Nipah virus
295 human cases ตาย 120 คน ฆ่าหมู 1.1 ล้านตัว ฆ่าหมามากกว่า 100 ตัว
Etiology กลุ่ม Paramyxovirus Hendra-like virus มีสายพันธุกรรมแตกต่างจากไวรัส Hendra ประมาณ 20% เชื้อไวรัสคล้าย Hendra (ที่ต่อไปจะเรียกว่า ไวรัส นิป๊ะ) นี้มีเป็นไวรัสที่มีรูปร่างไม่แน่นอน (pleomorphy) มีเปลือกหุ้ม (enveloped) และมีสารพันธุกรรมเป็นชนิด RNA
เชื้อนี้ไม่คงทนต่อสภาวะแวดล้อม สามารถฆ่าเชื้อโดยสบู่ ผงซักฟอกที่ใช้ตามบ้าน รวมถึงยาฆ่าเชื้อที่มีใช้ทั่วไปเช่น ไอโอดีน
นอกจากนี้ยังพบมีคนงานในโรงฆ่าสัตว์ ที่ประเทศสิงคโปร์ที่ทำการฆ่าและชำแหละสุกรที่มาจากประเทศมาเลเซีย เกิดป่วยและตาย
ผู้ป่วยจะแสดงอาการ ไข้สูง ง่วงซึม ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ โคม่า ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกายสูง ๆ ต่ำ ๆ และตาย ในช่วงแรกของการระบาด
อาการในสุกร - ลูกสุกรดูดนม : ไม่พบมีอาการ - สุกรอนุบาล (อายุมากกว่า 4 สัปดาห์) และสุกรขุน : ไข้สูง (>= 39.9 OC) กินอาหารลดลง 1-2 วัน และเบื่ออาหาร มีอาการทางระบบหายใจ คือ หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ ไอแห้ง ๆ ตัวงอ หายใจไม่ออกและตายใน 2-3 วัน อาการทางระบบประสาท คือ ตัวสั่น เกร็ง ขาหลังอ่อนแรง อัตราการตายพบสูงใน 7-10 วัน แล้วลดลง
แม่สุกร : ไข้สูงเฉียบพลัน (>= 39 แม่สุกร : ไข้สูงเฉียบพลัน (>= 39.9 OC) หายใจแรงเสียงดัง อ้าปากหายใจ น้ำลายไหล มีฟองสิ่งคัดหลั่งสีขาว เหลือง หรือเป็นเลือด จากปากและจมูก อาจแท้งในช่วงท้องระยะต้น บางตัวตายเฉียบพลันใน 24 ชั่วโมงโดยไม่มีอาการให้เห็น อาการทางระบบประสาทได้แก่ กระแทกหัวกับผนังคอก กัดคอก ตัวเกร็ง ท้องอืด มีเลือดจากจมูกตอนตาย พ่อสุกร : อาการคล้ายคลึงกับแม่สุกร
ระยะฟักตัวของโรคในสุกร จากการนำเชื้อที่แยกได้จากคนไปทดสอบให้เกิดโรคในสุกร พบว่ามีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 7-10 วัน ซึ่งเร็วกว่าในคน อัตราการตายในสุกรประมาณ 5% โดยอาการป่วยหยุดลงค่อนข้างเร็ว
การแพร่โรค จากสุกรไปสุกร:โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำกาม (semen) หรือ อาจจากละอองที่เกิดจากการไอ จากสุกรไปยังสุนัขและแมว:จากการกินซากสุกรป่วยหรือกินวัสดุที่มีสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ป่วยปนเปื้อน
จากสุกรไปคน : จากการสัมผัสโดยตรงกับสุกรมีชีวิต และไม่มีหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง จากฟาร์มสุกรหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง:จากการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือ จากการซื้อสุกรตามฟาร์ม
Australian fruit bats (Pteropus sp.)
การทำลายซาก หลังจากสุกรตายแล้วให้ทำการฝังลึก อย่างน้อย 7 เมตร และต้องมีดินกลบอย่างน้อย 2.5 เมตร เพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยซากจากสัตว์
ข่ายงานเฝ้าระวังโรคสมองอักเสบนิป็ะของกรมปศุสัตว์