โรคทูลารีเมีย (Tularemial)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเอดส์
Advertisements

โรคที่สำคัญในสุกร.
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)
วัณโรค (Tuberculosis/ TB)
โรคเฮโมรายิกเซฟติกซีเมีย (โรคคอบวม)
Avian Salmonellosis ระบาดวิทยา
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วย น้ำนมทุกชนิดและติดต่อถึงคน ประเทศไทยมีคนป่วยตายเป็นอันดับต้นๆ 3 รายแรกของโลก โรคพิษสุนัขบ้า.
โรคที่เกิดจากสารเคมีที่เป็นพิษในอาหาร
โรคพยาธิ จัดทำโดย โรคพยาธิ ด.ช.พัสกร มะลิแก้ว เลขที่26
โรคอาหารเป็นพิษ เสนอ อ. สุมน คณานิตย์ จัดทำโดย
แนวทางการใช้ยาปฎิชีวนะ
การปฏิบัติตัวขณะได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ยินดีต้อนรับ สู่..ตึกโรคปอด.
แผนการสอนเรื่องปอดอักเสบ
คำแนะนำผู้ป่วย โรคนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยพิเศษ 2.
งานสุขศึกษา หอผู้ป่วยกุมาร 3
โรคเอสแอลอี.
มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ…..ลิวคีเมีย จัดทำโดย น.ส. สุดารัตน์ เมืองเจริญ
ผู้ป่วยเม็ดเลือดขาวต่ำ
I. โรคผิวหนัง 1.1. เกิดจากปาราสิตภายนอก เช่น
โรคพยาธิในเลือด โรคพยาธิในเลือดส่วนใหญ่จะหมายความถึงเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในเลือด ไม่ได้รวมถึงหนอนพยาธิที่อยู่ในเส้นเลือด เช่นพยาธิใบไม้เลือด พยาธิในเลือดมักทำให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงกว่าพยาธิในทางเดินอาหารมาก.
โรคอหิวาต์เป็ด ไก่ (Fowl cholera)
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
โรคบิด/โรคคอคซิดิโอซิส (Coccidiosis)
โรคฝีดาษไก่ (Pox disease)
โรคท้องขึ้น (Bloat) เป็นโรคที่พบบ่อยในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งมี 4 กระเพาะเนื่องจาก กระเพาะที่ 1 (รูเม็น) มีการ สร้างแก๊ส ทำให้เกิดท้องขึ้น โดยกระทันหันและผลิตสาร.
กลุ่มอาการท้องเสียในลูกโค (Calf scour)
โรคไข้สมองอับเสบเจอี Japanese encephalitis เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี จัดทำโดย น.ส.เนตรนภา ชั่งประดิษฐ รหัส กลุ่มพื้นฐานที่ 12.
สัมนาทางชีววิทยา เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี จัดทำโดย
เชื้อ Aeromonas hydrophila ที่ก่อโรคในปลาน้ำจืด
เลือดออก ไข้ haemorrhagic fever โรคไข้เลือดออกคืออะไร
สรุปภาพรวมการดำเนินงานที่ผ่านมา
โรคคอตีบ (Diphtheria)
แบบบันทึกประกอบการวินิจฉัยและการรักษา โรคท้องร่วงเฉียบพลัน
Tuberculosis วัณโรค.
การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าในเวชปฏิบัติ
ข้อพึงปฏิบัติเพื่อ ป้องกันตนเอง จากไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 กิน ร้ อ น ช้อน กลา ง ล้าง มื อ.
บทที่ 9 โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ
มวนเพชรฆาต (Kissing bug, Assassin bug)
สถานการณ์ โรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จังหวัดนครปฐม ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 งานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.
โรคอุจจาระร่วง.
โดย โรงพยาบาลร้องกวาง
โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)
โรคอุบัติใหม่ – อุบัติซ้ำ (Emerging Disease – Re-Emerging Disease)
การใช้สารเคมีในด้านเกษตรกรรม
การใช้สารเคมี สมาคมอารักขาพืชไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ ใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “ สมาคม ผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : ส.ธ.ก. ( Thai Pesticide.
สารเคมีแช่ท่อนพันธุ์
คำแนะนำเรื่อง โรค มือ เท้า ปาก สำหรับผู้ปกครอง.
โรคเบาหวาน ภ.
ข้อสอบกลางภาค ประจำภาคเรียนที่
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
กลุ่ม 5 ชื่อกลุ่ม ; วายร้าย
Tonsillits Pharynngitis
Nipah virus.
 “ เชื้อโรค ” หมายถึง จุลินทรีย์ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการติด เชื้อหรือโรคติดเชื้อได้ เช่น ไวรัสแบคทีเรีย รา โปรโตซัว ริคเก็ตเชีย และหนอนพยาธิ  “ เชื้อโรค.
ประโยชน์ของผลไม้ไทย.
การดูแลสุขภาพกาย กลุ่มงานระบาดวิทยา.
อย่า ! ให้คนที่รักต้องจากไปเพราะ...
วัณโรค อยู่ใกล้ตัวคุณ...แค่นี้เอง.
สถานการณ์และแนวโน้มการระบาด มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน
ไข้หวัดใหญ่ (Flu 2009) ปัจจุบัน การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วประเทศ และพบผู้เสียชีวิต จากโรคดังกล่าวจำนวนหนึ่ง การระบาดภายในประเทศระยะแรก.
ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ...
 “ เชื้อโรค ” หมายถึง จุลินทรีย์ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการติด เชื้อหรือโรคติดเชื้อได้ เช่น ไวรัสแบคทีเรีย รา โปรโตซัว ริคเก็ตเชีย และหนอนพยาธิ  “ เชื้อโรค.
Q Fever. Holly Deyo, URL:
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ43102
Scrub typhus.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรคทูลารีเมีย (Tularemial) สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://thaigcd.ddc.moph.go.th/index.html 20/03/2551

ลักษณะโรค โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย (Rabbit Fever) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน ที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งเนื่องจากสามารถติดต่อทางละอองฝอย (Aerosol) ได้ และสามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม A ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 จนถึงขณะนี้ พบว่ามีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 200 ราย

ระบาดวิทยา โรคนี้เกิดในสหภาพโซเวียต เอเชียไมเนอร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป ยกเว้นคาบสมุทรไอเบอเรียน (Iberian Peninsula) และเกาะอังกฤษ

เชื้อก่อโรค โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Francisella tularensis มีลักษณะเป็นค๊อกโคบาซิลไล ไม่เคลื่อนที่ ไม่สร้างสปอร์ มีแคปซูล แบคทีเรียนี้มี 4 types โดย type A มีความรุนแรงที่สุด

สัตว์รังโรค และแมงนำโรค สัตว์รังโรคอยู่ในสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 100 ชนิด รวมทั้ง สัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู กระรอก กวาง แพรีด๊อก (Parrie dog) และสามารถติดต่อมายังสัตว์เลี้ยงจำพวกวัว ควาย แกะและแมวได้ โดยมีเหลือบ เห็บ หมัด หรือยุงเป็นแมลงนำโรค

วิธีการติดต่อ โรคนี้ติดต่อมายังคนโดยถูกแมลงพาหะที่กัดเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อนี้กัด หรือติดโดยสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง (Secretion) ของสัตว์ ที่ป่วยด้วยโรคนี้ เข้าทางบาดแผล เยื่อเมือก หรือรอยถลอก ขีดข่วน หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนได้ เชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ ไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน ระยะฟักตัวของโรค 1 – 14 วัน แต่ทั่ว ๆ ไป 3 – 5 วัน

อาการในคน ลักษณะของโรคทูลารีเมีย ในคนมี 2 รูปแบบขึ้นอยู่กับช่องทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย คือ ทางผิวหนัง และทางการหายใจ หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิดบาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อหากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติดเชื้อจะเป็นไข้แบบไทฟอยด์ (typhoidal tularemia) คือมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็นพิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้ง ๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ ลักษณะปอดบวมจากการตรวจทางรังสีทรวงอก อัตราตายของโรคแบบไข้ประมาณร้อยละ 35

การรักษา รักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตร็พโตไมซิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณ 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรืออาจใช้ยาเจนตาไมซิน ปริมาณ 3 – 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 10 – 14 วัน ยาเตตระไซคลีนและ ครอแรมเฟนิคอลก็ใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน แต่ผู้ติดเชื้อมักมีอาการไข้กลับค่อนข้างสูง

ข้อแนะนำ โรคนี้เกิดจากการติดต่อจากสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก สัตว์ป่าอื่น ๆ เช่น สกั้งค์ และนำมาซึ่งการติดต่อสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ดังนั้น ผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ควรที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้ คือ 1. การตัดสินใจในการที่จะเลี้ยงสัตว์ พวกกระต่าย หรือ หนู ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไม่มีสัตว์ป่วย เช่น มีอาการเซื่องซึมไม่ปราดเปรียวอยู่ในกรงหรือในฝูง ที่จำหน่าย และเป็นแหล่งที่สามารถตรวจสอบหลักแหล่งได้ เช่น ฟาร์มสัตว์เลี้ยง เป็นต้น 2. การเลี้ยงสัตว์เหล่านี้จะต้องรักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์ และอาหารสัตว์ที่นำมาเลี้ยงสัตว์ 3. หลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง ควรล้างมือทำความสะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง โดยเฉพาะมือที่มีบาดแผล ไม่ควรสัมผัสสัตว์โดยตรง

ข้อแนะนำ 4. ไม่ควรคลุกคลีหรือกอดหอมสัตว์เหล่านี้ โดยตรง 5. สิ่งสำคัญ หากตัดสินใจเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ จะต้องคำนึงถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจมีมากับสัตว์เหล่านี้ นอกจากโรค Tularemia แล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมาก ที่สัตว์เหล่านี้ สามารถนำมาสู่คนได้ เช่น โรคท้องร่วงจากเชื้อซัลโมเนลลา พยาธิชนิดต่าง ๆ 6. จากการเกิดโรคในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการถูกแมลงพาหะกัด มีอัตราการเกิดโรคนี้ที่สูงกว่าการติดต่อทางอื่น ๆ การเดินทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควรป้องกันด้วยสารไล่แมลงที่มีส่วนผสมของสาร DEET อยู่ด้วยจะสามารถป้องกันแมลงพาหะดังกล่าวได้ และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

สำนักระบาดวิทยา www.bt.cdc.gov/agent/tularemia ที่มา สำนักระบาดวิทยา www.bt.cdc.gov/agent/tularemia