การสอบถาม อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดต่อสื่อสาร.
Advertisements

หลักการบันทึกข้อความ
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
การสร้างคำถาม.
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
การสัมภาษณ์ อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
รายงานการวิจัย.
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การเลือกตัวอย่าง อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study Research) อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
การศึกษารายกรณี.
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนาการปิด การเจรจาต่อรอง
การดำเนินงานสุขศึกษา ในชุมชน
การวางแผนและการดำเนินงาน
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่1
2 การเก็บรวบรวมข้อมูล Data Collection.
การวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล
การเตรียมการนำเสนอผลงานของ PCT และระบบสำคัญ
คุณภาพการประเมินนักเรียนและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน
การติดตาม และประเมินโครงการ.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : ตัวแปรการวิจัย.
ตัวอย่างงานวิจัย องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ห้องสมุดของนักเรียนมัธยมศึกษา ตารางที่ 4-7 ตารางที่
นำเสนอหนังสือวิชาการ
ธุรกิจ จดหมาย.
การจัดกระทำข้อมูล.
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
บทที่ 7 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเขียนรายงานการวิจัย
แบบสังเกต (Observation form)
บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศไปพัฒนาองค์กร
แบบสอบถาม (Questionnaires)
ข้อมูลและสารสนเทศ.
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นางพวงเพ็ญ อินทร์เอี่ยม
การประยุกต์ใช้คลังความรู้
หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวทางการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA)
การเขียนเอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant Information Sheet) โดย นางนวี เอกศักดิ์ กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล (Layperson)
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
ความหมายของการวิจารณ์
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
14. การเขียนโครงร่างการวิจัย (แบบ ว -๑) (Proposal)
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
การฟังเพลง.
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
การอ่านเชิงวิเคราะห์
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวทางการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบ การสอนแบบโครงงาน/โครงการ
เทคนิคการถ่ายทอด พ.อ.ฐิตินันท์ อุตมัง.
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษา
หลักการเขียนโครงการ.
บทที่ 8 การวิจัยเชิงพรรณนา : การสำรวจ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 7 การวิจัยเชิงสืบเสาะ : การวิจัยเชิงคุณภาพ
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลข เช่น น้ำหนัก ความสูง ระยะทาง อายุ หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในรูปคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
การเตรียมข้อมูล (Data preparation)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสอบถาม อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์

ผู้ตอบมีเวลาไตร่ตรอง และสามารถย้อนกลับมาตอบคำถามช่วงต้นๆ ที่ไม่เข้าใจหรือยังคิดไม่ออกในตอนแรกได้ สามารถจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ถ้าข้อคำถามชัดเจน ไม่กำกวม ทุกคนจะตีความไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการวัดในมาตรฐานเดียวกัน ผู้ตอบจะมีความเชื่อมั่นว่า คำตอบของตนจะเป็นความลับมากกว่าการสัมภาษณ์หรือการสังเกต เพราะไม่มีการระบุตัวบุคคลผู้ตอบในแต่ละแบบสอบถามนั้น ข้อดี

โดยธรรมชาติของแบบสอบถาม เป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ยืดหยุ่น เจาะลึกในรายละเอียดไม่ได้ ข้อจำกัดด้านเวลา ถ้าการจอบแบบสอบถามยาวเกินกว่า 25 นาที มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากผู้ตอบ ในกรณีที่ผู้ตอบไม่เข้าใจ เขาจะไม่สื่อสารกลับมาให้ผู้ทำการวิจัยทราบ และจะตอบไปตามที่เข้าใจในขณะนั้น ข้อเสีย

ประเภทของแบบสอบถาม แบบสอบถามที่ไม่มีโครงสร้าง หรือปลายเปิด (Unstructured Questionaire or Open-ended Form) แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง หรือปลายปิด (Structured Questionaire or Close-ended Form)

