คำแนะนำผู้ป่วย โรคนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยพิเศษ 2
ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี คำแนะนำ ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี หมายถึง ภาวะที่มีก้อนนิ่วในถุงน้ำดีเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตามมา ส่วนใหญ่พบมากในผู้หญิงที่มีอายุ40ปีขึ้นไป หญิงที่ตั้งครรภ์แล้วหลายครั้ง พบในกลุ่มบุคคลที่มีฐานะการเงินดี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์และมักพบในคนอ้วนมากกว่าคนผอม
สาเหตุ 1. สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัด 2. สาเหตุส่งเสริม - การอักเสบของถุงน้ำดี - อาหารพวกไขมันสูง - กรรมพันธุ์ - มีการคั่งของน้ำดีในถุงน้ำดี - ผู้ป่วยที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ - ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
การทำ อัลตราซาวน์ ที่ท้อง และ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ท้อง อาการ ปวดท้องส่วนบน นอนตัวงอและนอนนิ่งๆ อาจพบท้องอืด กดเจ็บใต้ชายโครงขวา ในรายที่มีการอักเสบของถุงน้ำดีอาจมีไข้สูง การตรวจและวินิจฉัยโรค การทำ อัลตราซาวน์ ที่ท้อง และ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ท้อง
การรักษา 1. การรักษาแบบประคับประคอง ก่อนในรายที่มีการอักเสบ ติดเชื้อร่วมกับมีนิ่วในถุงน้ำดีโดย - การให้ยาบรรเทาปวด - การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อ - การให้ยากล่อมประสาท - การงดอาหารน้ำทางปาก - ให้นอนพักบนเตียง
การรักษาโดยการผ่าตัด ในกรณีที่รักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล ได้แก่ การผ่าตัดเปิดโดยตรง การผ่าตัดผ่านกล้องส่อง (L.C.= แอล ซี)
คำแนะนำผู้ป่วยก่อนผ่าตัด 1. ก่อนทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมผ่าตัดและยินยอม รับเลือด (เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อจำเป็นต้องให้เลือดโดยด่วน) 2. จะมีเจ้าหน้าที่จากแผนกดมยาสลบและพยาบาลห้องผ่าตัด มาเยี่ยมเพื่อให้คำแนะนำก่อนเข้าห้องผ่าตัด 3.ในคืนก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด คือการฟอกถูผิวหนังด้วยยาฆ่าเชื้อที่หน้าท้อง
4. การงดอาหารน้ำหลังเที่ยงคืน 5. การให้ยาคลายความวิตกกังวลในคืนก่อนผ่าตัด และเช้าวัน ผ่าตัด 6. การให้น้ำเกลือเช้าวันผ่าตัด 7. บางรายอาจมีการสวนอุจจาระหรือการคาสายสวนปัสสาวะ 8.ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ1ช.ม.และพักที่ห้องพักฟื้น2ชั่วโมง
คำแนะนำผู้ป่วยหลังผ่าตัด 1. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดที่ชายโครงด้านขวา (ผ่าแบบเปิด) หรือเป็นจุด ประมาณ3-4จุด (ผ่าแบบผ่าน กล้องส่อง) 2. มีน้ำเกลือให้ทางหลอดเลือดดำ
3. แพทย์อาจให้งดน้ำอาหารก่อนหลังออกจาก ห้องผ่าตัด หรือให้เริ่มทานได้เลย 4. ผู้ป่วยจะได้รับการจัดให้นอนอยู่ในท่าหัวสูง เพื่อช่วยลด อาการตึงของแผล
6. หลังออกจากห้องผ่าตัดเมื่อรู้สึกตัวดีแล้วควรเริ่มทำการ ออกกำลังกายบนเตียง 5. ขณะเคลื่อนไหวควรใช้มือประคองแผลทุกครั้งเพื่อลดภาวะ ตึงเครียดกล้ามเนื้อและลดความสั่นสะเทือนของแผล 6. บางรายหลังผ่าตัดอาจมีถุงรองรับน้ำดีต่อจากที่แผลผ่าตัด
การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน 1. งดอาหารที่มีไขมันสูง 2. การพักผ่อนและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม 3. การทำงานควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนักในระยะ3เดือน แรกของการผ่าตัด ยกเว้นการผ่าตัดผ่านกล้องส่อง สามารถทำงานได้ปกติหลังผ่าตัด7วัน
4. การรับประทานยาตามแผนการรักษา 5. การทำความสะอาดแผลทำที่คลินิก ที่สถานีอนามัยหรือที่ โรงพยาบาล 6. กรณีที่ใช้พลาสเตอร์กันน้ำปิดแผลก็สามารถอาบน้ำได้ไม่ ต้องทำแผล ยกเว้น มีเลือดออกที่แผล
7. การมาตรวจตามนัดควรมาตามกำหนดนัดที่ห้องตรวจ ศัลยกรรมทั่วไป 8. ถ้ามีอาการผิดปกติเช่นปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลืองมากขึ้น ก็ควรมาก่อนนัด