ซิลิคอน คอนโทรล สวิตช์ (SCS)
ซิลิคอน คอนโทรล สวิทช์ หรือ SCS จะประกอบสารกึ่งตัวนำ 4 ตอน PNPN มีขาถูกต่อออกมาใช้งาน 4 ขา ขาต่าง ๆ ของ SCS มีดังนี้ ขาแอโนด (A) ขาแคโถด (K) บางครั้งเรียกว่าขาอิมิตเตอร์ (E) ขาแคโถด เกท (GK) บางครั้งเรียกขาเบส (B) และขาแอโนด เกท (GA) บางครั้งเรียกขาคอลเลคเตอร์ (C) แสดงเป็นโครงสร้างและสัญลักษณ์ดังรูป
โครงสร้างและวงจรสมมูลย์ของ SCS
2. สามารถเพิ่มการควบคุมการทำงานการหยุดทำงานได้ SCS เมื่อเปรียบเที่ยบกับ SCR แล้ว SCS มีข้อดีดีกว่า SCR หลายอย่างด้วยกันดังนี้ 1. SCS ใช้เวลาในการนำกระแส และหยุดนำกระแสเท่ากับที่ SCR นำกระแสคือประมาณ 1~10mS ส่วน SCR ใช้เวลาหยุดนำกระแส 5~30mS 2. สามารถเพิ่มการควบคุมการทำงานการหยุดทำงานได้
การควบคุมให้ SCS ที่นำกระแสแล้วหยุดนำกระแส แสดงไว้ 3 วิธี ดังนี้ 1. การหยุดนำกระแสโดยใช้พัลซ์บวกป้อนให้ขา GA
2. การหยุดนำกระแสโดยใช้ทรานซิสเตอร์ลัดวงจร
3. การหยุดนำกระแสโดยใช้พัลซ์ลบป้อนให้ขา GK
เกท เทิน ออฟ สวิตช์ (GTO)
รูปร่างและตำแหน่งขาของ GTO
การทำงานและการทำงานของ GTO สามารถควบคุมการจ่ายแรงดันได้ที่ขา G เพียงขาเดียว แต่ต้องใช้กระแสเกทที่มากระตุ้น GTO สูงกว่าของ SCR ปกติ SCR ใช้กระแสกระตุ้นเกทประมาณ 30mA ส่วนของ GTO ต้องใช้กระแสเกทสูงถึงประมาณ 10 mA ดังนั้นกระแสเกทที่จะทำให้ GTO หยุดนำกระแสจะต้องสูงมากขึ้นไปอีก ขึ้นอยู่กับชนิดของ GTO ที่นำมาใช้งาน
การทำให้ GTO หยุดนำกระแส 1. ใช้วิธีการหยุดนำกระแสของ SCR มาใช้ได้เลย 2. ป้อนแรงดันลบค่าสูงให้ขา G ของ GTO เทียบกับขา K
การนำ GTO ไปใช้งาน วงจรกำเนิดสัญญาณฟันเลื่อย
ไลท์ แอกทีฟ ซิลิกอน คอนโทรล เร็กติไฟเออร์ (LASCR)
โครงสร้างและภาพตัดครึ่งภายในของ LASCR
โครงสร้างและขาต่อใช้งานจะเหนือกับ SCR ทุกอย่าง ส่วนแตกต่างกันคือ ตัวถังของ LASCR จะเจาะใส่กระจกให้โปร่งแสงบางส่วน เพื่อให้แสงสามารถไปกระทบรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ PN ระหว่างขา G กับขา K ได้ ส่วนรูปที่ 6.10 (ข) แสดงสัญลักษณ์ของ LASCR ในรูปที่ 6.11 แสดงโครงสร้างจริง ตำแหน่งของแสงที่ตกกระทบ LASCR และภาพตัดครึ่งแสดงส่วนประกอบภายใน
แสดงรูปร่างของ LASCR