เพิ่มพูนทักษะการเคลื่อนไหว นายธวัชชัย สาบัว ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านท่าเกวียน
กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยทำงานร่วมกับระบบโครงกระดูก กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลาย เป็นกล้ามเนื้อที่ติดกับโครงกระดูก เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา ลักษณะมองเห็นเป็นแทบลาย ทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
กล้ามเนื้อเรียบ เป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ เป็นต้น ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี1นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง
กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง
การดูแลรักษากล้ามเนื้อ 1. รับประทานอาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนเพื่อให้กล้ามเนื้อ เจริญเติบโตเต็มที่ 2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3. ใช้กล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี เช่นไม่ใช้กล้ามเนื้อในการทำงานหนักเกินไป
กระดูก กระดูกในร่างกายของคนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีจำนวน 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามตำแหน่งที่อยู่ คือ กระดูกแกนและกระดูกรยางค์
1. กระดูกแกน (axial skeleton) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูก และกระดูกหน้าอก
2. กระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกแขน กระดูกขา กระดูกสะบัก กระดูกเชิงกราน กระดูกไหปลาร้า
หน้าที่ของกระดูก 1. เป็นแกนยึดให้ร่างกายสามารถยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวได้ 1. เป็นแกนยึดให้ร่างกายสามารถยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวได้ 2. ป้องกันอวัยวะสำคัญบางอย่างที่บอบบางและถูกกระทบกระเทือนหรือถูกทำลายได้ง่าย 3. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ พังผืด และเอ็น เพื่อช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้
การดูแลรักษากระดูก 1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับกระดูกและฟัน 3. ควบคุมน้ำหนักตัว การที่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไปจะทำให้เสี่ยงกับการเป็นโรคกระดูกผุได้ 4.ไม่สูบบุหรี่ คนที่ติดบุหรี่มักมีปัญหาโรคกระดูกผุก่อนเวลา
ข้อกระดูก ข้อต่อ คือบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นมาเชื่อมต่อกัน ด้วยข้อต่อซึ่งจะทำให้ร่างกายของมนุษย์เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง
ข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแต่ละชิ้นในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ได้แก่ ข้อต่อของกะโหลกศีรษะ 2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ได้แก่ ข้อต่อกระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกเชิงกราน 3. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก ได้แก่ ข้อต่อแบบบานพับ ข้อต่อแบบบอลล์ แอนด์ ซอกเคท และข้อต่อแบบอานม้า
การดูแลรักษาข้อกระดูก 1. ควรหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ใช้กระดูกและข้อไม่เหมาะสมซึ่งมีส่วนทำให้ข้อเสื่อมเร็ว 2. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด 3. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4. งดดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน