ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
STUDY VISIT PROGRAM IN USA
Advertisements

Before The Beginning.
ภูเขา Selkirk, Colombie Britannique, Canada Parc National Yoho, Colombie Britannique, Canada.
THE SEVEN WONDERS OF THE WORLD เจ็ดมหัศจรรย์ของโลก
19 th and 20 th May 2013 Chiang Mai, Thailand
Grand Canyon USA. Sanfancisco Peak จาก Grand Canyon.
1 ทัวร์ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีไปกับ โอเซี่ยนสไมล์ทัวร์ 2.
ปะการัง( Coral ).
Review 4 M.5 (page 92) What you will learn and do in this unit. 1. เข้าใจและใช้คำศัพท์ และโครงสร้าง ไวยากรณ์ที่เรียนมาแล้ว 2. เข้าใจบทความที่อ่าน เกี่ยวกับ.
Google Earth.
Unusual Architecture
ครูรุจิรา ทับศรีนวล Have you ever….? Have you ever…?
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก จัดทำโดย
ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Travel plan”. “Travel plan”
ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Travel plan”. “Travel plan”
นางยุภา พรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกันตังพิทยากร โรงแรมอินทรา รีเจนท์ กรุงเทพมหานคร การพัฒนาองค์ความรู้การบริหารจัดการ ห้องสมุดมีชีวิต และการขยายเครือข่ายห้องสมุดมีชีวิต.
Kunming University of Science and Technology, China
Professional Leaning Community ชุมชนการเรียนรู้ทางวีชาชีพ
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ปัญหาของการสะกดชื่อภาษาอังกฤษสำคัญไฉน ?
AUSTRALIA GEOGRAPHY OF AUSTRALIA-OCEANIA อาจารย์สอง : TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP.
เรื่อง ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน การประชุมวิชาการ ปขมท ประจำปี 2555
Co-Create Charoenkrung
ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่
ความรู้รอบตัว......กับที่สุดในโลก
การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องประชาคมอาเซียน
AUSTRALIA-OCENIA GEOGRAPHY OF AUSTRALIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง : TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP.
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
เรื่องของอาเซียน.
ตอบปัญหาสัปดาห์วิทยาศาสตร์’56
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
ความรู้เกี่ยวกับการ นำเข้าและส่งออก
การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
1 E 1 S E M N G Places & locations
Longitude & Time อาจารย์สอง Satit UP
Longitude & Time อาจารย์สอง Satit UP
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
Globalization and the Law
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 1๓.00 – น.
องค์กรรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Organization)
3. การอนุรักษ์ป่าไม้ กระทำได้โดย
Casino Hotel.
ทวีปเอเชีย และ โอเชียเนีย
เปาโลเดินทางไปยังกรุงโรม
ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสัมมนา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
AUSTRALIA GEOGRAPHY OF AUSTRALIA-OCEANIA อาจารย์สอง : TAWEESAK GUNYOCHAI : Satit UP.
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ
GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
ยุคโบราณ (Ancient Age)
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ
THE SEVEN WONDERS OF THE WORLD เจ็ดมหัศจรรย์ของโลก
ประเทศฟิลิปปินส์.
โดย อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
นโยบายและแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เรื่องเดิม 2. การประกาศเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่ออนาคต
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่
บรรยายโดย พันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว
ถัดไป.
5ใจเลิกบุหรี่ ด้วยวิธี 5 D
ผลประกอบการทางการเงิน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการ
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว และทรัพยากรการท่องเที่ยว.
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก บทที่ 3 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก

1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกแบ่งตามแหล่งมรดกโลก เพื่อให้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างยั่งยืน องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ได้อาศัยธรรมนูญยูเนสโกภายใต้ข้อบัญญัติที่ให้องค์การฯ มีภารกิจหน้าที่ในการบำรุงรักษาเพิ่มพูน และเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกันมรดกโลก การแบ่งประเภทของมรดกโลกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1 มรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) 1.2 มรดกโลกทางธรรมชาติ (Natural Heritage)

“ ปัจจุบัน (กรกฎาคม 2559) องค์การยูเนสโก ได้จัดการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 40 ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยการจัดประชุมครั้งนี้ มีแหล่งมรดกโลกได้รับการขึ้นทะเบียนใหม่ 21 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 12 แหล่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 6 แหล่ง และมรดกโลกแบบผสม 3 แหล่ง จาก 31 ประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งสิ้น 1,049 แห่ง ใน 165 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 814 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 202 แห่ง และอีก 33 แห่งเป็นแบบผสม โดยประเทศอิตาลี มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 51 แห่ง

