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 40

41 ระบบการเบิกจ่ายเงิน (Account Payable System : AP)
กรมบัญชีกลาง สนง.คลังจังหวัด (2) บัญชีเงินคงคลังที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ตรวจสอบและอนุมัติรายการขอเบิก สั่งจ่ายผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทย โอนเงินเข้าบัญชี Online บัญชีเจ้าหนี้/ ผู้มีสิทธิรับเงิน (4) บัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงาน (4) หน่วยเบิกจ่าย (1) เมื่อรู้จักระบบ PO แล้ว ต่อมาเราก็มาทำความรู้จักกับระบบการเบิกจ่ายเงินระบบการเบิกจ่ายเงิน (Account Payable System : AP) เป็นกระบวนงานที่ส่วนราชการระดับหน่วยเบิกจ่ายเข้ามาบันทึกในระบบ GFMIS เกี่ยวกับการขอเบิกเงินจากคลังทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณที่ส่วนราชการนำมาฝากคลัง โดยกรมบัญชีกลาง และสำนักงานคลังจังหวัดจะดำเนินการจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังที่กระทรวงการคลังเปิดไว้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยโดย โอนเข้าบัญชีของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน หรือเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงานเพื่อนำไปจ่ายต่อ แล้วแต่กรณี สำหรับขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินการ เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจะอยู่ในบทเรียนที่ 2 นะคะ คือ ระบบการเบิกจ่ายเงิน สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 41

42 ระบบการรับและนำส่งเงิน (Receipt Process : RP) การบันทึกรายการรับเงิน
การนำเงินส่งสาขาธนาคารกรุงไทย นำเงิน และ ใบนำฝากเงิน ส่งธนาคาร ระบบ RP 2 3 4 5 1 การรับเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน บันทึกการรับเงินในระบบ GFMIS การตรวจสอบ ตรวจสอบสำเนาใบนำฝากเงินและ ใบรับเงินจากธนาคาร ตรวจสอบรายงานการนำเงินส่งจากระบบ GFMIS การบันทึกรายการนำส่งในระบบ GFMIS - นำสำเนาใบนำฝากเงิน และ - ใบรับเงินจากธนาคาร มาบันทึก ระบบรับและนำส่งเงิน (Receipt Process : RP) เป็นกระบวนงานที่ส่วนราชการระดับหน่วยเบิกจ่ายเข้ามาบันทึกในระบบ GFMIS เกี่ยวกับการรับและนำส่งเงินที่รองรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับและนำส่งเงินรายได้ ได้แก่ เงินรายได้แผ่นดิน เงินนอกงบประมาณที่ฝากคลัง และเงินเบิกเกินส่งคืน แบ่งเป็น 2 กระบวนงาน คือ กระบวนการรับเงิน และกระบวนการนำส่งเงิน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การบันทึกรายการรับเงิน เมื่อส่วนราชการได้รับเงินและออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ชำระเงินแล้ว ต้องนำรายละเอียดตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน มาบันทึกรายการรับเงินในระบบ GFMIS แยกตามประเภทการรับเงิน 2. การนำส่งเงิน เมื่อส่วนราชการได้รับเงินไว้แล้ว ต้องนำเงินส่งคลังภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดทำใบนำฝากเงิน(Pay In Slip) ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดซึ่งส่วนราชการสามารถดาวโหลดได้จากเว็บไซต์ของ GFMIS และนำเงินส่งที่สาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และเมื่อได้รับใบรับเงิน (Deposit Receipt) จากสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่นำส่งแล้ว ส่วนราชการต้องกลับมาบันทึกรายการในระบบ GFMIS นอกจากนี้ส่วนราชการยังต้องตรวจสอบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay In Slip) และใบรับเงินจากธนาคารให้ถูกต้องตรงกันก่อนบันทึกรายการ พร้อมทั้งตรวจสอบรายงานการนำเงินส่งคลังจากระบบ GFMIS สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 42

43 ประมวลผลสิ้นงวดบัญชี
ระบบสินทรัพย์ถาวร(Fixed Asset : FA) การได้มาของ สินทรัพย์ (2) การตัดจำหน่าย สินทรัพย์ (3) การกำหนด รหัสสินทรัพย์ (1) ประมวลผลสิ้นงวดบัญชี (4) ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset : FA) เป็นกระบวนงานที่ส่วนราชการเข้ามาบันทึกรายการสินทรัพย์ถาวรที่มีมูลค่าขั้นต่ำตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปในระบบ GFMIS ซึ่งจะมีการกำหนดรหัสสินทรัพย์ให้โดยอัตโนมัติ จัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมสินทรัพย์ของส่วนราชการ เป็นไปตามผังบัญชีสินทรัพย์ถาวรตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ในส่วนของการบันทึกการได้มาของสินทรัพย์ถาวรนั้น ส่วนราชการต้องบันทึกข้อมูลการได้มาของสินทรัพย์ถาวร เช่น ได้มาจากการจัดซื้อจัดจ้าง การรับบริจาค เป็นต้น นอกจากนี้ส่วนราชการจะต้องเข้ามาดำเนินการในระบบ GFMIS ซึ่งระบบจะมีการคำนวณค่าเสื่อมราคาเพื่อปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ถาวรให้เป็นปัจจุบัน ในกรณีที่มีสินทรัพย์ถาวรเกิดการสูญหาย หรือมีการรื้อถอน หรือนำไปบริจาค หรือนำไปขายทอดตลาด ส่วนราชการจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจให้ตัดจำหน่าย เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะต้องเข้ามาบันทึกการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ในระบบ GFMIS และระบบจะประมวลผลสิ้นงวดบัญชี สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 43

44 ระบบบัญชีแยกประเภท(General Ledger System : GL)
PO FA 4 1 GL AP 2 RP 3 ประมวลผลสิ้นวัน งบทดลอง งบแสดงฐานะการเงิน 5 ประมวลผลสิ้นเดือน งบทดลอง งบรายได้ค่าใช้จ่าย ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger System : GL) เป็นกระบวนงานที่ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ เมื่อส่วนราชการเข้ามาดำเนินการในระบบ GFMIS ทั้ง 4 ระบบงานดังกล่าว ได้แก่ 1)ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง 2) ระบบการเบิกจ่ายเงิน 3) ระบบการรับและ 4) นำส่งเงิน และระบบสินทรัพย์ถาวร สำหรับการปรับปรุงบัญชี ในระบบ GFMIS นั้น จะมี 2 กรณี ได้แก่ 1. กรณีที่ส่วนราชการบันทึกรายการคลาดเคลื่อนและ 2. กรณีที่เป็นการปรับปรุงสิ้นเดือน หรือ สิ้นปี ตามเกณฑ์คงค้าง 5) การประมวลผลการดำเนินการในระบบ GFMIS นั้น สามารถประมวลผลทุกสิ้นวัน สิ้นเดือนและสิ้นปีได้ โดยจัดทำในรูปงบทดลอง สำหรับการจัดทำในรูปงบการเงินได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน และงบรายได้ค่าใช้จ่ายนั้น ระบบจะประมวลผลทุกสิ้นเดือน และสิ้นปีค่ะ ประมวลผลสิ้นปี งบทดลอง สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 44

45 ข้อมูลในระบบ GFMIS ข้อมูลในระบบ GFMIS
2. ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Business Warehouse ) ใช้ Software SAP BW ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) 1. ข้อมูลในระบบปฏิบัติการ (Operation System) ใช้ Software SAP R/3 ข้อมูลในระบบ GFMIS ข้อมูลในระบบ GFMIS เมื่อหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการในระบบ GFMIS ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกรายการ หรือการอนุมัติก็ตามข้อมูลทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นข้อมูลการเงินการคลังภาครัฐ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (1) ข้อมูลในระบบปฏิบัติการ (Operation System ใช้ software SAP R/3) คือระบบที่ผู้ปฏิบัติงานเข้ามาบันทึกรายการ ประกอบด้วยระบบการบริหารงบประมาณ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบการรับและนำส่งเงิน ระบบบัญชีแยกประเภท และระบบสินทรัพย์ถาวร (2) ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Business Warehouse ใช้ Software SAP BW) คือระบบข้อมูลที่ดึงมาจากระบบปฏิบัติการ เป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร ประกอบด้วยข้อมูลเพื่อการบริหารด้านการเงินการคลัง MIS และ EIS สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 45

46 ความแตกต่างของข้อมูลรายงานในระบบ R/3 และ BW
ข้อมูลแบบ Real Time ข้อมูลตามช่วงเวลา (รายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน) Operational Reporting รายงานสำหรับนำไปต่อยอด การวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีหลากหลายมุมมอง ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน (รายสัปดาห์/รายเดือน/รายปี) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(BW) เป็นรายงานเหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงาน หรือ ผู้บริหารระดับต้น เป็นรายงานเหมาะสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หรือ ผู้บริหารระดับสูง ความแตกต่างของข้อมูลรายงานในระบบ R/3 และ BW 1. ระบบปฏิบัติการ(R/3) เป็นข้อมูลแบบ Real Time ตามการบันทึกรายการของส่วนราชการ และลักษณะรายงานสามารถแสดงได้เป็นรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(BW) เป็นรายงานที่มีหลากหลายมุมมอง สามารถนำข้อมูลไปบริหารจัดการหรือวิเคราะห์ได้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ลักษณะรายงานสามารถแสดงได้เป็นรายสัปดาห์/รายเดือน/รายปี สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 46

47 ความเชื่อมโยงของข้อมูลในระบบ GFMIS
R/3 Web report PC หน่วยงาน Database ส่วนราชการ / สนง.คลังจังหวัด MIS Report (Web Static) BW Business Warehouse Online real time Detail Update on weekly basis Summary Drill down EIS Ready to use : every Monday 6:00 Load data from R/3 : every Friday 20:30 Internet GFMIS Terminal Operation MIS หน่วยงานกลาง (20 User) ผ่านเครื่อง Terminal Intranet (320 User) ช่องทางการเดินของข้อมูลในระบบ GFMIS ซึ่งมี 3 รูปแบบดังนี้ 1.ข้อมูลในระบบปฏิบัติการ (Operation System) เป็นระบบที่ให้ส่วนราชการบันทึกและเรียกดูข้อมูลได้ Online real time โดยสามารถแสดงข้อมูลได้ละเอียดจนถึงเอกสารแต่ละรายการ ตัวอย่างเช่น เอกสารขอเบิกเงิน หรือใบสั่งซื่อสั่งจ้าง เป็นต้น โดยช่องทางการใช้งานผ่านทาง GFMIS Terminal หรือ GFMIS Web online ผ่านเครือข่าย Internet หรือ Intranet โดยข้อมูลที่บันทึกเข้ามานั้น จะถูกเก็บบันทึกเข้าสู่ถังเก็บบันทึกหรือ Database ที่เรียกว่า R/3 2.ข้อมูลในระบบสารนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management Information System : MIS) เป็นระบบรายงานสำหรับผู้บริหาร ซึ่งมีการ Update ข้อมูลเป็นรายสัปดาห์ โดยข้อมูลที่แสดงใน MIS นั้นจะเป็นที่สามารถ Drill down ลงรายละเอียดหรือปรับปรุงมุมมองต่างๆของข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ โดยจะมีฐานข้อมูล (Database) เรียกว่า Business Warehouse (BW) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมาจากการดึงข้อมูลจาก R/3 ทุกวันศุกร์เวลา 20:30 น. เพื่อประมวลผลเป็นรายงานในระบบ MIS ให้หน่วยงานกลางของประเทศ ได้แก่ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานกลางสามารถดูได้ในภาพรวมของทุกหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับนโยบาย นอกจากนี้ เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ส่วนราชการระดับกรม กรมบัญชีกลางจึงได้พัฒนาระบบ MIS ให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกผ่าน Internet ได้ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ เรียกว่า MIS static ซึ่งเป็นรายงานที่ส่วนราชการระดับกรมสามารถเรียกดูข้อมูลการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการของตนเอง 3.ข้อมูลในระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) เป็นการพัฒนาต่อยอดจากระบบ MIS โดยกระทรวงการคลังร่วมกับกรมบัญชีกลางได้นำข้อมูลจากระบบ GFMIS ซึ่งดึงข้อมูลในส่วนของ BW มาจัดทำรายงานในระบบ EIS โดยใช้ซอฟท์แวร์ Cognos ซึ่งระบบ EIS ที่จัดทำขึ้นมีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อผู้บริหารของส่วนราชการระดับกรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามสถานะ การเบิกจ่ายงบประมาณ และเพื่อเพิ่มช่องทางการนำเสนอข้อมูลผมการเบิกจ่ายงบประมาณ ผ่านระบบ Internet โดยใช้เทคโนโลยี Web Based สรุปข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตารางและกราฟแบบต่างๆ ที่ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งผู้บริหารสามารถเลือกดูได้หลายมุมมองตามความต้องการ GFMIS Web Online สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 47

