ความรักใดควรใฝ่หา
ความรักใดควรใฝ่หา ที่มา บทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมาชกุมารี หนังสือกษัตริยานุสรณ์ ลักษณะคำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ
สาระสำคัญ รักชาติยอมสละแม้ ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้ เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๒ บท ซึ่งอยู่ในบทพระราชนิพนธ์กษัตริยา นุสรณ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราช นิพนธ์ไว้ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนจิตรลดา มีเนื้อหาว่า รักชาติยอมสละแม้ ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้ รักราชมุ่งภักดี รองบาท รักศาสน์ราญเศิกไส้ เพื่อเกื้อพระศาสนาฯ อันสยามเป็นบ้านเกิด เมืองนอน ดุจบิดามารดร เปรียบได้ ยามสุขสโมสร ทุกเมื่อ ยามศึกทุกข์ยากไร้ ปลาตเร้นฤาควรฯ
เพลงดุจบิดรมารดา
สาระสำคัญ (ต่อ) ถ้าคนเราไม่เห็นแก่ตัวคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นไม่เห็นแต่ประโยชน์ ส่วนตัว เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ทำได้ โดยเด็กก็ทำเท่าที่เด็กจะทำได้ ผู้ใหญ่ก็ ทำเท่าที่ตนจะทำได้เช่นกัน ตามความสามารถและตามหน้าที่ของตน และต้องช่วยกันทำไม่ใช่คนใดคนหนึ่งทำเท่านั้น
ข้อคิดที่ได้ ๑. ประเทศไทยของเรามีสถาบันสำคัญที่คนไทยทุกคนต้องรัก และรักษาไว้ให้คงอยู่สืบไป คือ สถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ทั้งยังรักเกียรติของตนและยอมสละชีวิตเพื่อปกป้อง สิ่งเหล่านี้ไว้ให้ได้ ๒. ความรักและความสามัคคีของคนในชาติ ย่อมทำให้ ประเทศชาติรอดพ้นจากภัยพิบัตินานาประการได้
โคลง โคลง คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่กวีเรียบเรียงถ้อยคำเข้าคณะ มี การกำหนดใช้คำเอก คำโท และสัมผัส
โคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพ ตัวอย่างคำประพันธ์ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ (ลิลิตพระลอ)
กฎข้อบังคับ ๒. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๓๐ คำ (ไม่นับคำสร้อย) ๑. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท เขียนบาทละ ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๒ พยางค์ (วรรคหลังของบาทที่ ๑ และ ๓ มีคำสร้อย ได้อีก ๒ พยางค์) บาทที่ ๔ วรรคหลังมี ๔ พยางค์ ๒. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๓๐ คำ (ไม่นับคำสร้อย) ๓. สัมผัสบังคับ - คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทที่ ๓ กับคำ สุดท้ายของบาทที่ ๑ ในบทที่ ๒ - คำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทที่ ๓ ในบทที่ ๒
๔. มีการบังคับใช้คำเอก ๗ แห่ง (คำเอกสามารถใช้คำตายแทนได้) คำโท ๔ แห่ง ๔. มีการบังคับใช้คำเอก ๗ แห่ง (คำเอกสามารถใช้คำตายแทนได้) คำโท ๔ แห่ง * คำตาย ได้แก่ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา และ คำที่มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น “ คบกากาโหดให้ เสียพงศ์ พาตระกูลเหมหงส์ แหลกด้วย” ๕. คำเอกโทษ และคำโทโทษ - คำเอกโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้โท แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้คำที่มี ไม้เอกแทน เช่น เคี่ยว แทน เขี้ยว , ค่า แทน ข้า , พู่ แทน ผู้ ฯลฯ - คำโทโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อจำเป็นก็ใช้คำที่มีไม้โท แทน เช่น เหล้น แทน เล่น , แหล้น แทน แล่น ฯลฯ
๖. สัมผัส หมายถึง คำที่มีเสียงคล้องจองในคำประพันธ์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ - สัมผัสนอก คือ สัมผัสบังคับที่คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมี ไม่มี ไม่ได้ เป็นสัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบท - สัมผัสใน คือ สัมผัสของคำภายในวรรคเดียวกัน เป็นสัมผัสที่ ไม่บังคับ มีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีแล้วจะทำให้คำประพันธ์นั้นๆไพเราะ ยิ่งขึ้น มี ๒ ชนิด คือ ๑. สัมผัสพยัญชนะ คือ เสียงสัมผัสของพยัญชนะเสียง เดียวกัน แต่สระอาจเป็นคนละตัวก็ได้ ๒. สัมผัสสระ คือ เสียงสัมผัสของสระเสียงเดียวกัน แต่ พยัญชนะเป็นคนละตัวได้
คำที่ใช้ในกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ ๑. คำ มี ๒ ความหมาย ได้แก่ - คำ หมายถึง หน่วยย่อยที่สุดของฉันทลักษณ์และเป็น ส่วนย่อยของวรรค หนึ่งพยางค์ จัดเป็น ๑ คำ ซึ่งแตกต่างจากการนับ คำในไวยากรณ์ เพราะการนับคำในไวยากรณ์ ๑ คำอาจมีหลายพยางค์ - คำ หมายถึง กลอน ๑ บาท (๑ คำกลอน) มี ๒ วรรค รวมกันเป็น ๑ คำกลอน
