ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
Advertisements

GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)
ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
กระบวนการสร้างแบบทดสอบ อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์
ลักษณะของหลักสูตร หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
การวัดและประเมินผลการศึกษา
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ และมาตรฐาน งานการวัดและประเมินผล ในสถานศึกษา
จุดมุ่งหมายหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
หลักการพัฒนา หลักสูตร
ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)
การวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
Objective Analysis การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
การติดตาม และประเมินโครงการ.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
หลักสูตรการจัดการทั่วไป
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
การเสริมประสิทธิภาพการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน
จุดมุ่งหมายการศึกษา และพฤติกรรมการศึกษา
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สิ่งที่จะเรียนรู้ในวันนี้
กระบวนการทำแผนการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
การกำหนดเกณฑ์ ประเมินคุณภาพภายใน
อาชีพ เชื้อชาติ เพศ เบอร์ของนักฟุตบอล ศาสนา
ความสำคัญและมโนทัศน์พื้นฐานของการวัดและประเมินผลการศึกษา
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
การวัดผล (Measurement)
มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน
รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6 ชื่อแผน ออกแบบบ้านในฝันน่าอยู่
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สวัสดี ครับ เพื่อนพี่น้องผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน.
ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
คณะผู้จัดทำ นายอรรถวัฒน์ ราชา นายสุรพล ยอดคำลือ
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
การประเมินตามสภาพจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี กระโหมวงศ์
หลักสตรูแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การนำเสนอและการประเมินผลโครงงาน
การวัดและประเมินผล การเรียนรู้
ADDIE Model.
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
หลักการเขียนโครงการ.
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
วิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
นายอนุพงศ์ อินทนิด วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
การวัดและประเมินผล.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรช่วงชั้นที่ 3 และ 4
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0) ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา ห้องพักอาจารย์ อาคาร 29 สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย Email & MSN & facebook : ajau.cmru@hotmail.com HomePage : www.er.cmru.ac.th โทรศัพท์ 086-192904X (ใช้ mail หรือ fb จะดีกว่า)

แนวการสอน การวัดและประเมินผล แบบอิงเกณฑ์ เก็บระหว่างภาค 70% เก็บระหว่างภาค 70% งานกลุ่ม งานเดี่ยว 35-40% ความสนใจ ใฝ่เรียน 10-15% สอบกลางภาค 20% สอบปลายภาค 30%

ข้อตกลงการเรียนร่วมกัน การมาเรียน จำนวน 15 ครั้ง เวลาเข้าเรียน (ไม่สาย) การแต่งกายตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด การส่งงาน ตรงตามกำหนด ครบถ้วน ถูกต้อง การเข้าสอบ ตามตารางสอบกลางภาค ปลายภาค

เนื้อหา หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลและการประเมินผล หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลและการประเมินผล หน่วยที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา หน่วยที่ 3 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 4 กระบวนการสร้างแบบทดสอบ หน่วยที่ 5 การดำเนินการสอบ หน่วยที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 7 การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ หน่วยที่ 8 คะแนนและการนำไปใช้ หน่วยที่ 9 ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการทดสอบในโรงเรียน

รูปแบบการเรียนการสอน ผู้สอน บรรยายหลักวิชาการ มอบหมายกิจกรรม ให้คำแนะนำการทำแบบฝึกหัด ให้คำแนะนำการจัดทำรายงาน ผู้เรียน ศึกษาค้นคว้าหนังสือ ปฏิบัติกิจกรรม แบบฝึกหัด รายงาน นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

www.er.cmru.ac.th

คำอธิบายรายวิชา ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0) Principles of Learning Measurement and Evaluation ความหมายและบทบาทของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล การเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง การสร้างเครื่องมือชนิดต่าง ๆ สถิติเบื้องต้นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ การแปลความหมายจากการวัดผลการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในโรงเรียน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 ในการวัดผลการศึกษา ครูต้องคำนึงถึง สิ่งใดเป็นอันดับแรก ? ก. เครื่องมือที่จะวัด ข. เนื้อเรื่องที่จะวัด ค. จุดมุ่งหมายในการวัด ง. ผลจากการวัดเพื่อให้เป็นมาตรฐาน เฉลย ค

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 2. จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการส่งผลสะท้อนกลับ จากการวัดผลคือ ? ก. ตัดสินผู้เรียน ได้-ตก ข. ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ค. ปรับปรุงข้อสอบให้มีความยากง่ายพอสมควร ง. พิจารณาเกณฑ์ของจุดมุ่งหมายในการสอนใหม่ เฉลย ข

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 3. ข้อใด ไม่ใช่การทดสอบ ก. การให้เด็กนับจำนวนภาพ ข. การนับจำนวนเด็กที่มาสาย ค. การให้เด็กปั้นดินน้ำมันเป็นรูปตามที่ครูสั่ง ง. การสัมภาษณ์เพื่อหาสาเหตุที่มาสาย ของนักเรียน แต่ละคน เฉลย ข

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 4. ข้อใด หมายถึงการประเมิน ? ก. ลองชิมรสก่อนซิคะ ข. หนึ่งกิโลกรัมได้ตั้ง 7 ลูก ค. กิโลกรัมละ 12 บาทเท่านั้น ง. ฉันจะซื้อมะม่วงเพราะมันทั้งมัน ทั้งถูก เฉลย ง

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 5. ข้อใดถูกต้องที่สุด ก. การวัดผลประเมินผลต้องมีความผิดพลาด ข. พยายามใช้เครื่องมือวัดผลหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์ที่สุด ค. การวัดผลจะต้องสร้างเครื่องมือที่สามารถ วัดคุณภาพของคนให้ได้ ง. ภูชิตย์ เก่งวิชาภาษาไทยมากกว่าคณิตศาสตร์ เพราะได้คะแนนภาษาไทยมากกว่า เฉลย ค

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 6. การตรวจแบบฝึกหัดเป็นการประเมินผล เพื่อจุดหมายใด ? ก. เพื่อตัดสินผลการเรียน ข. เพื่อตรวจสอบพื้นฐานการเรียน ค. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน ง. เพื่อเร้า-กระตุ้นและจูงใจในการเรียน เฉลย ง

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 7. ข้อใดเป็นปรัชญาของการวัดผลประเมินผล ? ก. ปรับปรุงคุณภาพของข้อสอบ ข. ค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพมนุษย์ ค. ปรับปรุงคุณภาพโรงเรียน ง. ตรวจสอบความสามารถของมนุษย์ เฉลย ข

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 8. การวัดผลก่อนเรียน : ความรู้พื้นฐาน การวัดผลหลังเรียน : ....?...... ก. แนะแนว ข. ปรับปรุงการเรียนการสอน ค. ตัดสินผู้เรียน ผ่าน-ไม่ผ่าน ง. ตรวจสอบข้อบกพร่องของการเรียน เฉลย ข

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 9. ประโยชน์ของการประเมินผลในข้อใดที่มีต่อ ผู้บริหารมากที่สุด ? ก. ปรับปรุงข้อสอบให้ได้มาตรฐาน ข. ใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์โรงเรียน ค. ปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอน ง. ใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบของครู เฉลย ค

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1 10. ข้อความต่อไปนี้ จัดอยู่ในระดับการวัดใด ? “นาย ก. อายุ 10 ปี มีความสูง 150 ซม.” ก. อันตรภาค ข. นามบัญญัติ ค. อัตราส่วน ง. เรียงอันดับ เฉลย ค

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาไทย พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มาตรฐาน สมศ. ด้านครู ม.9 ตชว.7 มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (สาระความรู้ และ สมรรถนะของครู )

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาไทย คนไทยยุคใหม่ ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบ ตัดสินใจอย่างฉลาด มีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นคนแห่งการเรียนรู้ อยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา จุดมุ่งหมายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ผู้เรียนทุกคนมีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา มาตรฐาน สมศ. ด้านครู มาตรฐานที่ 9 ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวชี้วัดที่ 7 ครูมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและ อิงพัฒนาการของผู้เรียน

ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ของคุรุสภา มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ

1. ความหมายของ การทดสอบ การวัดผล การประเมินผล การทดสอบ (Testing) การวัดผล (Measurement) การประเมินผล (Evaluation)

การทดสอบ(Testing) กระบวนการที่ใช้เครื่องมือซึ่งอาจเป็นสถานการณ์ หรือคำถาม ไปเร้าสิ่งที่ถูกทดสอบให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในรูปของปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่สังเกตได้และวัดได้ เครื่องมือ เร้า สังเกตได้ คำถาม แบบทดสอบ พฤติกรรม วัดได้ สถานการณ์

การวัดผล(Measurement) Frederick M. Smith /Sam Adams 1966 การรวบรวมและเรียงลำดับข้อมูล ข้อความหรือข่าวสารอย่างเป็นระบบ (การจัดกระทำข้อมูล ผลการวัดและหน่วยการวัด) Leona E. Tyler, 1971 อธิบายความหมายในแง่จิตวิทยาไว้ว่า การรวบรวมกิจกรรมหลายอย่างในรูปของจำนวน โดยกำหนดค่าของจำนวนเป็นตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์การให้ค่าหรือความหมายแก่สิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ

การวัดผลทางการศึกษา(Educational Measurement) กระบวนการในการกำหนดหรือให้ค่าเป็นปริมาณ จำนวน อันดับ รายละเอียดของคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมความสามารถของบุคคลที่เกิดขึ้นเนื่องจากการศึกษาโดยใช้เครื่องมือเป็นหลักในการวัด ทำให้ได้ตัวเลขหรือข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ใช้แทนจำนวนหรือคุณลักษณะที่ได้จากการวัด แบ่งได้เป็น 2 ด้าน

การวัดผล(Measurement) การวัดผลการศึกษา (Educational Measurement) ทราบปริมาณ การกระทำ เป้าหมาย คุณภาพ การวัดผลการศึกษา (Educational Measurement) ปริมาณ กำหนด และให้ค่า พฤติกรรม การกระทำ ความสามารถ จำนวน อันดับ เกิดขึ้นเนื่องจากการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ด้าน

การวัดผลทางการศึกษา(Educational Measurement) แบ่งได้เป็น 2 ด้าน การวัดทางด้านกายภาพศาสตร์(Physical Measurement) การวัดโดยให้ค่าของสิ่งที่เป็นรูปธรรม มีตัวตนแน่นอน ออกมาเป็นจำนวนปริมาณด้วยเครื่องมือวัดที่แน่นอน มีหน่วยวัดที่แน่นอน การวัดทางด้านสังคมศาสตร์(Social Measurement) การวัดคุณค่าของสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตนที่แน่นอน เช่นการวัดพฤติกรรม คุณลักษณะ ความรู้สึก สติปัญญา ความสามารถ ความสนใจ ความสูง น้ำหนัก ความยาว ระยะทาง มีเครื่องมือวัดแน่นอน เป็นมาตรฐาน การวัดพฤติกรรม การแสดงออกในลักษณะต่างๆ เครื่องมือวัดไม่แน่นอน แต่ต้องสร้างให้เหมาะสม น่าเชื่อถือ

มาตราการวัด Measurement Scale การวัดเป็นการกำหนดตัวเลข สัญลักษณ์แทนปริมาณ คุณภาพ คุณลักษณะของสิ่งที่ถูกวัด ข้อมูลผลการวัด จะมีระดับการวัดแตกต่างกัน ระดับการวัดแตกต่างกัน ต้องเลือกใช้การวิเคราะห์ที่เหมาะสม มี 4 ระดับการวัด (4 Levels of Measurement) นามบัญญัติ Nominal scale จัดอันดับ Ordinal scale อันตรภาค Interval scale อัตราส่วน Ratio scale

มาตราการวัด นามบัญญัติ Nominal scale เป็นระดับการวัดหยาบ ๆ จำแนกสิ่งที่ถูกวัดเป็นกลุ่มๆ พวก ประเภท รหัสนักศึกษา เลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ ถ้าต้องวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้รหัสแทนแต่ละกลุ่ม เพศชาย แทนด้วย 1 เพศหญิง แทนด้วย 2 ตรงเวลา แทนด้วย 1 ไม่ตรงเวลา แทนด้วย 0 ตัวเลขไม่มีความหมายด้านปริมาณ หรือ คุณภาพ ไม่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร เรียงอันดับ เปรียบเทียบ กันได้  ไม่มีความหมาย

มาตราการวัด จัดอันดับ Ordinal scale จำแนกผลการวัดเป็นอันดับได้อย่างมีความหมาย ตัวเลขบอกเพียงอันดับสิ่งดี สิ่งใดด้อยกว่ากัน ตัวเลขไม่แสดงปริมาณที่แท้จริง ช่วงห่างของความแตกต่าง ไม่แน่นอน นำตัวเลข บวก ลบ กันได้บางกรณีเท่านั้น ความมีวินัย 4 = มากที่สุด 3 = มาก 2 = ปานกลาง 1 = น้อย ความประพฤติ 3 = ดีมาก 2 = ดี 1 = พอใช้ ภาพดอกลีลาวดี 1= สวยที่สุด 2=สวยรองลงมา 3=สวยรองลงมาอีก อนุโลมให้เป็น อันตรภาค Interval scale เมื่อกำหนดให้เป็นตัวเลข

มาตราการวัด อันตรภาค Interval scale วัดได้ละเอียดกว่านามบัญญัติ จัดอันดับ แบ่งผลการวัดเป็นกลุ่ม จัดอันดับได้ บอกช่วงห่างของผลการวัดได้ ช่วงตัวเลขมีความแตกต่างเท่ากัน เป็นการวัดเชิงปริมาณที่แท้จริงตัวเลขบวก ลบ ได้อย่างมีความหมาย ไม่มีศูนย์แท้ มีแต่ศูนย์เทียม หรือศูนย์สมมติ Arbitary Zero นักเรียน 2 คน ตอบคำศัพท์ภาษาไทย 10 คำ ผิดหมด ได้ 0 คะแนน นร.ที่ตอบได้ 8 คะแนนไม่สามารถบอกได้ว่าเก่งกว่า นร.ที่ได้ 0 คะแนน ข้อมูลผลการวัด เช่น คะแนน อุณหภูมิ ระดับ IQ ปีปฏิทินสากล

มาตรา การวัด อัตราส่วน Ratio scale เป็นมาตรการวัดละเอียดที่ละเอียด สมบูรณ์แบบที่สุด มีศูนย์แท้ Absolute Zero ตัวเลขสามารถบอกเป็นจำนวนได้ ช่วงความแตกต่างเท่ากัน ตัวเลขนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ ใช้สถิติเชิงปริมาณได้ ทุกรูปแบบ นายสอง สูง 180 เซนติเมตร มีเงิน 5 ล้านบาท นายสาม สูง 165 เซนติเมตร มีเงิน 2 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือมาตรฐาน น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ คะแนนเสียง ระยะทาง ความกว้างยาว

การประเมินผล(Evaluation) กระบวนการวินิจฉัยตัดสินโดยการตีค่าเมื่อเทียบกับเกณฑ์แล้วลงสรุปโดยพิจารณาความเหมาะสม คุณค่าของคุณลักษณะพฤติกรรม โดยอาศัยข้อมูลจากการวัดเป็นหลักและใช้วิจารณญาณระกอบการพิจารณานั้นๆ ว่าผลที่ได้จะดี-เลว สูง-ต่ำ มาก- น้อยกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีองค์ประกอบ 3 ประการ ผลการวัด ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เกณฑ์การพิจารณา เป็นหลักบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบเพื่อตัดสิน การตัดสิน เป็นการลงสรุปตัดสินหลังการพิจารณาอย่างถ่องแท้ ละเอียดถี่ถ้วน ทุกแง่มุม ยุติธรรม และเหมาะสม

