งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการเขียนภาระงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการเขียนภาระงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการเขียนภาระงาน
ประเมินตีค่างาน เสถียร คามีศักดิ์ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา ปขมท

2 ขอกำหนดกรอบ 1.หน่วยงานเขียนขอกำหนดกรอบ
2.ม.20 พ.ร.บ.อุดม 2547 ให้สภาทุกสถาบันกำหนดกรอบคราวละ 4 ปี 3.การกำหนดระดับสูงขึ้น ต้องสอดคล้องกับกรอบ ประกาศ พ.ศ.2553 ลง 22ธ.ค.53

3 พ.ร.บ ข้อ 20 ให้สภาอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบัน รวมทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง โดยกำหนดคราวละ 4 ปี

4 ประกาศ ก.พ.อ ข้อ 2 การกำหนดระดับตำแหน่งให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้นจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของตำแหน่งเพิ่มขึ้น (งานเพิ่มขึ้น)หรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็น ระดับสูงขึ้น

5 ตำแหน่งใหม่ แยกงานเดิมที่ต้องทำมีงานอะไรบ้าง มีหน้าที่ต้องทำอะไรกับงานนั้น แยกให้เห็นชัดว่ามีงานอะไรที่ต้องทำเพิ่มขึ้น มีกี่งาน มีหน้าที่ทำอะไร แยกให้เห็นชัดว่างานอะไรบ้างที่ต้องเปลี่ยนสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน เดิมทำอะไร ใหม่ทำอะไรกับงานนั้น

6 ภายใต้เงื่อนไข 1.เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด 2.ไม่ทำให้งบประมาณเพิ่ม 3.ไม่มีผลให้อัตรากำลังเพิ่ม 4.ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด

7 ประกาศ ก.พ.อ. 2553ข้อ 3 การกำหนหดระดับตำแหน่ง ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและประเมินค่างาน เพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพของงาน ความยุ่งยากของงาน ความสามารถและประสบการณ์ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน

8 ประกาศ ก.พ.อ. 2553ข้อ 12 กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำตำแหน่งสูงขึ้น โดยมีองค์ประกอบตามที่สภาสถาบันกำหนด ทำหน้าที่

9 หน้าที่ของกรรมการฯ 1.ประเมินค่างานแลกำหนดกรอบตำแหน่ง
2.ประเมินผลสัมฤทธิ์ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ 3.แต่งตั้งผู้อ่าน 4.สรุปผลเพื่อเสนอสภาสถาบัน

10 แบบประเมินค่างาน 4 แบบ 1.แบบประเมินค่างาน ชง/ชงพิเศษ
2.แบบประเมินค่างาน ชก/ชกพิเศษ 3.แบบประเมินค่างาน ชช/ชชพิเศษ 4.แบบประเมินค่างาน หัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพ/ไม่ได้ใช้วิชาชีพ

11 องค์ประกอบแบบ 1/2 1.หน้าที่และความรับผิดชอบ 2.ความยุ่งยากของงาน
3.การกำกับตรวจสอบ 4.การตัดสินใจ

12 องค์ประกอบแบบ 3 ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน
1.1 ความรู้และความชำนาญ 1.2 การบริหารจัดการ 1.3 การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์

13 องค์ประกอบแบบ 3 2. ด้านความสามารถในการตัดสินใจ
2.1 กรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา 2.2 อิสระในการคิด 2.3 ความท้าทายในงาน

14 องค์ประกอบแบบ 3 3. ด้านภาระงานที่รับผิดชอบ 3.1 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.2 อิสระในการปฏิบัติงาน 3.3 ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน 3.4 ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง

15 องค์ประกอบแบบ 4 หน้าที่และความรับผิดชอบ ความยุ่งยากของงาน
การกำกับตรวจสอบ การตัดสินใจ การบริหารจัดการ

16 ขั้นตอนการแต่งตั้งบุคคล
1.ผ่านการประเมินตีค่างาน 2.ผ่านการวัดผลสัมฤทธิ์ 3.ผ่านการวัดความรู้ความสามารถที่จำเป็น-ความรู้เรื่องกฎหมาย/ระเบียบราชการสำหรับตำแหน่งที่จะขอ 4.ผ่านการวัดทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะขอ -การใช้คอมพิวเตอร์ -การใช้ภาษาอังกฤษ -การคำนวณ -การจัดการข้อมูล

17 การแต่งตั้งบุคคล 5.ผ่านการประเมินผลงาน เชิงวิเคราะห์/สังเคราะห์หรือลักษณะอื่น/คู่มือ 6.ผ่านการประเมินผลงานวิจัย 7.ผ่านการประเมินการใช้ความรู้ความสามารถในงานบริการต่อสังคม 8.ผ่านการประเมินความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้น ๆ 9.ผ่านการประเมินจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

