ร่างกายของเรา วิทยาศาสตร์ 4 อ.ปรางค์ปรียา พรมฤทธิ์
ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบห่อหุ้มร่างกายของคนเราประกอบด้วยผิวหนัง ขนและเล็บ โดยมีผิวหนังเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด มีหน้าที่หลายประการทั้งช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกป้องกันอวัยวะภายใน ป้องกันเชื้อโรคบางชนิด ป้องกันไม่ให้น้ำออกจากร่างกายมากเกินไป ป้องกันการเผาไหม้ของแสงอาทิตย์และยังควบคุมปริมาณความร้อนหนาวของร่างกายอีกด้วย
ผิวหนัง เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดซึ่งห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ปกติผิวหนังมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 16 ของน้ำหนักตัว โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่ผิวหนังมีน้ำหนังประมาณ 3 กิโลกรัม มีพื้นที่ผิวหนังประมาณ 2 ตารางเมตร และใช้เลือดมาหล่อเลี้ยงประมาณหนึ่งในสามของเลือดในร่างกาย ผิวหนังจะมีความหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ถ้าสังเกตผิวหนังจะเห็นร่องเล็กๆเต็มไปหมด โดยเฉพาะฝ่ามือและฝ่าเท้า
ผิวหนังประกอบด้วย 2 ชั้น คือ ผิวหนังประกอบด้วย 2 ชั้น คือ 1. หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังชั้นที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวที่เซลล์ตายแล้วเรียงตัวกันหลายชั้น มีความหนาประมาณ 0.04-1.6 มิลลิเมตร ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างเป็นแผ่นๆ เมื่อถูจะลอกออกเป็นขี้ไคล ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวหนังมีสีดำหรือสีขาว ผิวหนังเป็นระบบที่ควบคุมอุณหภูมิและความดันของร่างกายและเป็นระบบภูมิคุ้มกันผิวหนัง
2. หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ข้างใต้ถัดจากหนังกำพร้า มีความหนากว่าชั้นหนังกำพร้าประมาณ 14-40 เท่า ประกอบด้วยเส้นใย ของเนื้อเยื่อบุผิวมากมายหลายชนิด ลักษณะของหนังแท้จะเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีเส้นประสาท เส้นเลือดฝอย เส้นเลือดฝอย ท่อน้ำเหลือง อวัยวะรับความรู้สึก ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน มาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้ผิวหนังมีลักษณะยืดหยุ่นได้ดี
หน้าที่ของผิวหนัง 1. เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะ ซึ่งอยู่ภายในร่างกาย 2. เป็นเครื่องสำหรับรับความรู้สึก เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด ความหนาว 3. ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น เหงื่อ เพื่อให้ ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย 4. ช่วยสกัดและขับสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่ในต่อมของผิวหนัง เช่น ขับเหงื่อ และน้ำมันออกจากร่างกาย
5. ดูดซึมสารบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เช่น ยาทาภายนอก ยาคลายกล้ามเนื้อ 6 5. ดูดซึมสารบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เช่น ยาทาภายนอก ยาคลายกล้ามเนื้อ 6. ป้องกันแสงแดดไม่ให้ผิวได้รับอันตราย 7. ช่วยทำให้ความร้อนในร่างกายคงที่อยู่เสมอรักษาอุณหภูมิภายในร่างร่างกายให้คงที่ 8. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย 9. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย
การเสริมสร้างการทำงานของระบบผิวหนัง 1. นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ 3. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ 4. ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน 5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 6. สวมเสื้อผ้าที่สะอาด พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป 7. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด 8. รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นแผล 9. ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย
ความผิดปกติของผิวหนังที่พบบ่อย 1. สิว เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น หรือ เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ 2. ตาปลา เกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ มักเกิดบริเวณนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า เนื่องจากใส่รองเท้าคับเกินไป 3. กลิ่นตัว เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อเซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัว ถ้ามีกลิ่นตัวแรงอาจใช้สารส้มหรือลูกกลิ้งระงับกลิ่นทาบริเวณรักแร้หลังอาบน้ำทุกครั้ง
4. โรคราที่เท้าหรือฮ่องกงฟุต หรือโรคเท้านักกีฬา เกิดจากเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรองเท้าอับชื้นหรือลุยน้ำสกปรก ทำให้มีอาการคันบริเวณซอกนิ้ว การป้องกันและรักษาทำได้โดยการล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง 5. ผิวหนังแห้งกร้าน เกิดจากสภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่นอากาศ ร้อนจัด อากาศแห้งมาก หรือฟอกสบู่บางชนิด เป็นต้น ควรใช้ครีมทาผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังไว้
6. เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว แขน ขา คอ หน้า เป็นต้น พบมากในผู้ประกอบอาชีพที่อยู่ในอุณหภูมิสูงมีเหงื่อออกมาก มีความชื้นสูง หรือสกปรกเปรอะเปื้อนพวกไขมันและฝุ่นละออง ควรใช้ขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อนทาบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการลุกลามควรปรึกษาแพทย์ 7. กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่เกิดขึ้นทั่วไปตามร่างกายมีลักษณะเป็นวง แต่ส่วนขอบนั้นนั้นจะนูนสูงแดงมีเม็ดตุ่มพองน้ำเล็กๆ ป้องกันและรักษาเช่นเดียวกับเกลื้อน
8. ฝี เกิดจากเชื้อบัคเตรีชนิดหนึ่งซึ่งมีบนผิวหนังทั่วไป มีลักษณะบวมแดงจนกลายเป็นหนอง 9. เล็บขบ มักเป็นกับนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าไปในเนื้อบริเวณซอกเล็บ ทำให้เกิดความเจ็บปวด ป้องกันได้โดยไม่ควรตัดเล็บสั้นจนเกินไป 10. เชื้อราที่เล็บ มักเป็นกับผู้ทำงานที่ทำให้มือต้องเปียกน้ำเป็นประจำ หรือเท้าอยู่ในที่อับชื้น ป้องกันโดยตัดเล็บให้สั้น รักษาเล็บให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
11. ผมร่วง ผมของคนเราจะร่วงได้ตามธรรมชาติแล้วงอกขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา แต่ถ้าร่วงมากกว่าปกติอาจมีสาเหตุจากการขาดสารอาหาร การเจ็บป่วยด้วยโรค เชื้อรา หรือแพ้ยาสระผมเป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน การย้อมผม การดัดผม และเมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ 12. รังแค เกิดจากผิวหนังหรือเซลล์ที่ตายแล้วแห้งหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นหรือเป็นขุยๆ มักเกาะติดอยู่กับเส้นผม ทำให้คันศีรษะและเป็นสาเหตุของผมร่วงได้ ป้องกันโดยสระผมด้วยยาสระผมอย่างอ่อนๆ หากรังแคยังไม่หายควรรีบปรึกษาแพทย์
การดูแลรักษาผิวหนัง 1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ 2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอากาศ ร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก เป็นต้น 3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ 4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง 5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้น 6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ 7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง 8. เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์
ระบบโครงร่าง ระบบกระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วย โครงกระดูก 206 ชิ้น
หน้าที่สำคัญของกระดูก ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้ ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่ สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส
กระดูกของคนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1. กระดูกแกน (Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย 1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull) ภายในกะโหลกศีรษะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง จะมีกระดูกกะโหลกศีรษะและ กระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมองด้วย
1.2 กระดูกสันหลัง (Vertebra) เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย กระดูกสันหลัง เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc)” ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้าแผ่นกระดูกอ่อนนี้เสื่อมเราจะปวดหลัง และไม่สามารถบิดหรือเอียงตัวได้
1.3 กระดูกซี่โครง (Ribe) มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงให้ส่วนอก กระดูกซี่โครงจะเชื่อมกบกระดูกอก (Sternum) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน การหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดนี้สลับกันเกิดการเคลื่อนที่เข้า ออกของอากาศภายนอกและภายในช่องอก มีผลทำให้กระดุกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและลง และทำให้ปริมาตรภายในช่องอกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
2. กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึงโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกกระดูกแกนซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหว ของแขน ขา โดยตรง รวมทั้งกระดูกสะบักและกระดูกเชิงกรานที่เป้นฐานรองกระดูกแขนและกระดูกขา
กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อบางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อเดียวที่ยึดติดกับกระดูก บางครั้งจึงเรียกว่า “ กล้ามเนื้อกระดูก ” ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลายขาวดำสลับกัน ในหนึ่งเซลล์จะมีหลายนิวเคลียส กล้ามเนื้อลายมีความแข็งแรงและสามารถหดตัวได้สูง ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อลำตัว เป็นต้น
2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียว รูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว หดตัวได้ ใช้พลังงานน้อย ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร เป็นต้น
2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียว รูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว หดตัวได้ ใช้พลังงานน้อย ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร เป็นต้น
กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจโดยควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจางเซลล์กล้ามเนื้อตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง ไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียงเซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต
การทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของกล้ามเนื้อ 1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว
2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อจะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว
บทที่ 3 มรดกทางพันธุกรรม บทที่ 2 ร่างกายของเรา