ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสุจิต บุตโต ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cross Border Transport Agreement: GMS CBTA) และโครงข่ายเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางถนนหลักของอาเซียน นางสาวมาลัย กรแก้วสมนึก นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558
2
หัวข้อนำเสนอ ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอาเซียน ความตกลง CBTA
5
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025
สินค้า บริการ การลงทุน การเงิน การพัฒนาตลาดทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือและนักธุรกิจ การปรับมาตรฐาน การทบทวน/ปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี การขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความร่วมมือ เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก AEC 2025 เศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง มีความสามารถในการแข่งขันมีนวัตกรรมและมีพลวัต ขยายความร่วมมือและการรวมตัวรายสาขา สามารถในการปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วนและ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส การขนส่ง โทรคมนาคม การเงิน พลังงาน การท่องเที่ยว การเสริมสร้างความแข็งแกร่ง SMEs ลดช่องว่างการพัฒนา การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
6
สถานะโลจิสติกส์ในอาเซียน
กระทรวงการต่างประเทศกับแผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันภายในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity-MPAC) ปี 2552 ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันภายอาเซียน (ASEAN Connectivity) ปี 2553 รับรอง MPAC เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงาน AEC Blueprint และเสริมสร้างการดำเนินการไปสู่ประชาคมอาเซียน สาระสำคัญของ MPAC เป็นความเชื่อมโยง 3 ด้าน คือ 1) การเชื่อมโยงด้านกายภาพ รวมถนน ระบบราง ท่าเรือ ทางอากาศ พลังงาน และ ICT 2) การเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ และ 3) การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน เป็นการเชื่อมโยงด้านสังคม ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษาและการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงทางถนน การจัดทำโครงการทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network Project) ริเริ่มเมื่อปี 2540 โดยในปี อาเซียนได้ลงนาม MOU ระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน (Ministerial of Understanding on the Development of ASEAN Highway Network Project) ทางหลวงอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (MPAC) เพื่อเชื่อมโยงทางหลวงของประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน เพื่อขยายโอกาสด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว มีทั้งหมด 23 เส้นทาง และทางหลวงอาเซียนยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบ GMS และทางหลวงเอเชีย (Asian Highway)
7
The Greater Mekong Sub-Region (GMS) ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
จัดตั้งปี 2535 (23 ปีก่อน) ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนานและกวางสี) การสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ 2) สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น 3) ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก 9 สาขาความร่วมมือ ดังนี้ 1) คมนาคมขนส่ง 2) โทรคมนาคม 3) พลังงาน 4) การค้า 5) การลงทุน 6) เกษตร 7) สิ่งแวดล้อม 8) การท่องเที่ยว และ 9) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 11 แผนงานสำคัญ ประกอบด้วย 1) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone) แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements) แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment) แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework) แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management) แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
8
11 แผนงานลำดับความสำคัญสูง Flagship Programs
1. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) 2. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) 3. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) 4. แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone) 5. แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements) 6. แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment) 7. แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness) 8. แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies) 9. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework) 10. แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management) 11. แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
9
การเชื่อมโยงในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
GMS – Greater Mekong Sub-region GMS กำหนดแผนงานที่มีลำดับความสำคัญสูง 11 โครงการ ซึ่งรวมเรื่องแผนงานพัฒนาเส้นทางขนส่งทางบก 3 เส้นทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงภายในอนุภูมิภาค คือ 1) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) (1,450 กิโลเมตร) ผ่าน 4 ประเทศ คือ เมียนมา ไทย ลาว และเวียดนาม บนเส้นทางเมาะลำไย เมียวดี แม่สอด มุกดาหาร สะหวันนะเขต และดานัง 2) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) (1,800 กิโลเมตร) ประกอบด้วย 2 เส้นทาง ดังนี้ 1) เส้นทาง R3A ผ่าน จีน ลาว และไทย บนเส้นทางคุนหมิง เชียงรุ้ง โมห่าน บ่อเต็น ห้วยทราย เชียงของ เชียงราย และกรุงเทพฯ และ 2) เส้นทาง R3B ผ่าน จีน เมียนมา และไทย บนเส้นทางคุนหมิง เชียงรุ้ง เชียงตุง แม่สาย เชียงราย และกรุงเทพฯ 3) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) (1,700 กิโลเมตร) ผ่าน 4 ประเทศ คือ เวียดนาม กัมพูชา ไทย และเมียนมา บนเส้นทางโฮจิมินห์ พนมเปญ อรัญประเทศ กรุงเทพฯ และทวาย
10
เส้นทางการค้าโลจิสติกส์
13
ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้
17
รูปแบบการค้าระหว่างประเทศ
1. การค้าทางอากาศ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2. การค้าทางเรือ – ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือระนอง ท่าเรือเชียงแสน 3. การค้าชายแดน (ทางบกและทางเรือ) 4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) 5. สินค้าข้ามแดน 6. สินค้าผ่านแดน
18
การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2557
มูลค่าการค้าชายแดน (ล้านบาท) สัดส่วน ต่อการค้าชายแดนรวม ของไทย (ร้อยละ) อัตราการขยายตัว ปี 57/56 สินค้าส่งออก-นำเข้า มาเลเซีย 507,655.46 61.55 (824,751.51) 1.25 สินค้าส่งออก - ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ ไม้แปรรูป และเครื่องคอมพิวเตอร์ สินค้านำเข้า - สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง เทปแม่เหล็ก และเครื่องคอมพิวเตอร์ เมียนมาร์ 214,387.23 81.34 (263,546.23) 8.90 สินค้าส่งออก –น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ผ้าผืนและด้าย สินค้านำเข้า - ก๊าซธรรมชาติ โค กระบือ แพะ สุกร สัตว์น้ำ ไม้ซุงและผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ ลาว 151,063.69 86.07 (175,508.27) 14.32 สินค้าส่งออก –น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้า - ทองแดงและผลิตภัณฑ์ ไม้แปรรูป ผักและของปรุงแต่งจากผัก ปุ๋ย กัมพูชา 114,465.84 63.51 (164,667.53) 21.98 สินค้าส่งออก –เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ สินค้านำเข้า - ลวดและสายเบิ้ล ผักและของปรุงแต่งจากผัก อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลอื่นๆและส่วนประกอบ ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2558
19
ช่องทางการค้าชายแดน จุดผ่านแดน หมายถึง ช่องทางที่เปิดระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน จุดผ่านแดนถาวร ช่องทางเข้า-ออก เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศ นักท่องเที่ยว และยานพาหนะ สามารถสัญจรไป – มา เพื่อการค้า การท่องเที่ยวและอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทย ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เช่น ด่านแม่สอด (จังหวัดตาก) ด่านท่าเสด็จ (จังหวัดหนองคาย) ด่านช่องจอม (จังหวัดสุรินทร์) ด่านมุกดาหาร และด่านสะเดา (จังหวัดสงขลา) เป็นต้น จุดผ่อนปรนทางการค้า ช่องทางที่รัฐบาลไทยเปิดเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในด้านมนุษยธรรมและส่งเสริมความสัมพันธ์ของประชาชนในระดับท้องถิ่น โดยการผ่อนปรนให้มีการค้าขายสินค้าอุปโภค – บริโภค และยารักษาโรคที่จำเป็น ทั้งนี้ เพื่อผลทางด้านจิตวิทยา จุดผ่อนปรนการค้า ถือเป็นการเปิดฝ่ายเดียว โดยกระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัดออกประกาศเปิดจุดผ่อนปรนการค้า เช่น ด่านห้วยต้นนุ่น (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) ด่านช่องอานม้า (จังหวัดอุบลราชธานี) ด่านบ้านหมอ (จังหวัดหนองคาย) ด่านบ้านสวนส้ม (จังหวัดจันทบุรี) เป็นต้น ช่องทางธรรมชาติ เป็นช่องทางที่ประชาชนในพื้นที่ใช้เดินทางเข้า – ออกข้ามไปมาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นช่องทางที่เปิดเข้า-ออก เพื่อการใดการหนึ่งโดยเฉพาะ ภายในห้วงเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน เฉพาะกิจ สอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ และความเหมาะสมทางการเมือง เมื่อครบกำหนดเวลาหรือบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะแล้ว จะปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทันที ผู้มีอำนาจในการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ (จังหวัดกาญจนบุรี) และด่านบ้านดอนมหาวันห้อม (จังหวัดเชียงราย)
20
โอกาสเศรษฐกิจที่ประตูชายแดน
ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ - ลาว 1,810 กิโลเมตร 12 จังหวัด (เช่น เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี เป็นต้น) - เมียนมาร์ 2,401 กิโลเมตร 10 จังหวัด (เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง เป็นต้น) - กัมพูชา 798 กิโลเมตร 7 จังหวัด (เช่น อรัญประเทศ ตราด จันทบุรี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ เป็นต้น) - มาเลเซีย 498 กิโลเมตร 5 จังหวัด (เช่น สงขลา นราธิวาส และปัตตานี เป็นต้น) พรมแดนชายแดนประเทศยาวรวม 5,500 กิโลเมตร จังหวัดชายแดนไทย 32 จังหวัด (เชียงราย มีพรมแดนติดต่อกับเมียนมาร์และลาว และอุบลราชธานี มีพรมแดนติดต่อกับลาวและกัมพูชา) คิดเป็นร้อยละ 42 ของจังหวัด ทั่วประเทศ
21
เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ในกรอบ GMS
เส้นทางเศรษฐกิจ 3 เส้นทาง ทุกเส้นทาง 4 ประเทศเข้าร่วม แต่ละเส้นทางระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร เรียงลำดับ ดังนี้ 1. ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนาม 2. ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) จีน-ลาว-ไทย และ จีน-เมียนมาร์-ไทย 3. ระเบียงเศรษฐกิจแนวตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เวียดนาม-กัมพูชา-ไทย-เมียนมา SEC EWEC NSEC
22
ในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางถนนในภาคพื้นภูมิภาคอาเซียน
ประเทศไทย มีทำเลที่ตั้ง เป็นจุดยุทธศาสตร์อยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค มีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศที่มีศักยภาพเศรษฐกิจ คือ มาเลเซีย ซึ่งเชื่อมโยงกับสิงคโปร์ และประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นตลาดใหม่และมีทรัพยากรและค่าแรงต่ำ คือ CLMV มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางถนน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ในภูมิภาคเป็นการขนส่งทางถนน ค่าขนส่งทางถนน มีต้นทุนต่ำและขนส่งได้อย่างรวดเร็ว หากโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและกฎระเบียบในอาเซียนเอื้ออำนวย ไทยจะได้ประโยชน์ ในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางถนนในภาคพื้นภูมิภาคอาเซียน
23
สถานการณ์การเชื่อมโยงด้านกายภาพ
อาเซียน โครงการทางหลวงอาเซียน จำนวน 23 เส้นทางที่ได้กำหนดเส้นทางเมื่อปี 2543 และปี 2547 ได้ปรับปรุงทางเป็นถนนมาตรฐานชั้น 3 (ลาดยาง 2 ช่องจราจร รองรับการจราจรวันละ 2,000 คัน) และภายในปี 2563 ปรับปรุงเป็นถนน มาตรฐานชั้น 1 หรือชั้นพิเศษ (ลาดยางหรือคอนกรีต 4 ช่องจราจร รองรับการจราจรได้มากกว่า 8,000 คันต่อชั่วโมง ) กรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) กำหนดแผนงานพัฒนาเส้นทางขนส่งทางบก 3 เส้นทาง ซึ่งเป็นแผนงานนำร่อง 1. East-West Economic Corridor (EWEC) 1,450 กิโลเมตร 2. North-South Economic Corridor (NSEC) 1,800 กิโลเมตร 3. Southern Economic Corridor (SEC) 1,700 กิโลเมตร ขณะนี้ มีการกำหนดเส้นทางแล้ว แต่เส้นทางบางช่วงยังไม่สามารถใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น ส่วนของเส้นทางในเมียนมา ประเทศไทย ปี 2555 เครือข่ายเส้นทางถนน 217,737 กิโลเมตร เชื่อมต่อทั่วประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนมากที่สุด (ร้อยละ 82.17) ทางหลวงมีความยาว 97,903 กิโลเมตร ส่วนที่เป็นทางหลวงของอาเซียน 12 เส้นทาง ระยะทาง 6,669 กิโลเมตร อยู่ในส่วนของเส้นทาง GMS ทั้ง EWEC, NSEC และ SEC กรมศุลกากรได้จัดทำแผนงานพัฒนาด่านศุลกากรรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ 14 ด่าน โดยเป็นด่านต้นแบบ 4 แห่ง และจัดทำฐานข้อมูลสินค้าต้องห้าม รวมถึงระบบ NSW
24
สถานการณ์การเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ
อาเซียน กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (พิธีสาร 7 และ 9 ตามความตกลงการขนส่งสินค้าผ่านแดน) กรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และอยู่ระหว่างการยกร่างกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดน ขณะนี้ กรอบความตกลงข้างต้นยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากบางประเทศยังไม่ได้ให้สัตยาบันกรอบความตกลงฯและพิธีสารบางฉบับภายใต้กรอบความตกลงอยู่ระหว่างการสรุปการเจรจาและให้สัตยาบัน - สำหรับไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร 7 และ 9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน/ข้ามแดน กรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CBTA) ขณะนี้ ความตกลง CBTA ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทัง้นี้ ประเทศสมาชิกได้ตกลงเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภุมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (IICBTA-the Initial Implementation of the Cross-Border Transport Agreement) ณ จุดผ่านแดนนำร่อง ระหว่างประเทศภาคีที่มีดินแดนดิจดต่อกัน 7 จุด เช่น มุกดาหาร-สะหวันนะเขต (ไทย-ลาว) และอรัญประเทศ-ปอยเปต (ไทย-กัมพูชา)
25
พิธีสารแนบท้าย กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
พิธีสาร 1 การกำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (Designation of Transit Transport Routes and Facilities) พิธีสาร 2 การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) พิธีสาร 3 ประเภทและปริมาณรถ (Types and Quantity of Road Vehicles) พิธีสาร 4 ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถ (Protocol 4-Technical Requirements of Vehicles) พิธีสาร 5 แผนการประกันภัยรถภาคบังคับอาเซียน (ASEAN Scheme of Compulsory Motor Vehicle Insurance) พิธีสาร 6 พรมแดนสำหรับรถไฟและสถานีชุมทาง (Railway Border and Interchange Stations) พิธีสาร 7 ระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit System) พิธีสาร 8 มาตรการด้านสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures) พิธีสาร 9 สินค้าอันตราย (Dangerous Goods)
26
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
เดือนพฤศจิกายน 2542 นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาม 3 ประเทศ ไทย ลาว และเวียดนาม ได้ลงนามความ ตกลงสามฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นความร่วมมือในสาขาด้านการคมนาคมขนส่ง ภายใต้กรอบ GMS (มี 9 สาขา) เดือนพฤษภาคม 2544 นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพิ่มสมาชิกอีก 3 ประเทศ คือ กัมพูชา เมียนมาร์ และจีน ทำให้ครบ 6 ประเทศสมาชิก GMS และชื่อใหม่ว่า “ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross Border Transport Agreement – GMS CBTA) วัถตุประสงค์ GMS CBTA เพื่อ 1. อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างสมาชิก 6 ประเทศ 2. ทำให้กฎหมาย กฎระเบียบ กระบวนการและข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร มีความเรียบง่าย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3. ส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลาpรูปแบบ (Multimodal transport)
27
GMS-CBTA ภาคผนวก (Annex) 1. การขนส่งสินค้าอันตราย ( 2. การจดทะเบียนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ (กรมการขนส่งทางบก) 3. การขนส่งสินค้าเน่าเสีย (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 4. การอำนวยความสะดวก ณ จุดข้ามแดน (กรมศุลกากร) 5. การข้ามแดนของบุคคล (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) 6. หลักเกณฑ์ในการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนและสินค้าผ่านแดนในประเทศ (กรมศุลกากร) 7. ข้อบังคับการจราตรและสัญญาณจราจร (กรมทางหลวง/สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) 8. การนำเข้ารถยนต์ชั่วคราว (กรมศุลกากร) 9. หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งสำหรับการประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน (กรมการขนส่งทางบก) 10. เงื่อนไขการขนส่ง (กรมการขนส่งทางบก) 11. มาตรฐานและข้อกำหนดสำหรับการออกแบบถนนและสิ่งก่อสร้างถนนและสะพาน (กรมทางหลวง) 12. จุดผ่านแดนและการอำนวยความสะดวกและการให้บริการในการผ่านแดน (กรมศุลกากร) 13 (a) หลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี) 13 (b) หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งสำหรับการประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน (กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี) 14. กฎเกณฑ์ศุลกากรสำหรับคอนเทนเนอร์ (กรมศุลกากร) 15. ระบบการจัดแบ่งประเภทพิกัดศุลกากร (กรมศุลกากร) 16. หลักเกณฑ์เรื่องใบอนุญาตขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก) พิธีสาร (Protocol) 1. การกำหนดเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศ จุดเข้าและออกประเทศ (กรมการขนส่งทางบก) 2. ค่าธรรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งผ่านแดน (กรมทางหลวง) 3. โควตาการบริการขนส่งและการออกใบอนุญาต (กรมการขนส่งทางบก)
28
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (ต่อ)
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย Asian Development Bank (ADB) เสนอให้ดำเนินการบริเวณจุดผ่านแดนนำร่องระหว่างประเทศภาคีคู่สัญยาที่มีดินแดนติดต่อกัน ได้แก่ ไทย-ลาว ลาว-เวียดนาม ไทย-กัมพูชา และไทย-เมียนมา เดือนสิงหาคม ภายใต้ความตกลง CBTA กำหนดจุดผ่านแดนนำร่องระหว่างประเทศภาคีคู่สัญยาที่มีดินแดนติดต่อกัน ได้แก่ ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา ไทย-เมียนมา ลาว-เวียดนาม กัมพูชา-เวียดนาม จีน-เวียดนาม รวม 7 จุด 1. มุกดาหาร-สะหวันนะเขต (ไทย-ลาว) 2. แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก (ไทย-เมียนมา) 3. แม่สอด-เมียวดี (ไทย-เมียนมา) 4. อรัญประเทศ-ปอยเปต (ไทย-กัมพูชา) 5. แดนสะหวัน-ลาวบาว (ลาว-เวียดนาม) 6. บาเวต-มอกไบ (กัมพูชา-เวียดนาม) 7. เหอโค่ว-ลาวไก (จีน-เวียดนาม)
29
ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (ต่อ)
จัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจในการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งขามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MOU on the Initial Implementation of the Cross Border Transport Agreement- MOU on the IICBTA) เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ในจุดผ่านแดนนำร่อง 7 แห่ง ใช้รูปแบบ Single Window Inspection (SWI) การดำเนินการร่วมกันและพร้อมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เช่น ศุลกากร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เกษตร พาณิชย์ และสาธารณสุข เป็นต้น ในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน หรือ Common Control Area: CCA อาจตั้งในหรือนอกราชอาณาจักรไทย รวมถึงยังมีการประสานเวลาการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจปล่อยสินค้าและบุคคลล่วงหน้า การปรับปรุงขั้นตอน กฎระเบียบพิธีการศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกันและง่ายขึ้น การยอมรับรถและสิทธิการจราจร
30
เส้นทางถนน
31
เส้นทางรถไฟ
32
ท่าเรือ
33
สนามบิน
34
ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
36
นางสาวมาลัย กรแก้วสมนึก
ติดต่อ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.