18 Concept วิเคราะห์ตีค่างาน
1.งาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ มีงานอะไรเพิ่มขึ้น มีงานอะไรที่เปลี่ยนสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน 1.1 ตรงตามที่ อธิการบดี/คณบดี /ผอไปทำความตกลงกับสภา 1.2 ตรงตามแผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/แผนปฏิบัติราชการ 1.3 ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

19 Concept วิเคราะห์ตีค่างาน
1.4 งานตรงกับตัวประกันคุณภาพการศึกษา 1.5 งาน ต้องใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน 1.6 ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับ ก.ม. 1.7 ต้องใช้ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 1.8 ต้องใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ 1.9 ต้องใช้ทักษะด้านคำนวณ 1.10 ต้องใช้ทักษะด้านจัดการข้อมูล

20 Concept วิเคราะห์ตีค่างาน
2. คุณภาพของงาน -ตามมาตรฐาน 3.งานมีความยุ่งยากซับซ้อน อย่างไร ต้องเอาคนที่มีสมรรถนะอย่างไรมาทำงานลักษณะนี้ 4.งานต้องกำกับตรวจสอบทุกระยะ อย่างใกล้ชิดหรือไม่ 5.การตัดสินใจในการดำเนินงาน ต้องผ่านขั้นตอนอย่างไร

21 เขียนขอประเมินตีค่างาน
เจ้าตัวผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น ต้องเป็นผู้เขียนรายละเอียดประเมินตีค่างาน วิธีการ 1.เขียนแบบเสนอตีค่างานไปพร้อมกับส่งผลงานการขอเป็นระดับสูงขึ้น 2.เสนอประเมินค่างานก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงเสนอผลงานขอเป็นระดับสูงขึ้นอีกครั้ง

22 1.จะมีตำแหน่งชำนาญงาน /ชำนาญงานพิเศษ
2.จะมีตำแหน่งชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ 3.จะมีตำแหน่งเชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ **ต้องวิเคราะห์ภารกิจหน่วยงาน

23 วิเคราะห์ภารกิจหน่วยงาน
ต.ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ กำหนดให้มีได้ทั้งหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันซึ่งเป็นหน่วยงานสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการและหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบัน เช่นหน่วยงานในสำนักงานเลขานุการคณะหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า หน่วยงานในสำนักงานอธิการบดีหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า

24 การวิเคราะห์ภารกิจหน่วยงาน
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบัน ที่เป็นหน่วยงาน สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ และสำนักงานอธิการบดี ดู Career Path

25 วิธีการเขียนขอตีค่างาน
1.เขียนตามแบบที่ ม.กำหนด 2.เอางานมากางว่ามีงานอะไรบ้าง ที่ต้องทำเพื่อนำพาองค์กรที่ อธิการบดี หรือคณบดี/ผู้อำนวยการ ไปแถลงนโยบายไว้ในสภา วิเคราะห์ว่ามีงานอะไรบ้าง

26 การเขียนขอตีค่างาน 3.คนที่ทำงานต้องใช้เป็นคนระดับใด(ชง/ชก/ชช)จึงจะทำงานให้เป็นไปตามยุทธ์ศาสตร์/ตัวชี้วัด/ประกันฯ) 4.งานยุ่งยากซับซ้อนอย่างไร เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือไม่

27 การเขียนขอตีค่างาน 5.งานต่าง ๆ นั้นต้องใช้คนที่มีความรู้ทั่วไป อย่างไร
6. ต้องใช้ความรู้ทาง กม.อย่างไร 7.ต้องใช้ทักษะ อย่างไร

28 ต้องรู้ Career Path สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 เวียน 1430 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน กำหนดไว้ว่า ตำแหน่งใดจะก้าวหน้าไปถึงระดับอะไรได้บ้าง ระบุแต่ละตำแหน่งไว้ทุกตำแหน่ง (บทความ)

29 วิเคราะห์ตีค่างานต้องรู้ลำดับแรก
1.งานเดิมที่ต้องทำอยู่มีงานอะไรบ้าง 2.งานใหม่ที่เพิ่มขึ้น มีงานอะไรบ้าง 3.งานเดิมที่ต้องเปลี่ยนสาระสำคัญในการทำงาน มีงานอะไรบ้าง

30 วิเคราะห์ตีค่างานต้องรู้ลำดับสอง
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ที่กำหนดว่าชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีงานอะไรบ้าง

31 ลำดับที่สามต้องรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการในการทำงาน
2.ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการทำงาน 3.ทักษะในการทำงาน

32 สามต้องรู้ เรื่องทักษะ สมรรถนะ
หนังสือเวียน 2 ลงวันที่ 24 มกราคม เรื่อง แนวทางการกำหนดสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ระดับชำนาญงาน/การ/พิเศษ/เชี่ยวชาญ/พิเศษ กำหนดว่าต้องอยู่ในระดับใด)

33 จะต้องรู้เรื่องแบบประเมิน ชง/ชก
1.ดูเปรียบเทียบ หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งเดิม กับ ตำแหน่งใหม่ 2.วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพ ความยุ่งยากซับซ้อนของงานเดิม กับงานใหม่ 3. วัดที่การกำกับตรวจสอบ ตามแผน 4. วัดการตัดสินใจ เป็นอย่างไร

34 ต้องรู้แบบ ต.ชช/พิเศษ 1.ดูเปรียบเทียบ หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งเดิม กับ ตำแหน่งใหม่ 2.วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพ ความยุ่งยากซับซ้อนของงานเดิม กับงานใหม่ 3. วัดที่ความรู้ความชำนาญงาน การบริหารจัดการ การติดต่อสื่อสาร กรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา อิสระในการคิด ความท้าทายในการคิดแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล อิสระในการปฏิบัติงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่งใหม่

35 ต้องรู้แบบประเมิน ต.หัวหน้าหน่วย ชก/พิเศษ/ชช
1.ดูเปรียบเทียบ หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งเดิม กับ ตำแหน่งใหม่ 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพ ความยุ่งยากซับซ้อนของงานเดิม กับงานใหม่ 3.วัดที่การกำกับตรวจสอบ /การตัดสินใจ/การบริหารจัดการ

36 การวัดผลสัมฤทธิ์ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่ (ระดับเดิมขณะที่ขอรับการพิจารณา) ต้องดูจากผลการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี หรือในรอบ 6 เดือน

37 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานประเภททั่วไป =3
ระดับที่ 1 คือมีความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระดับที่ 2 คือ มีระดับที่ 1 และมีความรู้ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์สูงเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง

38 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานประเภททั่วไป
ระดับที่ 3 คือ มีระดับที่ 2 และมีความรู้ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์ที่สูงมากเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง

39 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
1.ชำนาญงาน ระดับที่ 2 2.ชำนาญงานพิเศษ ระดับที่ 2

40 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพเฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะ=5
ระดับที่ 1 คือ ป.ตรีและสามารถนำองค์ความรู้ที่ศึกษามาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้

41 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน วช/ชช
ระดับที่ 2 คือ มีระดับที่ 1 และมีความรู้ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะและประสบการณ์สูงเฉพาะทางเฉพาะด้าน โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวคิด วิธีการปฏิบัติงาน หรือพัฒนางานในหน้าที่ หรือแก้ไขปัญหาที่มีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง

42 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน วช/ชช
ระดับที่ 3 คือมีระดับที่ 2 และมีความรู้ความสามารถ ชำนาญงาน ทักษะ และประสบการณ์สูงมากเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง โดยใช้หรือประยุกต์ใช้ หลักการ แนวคิด วิธีการปฏิบัติงาน พัฒนางานหรือแก้ปัญหางานที่ยุ่งยากมาก มีขอบเขตกว้างขวาง

43 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน วช/ชช
ระดับที่ 4 คือมีระดับที่ 3 และมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเกี่ยวกับทฤษฏี แนวคิด เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวางหรือถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำได้

44 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน วช/ชช
ระดับที่ 5 คือมีระดับที่ 4 และมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเกี่ยวกับทฤษฏี แนวคิด เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมากหรือถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำได้

45 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน วช/ชช
1.ชำนาญการ ระดับที่ 2 2.ชำนาญการพิเศษ ระดับที่ 3 3.เชี่ยวชาญ ระดับที่ 4 4.เชี่ยวชาญพิเศษ ระดับที่ 5

46 ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานประเภทผู้บริหาร=2
ระดับที่ 1 คือ มีความรู้ความสามารถที่กำหนดระดับที่ 3 ของ วช/ชช ระดับที่ 2 คือมีความรู้ความสามารถที่กำหนดระดับที่ 4 ของ วช/ชช ผู้อำนวยการกอง ระดับที่ 1 ผอ.สำนักงานอธิการบดี ระดับที่ 2

47 ความรู้ด้านกฎหมาย=5 ระดับที่ 1 คือ มีความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการงานประจำที่ปฏิบัติอยู่

48 ความรู้ด้านกฎหมาย ระดับที่ 2 คือ มีระดับที่ 1 และสามารถหาคำตอบในทางกฎหมายได้เมื่อมีข้อสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

49 ความรู้ด้านกฎหมาย ระดับที่ 3 คือ มีระดับ 2 และสามารถนำไปประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาในทางกฎหมาย หรือตอบคำถามข้อสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้

50 ความรู้ด้านกฎหมาย ระดับที่ 4 คือ มีระดับ 3 และมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ รวมทั้งสามารถแนะนำ หรือให้คำปรึกษาในภาพรวมได้

51 ความรู้ด้านกฎหมาย ระดับที่ 5 คือ มีระดับ 4 และมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย สามารถให้คำแนะนำปรึกษา วิเคราะห์เหตุผลและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

52 ความรู้เรื่องกฎหมาย 1.ชำนาญงาน ระดับที่ 1 2.ชำนาญงานพิเศษ ระดับที่ 2
3.ชำนาญการ ระดับที่ 2 4.ระดับชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ระดับที่ 3 5.ผอ.กอง/ผอ.สนอ ระดับที่ 3

53 ทักษะที่จะเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
1.ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 2.ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ 3.ทักษะการคำนวณ 4.ทักษะการจัดการข้อมูล

54 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
1.ชำนาญงาน ต้องอยู่ในระดับที่ 1 2.ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ต้องอยู่ในระดับที่ 2

55 การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5
การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5 ระดับชำนาญงาน ทักษะระดับ 1 คือใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ ระดับชำนาญงานพิเศษ และวช/ชช ต้องมีทักษะระดับ 2 คือ สามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว

56 การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5
การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5 ระดับ3 สามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานได้คล่องแคล่ว ระดับ4 มีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมที่ใช้ หรือสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมเพื่อนำมาพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้

57 การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5
การวัดทักษะ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์=5 ระดับ 5 มีความเข้าใจลึกซึ้ง เชี่ยวชาญในโปรแกรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง หรือสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้

58 การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5
การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5 ระดับชำนาญงาน ทักษะระดับ 1 คือ สามารถ พูด เขียน อ่าน ฟังในระดับเบื้องต้น และสื่อสารเข้าใจได้ ระดับชำนาญงานพิเศษ และวิชาชีพหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทุกระดับ ต้องมีทักษะระดับ 2 คือ สามารถพูด อ่าน ฟัง เขียนและทำความเข้าใจสาระสำคัญของเนื้อหาต่าง ๆ ได้

59 การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5
การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5 ระดับ 3 สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานได้โดยถูกต้องหลักไวยากรณ์ ระดับ 4 เข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งในหลักไวยากรณ์และความเหมาะสมในเชิงเน้อืหา

60 การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5
การวัดทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ=5 ระดับ 5 มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้ง ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา สามารถประยุกต์ไวหารทุกรูปแบบได้อย่างคล่องแคล้ว ถูกต้อง และสละสลวย อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญ ศัพท์เฉพาะด้านในสาขาวิชาของตนอย่างลึกซึ้ง

61 การวัดทักษะ ด้านคำนวณ=5
การวัดทักษะ ด้านคำนวณ=5 ระดับชำนาญงาน ทักษะระดับ 1 คือ คิดคำนวณขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ระดับชำนาญงานพิเศษ และวิชาชีพหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทุกระดับ ต้องมีทักษะระดับ 2 คือ คิดคำนวณขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว สามารถทำความเข้าใจข้อมูลด้านตัวเลขได้

62 การวัดทักษะด้านคำนวณ=5
ระดับ 3 สามารถใช้สูตรคณิตศาสตร์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในการคำนวณข้อมูลด้านตัวเลขได้ ระดับ 4 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และตัวเลขที่ซับซ้อนได้ ระดับ 5 สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อมูลตัวเลขได้ เข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม และอธิบายชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจได้

63 การวัดทักษะ ด้านการจัดข้อมูล=5
การวัดทักษะ ด้านการจัดข้อมูล=5 ระดับชำนาญงาน ทักษะระดับ 1 คือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีระบบ พร้อมใช้ และแสดงผลรายงาน ระดับชำนาญงานพิเศษ และวิชาชีพหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทุกระดับ ต้องมีทักษะระดับ 2 คือ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีระบบ พร้อมใช้ และวิเคราะห์ ประเมินข้อมูลได้

64 การวัดทักษะด้านการจัดข้อมูล=5
ระดับ3 สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ นำเสนอทางเลือก ระบุข้อดีข้อเสีย ฯโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ ระดับ4 สามารถพยากรณ์หรือสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์หรือตีความโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ ระดับ5 สามารถออกแบบเลือกใช้หรือประยุกต์วิธีการในการจัดทำแบบจำลองต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

65 สมรรถนะ 1.สมรรถนะหลัก 2.สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ

66 เกณฑ์การตัดสินสมรรถนะ 2 ด้าน
ชำนาญงาน ต้องได้ในระดับที่ 1 ชำนาญงานพิเศษ ต้องได้ในระดับที2 ชำนาญการ ต้องได้ในระดับที่ 2 ชำนาญการพิเศษ ต้องได้ในระดับที่ 3 เชี่ยวชาญ ต้องได้ในระดับที่ 4 เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้ในระดับที่ 5 และต้องมีวิสัยทัศน์ การวางแผนยุทธ์ศาสตร์ นำการเปลี่ยนแปลง ระดับที่3

67 เกณฑ์การตัดสินสมรรถนะ 2 ด้าน
ผู้อำนวยการกอง ต้องได้ในระดับที่ 3 ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ต้องได้ในระดับที4 หัวหน้างาน สมรรถนะทางการบริหาร ชำนาญการ ต้องได้ในระดับที่ 1 ชำนาญการพิเศษ ต้องได้ในระดับที่ 1 เชี่ยวชาญ ต้องได้ในระดับที่ 2

68 ต้องรู้คะแนนของการตีค่างาน 1.หน้าที่และความรับผิดชอบ= 30
ลำดับ 1 ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความคิดริเริ่มประกอบวิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ ลำดับ 2 ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยาก งาน ที่มีของเขตเนื้อหาค่อนข้างหลากหลายโดยต้องใช้ความคิดริเริ่มในงานที่แนวทางปฏิบัติน้อยมาก 16-20

69 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 3 ปฏิบัติงานที่ยาก หรืองานที่มีขอบเขตเนื้อหาหลากหลาย โดยต้องใช้ความคิดริเริ่มในการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์

70 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 4 ปฏิบัติงานที่ยากมาก หรืองานที่มีขอบเขตเนื้อหาหลากหลาย โดยต้องใช้ความคิดริเริ่มในการกำหนดหรือปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์

71 คะแนนของการตีค่างาน 2.ความยุ่งยากของงาน= 30
ลำดับ 1 ปฏิบัติงานที่ไม่ยุ่งยาก มีแนวปฏิบัติงานที่ชัดเจน ลำดับ 2 ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากซับซ้อนและมีขั้นตอนวิธีการค่อนข้างหลากหลาย

72 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 3 ปฏิบัติงานที่ยากซับซ้อน ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ และประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์

73 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 4 ปฏิบัติงานที่ยากมาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการกำหนดหรือปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติงาน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์

74 คะแนนของการตีค่างาน 3.การกำกับตรวจสอบ= 20
ลำดับ 1 ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด 1-5 ลำดับ 2 ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานบ้าง 6-10

75 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 3 ได้รับการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานเป็นระยะตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติงาน ลำดับ 4 ได้รับการตรวจสอบการ ติดตามผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ 16-20

76 คะแนนของการตีค่างาน 4.การตัดสินใจ= 20
ลำดับ 1 ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจบ้าง 1-5 ลำดับ 2 ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจด้วยตนเองค่อนข้างมากวางแผนกำหนดแนวทาง แก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ 6-10

77 คะแนนของการตีค่างาน ลำดับ 3 ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ลำดับ 4 ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระในการริเริ่มพัฒนาแนวทางและวิธีการปฏิบัติงาน 16-20

78 จะเขียนอย่างไรให้ได้คะแนนสูง
ต้องเขียนให้อยู่ในช่วงคะแนนมาก ๆ ทั้ง 4 องค์ประกอบที่ลำดับ 3 หรือลำดับ 4 และต้องเป็นรูปธรรมมีเอกสารอ้างอิงได้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของระดับที่จะเสนอขอ และต้องเสนอแยกเป็น 4 ด้านคือปฏิบัติงาน วางแผน ประสานงาน บริการ

79 วิเคราะห์ตีค่างานเขียนในแบบ หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่
หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่ 1.งานเดิมที่ต้องทำอยู่ 2.งานใหม่ที่ต้องทำเพิ่ม 3.งานเดิมที่ต้องเปลี่ยนสาระสำคัญในการทำงาน

80 หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่ 1. ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งระดับ ชง ชก ความรู้ระดับใด เคยลาเรียนอย่างไร ต้องใช้องค์ความรู้อะไร หลักการบริหารอะไร แนวคิดอะไร มาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน

81 หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่ 2. ต้องใช้ความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบราชการ หนังสือเวียนอะไรบ้างในการปฏิบัติงาน ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างใด ในการตอบปัญหาอะไร ในการตอบหารืองานอะไร

82 หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่ 3. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้โปรแกรมอะไรบ้าง 4.ทักษะภาษาอังกฤษ ไปดูงานประเทศใดบ้าง สอบTOEFL ได้เท่าไร 5.ทักษะการคำนวณ ใช้เครื่องมือในการคำนวณอะไรได้บ้าง ในงานอะไร

83 หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน หน้าที่และความรับผิดชอบของ ตำแหน่งใหม่ 6. ทักษะการจัดการข้อมูล เคยทำข้อมูลสถิติอะไรบ้าง งานวิเคราะห์อะไรบ้าง รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นสถิติข้อมูลอย่างไร หรือจะทำข้อมูลสถิติอะไร หรือจะทำงานวิเคราะห์อะไร

84 งาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ/งานเพิ่มขึ้น/งานเปลี่ยนสาระสำคัญ
วิเคราะห์ตีค่างาน งาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ/งานเพิ่มขึ้น/งานเปลี่ยนสาระสำคัญ 1. ตรงตามที่ อธิการบดี/คณบดี /ผอไปทำความตกลงกับสภา 2. ตรงตามแผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/แผนปฏิบัติราชการ 3. ตรงตัวชี้วัดประกันคุณภาพการศึกษา 4. ตรงกับตัวชี้วัด KPI อย่างไร

85 วิเคราะห์ตีค่างาน คุณภาพของงาน
1.ต้องตั้งให้ท้าทายกว่าเดิม คุณภาพ คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย ความถูกต้อง ความทันเวลา ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2.คุณภาพที่ต้องระบุให้ชัดเจน ว่าทำอะไร วิเคราะห์งานอะไร สรุปงานอะไร กลั่นกรองงานอะไร จัดทำแผนเชิงรุกอะไร ทำหนังสือเวียนอะไร กรรมการฯ

86 ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่ ต้องเอาสมรรถนะรอง/สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ เพราะสมรรถนะคือตัวพฤติกรรมที่เอามาแก้ไขปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนของงานที่ปฏิบัติ

87 ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่ คิดเชิงวิเคราะห์ จะทำหรือทำงานวิเคราะห์เรื่องอะไร งานอะไรต้องแยกแยะปัญหาอย่างมีระบบและหาสาเหตุของปัญหาในการเสนอวินิจฉัยสั่งการ งานอะไรต้องคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น

88 ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่ ต้องมองภาพรวม งานอะไรต้องคิดเชิงสังเคราะห์ มองภาพรวม หาข้อมูลเกี่ยวโยง เสนอแนวคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน งานอะไรสรุปแนวคิดทฤษฎี องค์ความรู้ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย เช่นระบบเงินเดือน ระบบสวัสดิการ

89 ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่ ต้องสืบเสาะหาข้อมูล งานอะไรบ้างต้องประสานกับหน่วยงานอะไรในการสืบเสาะหาข้อมูล งานอะไรบ้างที่ต้องทำการวิจัยอย่างมีระบบ และผู้เขียนจะทำงานวิจัยเรื่องอะไร และเคยทำวิจัยเรื่องอะไร

90 ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของ งานในตำแหน่งใหม่ ต้องทำงานเชิงรุก งานอะไรบ้างต้องวางแผนเชิงรุก และวางแผนอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ป้องกันปัญหางานอะไรต้องระดมสมองเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา

91 ความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน ความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งใหม่ ต้องตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน งานอะไรบ้างที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอะไรที่เกี่ยวข้อง งานอะไรต้องรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ หรือต้องทำChecklist

92 การกำกับตรวจสอบงานตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน การกำกับตรวจสอบงานตำแหน่งใหม่ งานอะไรบ้างที่ต้องรายงานความก้าวหน้า เป็นระยะตามกำหนดในแผนปฏิบัติงาน งานอะไรที่ต้องได้รับการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของงานตามโครงการ เช่นงานของ ผศ รศ งานพัฒนาบุคลากร งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ งานประเมินผล

93 การตัดสินใจงานในตำแหน่งใหม่
วิเคราะห์ตีค่างาน การตัดสินใจงานในตำแหน่งใหม่ งานอะไรบ้างที่ต้องตัดสินใจอย่างอิสระ งานอะไรบ้างที่เปลี่ยนแนวทางการทำงานได้ งานอะไรบ้างที่ริเริ่มพัฒนางานได้ เช่น งานการกำหนดKPI งานเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน งานการทำวิจัย งานการทำเชิงวิเคราะห์

94 วิเคราะห์ตีค่างาน ทำใบแทรกต่อท้าย งานที่ไม่ได้ทำหน้าเดียว อย่างเดียว งานที่ได้รับมอบหมาย การเป็นกรรมการชุดต่าง ๆ หรือสำเนางานที่เคยปฏิบัติมาแล้ว หรือโครงการงานที่จะทำในอนาคต

95 ฝึกเขียนเสนอประเมินค่างาน
แบบฟอร์มประเมินค่างานของ ต.ชง/ชก/พิเศษ เหมือนกัน มาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะประเมินค่างานสูงขึ้นเป็นตำแหน่งใหม่ แยกเป็น ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน ด้านการบริการ

96 ฝึกเขียนเสนอประเมินค่างาน
3.งานตามข้อ 2 ต้องใช้ความรู้ระเบียบราชการอย่างไร ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายอย่างไร ต้องใช้ทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ คำนวณ จัดกระทำข้อมูลอย่างไร ตามแบบฝึกหัด

97 ฝึกเขียนเสนอประเมินค่างาน
4.หน้าที่และความรับผิดชอบ ต.ใหม่ ยกเอา 2 ระดับที่ให้คะแนนมาก มาไว้ ที่กำหนดว่ายุ่งยากซับซ้อนนั้นเป็นอย่างไรและปรับให้เป็นจริงที่ได้รับมอบหมาย 5.หน้าที่และความรับผิดชอบ ต.เดิม ยกเอา 2 ระดับที่ให้คะแนนน้อยมาวางไว้ และปรับให้เป็นจริงที่ได้รับมอบหมาย

98 ฝึกเขียนเสนอประเมินค่างาน
5.หน้าที่และความรับผิดชอบ ต.ใหม่ นำเอา ความรู้ทั่วไปในการปฏิบัติงาน ความรู้ทางกฎหมาย ทักษะด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ คำนวณ การจัดการข้อมูล ที่กำหนดระดับ1/2/3มาวางไว้ และปรับให้เป็นจริงที่ได้รับมอบหมาย

99 การเขียนเสนอตีค่างาน
ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานที่ยาก หรืองานที่มีขอบเขตเนื้อหาหลากหลาย โดยต้องใช้ความคิดริเริ่มในการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ /หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานยากเป็นอย่างไร

100 หน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนด
งานเดิม เอาองค์ประกอบการให้คะแนน ระดับ ½ ที่ให้คะแนนน้อย มาเขียนในงานเดิม และปรับเช่นปฏิบัติงานระดับต้น มีแนวปฏิบัติ ปฏิบัติงานค่อนข้างยาก โดยอาศัยคำแนะนำมีคู่มือปฏิบัติงานอยู่

101 ปรับเป็นรูปธรรม 1.เป็นงานที่มีแนวทางปฏิบัติ
2.ปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานที่มีอยู่ 3.ปฏิบัติงานภายใต้คำแนะนำของหัวหน้างานและผู้อำนวยการ/เลขานุการคณะฯ 4.คำสั่งที่มอบงานคัดลอกมาใส่ไว้ที่งานเดิม

102 หน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนด
งานใหม่ เอาองค์ประกอบการให้คะแนน ระดับ 3/4 ที่ให้คะแนนมาก มาเขียนในงานใหม่ แล้วปรับเช่นปฏิบัติงานที่ยากฯลฯ

103 ปรับเป็นรูปธรรม 1.เป็นงานทีต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ/แนวทางทำงานอยู่ตลอดเวลา 2.งานที่ปฏิบัติต้องมีการศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 3. งานที่ปฏิบัติต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา และหาสาเหตุของปัญหา เพื่อหาแนวทางการป้องกัน ฯลฯ

104 การเขียนเสนอตีค่างาน
ต้องสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ต.ใหม่ ด้านต่าง ๆ มีด้านใดที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดอะไร ตัวประกันคุณภาพ ของหน่วยงานหรือสถาบันอย่างไร

105 การเขียนเสนอตีค่างาน
คุณภาพของงาน ปริมาณ ระยะเวลาที่ปฏิบัติ ความทันเวลา ความถูกต้อง ร้อยละของความถูกต้อง ความพึงพอใจ การประหยัดค่าใช้จ่าย งานเดิมกำหนดไว้มีคุณภาพอย่างไร งานใหม่ต้องกำหนดให้สูงกว่า หรือเท่าเดิม

106 การเขียนเสนอประเมินค่างาน
ความยุงยากซับซ้อนของงาน ยุ่งยาก ค่อนข้างยุ่งยาก ยุ่งยากมาก ซับซ้อน ค่อนข้างซับซ้อนมาก ยุ่งยากซับซ้อนมาก มีขอบเขตเนื้อหาหลากหลาย ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ ต้องใช้ความคิดริเริ่มในการปรับเปลี่ยนแนวทางวิธีการปฏิบัติงาน เป็นต้น

107 การเขียนความยุ่งยาก .การวิเคราะห์งานว่ามีความยุ่งยากหรือซับซ้อนอย่างนั้นอย่างนี้ จึงนำเอาสมรรถนะที่กำหนดใน ว 2 ลงวันที่ 24 มกราคม 2554 มาทำงานในการแก้ปัญหาความยุ่งยาก คำต่าง ๆ ก็เอามาจากระดับสมรรถนะ มาวางไว้และปรับตามความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรม

108 การเขียนความยุ่งยากรูปธรรม
งานเดิม ปฏิบัติงานที่ไม่ยุ่งยาก มีคำแนะนำ มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน เป็นงานที่ค่อนข้างยากมีแนวทางปฏิบัติหลากหลาย ปรับการเขียนให้เป็นรูปธรรม เช่น เป็นงานมีแบบฟอร์ม ตัวอย่างให้ปฏิบัติที่ชัดเจน การปฏิบัติงาน 2-3 ครั้งต่อปีที่ต้องปรึกษาหารือกับหัวหน้างานและผู้อำนวยการ

109 การเขียนความยุ่งยาก งานใหม่ เป็นงานที่ยุ่งยาก ต้องประยุกต์ใช้ความรู้ และประสบการณ์ในการเลือกใช้วิธีการและแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ เป็นงานที่มีความยุงยากซับซ้อนมากมีความหลากหายและมีขั้นตอนวิธีการที่ยุ่งยากต้องประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ ในการปรับเปลี่ยนวิธีการและแนวทางปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ต้องปรับให้เป็นรูปธรรม เช่น

110 ปรับเป็นรูปธรรม ต้องรับผิดชอบตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ ต้องสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงาน ต้องมีความละเอียดรอบครอบ เอาใจใส่ ตรวจความถูกต้อง ต้องปรับปรุงวิธีการทำงานให้เร็วขึ้น

111 ปรับเป็นรูปธรรม ต้องปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพดีขึ้น จนทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น ต้องกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย และเป็นไปได้ยากเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด ต้องพัฒนาระบบ ขั้นตอน วิธีการทำงาน ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน

112 ปรับเป็นรูปธรรม งานที่ต้องเป็นความลับ
งานที่ต้องเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกาย/จิตใจ งานต้องทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำคู่มือการปฏิบัติงาน ศึกษาวิจัย งานต้องใช้ความรู้ทางวิชาชีพเฉพาะทางเฉพาะด้าน

113 การเขียนเสนอตีค่างาน
ด้านการกำกับตรวจสอบ งานเดิม -ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด -ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานบ้าง -ปรับคือได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบเฉพาะบางเรื่องที่มีความสำคัญ -ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานน้อยมาก

114 การเขียนเสนอตีค่างาน
ด้านการกำกับตรวจสอบใหม่ งานต้องผ่านใครบ้างมีกี่ขั้นตอน งานที่ปฏิบัติต้องรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างไร งานอะไรบ้างที่ต้องผ่านหัวหน้างานตรวจผ่านงาน (ผ่านน้อย/6เดือน 1 ปี/ผ่านหัวหน้าบางเรื่อง คะแนนมาก ตรงข้าม)

115 การตัดสินใจ ปรับงานใหม่
-ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจบ้างโดยจะได้รับคำแนะนำในกรณีที่มีปัญหา -ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจบางส่วนโดยให้มีการรายงานผลการตัดสินใจเป็นระยะ -ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจค่อนข้างมากโดยให้มีการรายงานผลการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญ -ในการปฏิบัติงานมีการตัดสินใจค่อนข้างมาก สามารถวางแผนและกำหนดแนวทางการปฏิบัติและแก้ปัญหา

116 การเขียนเสนอตีค่างาน
ด้านการตัดสินใจ(งานใหม่) งานตัดสินใจโดยคำนึงผลเสียอย่างชัดเจน ตัดสินใจให้บริการพิเศษแก่ผู้รับบริการเพื่อช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ตัดสินใจเองในภารกิจภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ

117 เกณฑ์ตีค่างานชนง/ชนง.พิเศษ
1.หน้าที่ความรับผิดชอบ 30คะแนน 2.ความยุ่งยากของงาน 30คะแนน 3.การกำกับตรวจสอบ20คะแนน 4.การตัดสินใจ20คะแนน

118 ชช/ชช.พิเศษ คะแนนตัดสิน
ชช/ชช.พิเศษ คะแนนตัดสิน ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ=170 ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ=235

119 คะแนนตัดสิน หัวหน้าหน่วยระดับชำนาญการ=60
หัวหน้าหน่วยระดับชำนาญการพิเศษ=70 หัวหน้าหน่วยระดับเชี่ยวชาญ=80

120 ประกาศ ก.พ.อ.ข้อ3(3) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ในกรณีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพ/ไม่ใช้วิชาชีพ ต้องประเมินค่างาน

121 ประกาศ ก.พ.อ.ข้อ5(ข) กรณีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะใช้วิชาชีพ/ไม่ใช้วิชาชีพ ดำรงตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงาน ต้องประเมินฯ ผลสัมฤทธิ์ /แนวคิดในการพัฒนางาน ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ ทางการบริหาร

122


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการเขียนภาระงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google