วิชา มรดก ครั้งที่ ๔ เมทินี ชโลธร
แบบของพินัยกรรม (๗แบบ) แบบธรรมดา แบบเขียนเองทั้งฉบับ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ แบบทำด้วยวาจา
☻แบบทำในภาวะการรบหรือการ สงคราม ☻แบบทำตามกฎหมาย ต่างประเทศ ☻แบบทำในภาวะการรบหรือการ สงคราม
พินัยกรรมแบบธรรมดา ทำเป็นหนังสือ - เขียน/พิมพ์ก็ได้ - ใครเขียน/พิมพ์ก็ได้ - ใช้ภาษาอะไรก็ได้
พินัยกรรมแบบธรรมดา ๒. ลงวัน เดือน ปี ที่ทำ - ทำให้รู้ว่าขณะทำผู้ทำมี ความสามารถหรือไม่ -ทำให้รู้ว่าทำก่อน/หลัง ฉบับอื่น - หากไม่ลงเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดา ๓. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือ ชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน พร้อมกัน - ผู้ทำลงลายมือชื่อ/ลายพิมพ์ นิ้วมือก็ได้ แต่ใช้แกงไดฯไม่ได้ - ลงลายมือชื่อก่อน/หลังพยาน ก็ได้ แต่ต้องลงต่อหน้าพยานอย่าง น้อย ๒ คน พร้อมกัน
พินัยกรรมแบบธรรมดา ๔. พยานอย่างน้อย ๒ คน ต้องลงลายมือชื่อรับรอง ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ไว้ในขณะนั้น - ต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงไดฯ ไม่ได้
- พยานในพินัยกรรมกับพยาน ที่รับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้ทำเป็น คนเดียวกันได้ - พยานจะลงลายมือชื่อก่อน/ หลังผู้ทำก็ได้ แต่ขณะลงชื่อต้อง อยู่พร้อมกันทั้งผู้ทำและพยาน อย่างน้อย ๒ คน
การขูดลบ ตก เติม แก้ไข เปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบธรรมดา การขูดลบ ตก เติม แก้ไข เปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องกระทำด้วยวิธีเดียวกับ การทำพินัยกรรม ข้อ ๒. ถึง ๔ ผล เป็นไปตามที่แก้ไข แต่หากกระทำไม่ถูกต้อง ข้อความเดิมยังใช้บังคับได้
ฎีกาที่ ๑๑๐๓๔/๒๕๕๓ พินัยกรรมแบบธรรมดา - การที่พยานคนใด คนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลง ลายมือชื่อโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำ พินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ย่อมไม่ชอบด้วยม.๑๖๕๖ วรรคหนึ่ง พินัยกรรมเป็นโมฆะ
แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมมา สอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่า ประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผล ทำให้พินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับ กลายเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ชอบด้วย กฎหมายไม่
ฎีกาที่ ๒๑๐๒/๒๕๕๑ พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับย่อม ไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองแต่เป็นพินัยกรรม แบบธรรมดาที่ต้องมีพยานรู้เห็น และผู้ทำ พินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่าง น้อย ๒ คน พร้อมกัน การที่พยานในพินัยกรรมลง ชื่อในภายหลังจึงขัดต่อ ม. ๑๖๕๖ พินัยกรรมเป็น โมฆะ
ฎีกาที่ ๘๗๔๗/๒๕๕๐ สถานที่ทำพินัยกรรมไม่ใช่ข้อ สาระสำคัญของแบบพินัยกรรม ซึ่งจำต้องระบุไว้แต่อย่างใด ดังนั้นการระบุสถานที่ทำ พินัยกรรมผิดไปจากความจริง ไม่ทำให้พินัยกรรมต้องเสียไป
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมต้อง เขียนเองทั้งฉบับ -ให้คนอื่นเขียนไม่ได้ - ใช้พิมพ์ไม่ได้ - ถ้าปนกันดูว่าตัดส่วนที่ พิมพ์ไปแล้วเข้าใจได้หรือไม่
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ๒. ต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำ ๓. ผู้ทำพินัยกรรมลง ลายมือชื่อ - จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงไดฯ ไม่ได้ทั้งสิ้น
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลง ผู้ทำพินัยกรรมแก้ไขแล้วลง ลายมือชื่อกำกับ (ไม่ต้องลงวัน เดือนปี)
ฎีกาที่ ๑๒๒๓/๒๕๕๑ -ผู้ทำพินัยกรรมใช้แบบพิมพ์ พินัยกรรมของราชการทหาร -มีพยานลงชื่อ ๒ คน แต่คนหนึ่ง ปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อ เท่ากับมี พยาน ๑ คน ไม่ถูกต้องตาม ม. ๑๖๕๖ (แบบธรรมดา) เป็นโมฆะ
- แบบพิมพ์พินัยกรรมที่ใช้ พิมพ์ข้อความไว้ ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นช่องว่างไว้ให้กรอก เฉพาะสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ ชื่อผู้ทำ/ผู้รับ กับ ลายมือชื่อผู้ทำ เท่านั้น หากตัดข้อความที่พิมพ์ ออกให้เหลือเฉพาะที่เขียนเองก็ไม่มีความหมาย เป็นพินัยกรรม จึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบเขียน เองทั้งฉบับด้วยเช่นกัน
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ ประสงค์จะใส่ไว้ในพินัยกรรม แก่กรมการอำเภอต่อหน้า พยานอย่างน้อย ๒ คน - กรมการอำเภอ ปัจจุบันคือ นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้รับแจ้งต้องเป็นนายอำเภอหรือ ผอ.เขต หรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ได้รับมอบหมายฯ พยาน ๒ คน ไม่รวมกรมการอำเภอ และต้องอยู่พร้อมกันขณะผู้ทำฯ แจ้งข้อความ ทั้งต้องมีคุณสมบัติ เป็นพยานได้ด้วย
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ๒. กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ ได้รับแจ้งและอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรม และพยานฟัง - จดเอง/ให้คนอื่นจดก็ได้ - ใช้เขียน/พิมพ์ก็ได้ - ไม่ต้องจดต่อหน้าก็ได้แต่ต้อง อ่านให้ฟัง และอ่านไม่พร้อมกันก็ได้
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ๓. ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลง ลายมือชื่อ - ผู้ทำลงลายมือชื่อ/ลายพิมพ์นิ้ว มือก็ได้ แต่พยาน ๒ คนต้องลง ลายมือชื่อเท่านั้น - ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อ พร้อมกัน
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ๔. กรมการอำเภอต้องลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี และจดลงไว้ด้วยตนเอง ว่าพินัยกรรมทำขึ้นถูกต้องตามมาตรา ๑๖๕๘(๑) ถึง (๓) และประทับตรา ตำแหน่ง -หากไม่ประทับตราก็ไม่สมบูรณ์ แต่อาจสมบูรณ์ในแบบอื่นได้
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลง - ผู้ทำพินัยกรรม / พยานอย่าง น้อย ๒ คน/ กรมการอำเภอลงชื่อ กำกับ - ไม่ต้องลงวัน เดือน ปี
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่าย เมืองอาจทำนอกที่ว่าการ อำเภอได้ เมื่อมีการร้องขอ ตามมาตรา ๑๖๕๙
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง การเก็บรักษาพินัยกรรม -เก็บไว้ที่อำเภอ -ถ้าผู้ทำพินัยกรรมขอเก็บเอง ต้องคัดสำเนาพร้อมลงชื่อและ ประทับตราตำแหน่งแล้วเก็บไว้ที อำเภอก่อน -ห้ามเปิดเผย
ฎีกาที่ ๘๑๘๙/๒๕๕๑ -ผู้ร้องขอให้ไปทำพินัยกรรมเอกสาร ฝ่ายเมืองให้ผู้ตายที่โรงพยาบาล ป.เป็นปลัดอำเภอแต่รักษา ราชการแทนนายอำเภอ การที่ ป. ไปทำให้จึงชอบ ก่อนไปผู้ร้องแจ้งให้ ป.ทราบ ข้อความที่ผู้ตายประสงค์จะใส่ใน พินัยกรรม
ป.ให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความ ในพินัยกรรมไว้ก่อนแล้วจึงไป การกระทำดังกล่าวเป็นเพียง การอำนวยความสะดวกแก่ จนท.ไม่ต้องนำพิมพ์ดีดและ กระดาษไปพิมพ์ที่ โรงพยาบาล
-การที่ผู้ร้องแจ้งข้อความยังไม่ใช่ การแจ้งข้อความที่ประสงค์ของ ผู้ตาย - เมื่อถึงรพ.แล้ว ป.ถามผู้ตายว่า ประสงค์จะทำพินัยกรรมตามนั้น หรือไม่ ผู้ตายยืนยันต่อหน้าพยาน ๒ คน แล้ว ป.อ่านและให้ลงชื่อ รับรองพร้อมประทับตราตำแหน่ง ถือว่าชอบแล้ว
ฎีกาที่ ๘๐๔๕/๒๕๔๔ ปลัดอำเภอสอบถามความประสงค์ของผู้ตายขณะ ผู้ตายนอนป่วยในรถพยาบาล แล้วปลัดอำเภอกับผู้ ร้องเป็นคนบอกให้ พ.พิมพ์แล้วนำพินัยกรรมไป อ่านให้ผู้ตายฟัง จากนั้นนำกลับมาให้ พ.ลงชื่อเป็นผู้ พิมพ์และพยาน จึงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้แจ้งข้อความ ที่ประสงค์จะใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อหน้าพยานสอง คนพร้อมกัน
การแจ้งความประสงค์ต่อกรมการอำเภอต่อ หน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน นั้น พยานต้องอยู่ ต่อหน้าโดยได้ยินผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความ มิใช่เพียงแต่เห็นมีการทำพินัยกรรมและเห็น ข้อความในพินัยกรรมเท่านั้น พินัยกรรมจึง ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับ
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมทำ พินัยกรรมและลงลายมือ ชื่อ - ลงลายมือชื่อ/ลายพิมพ์ นิ้วมือก็ได้(โดยมีผู้รับรอง) - ไม่ต้องลงวันเดือนปีก็ได้
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ๒. ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึก พินัยกรรมแล้วลงลายมือชื่อ/ ลายพิมพ์นิ้วมือคาบรอยผนึก - ถ้าใช้พิมพ์ลายนิ้วมือ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือก็ ต้องลงชื่อด้วย
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ๓. ผู้ทำพินัยกรรมนำไปแสดง ต่อกรมการอำเภอและพยาน อย่างน้อย ๒ คน พร้อมให้ ถ้อยคำว่าเป็นพินัยกรรมของ ตน -ไม่ต้องบอกเนื้อความ - ถ้าคนอื่นเขียนให้ก็ต้อง แจ้งชื่อและภูมิลำเนา
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ๔. กรมการอำเภอต้องจด ถ้อยคำและวัน เดือน ปี ที่นำ พินัยกรรมมาแสดงไว้บนซอง และประทับตราตำแหน่ง แล้ว กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซอง
-แบบเอกสารลับทำนอกที่ทำการไม่ได้ ข้อสังเกต -ผู้ทำพินัยกรรมเป็นคนใบ้ หูหนวก พูดไม่ได้ - ใช้เขียนแจ้งแทนการให้ถ้อยคำและกรมการ อำเภอก็ต้องบันทึกบนซองไว้ -แบบเอกสารลับทำนอกที่ทำการไม่ได้ -เก็บที่อำเภอ แต่ถ้าผู้ทำขอเก็บเองก็ได้โดยไม่ ต้องคัดสำเนาไว้เหมือนแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา เงื่อนไข ๑.ต้องมีพฤติการณ์ พิเศษ ๒.ต้องไม่สามารถทำ แบบอื่นได้
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ๑.ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนาต่อ หน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน ซึ่ง อยู่พร้อมกัน ๒. พยาน ๒ คนไปแสดงตนต่อ กรมการอำเภอโดยมิชักช้าและ แจ้งข้อความนั้น รวมทั้งวันเดือนปี สถานที่ทำ และพฤติการณ์พิเศษ
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ๓. กรมการอำเภอจดข้อความที่ พยานแจ้งและพยาน ๒ คน ลง ลายมือชื่อ/ลายพิมพ์นิ้วมือ (โดย มีพยานรับรอง) ผลหากพ้น ๑ เดือน นับแต่ผู้ทำฯ อยู่ในฐานะที่จะทำแบบอื่นได้ พินัยกรรมด้วยวาจาสิ้นผลทันที
พินัยกรรมแบบทำตามกม.ต่างประเทศ เป็นกรณีคนไทยอยู่ในต่างประเทศ - ทำตามแบบของต่างประเทศ - ทำตามกม.ไทย – หน้าที่ของ กรมการอำเภอให้เป็นของพนักงาน ทูต/กงสุลฝ่ายไทย/พนง.ที่มีอำนาจ ตามกม.ของประเทศนั้น
พินัยกรรมในภาวะการรบหรือสงคราม เป็นกรณีอยู่ในภาวะการรบ/สงคราม หากทหารหรือผู้เกี่ยวข้องกับราชการ ทหารจะทำพินัยกรรม ไม่ว่าใน/ตปท. - นายทหารหรือทหารสัญญาบัตร= กรมการอำเภอ -ถ้าป่วยอยู่โรงพยาบาล -แพทย์= กรมการอำเภอ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม -หากทำไม่ถูกตามแบบพินัยกรรม ย่อมเป็นโมฆะ (ตาม ม.๑๗๐๕) -แต่แม้ไม่ถูกต้องตามแบบหนึ่งแต่ ไปสมบูรณ์ในอีกแบบหนึ่งก็มีผล บังคับได้ (ดู.ม.๑๗๔)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม (ต่อ) -อาจสมบูรณ์เป็นได้หลายแบบ -การขูดลบ ตกเติมฯ ไม่นำ ม. ๑๗๔ มาใช้ พินัยกรรมเป็นแบบใด การขูดลบ ตกเติมฯต้องใช้แบบนั้น เว้นแต่พินัยกรรมสมบูรณ์หลาย แบบ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม (ต่อ) แบบเขียนเอง หากผู้ทำฯลงชื่อต่อ หน้าพยาน ๒ คน ก็สมบูรณ์เป็น แบบธรรมดาด้วย การขูดลบ ฯจึง ใช้ได้ทั้งสองวิธี ผู้ทำพินัยกรรมจะลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วมือก็ได้ ยกเว้น แบบเขียนเองต้องลงลายมือชื่อ เท่านั้น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม (ต่อ) -พยานในพินัยกรรมต้องลงลายมือ ชื่อเท่านั้น เว้นแต่แบบทำด้วยวาจา พยานจะลงลายพิมพ์นิ้วมือ (โดยมี พยานรับรอง)ก็ได้ - พินัยกรรมทำด้วยวาจาเป็นแบบ เดียวที่มีระยะเวลาสิ้นผลกำหนดไว้
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม (ต่อ) -การขูดลบ ตก เติมฯเฉพาะ พินัยกรรมแบบธรรมดา เท่านั้นที่ ต้องลงวัน เดือน ปี ด้วย
ผลของพินัยกรรมที่มีเงื่อนไข เงื่อนไขบังคับก่อน สำเร็จก่อนผู้ทำฯตาย มีผล เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย สำเร็จหลังผู้ทำฯตาย มีผล เมื่อเงื่อนไขสำเร็จ
ผลของพินัยกรรมที่มีเงื่อนไข เงื่อนไขบังคับหลัง สำเร็จก่อนผู้ทำฯตาย ข้อกำหนดไร้ผล สำเร็จหลังผู้ทำฯตาย ข้อกำหนดมีผลตั้งแต่ผู้ทำฯ ตาย สิ้นผลเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ
ข้อสังเกต - ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดไว้ใน พินัยกรรมให้ความสำเร็จของ เงื่อนไขมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ ผู้ทำฯตาย -หากเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ แน่นอน ข้อกำหนดฯตกไปตาม มาตรา ๑๖๙๘ (๒)
ผลของพินัยกรรมที่มีเงื่อนเวลา เงื่อนเวลาเริ่มต้น ถึงกำหนดก่อนผู้ทำฯตาย ข้อกำหนดมีผลเมื่อผู้ทำตาย ถึงกำหนดหลังผู้ทำตาย ข้อกำหนดมีผลเมื่อถึงเวลานั้น
ผลของพินัยกรรมที่มีเงื่อนเวลา เงื่อนเวลาสิ้นสุด ถึงกำหนดก่อนผู้ทำฯตาย ข้อกำหนดไร้ผล ถึงกำหนดหลังผู้ทำฯตาย ข้อกำหนดสิ้นผลเมื่อถึงเวลานั้น