๒. คำที่บอกลักษณะหน่วยย่อยที่บรรจุลงในคำประพันธ์ชนิดหนึ่งๆซึ่งมี ข้อกำหนดต่างกัน - คำเอก คำโท เป็นลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คำเอก คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับหรือเป็นคำตาย ในโคลงสี่ สุภาพ ๑ บท จะมีคำเอกทั้งหมด ๗ แห่ง คำโท คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ ในโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จะมี คำโททั้งหมด ๔ แห่ง - คำเอกโทษ โทโทษ คำเอกโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้โท แต่เมื่อจำเป็นก็ให้ใช้คำที่มีไม้เอก แทน คำโทโทษ คือ คำที่ปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อจำเป็นก็ใช้คำที่มีไม้โทแทน - คำตาย คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในมาตราแม่ ก กา และคำที่ มีตัวสะกดในแม่กก กด กบ ไม่มีรูปวรรณยุกต์
- คำเป็น คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา และเป็นคำ ที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว - คำครุ คำครุ เป็นคำที่ลงเสียงหนัก มีสัญลักษณ์ ( ั ) มีลักษณะดังนี้ ๑. คำที่มีตัวสะกด ๒. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา ๓. คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด - คำลหุ คำลหุ เป็นคำที่ลงเสียงเบา มีสัญลักษณ์ ( ุ ) คือ คำที่ประสม ด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด
๓. คำว่า “คำ” หมายถึง ข้อบังคับของฉันทลักษณ์แบบหนึ่งๆ ได้แก่ - คำนำ หรือ คำขึ้นต้น เป็นข้อบังคับของกลอนชนิดต่างๆ เช่น กลอนสักวา กลอน บทละคร กลอนนิราศ กลอนดอกสร้อย กลอนเสภา กลอนเพลงพื้นบ้าน ซึ่งบังคับ คำขึ้นต้นวรรคของบทกลอนตามประเภทนั้นๆ เช่น ๑. กลอนบทละคร บังคับขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ๒. กลอนดอกสร้อย บังคับคำขึ้นต้น ๔ คำ โดยคำที่ ๒ ต้องเป็น เอ๋ย ส่วนคำที่ ๑ กับคำที่ ๓ ซ้ำคำเดียวกัน และคำที่ ๔ เป็นคำที่มีความหมาย เช่น แมงเอ๋ยแมงมุม เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ๓. กลอนเสภา มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ครานั้น จะกล่าวถึง ๔. กลอนเพลงพื้นบ้าน บังคับขึ้นต้นตามลักษณะของการร้อง เช่น เพลง พิษฐานจะขึ้นต้นว่า พิษฐานเอย - คำสร้อย หมายถึง คำลงท้ายบทหรือท้ายบาทของคำประพันธ์มักจะเป็นคำที่ไม่มี ความหมายเด่น เช่น เทอญ นา ฤา แล เฮย ฯลฯ - คำลงท้าย เป็นลักษณะบังคับของกลอนบางชนิด เช่น เอย
ประโยคซับซ้อน ประโยคที่ใช้สื่อสารกันทั่วไปมี ๓ ชนิด คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการบอกเล่าความคิดที่ ต่อเนื่องกันมากๆก็อาจใช้ประโยคหลายประโยครวมกัน คืออาจใช้ชนิด เดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ เรียกว่า “ประโยคซับซ้อน”
ประโยคซับซ้อนมีลักษณะดังนี้ ๑. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน ๒. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน ๓. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน
๑. ประโยคความเดียวที่ซับซ้อน คือ ประโยคความเดียวที่มีส่วนประกอบของประโยคเป็นกลุ่มคำที่มี ขนาดยาว เช่น ประธาน ขยายประธาน ชาวไทย ในถิ่นอื่น เช่น ไทใหญ่ ไทลื้อและลาว เป็นต้น มีคติความเชื่อ เรื่องขวัญทำนองเดียวกัน ขยายกรรม กริยา กรรม
๒. ประโยคความรวมที่ซับซ้อน คือ ประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยค การสื่อความหมายจึงอาจมากกว่า ๑ วัตถุประสงค์ และเป็น ประโยคความรวมที่มีคำเชื่อมหลายคำที่เชื่อมประโยคหลายประโยคให้ เป็นประโยคเดียวกัน ประธาน กริยา คำเชื่อม กริยา คำเชื่อม กริยา ธรรมทานบวชเณรแล้วหัดเทศน์ ธรรมวัตร และเรียนภาษาบาลี (ประโยคความรวมที่มีใจความคล้อยตามกัน)
(เป็นประโยคความรวมที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและ ขัดแย้งกัน) ประธาน กริยา คำเชื่อม พระปิดทวาร ไม่ได้ช่วยให้ อยู่คงกระพัน หรือ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก แต่ จะช่วยปิด ความชั่ว คำเชื่อม กริยา (เป็นประโยคความรวมที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและ ขัดแย้งกัน)
๓. ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน คือ ประโยคความซ้อนที่มีอนุประโยคมากกว่า ๑ ประโยค หรือ เป็นประโยคที่มีทั้งลักษณะของประโยคความซ้อนและประโยคความ รวมอยู่ด้วยกัน ประธาน ประธาน กรรม กรรม เรา ย่อมรู้ได้เองว่า การทำความดี ทำให้ ความสุข เกิดขึ้นในใจ กริยา กริยา ประธาน กริยา (นามานุประโยคซ้อนนามานุประโยค)
(ประโยคความซ้อนและประโยคความรวมอยู่ด้วยกัน) ประธาน กริยา อนุประโยค ๑ คำเชื่อม กริยา เขาสอนลูกชายวัยเรียนว่าควรมีความรัก แต่ไม่ได้สอนลูกชาย ว่าจะต้องมีแฟนในขณะที่เรียนหนังสืออยู่ อนุประโยค ๒ เป็นส่วนเติมเต็ม กริยา “สอน” ขยายคำนาม “ขณะ” (ประโยคความซ้อนและประโยคความรวมอยู่ด้วยกัน)
จบ