หนังสืออ้างอิง
ความหมาย หนังสือที่ให้เรื่องราวข้อเท็จจริง ต่าง ๆ มีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ดี ทำให้สะดวก และรวดเร็วในการค้น
ลักษณะของหนังสืออ้างอิง มีวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาที่เป็นระบบระเบียบ มีวิธีการเขียนที่กระชับ จบในตัวเองทุกเรื่อง มีขนาดใหญ่ หนา หรือมีหลายเล่มจบ รวบรวมความรู้หลายประเภท ให้ความรู้อย่างกว้าง ๆ หายาก ราคาแพง
ประโยชน์ของหนังสืออ้างอิง ช่วยให้ค้นคว้ารวดเร็วขึ้น ให้ข้อเท็จจริง ส่งเสริมให้รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง 1. ให้สารสนเทศที่ต้องการโดยตรง * พจนานุกรม * สารานุกรม * หนังสือรายปี * หนังสือคู่มือ * นามานุกรม * หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ * อักขรานุกรมชีวประวัติ * สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ประเภทของหนังสืออ้างอิง 2. ให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ * หนังสือบรรณานุกรม * หนังสือดรรชนีวารสาร 3. หนังสือวิชาการทั่วไปที่มีคุณค่าและเนื้อหา ที่เหมาะสม เช่น สาส์นสมเด็จ พระราชประวัติ
หลักเกณฑ์การใช้หนังสืออ้างอิง 1. เมื่อต้องการคำตอบความรู้อย่างสั้น ๆ หรือต้องการชื่อหนังสือหรือบทความ 2. วินิจฉัยว่าควรค้นจากหนังสือประเภทใด คำ - พจนานุกรม เรื่องราวเป็นเรื่องๆ - สารานุกรม สารสนเทศที่ทันสมัย สถิติ ข้อเท็จจริงต่างๆ - หนังสือรายปี ประวัติบุคคล-อักขรานุกรมชีวประวัติ ชื่อบุคคล หน่วยงาน - นามานุกรม สารสนเทศเฉพาะ - หนังสืออ้างอิงประเภทคู่มือ ภูมิศาสตร์ - หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ สารสนเทศรัฐบาล - สิ่งพิมพ์รัฐบาล แหล่งของข้อมูลหรือสารสนเทศ - หนังสือดัชนีวารสาร