แบบสอบถามที่ไม่มีโครงสร้าง หรือปลายเปิด เป็นแบบสอบถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ สามารถตอบได้อย่างเสรีตามความพอใจ แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ จึงตอบยาก และต้องใช้เวลาในการตอบมาก เนื่องจากผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวางเพื่อตอบคำถาม นำแบบสอบถามประเภทนี้ไปใช้ควบคู่กับแบบสอบถามอื่นๆ ผู้ตอบส่วนใหญ่จะข้ามไปไม่ตอบคำถามประเภทนี้ หรือไม่ก็ตอบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง หรือปลายปิด เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยกำหนดคำถามโดยมีจุดมุ่งหมายแน่นอนอยู่ในใจ และจัดเตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้ว ฉะนั้น แบบสอบถามประเภทนี้จึงประกอบด้วยข้อคำถามและตัวเลือก (คำตอบ) โดยมักจะให้ผู้ตอบตอบโดยใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เครื่องหมายถูก เครื่องหมายผิด หรือเขียนวงกลม ล้อมรอบคำตอบที่ต้องการ ซึ่งกำหนดไว้ตายตัวแล้ว แบบสอบถามประเภทนี้สร้างยาก และต้องใช้เวลาในการสร้างมากกว่าแบบสอบถามแบบปลายเปิด ผู้ตอบสามารถตอบได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามนี้สามารถนำไปวิเคราะห์และแปลผลได้ง่าย

แบบสำรวจ (Check-list) แบบให้เลือกตอบเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง แบบที่มีหลายคำตอบให้เลือกเพียงคำตอบเดียว แบบมีหลายคำตอบและให้โอกาสผู้ตอบเลือกได้หลายคำตอบ เพศ [ ] ชาย [ ] หญิง อาชีพ [ ] รับราชการ [ ] รับจ้าง [ ] ค้าขาย [ ] เกษตรกร ท่านรับข่าวสารจากทางใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1) [ ] หนังสือพิมพ์ [ ] วิทยุ [ ] โทรทัศน์ [ ] อินเตอร์เน็ท

แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นแบบที่ให้เลือกตอบตามน้ำหนักความสำคัญเปรียบเทียบกัน โดยมุ่งให้ผู้ตอบประเมินข้อความที่ระบุไว้ออกมาเป็นระดับ มาตราส่วนประมาณค่าอาจจะมีระดับเป็นช่วงต่างๆ เช่น 3, 4, 5, 7, 9, หรือ 11 ช่วงก็ได้

แบบจัดอันดับความสำคัญ เป็นแบบที่ให้ผู้ตอบเลือกเรียงลำดับความสำคัญโดยเรียงตามความสำคัญจากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือความคิดเห็นของผู้ตอบ

องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม การสอบถามข้อเท็จจริง (Factual) เช่น ภูมิหลังของผู้ตอบ เพศ อายุ การศึกษา ฯลฯ แม้จะง่ายและสะดวกกว่าวิธีอื่นๆ แต่ในบางสถานการณ์อาจต้องใช้การสังเกตร่วมด้วย ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างอาจจำผิด หรือไม่แน่ใจ โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นนานแล้ว เช่นถามเรื่องในอดีต เป็นต้น                                  ตัวอย่างของคำถามข้อเท็จจริง ได้แก่ ท่านเคยบริจาคการกุศลหรือไม่ ท่านเคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ท่านอายุเท่าไหร่ ท่านเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ ท่านมีรถยนต์หรือไม่ ฯลฯ องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม

องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม การสอบถามความคิดเห็น (Opinion) เป็นการถามเพื่อศึกษาปฏิกิริยาต่างๆ หรือทัศนคติของผู้นั้น เช่น ถามว่าการพนันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนไทย คำตอบก็ได้แก่ ใช่ หรือ ไม่ใช่, เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ฯลฯ องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม

องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม การสอบถามเหตุผล (Interpretative) เป็นการถามเพื่อต้องการค้นหาสาเหตุหรือต้นเหตุ เพื่อประเมินความคิดเห็น ความปรารถนา ตลอดจนสิ่งจูงใจต่างๆ                                  ส่วนใหญ่คำถามจะเริ่มต้นว่า "ทำไม" หรือ "เหตุใด"                                  การสอบถามลักษณะนี้ ผู้วิจัยต้องใช้ความระมัดระวังในการตั้งคำถาม เพราะส่วนใหญ่โอกาสที่ผู้ตอบจะตอบว่า "ไม่ทราบ" เช่น ควรจะมีการเกณฑ์ทหารหรือไม่ ทำไมท่านจึงใช้บริการธนาคารนี้ ฯลฯ องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม

องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม การสอบถามความรู้ (Knowledge) เป็นการถามเพื่อวัดความรู้ของผู้นั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด รู้อย่างไร เช่น ถามว่า "ปัจจุบันวุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้ง" "การต้มน้ำให้เดือดก่อนนำมาบริโภคช่วยป้องกันโรคท้องร่วง" "โรคเอดส์ติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์" ฯลฯ องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของคำถาม