ระบบประสาท (Nervous System) ระบบประสาท เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกทั้งหมด ระบบประสาทได้ชื่อว่าเป็นระบบที่ซับซ้อนที่สุดในโลก
เซลล์ประสาท( Nerve cell หรือ Neuron) ประกอบด้วยตัวเซลล์ (Cell body) ภายในมีนิวเคลียสและโพรโทพลาสซึมเหมือนเซลล์อื่นๆ แต่โพรโทพลาสซึมของเซลล์ประสาทจะยื่นออกไปจากตัวเซลล์ ได้แก่ แอกซอน (Axon) ซึ่งเป็นเส้นประสาทส่งออก (Motor nerve หรือ Efferent nerve) และ เดนไตรต์ (Dendrite) ซึ่งเป็นเส้นประสาทนำเข้า (Sensory nerve หรือ Afferentnerve)
โครงสร้างของเซลประสาท (Neuron Structure ) โครงสร้างของเซลประสาท (Neuron Structure ) เซลประสาททุกตัวจะประกอบไปด้วยตัวเซล ( cell body ) และแขนงประสาทที่ยื่นออกมาจากตัวเซล (process ) คือ แอกซอน (Axon ) กับเดนไดรต์ (Dendrites ) ซึ่งเป็นใยประสาท (nerve fiber ) โดยปกติเซลประสาท 1 เซล จะมีแอกซอนอยู่ 1 อัน แต่จะมีเดนไดรต์แตกแขนงอยู่หลายแขนง แอกซอนจะทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซล ขนาดและความยาวของแอกซอนจะแตกต่างกัน สั้นบ้าง ยาวบ้าง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อยู่ แอกซอนจะมีปลอกไมอิลิน (Myelin Sheath ) คลุมอยู่ ทำหน้าที่เป็นฉนวนกั้น ส่วนเดนไดร์ตทำหน้าที่สำคัญคือ นำหรือรับความรู้สึกเข้าหาตัวเซล เซลประสาทหนึ่งเซลจะมีเดนไดร์ตหลายอัน หรืออันเดียวก็ได้
เซลล์ประสาท แบ่งตามหน้าที่ออกได้เป็น 3 ชนิด 1. เซลล์ประสาทนำเข้า ( Sensory nerve) คือ เซลล์ประสาทที่นำกระแสประสาทจากภายนอกเข้าสู่ตัวเซลล์ บางครั้งอาจเรียกว่าเส้นประสาทรับรู้ 2. เส้นประสาทส่งออก ( Motor nerve) คือ เซลล์ประสาทที่นำกระแสประสาทจากศูนย์กลาง คือ สมองและไขสันหลัง ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย บางครั้งเรียกว่า เส้นประสาทกลไก 3. เส้นประสาทเชื่อมโยง (Connecting nerve) เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่ระหว่างเซลล์ประสาทอื่นๆ 2 ตัว ทำหน้าที่ให้กระแสประสาทผ่านไปได้ ได้แก่ จุดประสานของเซลล์ประสาท ซึ่งเรียกว่า ซิแนปส์ (Synapse)
ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Automatic nervous system) เป็นระบบประสาทที่ทำงานเป็นอิสระ อยู่นอกอำนาจจิตใจ โดยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก เป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังระดับอก และ เอว ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด หรือ ขณะตื่นเต้นตกใจ เช่น ในการต่อสู้กับศัตรู การทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ ในระยะที่มีการป่วยไข้ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย เป็นการเตรียมพร้อมที่จะพบสภาพต่างๆที่ร่างกายได้รับความกระทบกระเทือน (รำแพน พรเทพเกษมสันต์ ,2529 :126) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและการสะสมพลังงาน ไม่ใช่การใช้พลังงานอย่างประสาทซิมพาเทติก จึงทำงานตรงข้ามกับประสาทซิมพาเทติก เช่น ผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น เพื่อการย่อยและการดูดซึม รูม่านตาแคบลง ทั้งหมดนี้เป็นการสะสมพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นและรีบด่วน (พริ้มเพรา ผลเจริญสุข, 2522:76)