ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) Asean Economic Community History
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความเป็นมาของ อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตาม ด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่ม เศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
เสาหลักของ อาเซียน เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย 1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY หรือ ASCC)
คำขวัญของอาเซียน คือ One Vision, One Identity, One Community.” คำขวัญของอาเซียน คือ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม
วัฒนธรรมของ ประเทศ มาเลเซีย
MALAYSIA มาเลเซีย
ตราแผ่นดิน ประเทศ มาเลเซีย ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก
ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์และซาราวัก นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
ประชากรประเทศมาเลเซีย ประชากรทั้งหมด 26240000 คน
พื้นที่ประเทศ มาเลเซีย มีทั้งหมด 32,9758ตารางกิโลเมตร
อาหารประจำชาติ นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นอาหารมลายู นิยมกินโดยทั่วไปในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน รวมทั้งภาคใต้ของไทยและถือเป็นอาหารประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
ภาษาประจำชาติมาเลเซีย ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์: Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่ม ออสโตรนีเชียน ที่พูดโดย ชนชาติมลายูซึ่งเป็น ชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู
ประเพณีสำคัญของประเทศ มาเลเซีย การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร
การรำซาพินเป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการ ทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย
จัดทำโดย นาย อุเทน ปานพิลา ปวช.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ รุ่นที่ ๒o