งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Sister Callista Roy’s Adaptation Theory)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Sister Callista Roy’s Adaptation Theory)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Sister Callista Roy’s Adaptation Theory)
อาจารย์ ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี

2 การปรับตัวของสัตว์ชนิดต่างๆ เพื่อพรางตัว

3 การปรับตัวของสัตว์ชนิดต่างๆ เพื่อพรางตัว

4 ข้อตกลงเบื้องต้นเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific assumptions)
บุคคล คือ ระบบของการปรับตัว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ที่ต้องทำงานสอดประสานกันหนึ่งเดียว เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะปรับตัวทำงานตลอดเวลา มีกระบวนการปรับตัว (Adaptation process) และเกิดผลลัพธ์ (Output) ได้แก่ การแสดงออกของบุคคลหรือที่เรียกว่าพฤติกรรม และบุคคลมีความสามารถที่จะปรับตัว อธิบายด้วยทฤษฎีระดับการปรับตัว (Adaptation level theory) (คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2555, หน้า 2).

5 มโนทัศน์หลักของ ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
1. บุคคล (person) บุคคล หมายถึง ชีวะ-จิต-สังคม ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา(Ursavaş, Karayurt & İşeri, 2014) ในระบบของบุคคลนั้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ บุคคลจะเกิดกระบวนการเผชิญปัญหา (Coping process) ซึ่งผลลัพธ์ของการปรับตัวจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมการปรับตัว (behavior) ของแต่ละบุคคลนั่นเอง กระบวนการเผชิญปัญหา (Coping process) กลไกการควบคุม (Regulator subsystem) – เคมี ต่อมไร้ท่อ ประสาท กลไกการคิดรู้ (Cognator subsystem)- อารมณ์ ความคิด การรับรู้

6 รูปแบบการปรับตัว(Mode of adaptation)
การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiologic mode) อากาศ น้ำ สารอาหาร กิจกรรม การพักผ่อนนอนหลับ การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode) ภาพลักษณ์ ความคิด บุคลิกภาพ จิตวิญญาณ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (The role function mode) บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) บทบาททุติยภูมิ (Secondary role) บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role) การปรับตัวด้านการพึ่งพาอาศัย (Interdependence mode) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพ

7 พฤติกรรมการปรับตัว (Behavior)
พฤติกรรมการปรับตัว หมายถึง ผลลัพธ์ของการปรับตัว เป็นการแสดงออกหรือตอบสนองของบุคคลเมื่อได้รับสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ พฤติกรรมการปรับตัวสำเร็จ (adaptive response) พฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพ (ineffective responses)

8 ระดับการปรับตัว ระดับแข็งแกร่ง (integrated)
เป็นระดับที่การปรับตัวของบุคคลขณะที่โครงสร้างและการทำหน้าที่สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างเป็นองค์รวม และสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลได้ ระดับทดแทน (compensatory) เป็นระดับการปรับตัวของบุคคลขณะที่กำลังถูกท้าทายจากสิ่งเร้าภายนอก ทำให้บุคคลต้องมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนตนเอง เพื่อรักษาภาวะสมดุลของร่างกาย ระดับเสียสมดุล (compromised) เป็นระดับการปรับตัวที่ร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะสมดุลได้ หรือล้มเหลว ทำให้กระทบต่อภาวะสุขภาพและการดำรงชีวิต การทำงาน การทำหน้าที่

9 2. สิ่งแวดล้อม (Environment)
หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบๆ ทั้งภายในและภายนอกบุคคล ซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวของบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม (Ursavaş, Karayurt & İşeri, 2014; Jacqueline, 2009) ในที่นี้จะเรียกสิ่งแวดล้อมทีส่งผลต่อบุคคลนี้ว่า “สิ่งเร้า (Stimuli)”

10 สิ่งเร้า (Stimuli) สิ่งเร้าตรง (focal stimuli) หมายถึง สิ่งที่มากระทบบุคคลโดยตรงและส่งผลให้บุคคลนั้นมีการตอบสนองต่อสิ่งนั้นในทันทีทันใด –เช่น โรคมะเร็งเต้านม สิ่งเร้าร่วม (contextual stimuli) เป็นสิ่งเร้าที่อยู่เบื้องหลัง แต่เสริมสร้างหรือมีส่วนร่วมให้สิ่งเร้าตรงมีผลกระทบต่อบุคคลมากขึ้นหรือลดลง –เช่น ต้องตัดเต้านม ต้องให้คีโม สิ่งเร้าแฝง (residual stimuli) หมายถึง สิ่งเร้าที่มากระทบบุคคลแล้ว ไม่ทราบปัจจัยที่มากระทบต่อบุคคลชัดเจนแต่อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลโดยไม่ทราบหรือระบุความรุนแรงได้แน่ชัด เช่น กลัวสามีรับไม่ได้-ไม่ตัด, เชื่อว่าการให้คีโมจะทำให้อายุสั้น-ไม่อยากรักษา

