ดุลยภาพทั่วไป (General equilibrium)
การวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไปได้นำความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของตลาดทุกแห่งเข้ามาวิเคราะห์พร้อมๆกัน ขณะที่การวิเคราะห์ดุลยภาพเฉพาะส่วน (partial equilibrium analysis) จะกำหนดให้ตลาดอื่นที่มิได้วิเคราะห์ไม่มีผลจากตลาดที่กำลังวิเคราะห์อยู่
การวิเคราะห์ดุลยภาพเฉพาะส่วนเพียงพอหรือไม่ขึ้นอยู่กับ feedback effect ที่ทำให้เกิดการปรับตัวของราคาและปริมาณของตลาดต่างๆ ถ้ามีมากก็ต้องใช้ GE ถ้ามีน้อยก็ใช้แค่ PE
เปรียบเทียบ PE กับ GE PE คำนวณราคาของตั๋วหนังเป็น 6.35 ดังนั้นผล PE understate ในกรณีที่สินค้าทดแทนกัน แต่ถ้าสินค้าใช้ร่วมกัน ผล PE จะ overstate
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ (Welfare Economics) “The normative evaluation of markets and economic policy”
ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน (Exchange efficiency) การแลกเปลี่ยน หมายถึง คนอย่างน้อย 2 คนมาแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างน้อย 2 สิ่งระหว่างกัน จุดประสงค์ของการแลกเปลี่ยน คือ การทำให้มี สวัสดิการดีขึ้น (better off)
หลักเกณฑ์ที่ว่าการแลกเปลี่ยน (อาจเรียกว่าเป็นการจัดสรรหรือ allocation) ของสินค้าที่ทำให้มีสวัสดิการดีขึ้น คือ ประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto efficient) โดยมีหลักการที่ว่า “การแลกเปลี่ยนหรือการจัดสรรจะมีประสิทธิภาพเมื่อไม่มีใครดีขึ้นได้โดยปราศจากการทำให้คนอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนเลวลง (worse off)”
1. ทุกคนรู้ความพึงพอใจของทุกคน 2. การแลกเปลี่ยนสินค้าไม่มีต้นทุน ในการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาการแลกเปลี่ยนที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจากเดิม มีข้อสมมติที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. ทุกคนรู้ความพึงพอใจของทุกคน 2. การแลกเปลี่ยนสินค้าไม่มีต้นทุน 3. ก่อนการแลกเปลี่ยน Marginal Rate of Substitution ของสินค้าของคนที่แลกเปลี่ยนไม่เท่ากัน
การวิเคราะห์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า The Edgeworth Box Diagram ประกอบด้วย - คน 2 คน - สินค้า 2 ชนิด - จุดการจัดสรรเริ่มต้น (initial allocation) ของคนทั้งสอง - ผลบวกของจำนวนสินค้าแต่ละประเภทของแต่ละคนเท่ากับจำนวนรวมของสินค้าแต่ละประเภท
สวัสดิการที่เพิ่มขึ้นจากการแลกเปลี่ยนวัดได้จากอรรถประโยชน์ของแต่ละคนที่ได้มากขึ้น โดยดูจากเส้น IC นั่นคือ IC ที่ผ่านจุด A (ของ James) IC ที่ผ่านจุด A (ของ Karen) MRS ของ James ณ.จุด A ไม่เท่ากับ MRS ของ Karen ทำให้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยน เช่น MRSJ = 1/2 และ MRSK = 3
ก่อนอื่นต้องแยกพื้นที่เป็น 2 ส่วน - ส่วนที่ทำให้คนใดคนหนึ่งเลวลง - ส่วนที่ทำให้คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนดีขึ้น จะแลกเปลี่ยนในส่วนหลังนี้เท่านั้น
แม้ว่าการแลกเปลี่ยนจะทำให้คนทั้งสองดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพ (เช่นจากจุด A ไปจุด B) ซึ่งทำให้ทั้งคู่อยู่บน IC ที่สูงกว่าเดิม จุดที่มีประสิทธิภาพ คือ จุดที่ IC ของทั้งสองเส้นสัมผัสกัน เพราะว่าการจัดสรร ณ.จุดนี้ไม่สามารถทำให้ใครคนใดคนหนึ่งดีขึ้นโดยไม่ทำให้อีกคนเลวลง (เป็นไปตามเงื่อนไขของพาเรโต้)
จุดที่ IC ทั้ง 2 เส้นสัมผัสกันในพื้นที่ที่แลกเปลี่ยนแล้วมีอรรถประโยชน์เพิ่มขึ้นมีมากมาย คนทั้งสองจะลงเอยการแลกเปลี่ยนจุดใดขึ้นอยู่กับความสามารถเจรจาต่อรองของคนทั้งสอง
ใน Edgeworth Box จะมีจุดสัมผัสของ IC มากมาย หากไม่คำนึงถึงจุดเริ่มต้นของการจัดสรรสินค้า จุดที่เชื่อมต่อจุดสัมผัส IC ทั้งหมดใน Edgeworth Box เรียกว่าเส้น Contract Curve
ข้อพึงสังเกต 1. ประสิทธิภาพพาเรโต้เพียงแต่บอกว่าการแลกเปลี่ยนจะทำให้มีประสิทธิภาพได้ แต่ไม่ได้บอกว่าจุดใดบนเส้น Contract Curve จะดีที่สุด 2. การจัดสรรให้ไปถึงประสิทธิภาพพาเรโต้อาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนมากกว่า 1 ครั้งหรือเป็นชุดหรือเป็นการแทรกแซงของรัฐบาล เช่น การยกเลิก import quota และ job relocation subsidy ของสหรัฐ
F C ถ้าแลกเปลี่ยน James 7 1 ต้องการ C เพิ่ม Karen 3 5 ต้องการ F เพิ่ม ดังนั้น MRSJFC ไม่เท่ากับ MRSKFC การแลกเปลี่ยนจะทำให้ MRS ของทั้งสองค่อยๆเปลี่ยนไป และอาจไปเป็น MRS เดียวกัน ซึ่งทำให้ทั้งคู่พอใจสูงสุด
ตามที่ทราบกันมาว่า จุดสัมผัส IC สามารถให้ค่า Marginal rate of substitution ได้ ดังนั้น คน 2 คนที่แลกเปลี่ยนกัน ณ.จุดนี้ก็ต้องมี MRS เท่ากัน ฉะนั้น MRSJFC = Pc = MRSJFC PF