งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดย นายแพทย์ประวัช ชวชลาศัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดย นายแพทย์ประวัช ชวชลาศัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดย นายแพทย์ประวัช ชวชลาศัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

2 อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน : ปี 2557 รายจังหวัด รายเขตสุขภาพ โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

3 ที่มา: สถิติสาธารณสุข อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน

4 ร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (ปีงบประมาณ 2559 ไตรมาส 1) หมายเหตุ :: เฉพาะ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งเท่านั้น วันที่ประมวลผล :: 29 ธันวาคม 2558 **เป็นปีแรกของการดำเนินงานเก็บข้อมูลโดยระบบ HDC ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข KPI ร้อยละ 10

5 หมายเหตุ :: เฉพาะ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งเท่านั้น วันที่ประมวลผล :: 29 ธันวาคม 2558 **เป็นปีแรกของการดำเนินงานเก็บข้อมูลโดยระบบ HDC ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข KPI ร้อยละ 20

6 กลุ่มอายุ (ปี) จำนวนคลอด ทั้งหมด จำนวนการ คลอดซ้ำ ร้อยละของ การคลอดซ้ำ 10-19115,49014,33912.4 15-19112,27714,33812.8 10-143,21300.0 ที่มา : 1. ข้อมูลการคลอด ปี พ.ศ. 2557 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวนและร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น จำแนกตามกลุ่มอายุ ปี พ.ศ. 2557 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

7 ร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เปรียบเทียบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับ นักเรียนอาชีวะชั้นปีที่ 2 นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนอาชีวะชั้นปีที่ 2 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2557

8 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553-2557 **โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับรายงานคือ หนองใน, หนองในเทียม, แผลริมอ่อน, กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2558) อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-24 ปี อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-24 ปี โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

9  สำรวจในโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวง สาธารณสุข 13 จังหวัด  ผู้ป่วยแท้งเข้ารับการรักษาและยินยอมตอบแบบสอบถาม จาก รพ. 243 แห่ง จำนวน 1,710 ราย แท้งเอง ร้อยละ 59.7 ทำแท้ง ร้อยละ 40.3 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านสุขภาพ 30.8 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ ครอบครัว 69.2 ที่มา : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ การแท้งในประเทศไทย ปี 2557

10 ที่มา :สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย 2557 ร้อยละ 36.1 มีสถานภาพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 30.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 30.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 57.5 อายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 57.5 อายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละของผู้ป่วยที่ทำแท้งจำแนกตามช่วงอายุ การทำแท้งที่มีเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว

11 ข้อมูลสุขภาพร้อยละ ไม่ตั้งใจให้ตั้งครรภ์ครั้งนี้88.7 ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ45.6 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง89.7 ทำแท้งซ้ำ10.9 หมายเหตุ ผู้ป่วยทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว

12 เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจทำแท้ง เหตุผลด้านสุขภาพ เหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ ครอบครัว

13 เหตุผลด้านสุขภาพ ปัญหาสุขภาพที่พบร้อยละ รวม (n=267) - ตั้งครรภ์ไข่ลม 42.5 - ทารกในครรภ์เสียชีวิต 37.0 - ทารกในครรภ์ผิดปกติ 13.5 - ทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมีย 3.0 หมายเหตุ ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ

14 เหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว ปัญหาที่พบร้อยละ รวม (n=451) - ปัญหาทางด้านการเงิน66.7 - ยังเรียนไม่จบ35.5 - การตั้งครรภ์เป็นอุปสรรคต่ออาชีพ25.1 - ยังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน21.2 - มีบุตรพอแล้ว16.5 - คุมกำเนิดล้มเหลว8.2 - ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ7.6 - มีบุตรถี่เกินไป6.9 - หย่าหรือเลิกกับสามีหรือเพื่อนชาย5.8 - ไม่พร้อมมีบุตร5.4 - มีปัญหากับญาติฝ่ายชาย2.6 - ถูกข่มขืน0.9 - ฝ่ายชายมีครอบครัวแล้ว0.4 หมายเหตุ ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ

15 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ. ศ.2546 – 2557 ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ. ศ.2546 – 2557 ร้อยละ หมายเหตุ 1. จำนวนการคลอดทั้งหมดและจำนวนเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จากสถิติสาธารณสุข ปี พ.ศ.2546-2556 และข้อมูล ปี 2557 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงานโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (ปรับปรุงข้อมูล ณ 3 มิ.ย. 2558)

16 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สถานบริการสาธารณสุข -มีฐานข้อมูล แผนงาน และ กิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ -มีการจัดบริการสุขภาพ ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน -มีระบบการดูแล/ส่งต่อ เชื่อมโยง ทุกระดับ อปท. / ครอบครัว / ชุมชน -มีแผนดำเนินการ -สนับสนุนทรัพยากร -มีฐานข้อมูลเรื่องเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ -การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม -ครอบครัวมีการสื่อสารเรื่องเพศ -พื้นที่เรียนรู้สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในรูปแบบโรงเรียนพ่อแม่ สถานศึกษา -มีการสอนเพศวิถีศึกษา -จัดกิจกรรมการเรียนรู้ -มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน -พัฒนาแกนนำวัยรุ่น นโยบาย / ระบบเฝ้าระวัง/ การติดตามและประเมินผล เป้าหมาย 1.ชะลอการมี เพศสัมพันธ์ 2.เพศสัมพันธ์ที่ ปลอดภัย 3.การตั้งครรภ์ที่ พร้อม

17 สาระสำคัญ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ. ศ. ๒๕๕๙ สาระสำคัญ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ. ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๕ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเองและมีสิทธิได้รับข้อมูล ข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัย การเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็น ส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไป เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอ

18 มาตรา ๖ ให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสม กับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา (๒) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและ ให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แก่นักเรียนหรือนักศึกษา (๓) จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือ นักศึกษา ซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและ ต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัย การเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของ สถานศึกษาแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง

19 มาตรา ๗ ให้สถานบริการดำเนินการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่น อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัย การเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่น ที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับสิทธิตามมาตรา ๕ รวมทั้ง จัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการ ของสถานบริการ แต่ละประเภทให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

20 มาตรา ๘ ให้สถานประกอบกิจการดำเนินการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่าง ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นเข้าถึง บริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้ง จัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม การกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการ ดำเนินการของสถานประกอบกิจการแต่ละประเภทให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

21 มาตรา ๙ การจัดบริการให้มีสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดและ ระดับอำเภอสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อเป็น แกนนำป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (๒) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ประสานงาน เฝ้าระวัง และให้ความ ช่วยเหลือแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัว (๓) จัดให้มีการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดแก่แม่วัยรุ่น ที่ประสงค์จะเข้ารับการฝึกอาชีพ และประสานงานเพื่อจัดหางาน ให้แก่แม่วัยรุ่นได้ประกอบอาชีพตามความเหมาะสม

22 (๔) จัดหาครอบครัวทดแทนในกรณีที่แม่วัยรุ่น ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้ (๕) จัดสวัสดิการสังคมในด้านอื่นๆเพื่อส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง

23 มาตรา ๑๐ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมี อำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขต ราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิตามมาตรา ๕ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม วรรคหนึ่ง ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

24 เป้าหมาย ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยพิจารณาจาก การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่ง ภายใน พ.ศ. ๒๕๖๙ เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ๒๕๕๘

25 25 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดย นายแพทย์ประวัช ชวชลาศัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google