48 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 48

49 ช่องทาง/สิทธิการเรียกรายงาน
1. ช่องทางและสิทธิการเรียกรายงาน MIS 1.1 ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal : MIS สิทธิการใช้งาน (Smart Card) ให้แก่ หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 20 สิทธิ 1.2 ผ่านทาง Internet : MIS Report สิทธิการใช้งาน ให้แก่ หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 270 สิทธิ 2. ช่องทางและสิทธิการเรียกรายงาน EIS - ผ่านทาง Internet : EIS สิทธิการใช้งาน ให้แก่ หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 320 สิทธิ ช่องทาง/สิทธิการเรียกรายงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 1. ช่องทางและสิทธิการเรียกรายงาน MIS 1.1 ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal สิทธิการใช้งาน (Smart Card) ให้แก่หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 20 สิทธิ 1.2 ผ่านทาง Internet สิทธิการใช้งานให้แก่ หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 270 สิทธิ 2. ช่องทางและสิทธิการเรียกรายงาน EIS ช่องทางการเข้าใช้งานผ่านทาง Internet สิทธิการใช้งานให้แก่หน่วยงานกลางและหน่วยงานภาครัฐ 320 สิทธิ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 49

50 1.1 การใช้งานระบบ MIS ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal โดยบัตร Smart Card
อุปกรณ์ที่ได้รับ เครื่อง GFMIS Terminal Smart Reader (ที่อ่านบัตร Smart Card) บัตร GFMIS Smart Card 1.1 การใช้งานระบบ MIS ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal การใช้งานระบบ MIS ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal โดยบัตร Smart Card ให้เสียบบัตร Smart Card ที่ช่อง Smart Reader เข้าสู่ระบบโดยเลือกไอคอน Sap Logon เมื่อเข้าสู่ระบบ ให้ Login เข้าใช้งานตามรูป โดยใส่ Password ตามสิทธิที่ได้รับ และคลิก “OK” วิธีการใช้งาน ระบุ Password และคลิก “OK” สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 50

51 1.2 การใช้งานระบบ MIS ผ่านทาง Internet
Login (ผ่านทาง Internet ที่เว็บไซต์ ระบุ Username Password และคลิก “Submit” 1.2 การใช้งานระบบ MIS ผ่านทาง Internet การใช้งานระบบ MIS ผ่านทาง Internet ให้เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ เมื่อเข้าสู่ระบบให้ Login เข้าใช้งานตามรูป โดยใส่ Username และ Password ตามสิทธิที่ได้รับ และคลิก “Submit” สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 51

