ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว
หลักในการสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับหลักการในการสร้างภาพเคลื่อนไหวคล้ายกับการสร้างการ์ตูนโดยประกอบด้วย ฉากการแสดง(Scene) เป็นเนื้อหาย่อยๆ ของภาพยนตร์ทั้งเรื่องซึ่งจะประกอบไปด้วยฉากต่างๆ หลายๆ ฉาก โดยที่ตัวละครในฉากจะแสดงบนเวทีการแสดง (Stage) ในแต่ละฉากก็จะมีตัวละครหรือสิ่งที่ต้องแสดงหลายๆตัวละครเรียกว่า เลเยอร์(Layer) ในแต่ละท่าทางของตัวละครที่แสดงเรียกว่า เฟรม (Frame) และเมื่อนำเฟรมต่างๆ มาแสดงจะได้ภาพเคลื่อนไหว ของตัวละครนั้นๆ
ตัวละคร (Layer) ฉากการแสดง (Scene) เวทีการแสดง (Stage) ท่าทางของตัวละคร (Frame)
องค์ประกอบของภาพเคลื่อนไหว ฉากการแสดง (Scene) Scene คือ เรื่องราวตอนหนึ่งในละครทั้งเรื่อง ซึ่งในละครหนึ่งเรื่องจะประกอบไปด้วยหลายๆฉาก สำหรับในโปรแกรม Flash เมื่อเริ่มสร้างชิ้นงานโปรแกรมจะสร้าง Scene ให้แล้วโดยกำหนดชื่อว่า Scene1 ถ้ามีการเรียกใช้ Scene หลายๆ Scene การทำงานของโปรแกรม Flash จะเริ่มทำงานจาก Scene1 ไปเรื่อยๆตามลำดับ
องค์ประกอบของภาพเคลื่อนไหว ท่าทางของตัวละคร (Frame) Frame คือ ช่องแสดงภาพแต่ละช่วงเวลา ถ้าเปรียบเทียบกับละคร Frame หมายถึง ท่าทางของตัวละครที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆในแต่ละช่วงเวลาที่ผู้กำกับกำหนด โดยในการแสดงแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ Frame เป็นจำนวนหลายๆ Frame
ลักษณะการทำงานของ Frame Frame มีลักษณะเป็นช่องเล็กๆที่เรียงกันเป็นแถวยาว ทำหน้าที่บรรจุภาพและเสียงที่จัดวางบน Stage เราจึงต้องจัดเรียงเรื่องราวบน Frame เพื่อแสดงออกมาเป็น Flash Movie โดยแต่ละ Frame จะถูกแสดงเมื่อมีการผ่านของ Play head ตัวนี้เองจะเป็นตัววิ่งผ่าน Frame แต่ละ Frame เพื่อแสดงภาพและเสียงที่บรรจุอยู่ใน Frame
ลักษณะการทำงานของ Frame Key Frame เฟรมที่กำหนดรายละเอียดหรือสร้างชิ้นงานไว้ภายในแตกต่างกันออกไป ใช้สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวในแต่ละช่วง Frame ช่วงของเฟรมที่มีลักษณะภายในเฟรมเหมือนกันทั้งหมดแบบต่อเนื่องมาจากคีย์เฟรมแรก ใช้สำหรับสร้างเฟรมภาพนิ่งที่ไม่กำหนดการเคลื่อนไหว Key Frame Play Head Blank Frame Frame Blank Key Frame Play Head หัวอ่านหรือหัวเล่น Movie Blank Frame ส่วนที่ยังไม่ได้สร้างเฟรมขึ้นมาใช้งาน Blank Key Frame คีย์เฟรมที่ว่างอยู่ยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดหรือสร้างชิ้นงานไว้ภายใน
แบบฝึกทักษะ คำชี้แจง จงสร้างและจัดการเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาพเคลื่อนไหว (Scene Frame Layer)คนละ 1 ชิ้นงาน โดยปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ 1. สร้าง Scene ขึ้นมา 2 Scene โดย Sceneที่ 1 ตั้งชื่อว่า “ชื่อเรื่อง” และ Sceneที่ 2 ตั้งชื่อว่า “ฉากที่ 1” 2. ให้นักเรียนเพิ่ม Frame 3 Frame แล้วปรับการแสดง Frame ให้มีขนาด Medium