11 3. สุขภาพ (health) สุขภาพ ในแนวคิดของรอย หมายถึง ความคาดหวังของมิติการเป็นอยู่ของบุคคล การแสดงออกถึงสุขภาพและการเจ็บป่วยตามสภาพที่บุคคลเป็นอยู่จริง (Ursavaş, Karayurt & İşeri, 2014; Jacqueline, 2009) สุขภาพ คือ ภาพสะท้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของระบบการปรับตัวที่มีการเจริญเติบโต หรือพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สุขภาพ เป็นกระบวนการปรับตัวที่ลักษณะเป็นองค์รวม ทำให้ระบบการปรับตัวที่มีความแข็งแกร่ง บรรลุเป้าหมาย คือ การมีชีวิตอยู่รอด เจริญเติบโต (คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)

12 4. การพยาบาล (nursing) การพยาบาล เป็น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคล โดยนำความรู้เชิงวิทยาศาสตร์สู่การปฏิบัติการพยาบาลโดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อให้บุคคลเกิดการปรับตัวได้ (Ursavaş, Karayurt & İşeri, 2014; Jacqueline, 2009) จนบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่รอด และสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามต้องการได้ โดยใช้กระบวนการพยาบาล

13 กระบวนการพยาบาลตามทฤษฎีของรอย
การประเมินพฤติกรรมการปรับตัว (assessment of behavior) การประเมินสิ่งเร้า (assessment of stimuli) การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล (nursing diagnosis) การกำหนดเป้าหมายการพยาบาล (goal setting) การกำหนดการบำบัดทางการพยาบาล (intervention) การประเมินผล (evaluation)

14 กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย
สิ่งแวดล้อม/สิ่งเร้า (Environmental Stimuli) สิ่งเร้าตรง สิ่งเร้าร่วม สิ่งเร้าแฝง กระบวนการเผชิญปัญหา (Coping process) 1. กลไกการควบคุม 2. กลไกการคิดรู้ รูปแบบการปรับตัว (Mode of adaptation) การปรับตัวด้านร่างกาย การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ การปรับตัวด้านบทบาท การปรับตัวด้านการพึ่งพาอาศัย การจัดการต่อสิ่งเร้า

15 โจทย์สถานการณ์ ผู้ป่วยหญิงไทยวัย 42 ปี ให้ประวัติคลำพบก้อนที่เต้านมด้านขวา มาประมาณ 2 เดือน และมีก้อนที่รักแร้ร่วมด้วย แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 วางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมและเลาะต่อมน้ำเหลือง ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยหลังได้รับการวินิจฉัยไม่พูดกับใคร รับประทานอาหารได้น้อยลง เก็บตัวและร้องไห้ เมื่อถึงวันนัด ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ตามนัด เมื่อญาติบังคับพามาพบแพทย์ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านม

16 คำถาม 1. จากการประเมินพฤติกรรมการปรับตัว (assessment of behavior) ผู้ป่วยรายนี้มีพฤติกรรมการปรับตัวเป็นอย่างไร 2. จากการประเมินสิ่งเร้า (assessment of stimuli) อะไรเป็นสิ่งเร้าตรง อะไรเป็นสิ่งเร้าร่วมและอะไรเป็นสิ่งเร้าแฝง ที่มีผลต่อการปรับตัวของบุคคลในผู้ป่วยรายนี้ 3. จงระบุข้อวินิจฉัยการพยาบาล (nursing diagnosis)ในผู้ป่วยรายนี้ 4. จงระบุเป้าหมายการพยาบาล (goal setting) ในผู้ป่วยรายนี้ 5. จงระบุการพยาบาล (intervention) ในผู้ป่วยรายนี้

17 อ้างอิง คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2555). หน่วยที่ 7 ทฤษฎีและแนวทางประยุกต์สู่การ ปฏิบัติ: ทฤษฎีเน้นผู้รับบริการ.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา Nursing theory. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศรัณยา แสงมณี, มณี อาภานันทิกุล และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม,(2555). กรณีศึกษา: การปรับตัวของญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำงาน นอกบ้าน.Rama Nurs J,18 (1), Jacqueline, F.,(2009). Using Roy Adaptation Model to guide research and/or practice: construction of conceptual theoretical-empirical system of knowledge. Aquichan, (9)3, Ursavaş, E. F., Karayurt, Ö., & İşeri, Ö., (2014). Nursing approach based on Roy Adaptation Model in patient Understanding breast conserving surgery for breast cancer. J Breast health,10,


ดาวน์โหลด ppt ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Sister Callista Roy’s Adaptation Theory)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google