งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การฟื้นฟูความรู้เรื่อง การดูแลเท้าเบาหวาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การฟื้นฟูความรู้เรื่อง การดูแลเท้าเบาหวาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การฟื้นฟูความรู้เรื่อง การดูแลเท้าเบาหวาน

2 การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
หัวข้อ

3 ปัญหาเรื่องเท้าในผู้เป็นเบาหวาน
ความชุกของการเกิดแผลที่เท้าจากโรคเบาหวาน พบร้อยละ 2-10 ในผู้เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน 1 ใน 6 ราย จะเคยมีแผลเบาหวานอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

4 เบาหวานเป็นสาเหตุของ การถูกตัดขา ที่พบบ่อยที่สุด

5 การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม สามารถลดอัตราการ ถูกตัดขาได้ประมาณ 49-85 %

6 เริ่มต้นที่เท้า เป็นตำแหน่งแรก !!
เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลที่เท้า 45-60% ของแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเป็นแผลจากปลายประสาทเสื่อม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่

7

8

9

10 หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา ตีบตัน
มีผลต่อการหายของแผลที่เท้า ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ Sedentary lifestyle อายุมากขึ้น

11

12 ผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องได้รับ การประเมินเท้าโดยละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่เท้า ปัจจัยที่สำคัญ คือ เส้นประสาทที่เท้าดี และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเท้าดี Standard of medical care ADA 2012

13 การตรวจประเมินเท้าเบาหวาน
การตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน 1. ควรประเมินลักษณะภายนอกของเท้ารวมถึงเท้าผิดรูป 2. ประเมินปลายประสาทโดยใช้ monofilament น้ำหนัก 10 กรัม 3. คลำชีพจรที่เท้า 4. ตรวจรองเท้าของผู้ป่วย

14

15 การตรวจประเมินเท้า ตรวจเท้าทั่วทั้งเท้า หลังเท้า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และซอกนิ้วเท้า ว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ตรวจผิวหนังทั่วทั้งเท้า โดยดูสีผิว มีซีดคล้ำ อุณหภูมิ ขน ผิวหนังแข็ง หรือตาปลาและการอักเสบติดเชื้อ และบริเวณซอกนิ้วเท้า ตรวจเล็บ ดูว่ามีเล็บขบ และดูร่องรอยของวิธีการตัดเล็บว่าถูกต้องหรือไม่ ตรวจลักษณะการผิดรูปของเท้าจากการมีปลายประสาทเสื่อม ได้แก่ นิ้วเท้าจิก เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้าเก

16 Standard of medical care ADA 2012

17

18

19

20

21 การตรวจประเมินเล็บเท้า
ตรวจเล็บเท้า : สี ลักษณะรูปร่าง และ เชื้อรา

22 การตรวจประเมินเท้าเบาหวาน
ขั้นตอนการตรวจการรับความรู้สึกโดยใช้ โมโนฟิลาเมน น้ำหนัก 10 กรัม

23

24 1) ทำการตรวจในห้องที่มีความเงียบสงบ และอุณหภูมิห้องที่ไม่เย็นจนเกินไป
2) อธิบายขั้นตอนและกระบวนการตรวจให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนทำการตรวจ และใช้ปลายของ โมโนฟิลาเมน แตะ และกดที่บริเวณฝ่ามือหรือท้องแขน ของผู้ป่วยในน้ำหนักที่ทำให้ โมโนฟิลาเมน งอตัวเล็กน้อย ประมาณ วินาที เพื่อให้ผู้ป่วยทราบและเข้าใจถึงความรู้สึกที่กำลังจะทำการตรวจ

25 3) ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าที่สบาย และวางเท้าบนที่วางเท้าที่มั่นคง ซึ่งมีแผ่นรองเท้าที่ค่อนข้างนุ่ม 4) เมื่อจะเริ่มตรวจให้ผู้ป่วยหลับตา 5) ใช้ โมโนฟิลาเมน แตะในแนวตั้งฉากกับผิวหนัง ทีละตำแหน่ง ทั้งหมดตรวจ 4 ตำแหน่ง

26

27

28 โดยหลีกเลี่ยงบริเวณหนังหนาหรือตาปลา หรือแผลเป็น และค่อยๆ กดลงจน
โมโนฟิลาเมน มีการงอตัวเพียงเล็กน้อย แล้วกดค้างไว้นาน วินาที