52 Login (ผ่านทาง Internet ที่เว็บไซต์ http://eis.gfmis.go.th)
2. การใช้งานระบบ EIS ผ่านทาง Internet Login (ผ่านทาง Internet ที่เว็บไซต์ 2. การใช้งานระบบ EIS ผ่านทาง Internet การใช้งานระบบ EIS ผ่านทาง Internet ให้เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ เมื่อเข้าสู่ระบบให้ Login เข้าใช้งานตามรูป โดยใส่ Username และ Password ตามสิทธิที่ได้รับ และคลิก “ตกลง” ระบุ Username Password และคลิก “ตกลง” สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 52

53 รายงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)
MIS – Management Information System คือ ระบบจัดการสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหาร สามารถเรียกรายงานจาก 2 ช่องทาง ดังนี้ - ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal - ผ่านทาง Internet (MIS Report) MIS – Management Information System คือ ระบบจัดการสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหาร ข้อมูลในรายงานมีตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ ถึงปัจจุบัน สามารถเรียกรายงานจาก 2 ช่องทาง ดังนี้ - ผ่านทางเครื่อง GFMIS Terminal - ผ่านทาง Internet (MIS Report) สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 53

54 ลักษณะเด่นของรายงาน MIS เฉพาะการเรียกผ่านเครื่อง
GFMIS Terminal รายงานในระบบ MIS (เครื่อง GFMIS Terminal) สามารถจัดรูปแบบได้หลายมุมมอง (ตามรูปแบบ Navigation Block ของแต่ละรายงาน) และสามารถ Drill Down ลงรายละเอียดข้อมูลหน่วยงานได้ถึงระดับศูนย์ต้นทุน สามารถจัดรูปแบบรายงาน ตาม Navigation block สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 54

55 รายงานหลักในระบบ MIS รายงานหลักในระบบ MIS ประกอบด้วย
รายงานการบริหารงบประมาณ รายงานการเงินและบัญชี รายงานรายได้แผ่นดิน รายงานตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รายงานเพิ่มเติม สำหรับรายงาน MIS ในเครื่อง GFMIS Terminal นั้น ประกอบด้วย - รายงานการบริหารงบประมาณ - รายงานการเงินและบัญชี - รายงานรายได้แผ่นดิน - รายงานตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล - รายงานเพิ่มเติม สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์

56 รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี อยู่ในกิ่งเมนูรายงานการบริหารงบประมาณ จะเป็นรายงานที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นรายงานที่มีรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐ สามารถแสดงผลได้เป็นแบบภาพรวม ลงรายละเอียดกระทรวง กรม ไปจนถึงหน่วยงานในระดับศูนย์ต้นทุน ทั้งนี้ยังสามารถแสดงผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้ตามพื้นที่ในแต่ละจังหวัดได้ด้วย สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 56

57 รายงานเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รายงานเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี อยู่ในกิ่งเมนูรายงานการบริหารงบประมาณเช่นกัน รายงานแสดงรายละเอียดของเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี และเงินที่ขยายการเบิกจ่าย ของแหล่งเงินตามปีงบประมาณที่กัน/ขยาย การนำข้อมูลรายงานเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีนอกจากต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลที่เสนอแล้ว ควรทำความเข้าใจกับที่มาของข้อมูล เช่น เอกสารสำรองเงินที่รวบรวมมาแสดงในตาราง ได้แก่ เอกสารสำรองเงิน CF หมายถึง การกันเงินเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน หรือการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี งบเงินอุดหนุนทั่วไป เอกสารสำรองเงิน CK หมายถึง การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพันที่มิได้เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเช่าทรัพย์สินและเป็นรายการการที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เป็นรายการที่สามารถขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีมีหนี้ผูกพัน เช่น เงินชดเชยค่าก่อสร้างฯ (ค่า K) ค่าทดแทนที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง พืชผลทางการเกษตร กรณี ทางราชการเวนคืนที่ดิน หรือข้อผูกพันที่มีต่อรัฐวิสาหกิจ เอกสารสำรองเงิน CX หมายถึง การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพัน กรณีที่หน่วยงานไม่มีการจัดทำใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) ในระบบ GFMIS ได้แก่ หน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หน่วยงานที่จัดซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของซึ่งต้องชำระเงินแก่ผู้ขายในต่างประเทศ เป็นต้น สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 57

58 รายงานเบิกจ่ายงบกลาง
รายงานเบิกจ่ายงบกลาง อยู่ในกิ่งเมนูงบประมาณประจำปี เลือก “งบกลาง” รายงานจะแสดงข้อมูลรายงานผลการเบิกจ่ายงบกลางที่อยู่ในความดูแลของกรมบัญชีกลางในระบบ MIS จะแสดงยอดรวมงบประมาณตามพรบ. ที่ได้รับทั้งหมดจะไม่แสดงยอดงบประมาณตามพรบ. ในแต่ละหน่วยงานที่ใช้งบกลาง มีเพียงยอดเบิกจ่ายทั้งสิ้นเท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละหน่วยงานที่ใช้งบกลางมีการเบิกจ่ายไปแล้วเท่าไหร่ การเรียกรายงานผลการเบิกจ่ายงบกลางที่อยู่ในความดูแลของกรมบัญชีกลางสำหรับปีงบประมาณที่ผ่านมานั้น ข้อมูลของปีงบประมาณนั้นๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีการปรับปรุงทางบัญชี ดังนั้น ควรระบุวันที่ในการเรียกข้อมูลไว้ทุกครั้งสำหรับการอ้างอิง สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 58

59 รายงานการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับบุคลากรภาครัฐ
รายงานผลการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรภาครัฐจะแสดงผลการเบิกจ่ายที่ส่วนราชการทำการเบิกผ่านระบบ GFMIS โดยสามารถเลือกให้แสดงเฉพาะหน่วยงานระดับกระทรวง กรม จังหวัด หรือรหัสบัญชีแยกประเภทที่ต้องการได้ เมื่อได้รายงานที่ต้องการแล้วต่อมาคือการทำความเข้าใจของข้อมูลรายงานเพื่อผู้ใช้งานจะสามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างรายงานผลการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 18 กุมภาพันธ์ 2557) สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 59

60 รายงานการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม
รายงานผลการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม อยู่ในกิ่งเมนูรายงานเงินกู้เพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม วงเงินกู้ 350,000 ล้านบาท ซึ่งวงเงินที่ได้รับต้องได้รับการอนุมัติจากมติครม.ก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้จ่ายได้ โดยต้องอยู่ภายใต้งานโครงการที่เสนอมาเท่านั้น สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 60

61 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำหรับผู้บริหาร (EIS)
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 61

62 รายงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำหรับผู้บริหาร (EIS)
EIS – Executive Information System เป็นรายงานที่ออกแบบให้ผู้บริหารระดับสูง อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจทั้งกราฟและตาราง เรียกใช้งานง่ายผ่านทาง Internet ( EIS – Executive Information System เป็นรายงานที่พัฒนาจากระบบ MIS ออกแบบเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง ใช้ดูรายงาน อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ ทั้งกราฟและตาราง สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านทาง Internet ที่เว็บไซต์ ข้อมูลในรายงานมีตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ ถึงปัจจุบัน สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 62

63 หน้าหลักของรายงาน EIS
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์

64 ตัวอย่างรายงานระบบ EIS (รายงาน A)
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 64

65 ตัวอย่างรายงานระบบ EIS (รายงาน B)
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 65

66 ตัวอย่างรายงานระบบ EIS (รายงาน C และ D) รายงาน C และ D (งบเหลื่อมปี)
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 66

67 สำนักกำกับและพัฒนาระบบ การบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมบัญชีกลาง โทร (10 คู่สาย)

68 สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
คำถาม - คำตอบ สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ 68


ดาวน์โหลด ppt ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google