ลาตินอเมริกา &แคริบเบียน ตารางที่ 3.1 จำนวนแหล่งมรดกโลกแบ่งตามภูมิภาค 2016 ภูมิภาค วัฒนธรรม ธรรมชาติ แบบผสม รวม ร้อยละ จำนวนประเทศ แอฟริกา 48 37 5 90 9 33 อาหรับ 73 3 81 8 18 เอเชียและแปซิฟิก 172 62 12 246* 23 36 ยุโรป&อเมริกาเหนือ 426 10 498* 47 50 ลาตินอเมริกา &แคริบเบียน 95 137* 13 28 814 203 35 1052 100 165 * ขึ้นทะเบียนซ้ำ เนื่องจากแหล่งมรดกโลกบางแห่งได้รับขึ้นทะเบียนร่วมกันหลายประเทศ

สำหรับประเทศไทย มีมรดกโลกทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) แหล่งมรดกโลกสุโขทัย และเมืองบริวาร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 3) แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 4) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดอุทัยธานี 5) ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์

นอกจากสถานที่สำคัญทั้ง 5 แห่งแล้ว ประเทศไทยยังได้เสนอสถานที่ซึ่งมีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอีกหลายรายการเข้าอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อรอเข้าสู่การพิจารณาขึ้นเป็นมรดกโลก ได้แก่ เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และศาสนสถานที่เกี่ยวข้อง 2) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี 3) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) กลุ่มป่าแก่งกระจาน ครอบคลุมพื้นที่ของ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5) สถานที่ อนุสรณ์สถาน และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่

“ 2. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกแบ่งตามสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เนื่องจากมีการกำหนดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยคำว่า “สิ่งมหัศจรรย์” มีความหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความวิจิตรงดงาม และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะต้องมีความงดงามมีคุณค่า และมีความอัศจรรย์อย่างไม่น่าเชื่อเช่นกันจึงจะถูกเรียกว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์เนื่องจากมีการกำหนดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยคำว่า “สิ่งมหัศจรรย์” มีความหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความวิจิตรงดงาม และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะต้องมีความงดงามมีคุณค่า และมีความอัศจรรย์อย่างไม่น่าเชื่อเช่นกันจึงจะถูกเรียกว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ “

การแบ่งประเภทของสิ่งมหัศจรรย์ 1) สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคโบราณ มีอายุตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 500 โดยสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคโบราณ ซึ่งเป็น สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวในสมัยนั้น ได้แก่ 1.1) ปิรามิดแห่งเมืองจิซ่า ในอียิปต์ (The Greatest Pyramid of Giza) 1.2) ประภาคารฟาโรส ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ (The Pharos at Alexandria) 1.3) สวนลอยแห่งบาบิโลน (The Hanging Gardens of Babylon) 1.4) เทวรูปเทพเจ้าโคลอสซัสแห่งเมืองโรดส์ (Colossus of Rhode) 1.5) วิหารเทพีอาร์ทีมิส (The Temple of Artemis) ที่เมืองอีเฟรซุส (Ephesus) 1.6) อนุสาวรีย์เทพเจ้าซีอุส (Zeus) แห่งเมืองโอลิมเปีย (Olympia) 1.7) สุสานเมาโซเลียม (Mausoleum) ที่เมืองฮาลิคานัสซัส (Halicarnassus)

2) สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางมีอายุตั้งแต่ ค.ศ.5 – ค.ศ.16 โดยสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง ได้แก่ 2.1) หอเอนเมืองปีซา ประเทศอิตาลี (The Leaning Tower of Pisa) 2.2) สนามกีฬาโคลอสเซียมในกรุงโรม ประเทศอิตาลี (The colosseum of Rome) 2.3) กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน (The Great Wall of China) 2.4) กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ เมืองซัลลิสเบอรี่ ประเทศอังกฤษ (Stonehenge) 2.5) สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย (คาตาโคมป์) เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ (The Catacombs of Alexandria) 2.6) สุเหร่าเซนต์โซเฟีย เมืองคอนสแตนดิโนเปิล ประเทศตุรกี (The Mosgue of Hagia Sophia) 2.7) เจดียกระเบื้องเคลือบเมืองนานกิง ประเทศจีน (The Porcelain Tower of Nanking)

3) สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคปัจจุบัน หรือสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จัดทำขึ้นโดยองค์กรของสวิตซ์ “The New Open World Corporation (NOWC)” ซึ่งผลสรุปสุดท้ายได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยไม่เรียงตามลำดับคะแนน โดยยอมรับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันมี 7 แห่ง ดังนี้ 3.1) ชิเซนอิตซา คาบสมุทรยูคาตาน ประเทศเม็กซิโก (Chichen Itza) 3.2) รูปปั้นพระเยซูคริสต์ นครริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล (Christ the Redeemer) 3.3) กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน (Great Wall of China) 3.4) มาชูปิกชู ประเทศเปรู (Machu Picchu) 3.5) เมืองโบราณเปตรา หรือนครหิน ประเทศจอร์แดน (Petra) 3.6) สนามกีฬาโคลอสเซียม กรุงโรม ประเทศอิตาลี (The colosseum of Rome) 3.7) ทัชมาฮาล เมืองอักรา ประเทศอินเดีย (Taj Mahal)

การแบ่งภูมิภาคของโลก การแบ่งภูมิภาคของโลก

ภูมิภาค (Region) คือ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของพื้นผิวโลกที่มีลักษณะทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการเมืองการปกครองที่คล้ายคลึงกัน จนอาจรวมเป็นบริเวณเดียวกัน และมีความแตกต่างกันออกไปจากพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งเขตภูมิภาคของโลกที่ได้รับความนิยมคือ การแบ่งภูมิภาคของโลกตามลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคโดยเอาดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน และมีลักษณะทางกายภาพของบริเวณอื่นที่แตกต่างกันเป็นพรมแดนสำหรับการแบ่งเขต ภาพ ทวีปต่างๆ ในโลก

อย่างไรก็แล้วแต่ ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นภูมิภาคเดียวของโลกที่ไม่มีมนุษย์เข้าไปตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่เข้าถึงได้ยาก และร้อยละ 98 ของพื้นที่เป็นน้ำแข็ง ทำให้ทวีปดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมในการเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้น ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก จึงสามารถพิจารณาได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปเอเชีย 2. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปแอฟริกา 3. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ 4. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้ 5. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปยุโรป 6. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปออสเตรเลีย

1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปเอเชีย 1.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีพื้นที่ประมาณ 44,580,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 77 องศา 41 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 24 องศา 4 ลิปดาตะวันออก ถึง 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ มหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตก ติดกับ เทือกเขาอูราล ทวีปยุโรป

ภาพแผนที่ทวีปเอเชีย

“ ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปเอเชีย คือ มีภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงอยู่ใจกลางทวีป ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลก เพราะเป็นจุดรวมของเทือกเขาสำคัญในทวีป โดยภูมิประเทศในทวีปเอเชีย สามารถแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้ 1)เขตที่ราบต่ำภาคเหนือ ได้แก่ ที่ราบไซบีเรีย บริเวณนี้มีอากาศหนาวเย็นไม่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม 2) เขตเทือกเขาตอนกลาง เขตนี้เต็มไปด้วยภูเขาและที่ราบสูง เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก คือ “ยอดเขาเอเวอเรสต์ 3) เขตที่ราบสูงภาคใต้ ที่ราบสูงในประเทศซาอุดิอารเบีย ที่ราบสูงเดกคัน ประเทศอินเดีย และที่ราบสูงอิหร่าน 4) เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ เป็นพื้นที่หลักในการเพาะปลูกของทวีป 5) เขตหมู่เกาะทางชายฝั่งตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ใต้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บรูไน และอินโดนีเซีย

“ สืบเนื่องมาจากทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ก่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ที่แตกต่างกัน โดยเชื้อชาติของประชากรในทวีปเอเชียได้แก่ 1) เชื้อชาติมองโกลอยด์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ มองโกลอยด์เหนือ ได้แก่ ชาวทิเบต จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และกลุ่มมองโกลอยด์ใต้ ได้แก่ ชาวไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมถึงชนกลุ่มน้อยแถบภูเขาในประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) เชื้อสายคอเคซอยด์ ประชากรกลุ่มนี้เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่คล้ายชาวยุโรป แต่ตาและผมมีสีดำ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และทางภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ ชาวอาหรับ ปากีสถาน อินเดีย และประชากรในประเทศเนปาล และภูฏาน 3) เชื้อสายนิกรอยด์ เป็นกลุ่มชาวเอเชียผิวดำ ส่วนใหญ่มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมหยิก ได้แก่ ชาวพื้นเมืองทางภาคใต้ของอินเดีย ศรีลังกา และชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเชียงใต้ เช่น ชาวเงาะซาไก เซมัง ปาปวน เป็นต้น

นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลกหลายศาสนาด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นแหล่งมรดกทางศาสนาวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก โดยแหล่งกำเนิดศาสนามีดังนี้ 1) เอเชียตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื้อ เต๋า และชินโต ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศจีน ปรากฏว่าหลักธรรมของศาสนาพุทธสามารถผสมผสานเข้ากับคำสอนของขงจื้อได้ดี 2) เอเชียใต้ เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ และเป็นศาสนาที่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือปฏิบัติ ส่วนศาสนาพุทธ มีการนับถือกันมากในทิเบต ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา 3) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลาม ศาสนายูดายถือเป็นศาสนา ที่เก่าแก่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์ ส่วนศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีการเผยแผ่ศาสนาไปสู่ยุโรปและซีกโลกตะวันตกอื่นๆ รวมถึงภูมิภาคเอเชียในบางส่วนด้วย และศาสนาอิสลามเกิดภายหลังศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่สำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ปัจจุบันได้ เผยแผ่เข้าสู่ภาคเหนือของอินเดีย ตอนเหนือของอ่าวเบงกอล คาบสมุทรมลายู และประเทศอินโดนีเซีย

“ 1.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปเอเชีย จากลักษณะสำคัญของทวีปเอเชียข้างต้น สามารถแบ่งภูมิภาคของทวีปเอเชียได้เป็น 4 ภูมิภาค ตามลักษณะของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คือ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (วรรณา วงษ์วานิช, 2546) แต่ละภูมิภาคต่างมีความโดดเด่นทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม อีกทั้งมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ที่สำคัญของทวีปเอเชีย โดยในบทนี้ จะกล่าวเฉพาะทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปเอเชีย 3 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะกล่าวในบทต่อไป

1.2.1 ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เดิมเรียกว่า “ตะวันออกไกล (Far East)” เป็นดินแดนทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้แยกจากทวีปเอเชียโดยแนวที่สูงปามีร์ ที่ราบสูงไกวเจา ที่ราบสูงยูนนาน และแนวเทือกเขาหิมาลัย ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ สาธารณรัฐมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ไต้หวัน ญี่ปุ่น และดินแดนในอาณัติของประเทศอื่น ได้แก่ ฮ่องกง และมาเก๊า เอเชียตะวันออกแบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขตที่ราบสูงทิเบต เขตที่ราบสูงภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เขตภาคตะวันออก และเขตหมู่เกาะ จากการแบ่งเขตดังกล่าว สามารถสรุปลักษณะภูมิประเทศได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1) ภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออก ได้แก่ ประเทศจีน มองโกเลีย เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ 2) หมู่เกาะของเอเชียตะวันออก ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า

ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูเขาสูง ที่ราบ หมู่เกาะ อีกทั้งมีแม่น้ำสำคัญหลายสาย ตลอดจนการมีลักษณะภูมิอากาศที่ส่งเสริมต่อการท่องเที่ยว ประกอบกับเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุด ก่อให้เกิดความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม จึงส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น ประเทศจีน - คุนหมิง (Kunming) , กุ้ยหลิน (Guilin) , หังโจว (Hangzhou) - เขตรักษาพันธุ์แพนด้ายักษ์แห่งเสฉวน , กำแพงเมืองจีน เกาหลีใต้ - เกาะเจจู (Jeju Island) , เกาะนามิ (Namiseom) ญี่ปุ่น - ภูเขาไฟฟูจิ (Fuji) , ปราสาทฮิเมจิ (Himeji Castle) , เกาะฮอกไกโด (Hokkaido) ไต้หวัน - อุทยานแห่งชาติเย๋หลิ่ว (Yehliu Geopark) สาธารณรัฐมองโกเลีย - ทะเลทรายโกบี (Gobi Desert)

1.2.2 ภูมิภาคเอเชียใต้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอนุทวีปอินเดีย เป็นภูมิภาคที่แยกตัวออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ โดยเทือกเขาหิมาลัย และทะเลทรายธาร์ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา มัลดีฟส์ และหมู่เกาะของอินเดีย คือ หมู่เกาะลักกาดีฟ นิโคบาร์ และหมู่เกาะอันดามัน ภูมิภาคเอเชียใต้มีลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 4 เขต 1) เขตภูเขาสูงภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ 3 สาย คือ สินธุ คงคา และพรหมบุตร 2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา ครอบคลุมเนื้อที่ 3 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ 3) ที่ราบสูงตอนใต้ที่ราบสูงเดคคาน มีภูเขาล้อมรอบ 3 ด้าน 4) เขตเกาะ ได้แก่ เกาะใหญ่ คือเกาะลังกา และหมู่เกาะเล็กๆ ของประเทศมัลดิฟส์

ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียใต้ จากลักษณะสำคัญของภูมิประเทศและสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียใต้ ส่งผลให้เกิดทรัพยากรการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ หมู่เกาะมัลดีฟส์ (Muldives อุทยานแห่งชาติสครมาถา (Sagarmatha National Park) ประเทศเนปาล ลุมพินีวัน (Lumbini Vana) ประเทศเนปาล ทัชมาฮาล (Taj Mahal) ประเทศอินเดีย

1.2.3 ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือเรียกว่า “โลกอาหรับ” หรือ “กลุ่มตะวันออกกลาง” มีขนาดพื้นที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตตั้งแต่อัฟกานิสถานถึงคาบสมุทรตุรกี ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน อิรัก ตุรกี เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต บาห์เรน ไซปรัส โอมาน กาตาร์ เยเมนเหนือ และเยเมนใต้ เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลกคือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่ถูกล้อมรอบด้วยทะเลทั้ง 5 คือ ทะเลสาบแคสเปียน ทะเลดำ ทะเลแดง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลอาหรับ โดยทิศเหนือติดต่อกับทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและประเทศสาธารณรัฐเติร์กเมนิสถาน ทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถานและทะเลอาหรับ ทิศใต้ติดต่อกับทะเลอาหรับและทะเลแดง และทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ลักษณะภูมิประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน และที่ราบสูงอานาโตเลีย อีกทั้งยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทร ที่สำคัญคือ คาบสมุทรอาหรับ ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้ 1) เขตเทือกเขาและที่ราบสูงทางตอนเหนือและทางตะวันออก ได้แก่ - เทือกเขาปอนติก ขนานกับชายฝั่งทะเลดำ - เทือกเขาเทารัส ขนานกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน - เทือกเขาฮินดูกูช ในอัฟกานิสถาน - เทือกเขาเอลบูร์กและเทือกเขาซากรอส ในอิหร่าน - ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในตุรกี - ที่ราบสูงอิหร่าน ในอิหร่านและอัฟกานิสถาน

2)เขตที่ราบสูงทางตอนใต้ เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ เรียกว่า ที่ราบสูงอาหรับ อยู่ระหว่างทะเลแดง อ่าวเอเดน ทะเลอาหรับ และอ่าวเปอร์เซีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรนี้ยังมีคาบสมุทรขนาดเล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า คาบสมุทรซีนายอยู่ในประเทศอียิปต์ ที่ราบสูงอาหรับเป็นที่ราบสูงที่มีพื้นที่ลาดเอียงไปทางตะวันออก โดยมีเทือกเขาทอดตัวขนานกับชายฝั่งทะเลแดง ทำให้ขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเล ทำให้ภายในคาบสมุทรมีอากาศแห้งแล้งเป็นทะเลทราย และไม่มีแม่น้ำอยู่เลย จะมีเฉพาะธารน้ำที่มีฝนตกหนักเท่านั้น เรียกว่า ธารวดี

3) เขตรูปพระจันทร์เสี้ยว เริ่มจาก - ที่ราบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณประเทศซีเรีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในอิรัก แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสเกิดจากบริเวณเทือกเขาในประเทศตุรกี ไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เขตดังกล่าวนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบรูปเกือกม้าหรือเมโสโปเตเมีย โดยแม่น้ำยูเฟรติสเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีความยาว 2,736 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้แห้งแล้งเป็นทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย เพราะตั้งอยู่ในเขตที่ลมสงบ ไม่มีลมพัดเอาความชื้นจากทะเลสู่แผ่นดิน อีกทั้งยังมีที่ราบสูงและเทือกเขาปิดล้อมเกือบทุกด้าน จึงขวางกั้นทิศทางลมจากทะเล ส่งผลให้ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้ 1)เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ทะเลทราบอาหรับ ทะเลทรายอิหร่านในอิหร่าน และอัฟกานิสถาน 2)เขตภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย ได้แก่ บริเวณรอบๆ ทะเลทราย และที่ราบสูงอนาโตเลีย 3)เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่ง ทะเลสาบแคสเปียน ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ จากลักษณะสำคัญของภูมิประเทศและสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดทรัพยากรการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เมืองอิสตันบูล (Istanbul) ประเทศตุรกี เมืองดูไบ (Dubai) ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นครเมกกะ (Makkah) ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทะเลเดดซี (Dead Sea) ประเทศอิสราเอล

2. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปแอฟริกา 2.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปแอฟริกา ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากทวีปเอเชีย และใหญ่กว่าทวีปยุโรปถึง 3 เท่า โดยมีพื้นที่ประมาณ 30,368,609 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีช่องแคบยิบรอลตาร์เป็นทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก คลองสุเอช และทะเลแดงเป็นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย พื้นที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคเหนือของทวีปแอฟริกา เรียกว่า บาร์บารี (Barbary) ทิศตะวันออก ติดกับ ทะเลแดง อ่าวเอเดน และมหาสมุทรอินเดีย โดยเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก โดยมีช่องแคบโมซัมบิก คั่นกับตัวทวีป เกาะอื่นๆ ได้แก่ หมู่เกาะมอริเชียส เกาะเซเชลส์ และเกาะคอโมโรส ทิศใต้ ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอ่าวกินีเป็นอ่าวใหญ่ตอนกลางทวีป เกาะสำคัญ ได้แก่ หมู่เกาะเคปเวิร์ด หมู่เกาะคานารี และหมู่เกาะมา เดียรา

แผนที่ทวีปแอฟริกา

“ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นจุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 – 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศของแอฟริกาแบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ 1) เขตที่ราบสูง ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีป และเป็นที่ตั้งของยอดเขาคีลีมันจาโร ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปนี้ 2) เขตที่ราบ ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือและตอนกลางของทวีป 3) เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบชายฝั่งทะเล อยู่บริเวณชายฝั่งของทวีป เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก เป็นต้น

ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกาแบ่งเป็น 6 ภูมิภาค ดังนี้ 1) แอฟริกาเหนือ ได้แก่ ประเทศเอธิโอเปีย โมร็อกโก จิบูติ ตูนีเซีย ซูดาน โซมาลี แอลจีเรีย ลิเบีย และอียิปต์ 2) แอฟริกากลาง ได้แก่ ประเทศซิมบับเว แคเมอรูน แซมเบีย และมาลาวี 3) แอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย กานา กาบอง กินี กินีบิสเซา แกมเบีย โกตดิวัวร์ คองโก เคปเวิร์ด ชาด ซาอีร์ เซเนกัล เซาโตเมและปรินซิเป ราลีโอน โตโก ไนเจอร์ บูร์กินาฟาโซ เบนิน มาลี ไลบีเรีย อิเควทอเรียลกินี อิสลามมอริเตเนีย 4) แอฟริกาตะวันออก ได้แก่ ประเทศเคนยา แทนซาเนีย บุรุนดี รวันดา และอุกันดา 5) แอฟริกาใต้ ได้แก่ ประเทศเลโซโท สวาซิแลนด์ นามิเบีย บอตสวานา อังโกลา โมซัมบิก 6) ภูมิภาคหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ประเทศมอริเชียส สหพันธ์อิสลามคอโมโรส เซเชลล์ และมาดากัสการ์

2.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปแอฟริกา จากลักษณะสำคัญของทวีปแอฟริกาพบว่า ภูมิภาคแห่งนี้มีธรรมชาติที่สวยงามและหลากหลาย ประกอบกับการเป็นต้นกำหนดของอารยธรรมที่สำคัญของโลก ส่งผลให้เกิดทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) ประเทศอียิปต์ หลุมศพแห่งอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สุเหร่าแห่งกษัตริย์ฮัสซันที่ 2 ประเทศโมร็อกโก เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ (Kruger National Park) การท่องป่าซาฟารี แอฟริกาใต้ เกาะมาดากัสการ์ ทะเลทรายสะฮารา (Sahara)

3. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ 3.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด มีพื้นที่ประมาณ 22,063,997 ตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 83 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองติจูด 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตก ถึง 172 องศา 30 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ มหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ มีเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย เกาะเอลสเมียร์ และหมู่เกาะควีนอลิซาเบธ ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก มีเกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา และหมู่เกาะบาฮามาส ทิศใต้ ติดกับ ทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนวแบ่งเขตทวีป น่านน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก มีเกาะที่สำคัญ คือ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสแปนิโอลา เกาะจาเมกา เกาะเปอร์โตริโก ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริง คั่นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือ กับทวีปเอเชีย มีคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรแคลิฟอร์เนีย และคาบสมุทร อะแลสกา มีน่านน้ำ ที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลเบริง อ่าวอะแลสกา อ่าวแคลิฟอร์เนีย เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลูเชียน และหมู่เกาะควีนชาร์ล็อต

ภาพแผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ

“ ทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับ คือ มีฐานกว้างอยู่ทางด้านเหนือ ส่วนปลายแหลมอยู่ทางตอนใต้ ประกอบด้วย 22 ประเทศ ได้แก่ 1) สาธารณรัฐกัวเตมาลา 9) เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 17) สหรัฐอเมริกา 2) เกรเนดา 10) เครือรัฐดอมินีกา 18) สาธารณรัฐโดมินิกัน 3) สาธารณรัฐคอสตาริกา 11) สาธารณรัฐนิการากัว 19) สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ 4) สาธารณรัฐคิวบา 12) บาร์เบโดส 20) แอนติกาและบาร์บูดา 5) แคนาดา 13) เครือรัฐบาฮามาส 21) สาธารณรับฮอนดูรัส 6) จาไมกา 14) เบลีซ 22) สาธารณรัฐเฮติ 7) สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส 15) สาธารณรัฐปานามา 8) เซนต์ลูเซีย 16) สาธารณรัฐเม็กซิโก ทั้งนี้ ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งออกเป็น 4 เขต เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก เขตที่ราบภาคกลาง เขตหินเก่าแคนาดา หรือแคนาเดียนชิลด์ เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันออก

3.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือมีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและยิ่งใหญ่ติดอันดับโลก อีกทั้งทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เกิดการผสมผสานอย่างลงตัวกลายเป็นจุดเด่นทางการท่องเที่ยว ส่วนผสมของทรัพยากรการท่องเที่ยวนี้ก่อให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ แกรนด์ แคนยอน (Grand Canyon) สหรัฐอเมริกา อุทยานแห่งชาติเยลโลว์ สโตน (Yellowstone National Park) สหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการา (Niagara Falls) เทือกเขารอกกี (Rocky Mountains) สหรัฐอเมริกา พีระมิดเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก เมืองวิกตอเรีย (Victoria) ประเทศแคนาด

4. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้ 4.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 17.8ล้านตารางกิโลเมตร รูปร่างของทวีปอเมริกาใต้คล้ายคลึงกับทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีฐานกว้างอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนยอดสามเหลี่ยมอยู่ทางทิศใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 12 องศา 25 ลิปดาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองติจูด 34 องศา 47 ลิปดาตะวันตก ถึง 81 องศา 20 ลิปดาตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีคลองปานามาเป็นเส้นกั้นเขตแดนและติดต่อกับทะเลแคริบเบียนในมหาสมุทรแอตแลนติก จุดเหนือสุดอยู่ที่แหลมกายีนาสในประเทศโคลัมเบีย ทิศใต้ ติดกับ ทวีปแอนตาร์กติกา มีช่องแคบเดรกเป็นเส้นกั้นเขตแดน จุดใต้สุดอยู่ที่แหลมโฟร์วาร์ด ในคาบสมุทรบรันสวิก ประเทศชิลี ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันออกสุดอยู่ที่แหลมโคเคอรูสในประเทศบราซิล ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก จุดตะวันตกสุดอยู่ที่แหลมปารีนเยสในประเทศเปรู

ภาพแผนที่ทวีปอเมริกาใต้

“ ทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วย 12 ประเทศ คือ บราซิล โคลัมเบีย ชิลี ซูรินาเม โบลิเวีย ปารากวัย เปรู เวเนซูเอลา กายอานา อาร์เจนตินา อุรุกวัย เอกวาดอร์ ลักษณะภูมิประเทศของอเมริกาใต้ แบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ 1) เขตทิวเขาแอนดีสทางตะวันตก มีทิวเขาหลายแห่ง ตรงกลางเป็นที่ราบสูง ทางชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นที่ราบชายฝั่ง 2) เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง ประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำอะเมซอน แม่น้ำปารานา แม่น้ำ ปรากวัย แม่น้ำอุรุกวัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ที่ราบแปมปัส และที่ราบสูงปาตาโกเนีย ส่วนทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นทะเลทราย 3) เขตที่ราบสูงภาคตะวันออก ประกอบด้วยที่ราบสูงกายอานาทางตอนเหนือ และที่ราบสูงบราซิลทางตอนใต้ของทวีป ซึ่งมีแม่น้ำอเมซอนไหลผ่านแบ่งที่ราบสูงออกเป็นสองส่วน

4.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้ ความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยวของทวีปอเมริกาใต้ ส่งผลให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ป่าอะเมซอน น้ำตกอีกวาซู ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างบราซิลกับอาร์เจนตินา อุทยานแห่งชาติตอร์เรส เดล ไปย์เน ประเทศชิลี มาชู ปิกชู (Machu Picchu) ประเทศเปรู ลิมา เมืองหลวงมรดกโลกแห่งเปรู เกาะอีสเตอร์ ประเทศชิลี หมู่เกาะกาลาปากอส

5. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปยุโรป 5.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปยุโรป ทิศเหนือ ติดกับ มหาสมุทรอาร์กติก และขั้วโลกเหนือ จุดเหนือสุดอยู่ที่ แหลมนอร์ท ในประเทศนอร์เวย์ ทิศใต้ ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดใต้สุดอยู่ที่เกาะครีต ประเทศกรีซ ทิศตะวันออก ติดกับ ทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล เทือกเขาคอเคซัส และทะเลแคสเปียนเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันตกสุดของทวีปอยู่ที่ แหลมโรคาประเทศโปรตุเกส

ภาพแผนที่ทวีปยุโรป

“ ทวีปยุโรปแบ่งได้ 7 ภูมิภาค คือ 1) ยุโรปเหนือ ได้แก่ กลุ่มประเทศสแกนดเนเวีย ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ 2) ยุโรปกลาง ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี เช็ก โปแลนด์ สโลวัก ออสเตรีย 3) ยุโรปตะวันตก ได้แก่ ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์ 4) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ โครเอเชีย บอสเนีย ยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย โรมาเนีย ฮังการี สโลเวเนีย 5) ยุโรปใต้ ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อิตาลี สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) 6) รัฐอิสระ ได้แก่ รัฐสันตะปาปา ราชรัฐโมนาโก ราชรัฐลิกเตนสไตน์ ราชรัฐอันดอร์รา สาธารณรัฐซานมารีโน 7) ประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียต ได้แก่ เบโล-รัสเซีย มอลดาเวีย ยูเครน รัสเซีย ลิธัวเนีย แลตเวีย เอสโทเนีย

5.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปยุโรป ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปยุโรปมีความหลากหลายทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีความงดงามจนได้รับการกล่าวขานจากทั่วโลกว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งความโรแมนติก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปยุโรป ดังตัวอย่างต่อไปนี้ สนามกีฬากรุงโรม (Colosseum of Rome) ประเทศอิตาลี หอเอนเมืองปิซ่า (Leaning Tower of Pisa) ประเทศอิตาลี พระราชวังแวร์ซายส์ (Palace of Versailles) ประเทศฝรั่งเศส กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ประเทศอังกฤษ น้ำตกไรน์ (Rhein fall) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

6. ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปออสเตรเลีย 6.1 ลักษณะทั่วไปของทวีปออสเตรเลีย ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ประมาณ 7.6 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่เป็นทวีปหลังสุดที่มนุษย์เข้าไปตั้งถิ่นฐาน ได้รับสมญานามว่า “ทวีปเกาะ” เนื่องจากมีลักษณะเป็นเกาะและตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศา 41 ลิปดาใต้ ถึง 43 องศา 39 ลิปดาใต้ และลองติจูด 113 องศา 9 ลิปดาตะวันออก ถึง 153 องศา 39 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย

ภาพแผนที่ทวีปออสเตรเลีย

“ ลักษณะภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลียเกิดจากการผุพังของหินที่เก่าแก่ โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต ได้แก่ 1) เขตที่ราบชายฝั่งตะวันออก เป็นที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นด้านที่มีลมพัดเข้ามา จึงทำให้อากาศชุ่มชื้น 2) เขตเทือกเขาภาคตะวันออก มีทิวเขาเกรตดิไวดิง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมอร์เรย์ และแม่น้ำดาร์ลิ่ง โดยเทือกเขาดังกล่าวจะกั้นเขตที่ราบใหญ่ตอนกลางของทวีปออกจากชายฝั่งด้านตะวันออก 3) ที่ราบต่ำภาคกลาง ตั้งอยู่ระหว่างแนวทิวเขาเกรตดิไวดิง และที่ราบสูงตะวันตก มีที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบรอบอ่าวคาร์เพนทาเรีย ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เมอร์เรย์ดาร์ลิง และที่ราบนัลลาบอร์ 4) เขตที่ราบสูงทางตะวันตก มีระดับความสูงไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นเนินเขากระจายอยู่ทั่วไป มีแนวเขาสำคัญ เช่น ทิวเขาแมกดอนเนลล์ ทิวเขามัสเกรฟ และทิวเขาแฮเมอร์สลีย์

6.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปออสเตรเลีย ทวีปออสเตรเลียมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งธรรมชาติ และวัฒนธรรม โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของทวีปออสเตรเลีย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ประเทศออสเตรเลีย อุทยานแห่งชาติคาคาดู (Kakadu National Park) ประเทศออสเตรเลีย อุทยานแห่งชาติอูลูรู-คาตา ทจูทา (Uluru-Kata Tjuta National Park) ประเทศออสเตรเลีย อุทยานแห่งชาติฟยอร์ดแลนด์ (Fiordland National Park) ประเทศนิวซีแลนด์ หมู่เกาะฟิจิ (Fiji) ฟิจิเป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก