เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยมุ่งหมายให้เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตในฐานะเศรษฐกิจทางเลือกแบบหนึ่งเพื่อให้ประเทศชาติล่วงพ้นจากสภาพวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น ดังนั้น วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการต่อสู้ ทางอุดมการณ์ระหว่างรูปแบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นเฉพาะกับความ เป็นสากล หรือกระแสท้องถิ่นกับกระแสโลกาภิวัตน์
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง มีผู้อธิบายว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ 1. กรอบแนวคิด 2. คุณลักษณะ 3. คำนิยาม 4. เงื่อนไข 5. แนวปฏิบัติ
กรอบแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ - ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ - การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวปฏิบัติ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
สรุปลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสำหรับคนทั้งมวล มีพื้นฐานอยู่ที่ความเข้มแข็งของชุมชน มีความเป็นบูรณาการ อยู่บนพื้นฐานความเข้มแข็งของตนเอง มีการจัดการและนวัตกรรมใหม่ ๆ
บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์และทฤษฎี ------------------ --------------------- ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม
ประเด็นนำเสนอ ที่มาและฐานความคิด ข้อเสนอทางปรากฏการณ์ คำถามเชิงทฤษฎี
ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสำคัญของปรัชญา ปรัชญา ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิต เพราะเป็นเรื่องของวิธีคิด และจิตสำนึกของผู้คน ทุกปรัชญา ไม่เฉพาะแต่ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่มาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2517 ในพระราชวังสวนจิตรลดา และมาสำแดงพลังอย่างเต็มที่ ในปี พ.ศ.2540 เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และสังคมไทยเริ่มตั้งถามว่า เราจะหาทางออกจากวิกฤตินั้นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” จึงเป็นที่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ “ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น”
เศรษฐกิจพอเพียง : ปมปัญหาระหว่างความรู้ กับความไม่รู้ หลังปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้สังคมตกอยู่ในภาวะ “วิกฤติทางพาราไดม์” ว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปพันกันกับบริบททางการเมืองขณะนั้นอย่างแนบแน่น วิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศัพท์ประดิษฐ์ ที่เรียกว่า “ประดิษฐกรรมทางภาษา” ในมุมนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็น ความจริงที่ถูกสร้างขึ้น แฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ นักสัญวิทนาชาวสวิส เสนอว่า ในโครงสร้างของภาษามีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ รูปภาษา กับความหมายภาษา การให้ความหมายภาษาจึงเกิดจากการตีความ ในกรณีดังกล่าว จึงดูเหมือนว่าเรากำลังถูก “ล้อมกรอบ” ด้วย “กรงดัก” ทางภาษา เมื่อติดอยู่ในรูปแบบของภาษาจึงทำให้เกิดความสับสน และเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งในการทำความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของภาษา
หากในหลวงท่านเปลี่ยนไปใช้คำว่า เศรษฐกิจแบบศีลธรรม (Moral Economy) หรือ เศรษฐกิจแบบจิตสำนึก (Conciousness Economy) หรือคำอื่น อาจตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการจะ “สื่อ” ได้มากกว่านี้ หรือว่า เป็นความผิดพลาดของการสร้างวาทกรรม โดยเฉพาะมีคำว่า “เศรษฐกิจ” คนจึงมองว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ยิ่งคำว่า “พอเพียง” ซึ่งเป็นคำที่ไม่สามารถบอกเกณฑ์หรือมาตรฐานได้ชัดว่าคืออะไร ยิ่งก่อให้เกิดการตีความอย่างกว้างขวาง เรียกได้ว่า เป็นความสับสนทางทฤษฎี สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ และสามารถปลดปล่อยตัวเองได้จากโลกาภิวัตน์
เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์เชิงปรากฏการณ์ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ “พื้นที่” ที่ภาคใต้เศรษฐกิจพอเพียง “ไม่เวิร์ค” เพราะคนใต้เขาโดยสารรถไฟระหว่างประเทศ ไม่ใช่รถไฟระหว่างเมือง หรือระหว่างหมู่บ้าน เขาเชื่อว่า โซ่ของการผลิต ถูกจัดตั้งจากต่างประเทศ ที่อีสาน เศรษฐกิจพอเพียง “ทำได้” เพราะคนที่อยู่ในชุมชนเป็นคนที่ปลดเกษียณแล้วในตลาดแรงงาน ถ้ามีจิตสำนึกก็สร้างกลุ่ม โครงการที่ประสบความสำเร็จ เป็นความเก่งเฉพาะครัวเรือน ไม่ใช่กระจายไปทุกที่ และอาจเกิดจากเงื่อนไขหรือศักยภาพอย่างอื่น มากกว่าการตอบสนองทางอุดมการณ์ ส่วนที่ล้มเหลวก็ไม่ใช่เป็นเพราะพฤติกรรมไม่สามารถบรรลุตามคำอธิบายเชิงทฤษฎี แต่เป็นเพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาวบ้านในตัวของมันเองมีแรงเฉื่อย และถูก ”แรงต้าน” จากตลาด ที่ “แข็งแกร่ง เฉยชา และไร้จิตสำนึก” การผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” ของภาคการเมือง ภายหลังจาก คมช. ทำการโค่นล้มอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมุ่งทำลายระบอบเศรษฐกิจแบบ “ทักษิโณมิกส์” จนกระทั่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกพรรคการเมืองต่างผลิตซ้ำวาทกรรม “ประชานิยม” เป็นหลัก ปรากฏการณ์ดังกล่าว น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า 1. ภาคการเมืองขาดความเชื่อมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. รู้ว่าแนวคิดประชานิยมสามารถดึงมวลชนรากหญ้ามาเป็นพวกได้มากกว่า 3. เป็นการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจ โดยนัยดังกล่าว เศรษฐกิจพอเพียงในความหมายของภาคการเมือง จึงเป็นเพียง “ไม้ประดับของโลกาภิวัตน์” หรือเหมือนมวยคู่ก่อนเวลา เพื่อรอ “มืออาชีพ” เข้ามาจัดการแบบเบ็ดเสร็จ
เศรษฐกิจพอเพียง : บทวิพากษ์ทางทฤษฎี ผู้เสนอคิดว่า ขณะนี้เรากำลังยืนอยู่บนเยื่อบาง ๆ ของ 2 สิ่ง ระหว่างสิ่งที่เป็น 1. วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 2. การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเด็นที่หนึ่ง วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง วาทกรรม หมายถึง การต่อสู้ทางความคิดที่อยู่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ผู้ที่อยู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมีหลายกลุ่ม ได้แก่ ราชสำนัก รัฐบาล ระบบราชการ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อสารมวลชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองท้องถิ่น และชาวบ้าน ในหลวง นำเสนอวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะปรัชญาในการดำเนินชีวิต รัฐ ตีความและแปรรูปปรัชญามาผลักดันนโยบาย ระบบราชการ นำนโยบายมาปฏิบัติ ข้าราชการ ทำงานตามคำสั่งของหนังสือสั่งการ ใช้แบบแผนปฏิบัติแบบจารีต องค์กรพัฒนาเอกชน จัดตั้งเครือข่ายในกลุ่มชาวบ้านระดับรากหญ้า นักวิชาการ ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วิพากษ์ เพื่อชี้นำสังคม นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างภาพกับทุนนิยม องค์กรปกครองท้องถิ่น ใช้ปรัชญาสร้างกิจกรรมดึงหัวคะแนน ชาวบ้าน ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการวาทกรรมจากทุกกลุ่ม โดยสรุป กลุ่มต่าง ๆ มีส่วนในวาทกรรมคนละอย่าง มีคนได้ประโยชน์จากวาทกรรม และมีคนเสียเปรียบ จากวาทกรรม ที่สำคัญคือ บางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่ทำ และบางกลุ่มไม่เชื่อในสิ่งที่พูด
ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเด็นที่สอง การรับรู้และตีความคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” มีคนจำนวนไม่น้อยตีความว่า รูปแบบเศรษฐกิจที่เกิดก่อน “ทุนนิยมเสรี” หรือที่ “ไมใช่ทุนนิยม” คือ เศรษฐกิจพอเพียง มีคำถามว่า เศรษฐกิจพอเพียง มีจริงหรือไม่ ? ถ้ามี แล้วเป็นแบบไหน? คำถามมีว่า ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงที่เราพูดถึงมีจริงในอดีต - ทำไมพระพุทธเจ้า จึงเชื่อว่า ข้างหน้ามียุคพระศรีอาริย์ - ทำไม Plato จึงใฝ่ฝันถึง The Republic State - ทำไม Karl Marx จึงถามหาสังคม Utopia ถามว่า ถ้าความพอเพียงมีอยู่จริง ทำไมคนในอดีตต้องโหยหา สังคมในอุดมคติ (Imaged Society) ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บอกเราว่า โลกในยุคอดีตก็ไม่ได้มีความสมดุล เช่น มีโรคระบาด มีการอพยพของผู้คนเพื่อหนีภาวะข้าวยากหมากแพง โจรผู้ร้าย ภาวะสงคราม การแย่งชิงดินแดน การล่าอาณานิคม เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพที่ต้องดิ้นรนในอดีต พาราไดม์เกี่ยวกับความยากจนมี 2 แบบ คือ กลุ่มแรก เชื่อว่า ความยากจนเป็นพันธุกรรม กลุ่มที่สอง เชื่อว่า ความยากจนเป็นนวัตกรรม ถามว่า ในสังคมไทยเชื่อแบบไหน ?
Post-Structuralism or Nothing