ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสุดา สมิท ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ชี้แจงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล การกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์
กลุ่มพัฒนาสหกรณ์ออมทรัพย์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า 5 มีนาคม 2561
2
ระเบียบวาระการประชุม ชี้แจงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์
ระเบียบวาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ 2.1 ผลการสำรวจข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ 2.2 วิธีการใช้ไฟล์ข้อมูล (Excel) การกู้และฝากเงินระหว่าง สหกรณ์ 2.3 แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่าง สหกรณ์ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.1 มอบให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานส่งเสริม สหกรณ์กรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ และ ๒ ดำเนินการตรวจสอบ/วิเคราะห์ ข้อมูลต้นทางและปลายทางของการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ 3.2 จัดส่งข้อมูลการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์ที่มี สถานะความเสี่ยง ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ
3
ระเบียบวาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ สหกรณ์แต่ละประเภทมีการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างเพิ่มขึ้น จังหวัดไม่มีฐานข้อมูลและข้อเท็จจริงการทำธุรกรรมระหว่าง สหกรณ์ (สหกรณ์ต้นทางและสหกรณ์ปลายทาง) เพื่อใช้ในการ แนะนำส่งเสริมและส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าแก่สหกรณ์ ทำการสำรวจข้อมูลดังกล่าวเมื่อเดือนมกราคม 2561
4
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ 2
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ 2.1 ผลการสำรวจข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ ตามหนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ด่วนที่สุด ที่ กษ 1106/206 ลง วันที่ 10 มกราคม เรื่องขอให้จัดเก็บข้อมูลการฝากและ การกู้เงินระหว่างสหกรณ์ เพื่อให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุก จังหวัดและสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และ พื้นที่ 2 มีฐานข้อมูล รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางสามารถใช้ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางการเงินของระบบสหกรณ์ในภาพรวม ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดย จัดเก็บข้อมูลการรับฝากเงินและการให้กู้ยืมเงินระหว่างสหกรณ์ทุก แห่งในพื้นที่(สหกรณ์ทุกประเภท) และให้จัดส่งข้อมูล ตาม แบบฟอร์มที่กำหนดที่ส่งมาทางอีเมล์เป็น Excel File ภายในวันที่ มกราคม ๒๕๖๑ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด จำนวน 76 จังหวัด และสำนักงาน ส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และพื้นที่ 2 ได้รายงาน ข้อมูลการรับฝากเงินและการให้กู้ยืมเงินระหว่างสหกรณ์ทุกแห่งใน พื้นที่แล้ว จำนวน 6,866 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99 ของสหกรณ์ ภายในประเทศทั้งระบบที่ยังมีการดำเนินธุรกิจ
5
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ (ต่อ). 2
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ (ต่อ) วิธีการใช้ไฟล์ข้อมูล (Excel) การกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ 2.3 แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์
6
ขั้นตอนการใช้ไฟล์ข้อมูล
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล “ต้นทาง” + “ปลายทาง” จังหวัด : จังหวัด สอ.... : สอ.... หากข้อมูลไม่ถูกต้อง - ส่งข้อมูลแก้ไขตามแบบที่กำหนดในไฟล์ TRNSC_EDIT_( ชื่อจังหวัด) โดยให้ตรวจสอบ รวบรวมการแก้ไขข้อมูลและส่งมาในคราวเดียว ทั้งนี้การแก้ไข ให้แก้ไขข้อมูลตามแบบที่กำหนดเท่านั้น เนื่องจากไฟล์ไม่ สามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลตามแบบายงานเก่าได้ อีกทั้งต้องมี การตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด และปริมาณข้อมูลทั้งประเทศมี จำนวนมาก ** จังหวัด/พื้นที่ ควรมีการอัพเดทฐานข้อมูลการกู้เงินและฝากเงิน ระหว่างกันของสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริม และกำกับดูแลสหกรณ์ในความรับผิดชอบของพื้นที่/จังหวัด หากมีสิ่ง ผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะทำให้สามารถแก้ไขได้ทันเวลา และหากผู้บริหาร ต้องการข้อมูลการกู้เงินและฝากเงินระหว่างกันของสหกรณ์ในจังหวัด/ พื้นที่ ของท่าน สามารถมีข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารได้
7
แนวทางการวิเคราะห์ ดูธุรกรรมสหกรณ์ในความรับผิดชอบ
เจาะเข้าไปในรายธุรกรรม โดยเริ่มจากธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง ที่สุดก่อน ดูข้อมูลการเงินสหกรณ์ที่รับผิดชอบ 3 ปีย้อนหลัง เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง ใน เบื้องต้นแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง ให้ประสานไปยัง จังหวัดคู่ธุรกรรมเพื่อตรวจสอบรายการธุรกรรมดังกล่าว พร้อมให้จังหวัด คู่ธุรกรรม วิเคราะห์ฐานะการเงินและ สะท้อนความเสี่ยงของสหกรณ์คู่ธุรกรรมส่งกลับมา
8
แนวทางการดูข้อมูลการเงิน
สหกรณ์ต้นทาง ธุรกรรม(รับฝาก+กู้ยืมเงิน)กับต้นทางต่อสินทรัพย์ปลายทาง (ไม่ควรมีสัดส่วนที่สูง) ธุรกรรม(รับฝาก+กู้ยืมเงิน)กับต้นทางต่อหนี้สินปลายทาง ธุรกรรม(นำเงินไปฝาก+ให้กู้ยืมเงิน)ต้นทางต่อสินทรัพย์ปลายทาง (ไม่ควรมีสัดส่วนสูง) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ไม่ควรมีสัดส่วนที่สูง) ขาดทุนติดต่อกันหรือไม่ (ไม่ควรขาดทุนติดต่อกัน) ทุนสำรองมีแนวโน้มลดลงหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ทุนเรือนหุ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ รายได้มีแนวโน้มลดลงหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง) ทางใช้ไปของเงิน ใช้ไปกับการลงทุนมากกว่าลูกหนี้เงินกู้หรือไม่ หนี้สิน – เงินกู้ยืม = เงินรับฝาก (เงินรับฝากควรมากกว่าเงินกู้ยืม) สหกรณ์ปลายทาง ธุรกรรม(รับฝาก+กู้ยืมเงิน)กับปลายทางต่อสินทรัพย์ต้นทาง (ไม่ควรมีสัดส่วนที่สูง) ธุรกรรม(รับฝาก+กู้ยืมเงิน)กับปลายทางต่อหนี้สินต้นทาง ธุรกรรม(นำเงินไปฝาก+ให้กู้ยืมเงิน)ปลายทางต่อสินทรัพย์ต้นทาง (ไม่ควรมีสัดส่วนสูง) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ไม่ควรมีสัดส่วนที่สูง) ขาดทุนติดต่อกันหรือไม่ (ไม่ควรขาดทุนติดต่อกัน) ทุนสำรองมีแนวโน้มลดลงหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ทุนเรือนหุ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ รายได้มีแนวโน้มลดลงหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง) ค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ไม่ควรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง) ทางใช้ไปของเงิน ใช้ไปกับการลงทุนมากกว่าลูกหนี้เงินกู้หรือไม่ หนี้สิน – เงินกู้ยืม = เงินรับฝาก (เงินรับฝากควรมากกว่าเงินกู้ยืม)
9
แนวทางการเขียนรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน
สหกรณ์ต้นทาง ธุรกรรมนำเงินไปฝากกับคลองจั่นต่อสินทรัพย์ดอยสะเก็ด สูงถึง 57% แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ครูดอยสะเก็ดเอาเงิน ของสหกรณ์มากกว่าครึ่งที่มีไปไว้ที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เพียงแห่งเดียว มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินคืนและอาจ ส่งผลต่อการดำเนินงานในอนาคตหากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลอง จั่นไม่สามารถคืนเงินฝากได้ (เพิ่มเติม ทำไมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครู ดอยสะเก็ดนำเงินไปฝากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นสูงขนาดนี้ มี ความผิดปกติ ???) และควรมีการตรวจสอบผลการประชุม คณะกรรมการ หรือมติการประชุมใหญ่ หรือใครเป็นผู้อนุมัติการนำ เงินไปฝากเป็นต้น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 4.38 เท่า ซึ่งสูงเกินไป สะท้อนให้ เห็นว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูดอยสะเก็ดดำเนินธุรกิจโดยพึ่งพา หนี้สินมากกว่าพึ่งพาทุนของสหกรณ์เองและยังมีช่องว่างดังกล่าวสูง มาก และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูดอยสะเก็ดทั้งที่มีหนี้สูง ก็ยังนำ เงินไปฝากสหกรณ์อื่นอีก (เฝ้าระวัง) ขาดทุนติดต่อกันเกิน 3 ปี ส่งผลให้ทุนสำรองลดลง มีความเสี่ยงต่อ เจ้าหนี้ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูดอยสะเก็ด ที่ไม่สามารถหา กระแสเงินสดมาชำระหนี้เจ้าหนี้ได้ รวมถึงสมาชิกที่ฝากเงินกับ สหกรณ์ (เฝ้าระวัง)
10
แนวทางการเขียนรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน
สหกรณ์ต้นทาง (ต่อ) ทุนลดลงจากการขาดทุนสะสม รายได้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ปี – 2559 เท่ากับ 103% 183% 157% ตามลำดับ จะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของปี 2558 กระโดดขึ้นมาที่ 183% จากปีก่อน หน้า เพราะอะไร ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงทางการเงินที่ ชัดเจน (ผู้วิเคราะห์ต้องหาคำตอบ เช่น รายงานประจำปี งบ การเงิน รายงานการประชุม เป็นต้น) เพื่อหาที่มาถึงความเสี่ยงใน เรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าว (ตั้งข้อสังเกตค่าใช้จ่ายที่สูงมา จากอะไร) ทางใช้ไปของเงิน พบว่าใช้ไปกับการลงทุนมากกว่าลูกหนี้เงินกู้ มากกว่าหลายเท่าตัว (ใช่บทบาทของสหกรณ์หรือไม่ หากสหกรณ์ ดังกล่าวเป็นสหกรณ์ที่อยู่ในรูปแบบสหกรณ์การเงิน ลงทุนสูงกว่า ลูกหนี้เงินกู้สูงถึง เท่า (สหกรณ์ทำอะไร ??) ** กรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ยิ่งไม่ควรเกิดขึ้นในลักษณะนี้ เนื่องจาก การดำเนินธุรกิจมีข้อจำกัดมากกว่าสหกรณ์ประเภทอื่น
11
แนวทางการเขียนรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน
สหกรณ์ต้นทาง (ต่อ) เงินกู้ยืมกับเงินรับฝากของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูดอยสะเก็ด มี มูลค่าใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ต้องดูว่า เงินรับฝากส่วนใหญ่ เป็นเงินรับฝากสมาชิกหรือไม่ ถ้าไม่ใช่อาจจะมีความเสี่ยงอย่างไร เพราะหนี้ส่วนใหญ่ มาจากภายนอก สหกรณ์ปลายทาง ให้วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินสหกรณ์ปลายทาง ในลักษณะเดียวกับ สหกรณ์ต้นทาง ปัจจุบัน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ทุนของสหกรณ์ติดลบสูงถึง 13,000 ล้านบาท สรุป มีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับชำระเงินดังกล่าวคืนทั้งจำนวนใน อนาคต ให้สหกรณ์ทำแผนในเรื่องดังกล่าว ในการทยอยเอาเงิน ดังกล่าวออกมา หากไม่สามารถถอนออกมาได้จะกระทบต่อสภาพคล่อง ของสหกรณ์หรือไม่ สหกรณ์มีแผนรองรับหรือไม่อย่างไร
12
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.1 มอบให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานส่งเสริม สหกรณ์กรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ และ ๒ ดำเนินการตรวจสอบ/วิเคราะห์ข้อมูลต้นทางและปลายทาง ของการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ เข้าตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์ที่มีสถานะ ความเสี่ยง และรายงานให้กรมทราบ
13
แบบประเมินการประชุมทางไกล (Conference)
ชี้แจงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลการกู้และฝากเงินระหว่างสหกรณ์ *** ให้ผู้เข้ารับการประชุมทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมทางไกล (Conference) กรอกแบบประเมินนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม น.ส.กัญญณัช ดิเรกศิลป์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นายอภินพ ยะศะนพ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ นายอิชยา อุดมกิจแจ่มเลิศ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ น.ส.ชญานันท์ เลิศวีรนนทรัตน์ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาสหกรณ์ออมทรัพย์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า โทรศัพท์ อีเมล์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.