29 ในการตรวจแต่ละตำแหน่งให้ทำการตรวจ 3 ครั้ง โดยเป็นการตรวจจริง ( คือมีการใช้ โมโนฟิลาเมน แตะและกดลงที่เท้าผู้ป่วยจริง) 2 ครั้ง และตรวจหลอก ( คือ ไม่ได้ใช้ โมโนฟิลาเมน แตะที่เท้าผู้ป่วย แต่ให้ถาม ผู้ป่วยว่า “รู้สึกว่ามี โมโนฟิลาเมน มาแตะหรือไม่?”) 1 ครั้ง ซึ่งลำดับการตรวจจริงและหลอกไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับที่เหมือนกันในการตรวจแต่ละตำแหน่ง Disadvantages

30 Plantar Pressure Evaluation
6) ถ้าผู้ป่วยสามารถตอบการรับความรู้สึกได้ถูกต้องอย่างน้อย 2 ครั้ง ใน 3 ครั้ง (ซึ่งรวมการตรวจหลอกด้วย 1 ครั้ง ดังกล่าวในข้อ 5) ของการตรวจแต่ละตำแหน่ง แปลผลว่าการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้า ของผู้ป่วยยังปกติ 7) ถ้าผู้ป่วยสามารถตอบการรับความรู้สึกได้ถูกต้องเพียง 1 ครั้ง ใน 3 ครั้ง (ซึ่งรวมการตรวจหลอกด้วย 1 ครั้ง ดังกล่าวในข้อ 5) หรือตอบไม่ถูกต้องเลย ให้ทำการตรวจซ้ำใหม่ที่ตำแหน่งเดิม ตามข้อ 5 ข้อพึงระวัง ผู้ป่วยที่มีเท้าบวม หรือเท้าเย็นอาจให้ผลตรวจผิดปกติได้ Plantar Pressure Evaluation

31 8) การตรวจพบการรับความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้าผิดปกติ แม้เพียงตำแหน่งเดียว แปลผลว่าผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันตนเองที่เท้า 9) สำหรับผู้ป่วยที่มีผลการตรวจปกติ ควรได้รับการตรวจซ้ำปีละ 1 ครั้ง

32 ปัญหาของหลอดเลือดที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
คลำชีพจรหลอดเลือดที่เท้า ได้แก่ เส้นเลือดแดงที่อยู่บริเวณหลังเท้า ชีพจร ที่จับได้จะอยู่หลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้ และเส้นเลือดแดงที่อยู่บริเวณหลังปุ่มกระดูกข้อเท้าด้านใน

33

34

35 การเลือกลักษณะรองเท้าที่เหมาะสมสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน

36 การตรวจประเมิน: รองเท้า
ลักษณะรองเท้า หุ้มส้น สวมใส่พอดี ไม่คับ ไม่หลวมจนเกินไป รองเท้าหน้ากว้าง สิ่งแปลกปลอมในรองเท้า ถุงเท้า และตะเค็บ Insoles, orthoses

37

38

39 Neuropathic Ulcer

40 การดูแลเท้าด้วยตนเอง
รักษาเท้าให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ ตรวจดูเท้าตนเองทุกวัน ถ้ามีปัญหาให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ทาโลชั่นที่เท้าเพื่อให้ความชุ่มชื้น ยกเว้นที่ง่ามนิ้ว ถ้าจำเป็นต้องแช่เท้าในน้ำ ให้ใช้มือหรือข้อศอกทดสอบอุณหภูมิ ของน้ำก่อน

41 การดูแลเท้าด้วยตนเอง
ให้สวมถุงเท้าเสมอในเวลากลางวัน และ เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน ให้สวมถุงเท้าหากเท้าเย็นในเวลากลางคืน ไม่ควรใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบนเท้า เลือกรองเท้าให้เหมาะสม ไม่แน่นคับ หรือหลวมเกินไป ตรวจดูรองเท้า ทั้งภายนอกและภายใน ก่อนการสวมใส่เสมอ

42 ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาแพทย์ทันที เมื่อมีปัญหาใด ๆ

43 สิ่งที่ไม่ควรกระทำ... การสูบบุหรี่
การปล่อยให้เท้าเปียก โดยไม่เช็ดให้แห้ง ตัดเล็บจนลึก และสั้นจนเกินไป การขูดตาปลา หรือใช้สารเคมีเพื่อลอกตาปลาด้วยตนเอง การเดินเท้าเปล่า ไม่ใส่รองเท้า การเดินบนพื้นที่ร้อน การใส่รองเท้าคีบ

44

45

46 บทสรุป ปัญหาเรื่องเท้าเบาหวานเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ตรวจประเมินเท้าเบาหวานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อประเมินหาความผิดปกติที่เท้าและเล็บ ความผิดปกติทางระบบประสาท และ ความผิดปกติของหลอดเลือด การดูแลเท้าด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำทุกวัน

47


ดาวน์โหลด ppt การฟื้นฟูความรู้เรื่อง การดูแลเท้าเบาหวาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google