การประเมินผลการศึกษา(Educational Evaluation) การพิจารณาตัดสิน ตีค่าผลที่ได้จากการวัดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการศึกษาโดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนว่ามีคุณภาพเพียงไร บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาหรือไม่ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น

+ ได้ - ตก คุณภาพ ผ่าน - ไม่ผ่าน ดี - เลว การประเมินผล Evaluation การตัดสินหรือตีค่าโดยอาศัยเกณฑ์ คุณธรรม ผู้ประเมิน + การประเมินผลการศึกษาEducational Evaluation ได้ - ตก การตัดสินการตีค่า พฤติกรรมที่เกิดจากการศึกษา คุณภาพ ผ่าน - ไม่ผ่าน ดี - เลว ปรับปรุงการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียน กระบวน การเรียนการสอน

กระบวนการประเมินผลการศึกษา กระบวนการทดสอบ เครื่องมือ สถานการณ์ คำถาม เปลี่ยนแปลง ผู้ถูกทดสอบ พฤติกรรมที่สังเกตได้ กระบวนการการวัดผล ให้ค่า ปริมาณ ตัวเลข หน่วย วัด เครื่องมือ สิ่งที่ถูกวัด นับ กระบวนการประเมินผล สิ่งที่ถูกประเมิน เปรียบ ตีค่า สรุปตัดสินคุณภาพ ผ่าน ไม่ผ่าน เกณฑ์ เทียบ

2. ความสำคัญของการประเมินผลที่มีต่อกระบวนการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่เป็นระบบมีขั้นตอนต่อเนื่องกัน 1 2 3 4 การประเมินก่อนเรียน กระตุ้น เร้า ความพร้อม การประเมินระหว่างเรียน ปรับปรุง การประเมินหลังเรียน ตัดสินผล พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน การวัดและประเมินผล จุดมุ่งหมายการศึกษา การเรียนการสอน ปรัชญาการศึกษา หลักสูตร จุดมุ่งหมายหลักสูตร จุดมุ่งหมายรายวิชา จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ 5 การสะท้อนกลับ Feed back

3. กระบวนการประเมินผล การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) ตรวจสอบความรู้ ทักษะพื้นฐาน วางแผนการสอน เนื้อหา วิธีสอน กระตุ้นเร้าให้ตื่นตัว เปรียบเทียบพัฒนาการก่อน-หลัง การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative evaluation) บรรลุจุดประสงค์เนื้อหาหรือไม่ ขั้นใด กระตุ้น เร้า จูงใจ สนใจ เอาใจใส่ ปรับปรุงซ่อมเสริมข้อบกพร่องของผู้เรียน ปรับปรุงการสอน การประเมินผลหลังเรียนหรือการประเมินรวม (Summative evaluation) ทราบความสามารถของผู้เรียน ตัดสินผลการเรียน ความสำเร็จในการเรียน เลื่อนระดับ ความสามารถโดยรวม ซ่อมเสริม ปรับปรุงแก้ไข ปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอน

4. ประเภทการประเมินผล การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterian referance evaluation) การประเมินผลที่เกิดจากการวัดของผู้เรียนแต่ละคนไปเทียบกับ เกณฑ์ หรือ มาตรฐาน (Criteria) ที่กำหนดขึ้นแล้วตัดสินว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ความสามารถอย่างไร ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อรอบรู้(Mastery Learning) การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Non referance evaluation) การประเมินผลที่นำเอาผลการวัดของผู้เรียนทั้งกลุ่มมาเปรียบเทียบกันว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถอยู่ในระดับใดและตัดสินในรูประดับคะแนน ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของกลุ่ม ไม่สามารถบอกได้ว่ามีความสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนมากน้อยเท่าใด แต่บอกได้ว่าผู้เรียนอยู่ในระดับใดในกลุ่ม

1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ ผลการวัด เทียบ เกณฑ์ มาตรฐาน ตัดสิน มีคุณภาพเท่าไร อย่างไร ผ่าน / ไม่ผ่าน 2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เก่ง/อ่อน ลำดับในกลุ่ม ผลการวัด เทียบ ความสามารถ ในกลุ่ม ตัดสิน

5. ความมุ่งหมายของการประเมินผล เพื่อกระตุ้นเร้าจูงใจในการเรียน เกิดความพร้อม ในการเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเรียนรู้ ในหน่วยเรียนใหม่ เพื่อวินิจฉัยและปรับปรุงการเรียนการสอน ประเมินโดยยึดจุดประสงค์ ระหว่างเรียน เพื่อเปรียบเทียบโดยมุ่งจะศึกษาพัฒนาการ ก่อนเรียน – หลังเรียน เพื่อจัดตำแหน่ง อันดับความสามารถ ใช้แบ่งกลุ่มผู้เรียน เพื่อตัดสินผล พยากรณ์ ใช้ผลการประเมินทำนาย คาดคะเนความสามารถ ความสำเร็จในอนาคต ใช้ประโยชน์ด้านแนะแนว การเลือกสาขาวิชา

6. ประโยชน์การประเมินผล ผู้เรียน ทราบความสามารถ ความถนัด เลือกเรียน อาชีพ (นร.ทราบหรือรู้เองได้จริงหรือ? วุฒิภาวะ-> ต้องอาศัยครูแนะแนว) ผู้สอน ทราบคุณภาพ ผลการสอน ปรับปรุงพัฒนา วิจัยการสอน ผู้บริหาร วางแผนแก้ไขพัฒนา วิจัยสถานศึกษา ผู้ปกครอง ส่งเสริม สนับสนุน ผู้เรียน ครูแนะแนว แนะให้นร.ทราบความสามารถ ความถนัด เลือกเรียน อาชีพ การประเมินผลมีประโยชน์ต่อผู้เรียน การประเมินผลมีประโยชน์ต่อผู้สอน การประเมินผลมีประโยชน์ต่อผู้บริหาร

7. ปรัชญาของการประเมินผล วัดและประเมินผลเพื่อค้นหาและ พัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียน

8. หลักการวัดและประเมินผล มีจุดมุ่งหมายชัดเจนโดยระบุว่าต้องการวัดอะไร เลือกวิธีการและเครื่องมือให้เหมาะสมโดยเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ใช้เครื่องมือวัดหลายๆอย่างเพื่อให้ผลที่สมบูรณ์ ประเมินผลการวัดอย่างถูกต้อง ใช้ผลการประเมินให้คุ้มค่า

ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา เป็นการวัดทางอ้อม วัดลักษณะนามธรรมของคน สติปัญญา จิตพิสัย ความถนัด ต่างจากการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมและใช้เครื่องมือมาตรฐาน เป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สามารถวัดลักษณะต่าง ๆ ได้ครบถ้วน วัดได้เพียงบางส่วน เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้จาก การวัดกับองค์ประกอบอื่น ผลการวัดไม่มีความหมายในตัว

ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา(ต่อ) ผลการวัดมีความคลาดเคลื่อนเสมอ คะแนนที่ทำได้ คือ ความสามารถที่แท้จริง  ความคลาดเคลื่อน X = T  E แนวคิดเดิม(spearman, 1904) มีข้อตกลงว่า E เหมือนกันทุกกลุ่มคนที่ตอบข้อสอบ แนวคิดใหม่(thurston, 1930) ยอมให้ E แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของการวัดได้ ตามระดับความสามารถ และคุณลักษณะของข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนเต็ม 10 มีคนสอบ 3 คน ได้คะแนน 5 เท่ากัน Xก = 7 – 2 = 5 กาผิดไป 2 ข้อ Xข = 4 + 1 = 5 เดาถูก 1 ข้อ Xค = 5 – 0 = 5 อ่านโจทย์เข้าใจผิด 1 ข้อ และเดาถูก 1 ข้อ การนำผลไปใช้ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้

9. คุณธรรมของผู้ทำหน้าที่ประเมินผล กิจกรรม แบ่งกลุ่มๆ ละไม่เกิน 4 คน ประธานกลุ่ม(ควบคุม สรุป ตัดสินดำเนินการประชุม) เลขากลุ่ม (บันทึก) พิธีกร (เสนอผล) สมาชิกกลุ่มออกความคิดเห็นลงคะแนนเสียง ให้ระบุคุณธรรมของผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินที่ท่านคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการประเมินผลการเรียน มา 1 ด้าน พร้อมทั้งระบุเหตุผลประกอบ ถ้ามีเวลาจะให้นำเสนอ ถ้าไม่มีให้เขียนรายงานสรุปส่งเป็นกลุ่ม เริ่มจากการคิดว่าถ้าเราถูกประเมิน อยากได้ผู้ประเมินแบบไหน แล้วจึงลองคิดว่าถ้าเราเป็นผู้ประเมินจะประเมินด้วยคุณธรรมแบบใด

ครั้งหน้า ตรวจแบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 แต่ละกลุ่มเลือกเนื้อหาวิชาในกลุ่มสาระ ที่ตรงกับสาขาวิชาในกลุ่มค้นคว้าและสำเนาแผนการจัดการเรียนรู้มาอย่างน้อย 4 แผน (จุดประสงค์ด้าน K ต้องไม่น้อยกว่า 8) ศึกษาวางแผนการประเมินให้เหมาะสมตลอดการสอนเนื้อหา ศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดวิธีการ เครื่องมือ วัดและประเมินผล ศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดสัดส่วนและเกณฑ์การประเมิน การเขียนจุดประสงค์ อ่านหน่วยที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา

ตัวอย่าง สอนนักเรียนชั้น ป.1 อ่านการ์ตูนประกอบเรื่องสั้น เรื่อง กุ๊งกิ้งไปโรงเรียน ตัวชี้วัด ข้อ ๓. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน การวัดประเมินผล วิธีการ เครื่องมือที่ใช้วัด เกณฑ์การประเมินผล ผ่าน/ไม่ผ่าน ให้ตอบปากเปล่า แบบทดสอบ ตอบได้ถูกต้องตรงกับเรื่องที่อ่าน (แบบถามตอบ 5ข้อ) 3 ใน 5 คำถาม

หน่วยที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา ครั้งหน้า อ่านมาก่อน หน่วยที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา

C A P พฤติกรรมทางการศึกษา (กรมวิชาการ, 2534) พฤติกรรมทางการศึกษา (กรมวิชาการ, 2534) C A P พฤติกรรมพุทธิพิสัย (C: Cognitive Domain) ความคิด สมอง สติปัญญา จำแนกเป็น 6 ระดับ โดย Benjamin S. Bloomและคณะ (Bloom, 1971) พฤติกรรมจิตพิสัย (A: Affective Domain) ค่านิยม ทัศนคติ ความสนใจ ความซาบซึ้ง เริ่มจากการรับรู้สิ่งแวดล้อม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5 ระดับขั้นตามแนวคิดของ แครทโฮล(David R. Krathwohl) ปี 1964 พฤติกรรมทักษะพิสัย (P: Psychomotor Domain) พฤติกรรมที่เกี่ยวกับกลไกลความเคลื่อนไหว การใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย การประสานงานกล้ามเนื้อ ประสาท เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการผสมผสานพฤติกรรมพุทธิพิสัยกับจิตพิสัย แบ่งเป็น 5 ระดับตามแนวคิดของ ดาเว่(Dave, 1969)

Benjamin S. Bloomและคณะ (Bloom, 1971) Bloom, Benjamin Samuel                                            Born: 1913 AD Died: 1999 AD, at 86 years of age.