งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดทำบันทึก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดทำบันทึก."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดทำบันทึก

2 บันทึกเสนอที่ประชุม บันทึกเสนอที่ประชุม คือข้อความที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการใดๆ เขียนสรุปเรื่องเสนอต่อที่ประชุมของคณะกรรมการนั้น เกี่ยวกับเรื่องแต่ละเรื่องที่เสนอ ให้ที่ประชุมทราบ หรือพิจารณา

3 บันทึกเสนอที่ประชุม หลักในการจัดทำบันทึกเสนอที่ประชุม
๑. ลำดับความให้ดี เขียนลำดับเรื่องเป็นข้อๆ ๒. เขียนเนื้อความให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ๓. เน้นส่วนสำคัญของเรื่อง - เสนอสาระสำคัญของเรื่องให้สมบูรณ์ ชัดเจน และเขียนเนื้อความเท่าที่จำเป็น - ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น - ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ

4 บันทึกเสนอที่ประชุม (ต่อ)
๔. เสนอข้อพิจารณา คือข้อความแสดง “การวิเคราะห์เรื่อง” ของผู้ทำบันทึก โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐาน นำมาวิเคราะห์กับหลักเกณฑ์ และเหตุผล เพื่อแสดงว่ามีทางเป็นไปได้อย่างไรบ้างในการดำเนินการเรื่องนั้น ตามประเด็นคำขอ“” ๕. ยกรายละเอียดไปไว้ในเอกสารแนบ

5 การจัดทำบันทึก รูปแบบบันทึก ระบุประเภทเรื่องที่ขอกำหนดตำแหน่ง เช่น
รูปแบบบันทึก ประกอบด้วย ระบุประเภทเรื่องที่ขอกำหนดตำแหน่ง เช่น - การขอกำหนดตำแหน่งรองอธิบดี ในส่วนราชการ เพิ่มขึ้น จำนวน.....ตำแหน่ง - การขอกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้าน ในส่วนราชการ (สำนัก...กรม......) - การขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ระดับต้น ตำแหน่งเลขที่.....กรม ขอกำหนดเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ระดับสูง ตำแหน่งเลขที่เดิมและส่วนราชการเดิม  ชื่อเรื่อง

6 การจัดทำบันทึก ระบุความประสงค์ของส่วนราชการ เช่น
- กรม....ขอกำหนดตำแหน่งรองอธิบดี ตำแหน่งที่.... เพิ่มขึ้น จำนวน.....ตำแหน่ง - กรม....ขอกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้าน.....ในสำนัก...จำนวน ...ตำแหน่ง - กรม....ขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ตำแหน่งเลขที่.....สำนัก..... เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ตำแหน่งเลขที่เดิมและส่วนราชการเดิม  คำขอ

7  เหตุผลและความจำเป็น  รายละเอียดประกอบการพิจารณา
การจัดทำบันทึก  เหตุผลและความจำเป็น ระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขอกำหนดตำแหน่ง เช่น - เป็นส่วนราชการตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ จึงมีความจำเป็นต้องขอกำหนดตำแหน่งอธิบดี และตำแหน่งรองอธิบดี จำนวน ตำแหน่ง - มีภารกิจเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เรื่อง Thailand 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการปรับปรุงหรือมีกฎหมายเฉพาะที่ทำให้ภารกิจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น - กฎหมาย หรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง - หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งเดิม/ใหม่ - เกณฑ์เชิงลึก สำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด เป็นต้น - การศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งกับส่วนราชการอื่นที่มีลักษณะงานเช่นเดียวกันและได้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นแล้ว - รายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รายละเอียดประกอบการพิจารณา

8  ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
การจัดทำบันทึก  การวิเคราะห์ - ตำแหน่งที่ขอกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ที่ ก.พ. กำหนดอย่างไร อธิบายข้อเท็จจริงของส่วนราชการให้ชัดเจน - ตำแหน่งที่ขอกำหนดมีภารกิจ/หน้าที่ความรับผิดชอบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีผลผลิต ผลลัพธ์ อย่างไร - เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ทักษะ ในการปฏิบัติงานอย่างไร ได้รับ มอบอำนาจ มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตความรับผิดชอบและ ผลกระทบของงานอย่างไร ระบุประเด็นที่จะให้คณะกรรมการพิจารณาและมีมติ  ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

9 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
วาระพิจารณา เรื่องที่ ๓.๑ เรื่อง การขอกำหนดตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ในกรม ก. คำขอ กรม ก. ขอกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (นักทรัพยากรบุคคล ระดับเชี่ยวชาญ) ในกองการเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑ ตำแหน่ง โดยนำตำแหน่งเลขที่ ๑๐๐ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ กลุ่มงานอัตรากำลังและระบบงาน กองการเจ้าหน้าที่ มากำหนด

10 เหตุผลความจำเป็น ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง เหตุผลความจำเป็น ตัวอย่างเช่น ๒.๑ บทบาทของส่วนราชการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกฎหมาย หรือตามยุทธศาสตร์ใหม่ของกรม โดยมีภาระงานเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มุ่งเน้นการกระจาย อำนาจในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้กับส่วนราชการ ทำให้การทำงานด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้ ๑) ศึกษา วิเคราะห์ การจัดและปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การวางแผนอัตรากำลังคน แผนสืบทอดตำแหน่ง และการบริหารทรัพยากรบุคคลต่างๆ ๒) ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการด้านทรัพยากรบุคคล

11 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๒.๒ คุณภาพงานของกองการเจ้าหน้าที่ กรม ก. ที่เปลี่ยนแปลงไป / เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น งานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีภารกิจที่ต้องดำเนินการเพิ่มขึ้นและหลากหลาย เช่น การจัดทำระบบ Competency การจัดทำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล เพื่อนำมาใช้ประกอบกับการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทน การบริหารเงินเดือนและค่าจ้างแนวใหม่ ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การปฏิบัติราชการ การวิเคราะห์จัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล และติดตามประเมินผล การส่งเสริมจรรยาและประมวลจริยธรรม การจัดการความรู้ในองค์กรเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่ในกรมฯ

12 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๒.๓ กองการเจ้าหน้าที่ กรม ก. มีการพัฒนางานใหม่ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น ๑) ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลปัญหา และข้อจำกัดต่างๆ ของระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ แนวทางการปฏิบัติงาน และนโยบายต่างๆ ทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อนำไปประกอบการนำเสนอ และการให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย/แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ แนวทางการปฏิบัติงาน และนโยบายต่างๆ ในการบริหารงานบุคคล ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ๒) พัฒนาองค์ความรู้ เทคนิค และเครื่องมือใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาองค์กรและระบบงาน งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการพัฒนาองค์กรและระบบงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริหาร และข้าราชการของกรม และสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

13 รายละเอียดประกอบการพิจารณา
ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง รายละเอียดประกอบการพิจารณา ๓.๑ บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรม / สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น อำนาจหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่ ”“”” กองการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม ๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของข้าราชการและลูกจ้างของกรม ๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

14 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๓.๒ การแบ่งส่วนราชการและอัตรากำลังของกรม / สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น โครงสร้างการแบ่งงานภายในกองการเจ้าหน้าที่ แบ่งเป็น ๑ ฝ่าย ๔ กลุ่มงาน ดังนี้ - ฝ่ายบริหารงานทั่วไป - กลุ่มงานอัตรากำลังและระบบงาน - กลุ่มงานบรรจุ แต่งตั้ง และทะเบียนประวัติ - กลุ่มงานวินัย - กลุ่มงานพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่มีอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น ๔๖ อัตรา ประกอบด้วย - ข้าราชการ จำนวน ๔๒ ตำแหน่ง - พนักงานราชการ จำนวน ๒ อัตรา - ลูกจ้างประจำ จำนวน ๒ อัตรา (รายละเอียดตามโครงสร้างและอัตรากำลัง ตามเอกสารแนบ...)

15 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๓.๓ สรุปหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๒ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ๑) การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระดับกรม มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ดังนี้ ๑.๑) มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะ นโยบาย ๑.๒) เป็นตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ๑.๓) ผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ การกำหนดตำแหน่งดังกล่าวจะต้องพิจารณาถึงปริมาณงาน ความเหมาะสม และประสิทธิภาพของงานในส่วนราชการเป็นหลักด้วย และต้องเป็นงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในสำนักบริหารกลาง กองการเจ้าหน้าที่ หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง

16 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๒) หลักเกณฑ์การยุบเลิกตำแหน่ง การกำหนดตำแหน่งที่มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการเพิ่มขึ้น จะต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก โดยคำนวณจากค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งที่นำมายุบจะต้องครอบคลุมค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งนั้นๆ โดยใช้ตารางแสดงค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามประเภทและระดับตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนด ๓) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ภายในกรอบมูลค่ารวมของตำแหน่ง ในกรณีที่มีค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งที่เหลือจากการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งของส่วนราชการในกระทรวง อ.ก.พ.กระทรวงสามารถนำค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เหลืออยู่ดังกล่าว ไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งของส่วนราชการในกระทรวงในครั้งต่อๆ ไปก็ได้

17 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
การวิเคราะห์ ๔.๑ วิเคราะห์ว่าตำแหน่งที่ขอกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ตัวอย่างเช่น การกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับเชี่ยวชาญ) ตำแหน่งเลขที่ ๑๐๐ ในกองการเจ้าหน้าที่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๒ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ดังนี้ ๑. มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะนโยบาย ในด้านบริหารทรัพยากรบุคคลแก่ผู้บริหารในการพิจารณาตัดสินใจกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ การวางแผนกำลังคน การกำหนดแผนการสร้างทางก้าวหน้าในสายงานต่างๆ รวมทั้งการศึกษา วิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาหลักเกณฑ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการความรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ - การวางแผนการพัฒนาบุคลากร เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ตลอดจนทักษะในทุกๆ ด้านให้แก่บุคลากรในทุกระดับกรม ๒. เป็นตำแหน่งงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ในการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาในเรื่อง

18 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
๓. การประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ...) ๔. การกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของ ส่วนราชการเพิ่มขึ้น ดังนี้ กรม ก. จึงนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก ได้แก่ ตำแหน่งเลขที่ ๔๓๐ และ ๔๓๒ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน จำนวน ๒ ตำแหน่ง โดยมีค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งรวม ๕๖,๘๐๐ บาทซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งในครั้งนี้ และจะมีค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่ง ที่เหลือจากการกำหนดตำแหน่ง จำนวน ๕๖,๘๐๐ - ๔๓,๔๙๐ = ๑๓,๓๑๐ บาท โดยจะขอนำค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เหลือดังกล่าว ไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งของส่วนราชการในครั้งต่อไป ตำแหน่งเลขที่ ๑๐๐ ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ จำนวน ๑ ตำแหน่ง มีค่าตอบแทนเฉลี่ย = ๓๓,๙๖๐ บาท นำมากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ มีค่าตอบแทนเฉลี่ย = ๗๗,๔๕๐ บาท ผลต่างของค่าตอบแทนเฉลี่ย = ๗๗,๔๕๐ - ๓๓,๙๖๐ บาท = ๔๓,๔๙๐ บาท

19 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา ระบุประเด็นที่จะให้กรรมการพิจารณาและมีมติ ตัวอย่างเช่น ๕.๑ จะเห็นชอบการกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (นักทรัพยากรบุคคล ระดับเชี่ยวชาญ) ตำแหน่งเลขที่ ๑๐๐ ในกองการเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑ ตำแหน่ง และยุบเลิกตำแหน่งเลขที่ ๔๓๐ และ ๔๓๒ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กองการเจ้าหน้าที่ รวม ๒ ตำแหน่ง เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งดังกล่าว หรือไม่ โดยการยุบเลิกตำแหน่ง จำนวน ๒ ตำแหน่ง จะมีค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งที่เหลือจากการกำหนดตำแหน่ง จำนวน ๑๓,๓๑๐ บาท โดยจะขอนำค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เหลือดังกล่าว ไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งของ ส่วนราชการในครั้งต่อไป ๕.๒ หากเห็นชอบ โปรดพิจารณาประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง โดยใช้โปรแกรม การประเมินค่างานตามที่ ก.พ. กำหนด เมื่อได้ผลการพิจารณาเป็นประการใดแล้ว ฝ่ายเลขานุการ จะได้เสนอ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาต่อไป

20 ตัวอย่างการเขียนบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่ง
ข้อสังเกตุ  ควรไล่เรียงในการเสนอเรื่องและการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ให้กรรมการพิจารณาโดยสอดคล้องกัน ทั้งในข้อ , , เพื่อลำดับความคิดของกรรมการ ในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ในบทวิเคราะห์อาจอ้างถึงรายละเอียดที่ได้อธิบายไปในข้อก่อนหน้าได้ โดยไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก  เอกสารที่เป็นบันทึกคำขอ ควรสรุปเนื้อหาให้กระชับ และเขียนไม่เกิน ๘ - ๑๐ หน้า ขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า ๑๖ point  เอกสารข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งให้จัดทำเป็นเอกสารแนบ ติดสลิป และทำบัญชีรายการของเอกสารแนบด้วย

21 ตัวอย่างแบบฟอร์มบันทึกเสนอ คณะทำงานกลั่นกรองฯ
วาระที่ เรื่อง คำขอ เหตุผลความจำเป็น

22 3. รายละเอียดประกอบการพิจารณา 3
3. รายละเอียดประกอบการพิจารณา 3.1 บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.2 การแบ่งส่วนราชการและอัตรากำลังของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง 4. การวิเคราะห์ ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

23 ตัวอย่างแบบฟอร์มบันทึกเสนอ คณะกรรมการกำหนดตำแหน่งระดับสูง
วาระที่ เรื่อง คำขอ เหตุผลความจำเป็น

24 3. รายละเอียดประกอบการพิจารณา 3
3. รายละเอียดประกอบการพิจารณา 3.1 บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.2 การแบ่งส่วนราชการและอัตรากำลังของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง 4. การวิเคราะห์ ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

25 ตัวอย่างแบบฟอร์มบันทึกเสนอ อ.ก.พ.กระทรวง ฯ
วาระที่ เรื่อง คำขอ เหตุผลความจำเป็น

26 1. กรณี ผ่านคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงให้เขียนในลักษณะ ดังนี้
3. รายละเอียดประกอบการพิจารณา 3.1 บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.2 การแบ่งส่วนราชการและอัตรากำลังของกรม/สำนัก ที่ขอกำหนดตำแหน่ง 3.3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง 4. การวิเคราะห์ 5. การพิจารณาของคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูง/คณะทำงานกลั่นกรองฯ 1. กรณี ผ่านคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงให้เขียนในลักษณะ ดังนี้ คณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประชุมครั้งที่ …….. เมื่อวันที่ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า.....(ความเห็นโดยสรุปของ คกก.)....ประกอบกับเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด โดยผ่านการประเมินค่างานตามโปรแกรมประเมินค่างาน (Jethro) ด้วยคะแนน คะแนน ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินค่างาน (ช่วงคะแนนตามเกณฑ์...คะแนน) จึงเห็นชอบให้กำหนดตำแหน่งดังกล่าว รวม...ตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้ยุบเลิกตำแหน่ง รวม....ตำแหน่ง เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้น (กรณีที่ต้องมีการยุบเลิกตำแหน่ง)

27 2. กรณี ผ่านคณะทำงานกลั่นกรองฯ ให้เขียนในลักษณะ ดังนี้
คณะทำงานกลั่นกรองฯ เรื่องการกำหนดตำแหน่งและการกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานภายในของส่วนราชการก่อนนำเสนอ อ.ก.พ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประชุมครั้งที่ ……..... เมื่อวันที่ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า (ความเห็นโดยสรุปของคณะทำงานกลั่นกรองฯ).... ประกอบกับการกำหนดตำแหน่งดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด จึงเห็นชอบให้กำหนดตำแหน่งดังกล่าว รวม ตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้ยุบเลิกตำแหน่ง รวม ตำแหน่ง เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้น (กรณีที่ต้องมีการยุบเลิกตำแหน่ง) 6. ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

28


ดาวน์โหลด ppt การจัดทำบันทึก.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google