การดูแลผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง ( LBP )
งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยออร์โธชาย 3 งานการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
กระดูกสันหลังแบ่งเป็นช่วงต่างๆ คือ - กระดูกสันหลังส่วนคอมี 7 ชิ้น - กระดูกสันหลังส่วนอก มี 12 ชิ้น - กระดูกสันหลังส่วนเอว มี 5 ชิ้น - กระดูกสันหลังส่วนสะโพก มี 5 ชิ้น - กระดูกสันหลังส่วนกระดูกก้นกบ มี 4 ชิ้น
ภายในโพรงกระดูกสันหลัง เป็นที่อยู่ของ 1. ประสาทไขสันหลัง 2. ปมประสาท 3. รากประสาท กระดูกสันหลังแต่ละข้อจะยึดต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก มีหมอนที่ทำให้เกิดความแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นสามารถเคลื่อนไหวลำตัวได้หลายทิศทาง
หน้าที่ของกระดูกสันหลัง 1. รับและกระจายน้ำหนักของร่างกายท่อนบน 2. เป็นเกราะป้องกันไขประสาทและ รากประสาท 3. ช่วยในการเคลื่อนไหวอิริยาบถได้แก่ การก้ม การเงย หรือแอ่นหลัง บิดตัว
สาเหตุของอาการปวดหลัง 1. มีความผิดปกติมาตั้งแต่เกิด 2. การได้รับอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลังและสะโพก 3. โรคติดเชื้อ เช่น วัณโรคของกระดูกสันหลัง 4. เนื้องอกเช่น มะเร็งกระดูกสันหลัง 5. การเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก 6. กล้ามเนื้ออักเสบ 7. ความเครียดทางอารมณ์ และความวิตกกังวล 8. โรคจากอวัยวะภายใน 9. โรคชองเส้นเลือด 10. ท่าทางและอิริยาบถในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องร่วมกับกล้ามเนื้อ หลังอ่อนแอ
โครงสร้างของกระดูกสันหลังและเส้นเลือดที่มาเลี้ยง
การรักษาของแพทย์ 1. การใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ NSAID และยากล่อมประสาท 2. การทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดกล้ามเนื้อ การใช้ความร้อน ความเย็น การดึงถ่วงน้ำหนัก 3. การนอนพัก พบว่าการนอนพักอย่างเต็มที่อยู่กับเตียง 2 วัน จะช่วยลดความดันภายในหมอนรองกระดูกลง อาการปวดจะบรรเทา 4. การบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ลดความเจ็บปวด 5. การใช้เครื่องพยุงหลัง เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง 6. การรักษาโดยวิธีผ่าตัดเมื่อ การรักษาดังกล่าวไม่ได้ผล หรือ เรื้อรัง และรุนแรง