งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP
EAST ASIA เอเชียตะวันออก GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP

2 HISTORY

3 CHINA

4 จีน ประวัติศาสตร์ จีนปกครองด้วยจักรพรรดิ ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มายาวนานหลายพันปี ต่อเนื่องยาวนานหลายราชวงศ์ สื่บต่อกันมาอย่างยาวนาน (ราชวงศ์ชาง โจว > ฉิน > ฮั่น > จิ๋น > สุย > ถัง > ซ้อง > หยวน > หมิง > ชิง ตามลำดับ) ตลอดระยะเวลาหลายพันปี จีน ถือเป็นแหล่งอารยธรรม ของโลกตะวันออกที่สำคัญ โดยได้สร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญหลายอย่างมากมาย มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ให้แก่โลกตะวันออก เช่น การประดิษฐ์กระดาษ การพิมพ์ ดินปืน เข็มทิศ เป็นต้น ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง(แมนจู) จีนตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแออย่างมาก โดยมีพระนางชูสีไทเฮา อยู่เบื้องหลังการบริหารแผ่นดินและการกุมอำนาจการเมืองการปกครองของจีน โดยที่จักรพรรดิปูยี เป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น ประกอบกับการที่จีนต้องเผชิญหน้าจากการรุกรานของลัทธิจักรวรรดินิยม(การล่าอาณานิคม)โดยชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างหนักหน่วง จนจีนอยู่ในสถานภาพสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และมีลักษณะคล้ายกับสภาพกึ่งเมืองขึ้น ราชวงศ์สุดท้ายของจีน คือ ราชวงศ์ชิง หรือ ราชวงศ์แมนจู โดยมีจักรพรรดิองค์สุดท้าย ของจีน คือ จักรพรรดิปูยี ก่อนที่จะมีการปฏิวัติล้มราชวงศ์แมนจูและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ และการมีจักรพรรดิจีนสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิง ในปี ค.ศ. 1912

5 จีน ประวัติศาสตร์ ค.ศ. 1949 (การปฏิวัติครั้งที่ 2 ของจีน) เหมาเจ๋อตุง (Mao Zedong) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีน โดยเปลี่ยนจากจากระบอบประชาธิปไตย มาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และนำประเทศมาใช้ตามอุดมการณ์ของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อย่างเคร่งครัด ดังจะเห็นได้จากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมCultural Revolution) ในช่วง ปี ค.ศ และเปลี่ยนชื่อประเทศมาเป็น “ สาธารณรัฐประชาชนจีน ” (People Republic of China : PRC) จนถึงทุกวันนี้ ต่อมาในสมัยผู้นำที่ชื่อ เติ้งเสียวผิง (Deng Xiaoping) จีนได้ทำการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยทำการเปิดประเทศมากขึ้นและ หันมาใช้ระบบเศรษฐกิจที่เสรีมากขึ้น ทั้งการใช้ “ นโยบายสี่ทันสมัย “ (Four Modernization) ได้แก่ 1)เกษตรกรรม. 2) อุตสาหกรรม. 3) การทหาร 4)วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การตั้ง "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" (Special Economic Zones: SEZs) ในปี ค.ศ โดยทำการเปิดเมืองเศรษฐกิจพิเศษใน 4 พื้นที่ คือ เซินเจิ้น(Shenzhen) ซัวเถา(Shantou) จูไห่(Zhuhai) เซี่ยเหมิน(Xiamen) เพื่อพัฒนาประเทศจีนให้ทันสมัยแบบตะวันตกนับจากนั้นตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาเศรษฐกิจจีนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องรวดเร็วจนกลายเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ค.ศ (การปฏิวัติครั้งที่ 1 ของจีน) เกิดการปฏิวัติซินไฮ่(Xinhai Revolution) ที่นำโดย ดร.ซุนยัตเซ็น ภายใต้ พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang) และได้ใช้ตามแนวคิด ไตรราษฎร์ (ซันหมินจู่อี้ : The Three People’s Principles) คือ แนวนโยบายการปฏิวัติ 3 ประการ คือ (1) “ประชาชาติ” (people's rule) คือ ความนิยมชาติ โดย การโค่นล้มรัฐบาลของราชวงศ์แมนจูลงและจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนจีนขึ้น (2) "ประชาสิทธิ์" (people's right) คือ ประชาธิปไตย โดย การจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ (ที่ไม่เอาระบบจักรพรรดิ) (3) "ประชาชีพ" (people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของประชาชน โดยการจัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชนใหม่ได้ทำการล้มราชวงศ์ชิงลง ใช้รูปแบบสาธารณรัฐ(Republic) และปกครองประเทศด้วย ระบอบประชาธิปไตย เปลี่ยนชื่อประเทศมาเป็น ” สาธารณรัฐจีน “ (Republic of China) เป็นการสิ้นสุดการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยจักรพรรดิจีน ที่มีมาอย่างยาวนานหลายพันปีลง ค.ศ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การเมืองในจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน โดยพรรคก๊กหมินตั๋ง ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล ในขณะนั้น ที่นำโดย เจียงไคเช็ก ซึ่งเป็นประธานาธิบดีจีน ในตอนนั้น ได้พ่ายแพ้ทางการเมืองต่อ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่นำโดย เหมาเจ๋อตุง จนต้องหนีมาอยู่ ที่เกาะไต้หวัน ในเวลาต่อมา

6 JAPAN

7 ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์
ยุคศักดินาของญี่ปุ่น (ศตวรรษที่ 12-16) ตระกูลมินะโมะโตะ(Minamoto) ก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองอย่างมาก มีตำแหน่งที่เรียกกันว่า “ โชกุน ” ด้วยการที่อำนาจจักรพรรดิอ่อนแอลง โชกุนเลยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จปกครองญี่ปุ่นทั้งหมดในทางปฏิบัติ ซึ่งแสดงถึงความเสื่อมของอำนาจทางการเมืองของสถาบันจักรพรรดิอย่างมาก(ในช่วงนี้ยังมีจักรพรรดิอยู่แต่ไม่มีอำนาจในการปกครองอะไรในทางปฏิบัติ) และยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองโดยระบอบศักดินาของญี่ปุ่น หรือ ยุคกลางของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น บทบาททางการเมืองของขุนนางเริ่มมามีอำนาจทางการเมืองอย่างมากตั้งแต่ปลายสมัยเฮอังในยุคคลาสสิกของญี่ปุ่น และขุนนางเข้ามามีอำนาจทางการปกครองอย่างมาก อย่างเต็มตัวในสมัยคะมะคุระ (ขุนนางผู้ปกครองระดับสูง ที่เรียกว่า “ โชกุน(Shogun) ” และชนชั้นปกครองที่รองลงมาจากโชกุนอีกที ที่เรียกกันว่า ” ไดเมียว(Daimyo) “ ) ยุคนี้เป็นยุคที่ “ ซามูไร(Samurai) “ (ทหารนักรบรับใช้ขุนนาง) เฟื่องฟูอย่างมาก ปลายยุคศักดินาของญี่ปุ่นนี้ จีนสมัยนั้นภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวน(เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่ปกครองจีน) ได้ทำการรุกรานญี่ปุ่นแต่ไม่สำเร็จ ปลายยุคศักดินาของญี่ปุ่นนี้เองมีชาวโปรตุเกส ซึ่งเป็นชาติตะวันตกชาติแรกของยุโรปเดินเรือมายังญี่ปุ่น เป็นชาติแรก ยุคสมัยคลาสสิก ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น (ศตวรรษที่ 6-12) เริ่มแรกมีศูนย์กลางอยู่ที่นาระ และต่อมาย้ายมาที่เกี่ยวโต(เฮอังเกียว) ยุคนี้เริ่มแรกมีศูนย์กลางอยู่แถบเมืองนาระนี้เป็นยุคที่เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งชัดเจน และ เป็นสมัยที่รับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมจากจีน ทั้งศาสนาพุทธ ตัวเขียน เป็นต้น ปลายสมัยคลาสสิก เป็นยุคที่เรียกว่า ยุคเฮอัง(เฮอัน) มีศูนย์กลางอยู่ที่เกียวโต(เฮอันเกียว) ถือเป็นยุคทองของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการเริ่มสร้างวัฒนธรรมที่เป็นแบบเฉพาะตัวของตัวเองมากขึ้น ที่เป็นของญี่ปุ่น จากเดิมที่มักรับเอาอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก เช่น การสร้างตัวเขียนที่เฉพาะของญี่ปุ่น ยุคโบราณของญี่ปุ่นเป็นยุคสมัยก่อน ยุคนาระ และ ยุคเฮอัน เป็นยุคแรก ของอารยธรรมญี่ปุ่น มักปรากฎหลักฐานเป็นหลุมฝั่งศพ

8 ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์
หลังจากความเสียหายจากระเบิดปรมณูที่ถูกทิ้งลงที่ เมืองฮิโรชิมา และ เมืองนางาซากิ ไม่นาน ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ ญี่ปุ่นตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาเข้ามามีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ญี่ปุ่น โดยในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับใหม่นี้กำหนดให้ญี่ปุ่นห้ามมี กองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ เว้นแต่กองกำลังความมั่นคงภายในประเทศ ญี่ปุ่นต้องเป็นชาติแห่งประชาธิปไตยเท่านั้น และให้ใช้หลักการประชาธิปไตยในการตัดสินและปกครองประเทศ และให้มีกษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นเร่งฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและเศรษฐกิจของตนเอง อย่างเร่งด่วน และ ญี่ปุ่นสามารถทำได้อย่างดี อย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกได้ในปี ค.ศ (ถือเป็นชาติแรกของเอเชีย) ซึ่งสะท้อนถึงความมั่งคงและความเชื่อมั่นของนานาๆชาติต่อญี่ปุ่น ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการค้ามาโดยตลอด โดยบทบาททางการทหารถูกจำกัดไว้ในมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (ที่ห้ามญี่ปุ่นมีพฤติกรรมแห่งการนำไปสู่สงคราม เพื่อป้องกันการก่อสงครามดังเช่นอดีตอีก) ยุคเฮเซ หมดสมัยจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ และ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์ต่อ ทำให้ปี ค.ศ นี้ เป็นปีสิ้นสุดของสมัยโชวะ และเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮเซ ยุคใหม่ ( ค.ศ ปัจจุบัน ) - เป็นยุคเปิดประเทศ - เป็นยุคสมัยใหม่และความก้าวหน้าอย่างมากของญี่ปุ่น ทั้งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 4 ยุค ย่อย ๆ คือ สมัยเมจิ สมัยไทโช สมัยโชวะ สมัยเฮเซ ตามลำดับ สมัยเมจิ เป็นยุคที่อำนาจการปกครองกลับไปอยู่ที่จักรพรรดิอีกครั้งหนึ่งและอำนาจโชกุนหมดลง เป็นยุคแรกของยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น มีการปฏิรูปการปกครอง กฎหมาย กองทัพ เลิกทาส มีรัฐธรรมนูญครั้งแรกของญี่ปุ่นในปี ค.ศ และเป็นยุคที่เริ่มสร้างความเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น มีการทำสงครามกับจีน ทำสงครามรัสเซีย และชนะ ในปี ค.ศ และ ยึดครองเกาหลี สมัยโชวะ เป็นยุคที่กลุ่มชาตินิยม(ฝ่ายขวา)รวมกับทหารชาตินิยม เข้าปกครองประเทศและนำญี่ปุ่นสร้างความเป็นจักรวรรดิของญี่ปุ่นและเริ่มรุกรานประเทศต่าง ๆ จนนำญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในฝ่ายอักษะ สมัยเอโดะ (Edo) (ยุคใกล้) ( ค.ศ ) โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ (Ieyasu Tokugawa) ก้าวขึ้นมามีอำนาจ เป็น โชกุน เป็นสมัยที่ตระกูลโตกุกาวะ มีอำนาจในการปกครองญี่ปุ่น เป็นสมัยที่ใช้นโยบายชาตินิยม-สันโดษ มีการปิดประเทศ (มีเพียงช่องทางติดต่อกับโลกภายนอกเพียงน้อยนิดผ่านเมืองท่า บนเกาะคิวชู คือ เมืองนางาซากิเท่านั้น) ได้ย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตมาอยู่ที่เอโดะ(Edo) หรือ โตเกียว ในปัจจุบันนี้ (ในระยะเวลา 260 กว่าปีที่ญี่ปุ่นปิดประเทศนั้น ทำให้ญี่ปุ่น ไม่รับวัฒนธรรม ไม่รับศิลปะ ไม่รับศาสนา ไม่รับอารยธรรมอะไรทั้งสิ้นจากนอกประเทศ และได้สร้างสิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นมีความเป็นตัวของตัวเอง เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมากเช่นกัน) การปิดประเทศของญี่ปุ่นก็ต้องมีอันสิ้นสุดลง เมื่อนายพลแมทธิว ซี เพอร์รี จาก สหรัฐอเมริกา ได้นำกองเรือที่มีแสนยานุภาพสูง 4 ลำเข้ามาในอ่าวโตเกียว และบังคับให้ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศ จนญี่ปุ่นต้องยอมทำตามในที่สุด

9 MONGOLIA

10 มองโกเลีย ระบอบการปกครอง
ราชวงศ์หยวน (ราชวงศ์ของชาวมองโกล) สมัยกุปไลข่าน (หลานเจงกีสข่าน) ได้เข้ารุกรานจีนและ เข้าปกครองจีนในเวลาต่อมาโดยได้สถาปนาราชวงศ์ หยวน หรือ หงวน (ซึ่งเป็นราชวงศ์ชาวมองโกล) ซึ่งเป็นชนกลุ่มแรกที่ไม่ใช่ชาวจีนฮั่น ที่เข้าปกครองจีน โดยมีศูนย์กลางที่ กรุงปักกิ่ง (เป็นครั้งแรกที่จีนใช้กรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวง) จักรวรรดิมองโกล เป็นจักรวรรดิ ที่ยิ่งใหญ่ของโลก สมัยเจงกิสข่าน ในช่วงศตวรรษที่ 13 เมื่อราชวงศ์หยวน เสื่อมอำนาจลง ต่อมา สมัยราชวงศ์หมิง อำนาจของมองโกลก็หมดลง และดินแดนมองโกเลียก็ถูกปกครองโดยจีนภายใต้ราชวงศ์หมิง และ ราชวงศ์ชิง(แมนจู)ของจีนตามลำดับ ค.ศ มองโกเลียได้เอกราช จากการปกครองของจีน โดยการช่วยเหลือจาก สหภาพโซเวียต และ ปกครองด้วย ระบอบคอมมิวนิสต์ ตามแบบสหภาพโซเวียต ค.ศ มองโกเลียเปลี่ยน การปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย หลังจากที่ สหภาพโซเวียต ล่มสลายลง

11 TAIWAN

12 ไต้หวัน ประวัติศาสตร์
ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นใช้กำลังแย่งเกาะไต้หวันไปจากจีนในปี ค.ศ และได้ยึดครอง และปกครองไต้หวันจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง (ค.ศ. 1945) เมื่อญี่ปุ่นแพ้เป็นฝ่ายแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ยกเกาะไต้หวันคืนให้กับจีนตามเดิม ในศตวรรษที่ 16 คือปีค.ศ นักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้แล่นเรือมาถึงเกาะไต้หวันและได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า เกาะฟอร์โมซา(Formosa) เป็นภาษาโปรตุเกสแปลว่า "เกาะที่สวยงาม (Beautiful Island)" ค.ศ ชาวดัตช์(เนเธอร์แลนด์)เข้ามารุกรานและยึดครอง เกาะไต้หวัน แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นที่ ไถหนาน (Tainan) อีก 2 ปีต่อมา กองเรือสเปนยกกำลังเข้ามาบุกรุกแย่งเกาะไต้หวันไปครอง แต่ชาวดัตช์ได้ต่อสู้แย่งชิงเอา เกาะกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1641 ค.ศ สมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ของจีน จีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในการครอบครองเกาะไต้หวัน ในที่สุดชาวจีนก็ได้ขับไล่ชาวดัตช์ออกไปจนได้ และผนวกเอาเกาะไต้หวันเข้าไปเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของ มณฑลฝูเจี้ยนของจีน ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งพักพิงให้ผู้อยู่อพยพจากจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเกาะไต้หวันมากขึ้นเวลาต่อมา

13 ไต้หวัน ประวัติศาสตร์
ค.ศ ก่อนที่เจียง ไคเช็ก จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีน(จีนฝ่ายก๊กหมินตั๋งที่นำโดยเจียงไคเช็ก)ซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN)ตั้งแต่แรก ได้สูญเสียสมาชิกภาพ ในฐานะประเทศตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน(จีนแผ่นดินใหญ่) ในปี ค.ศ และต่อมาองค์การสหประชาชาติ(UN)ก็ประกาศรับรองจีนเดียว คือ จีนแผ่นดินใหญ่(สาธารณรัฐประชาชนจีน) และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน(จีนไต้หวัน)จีนบนเกาะไต้หวัน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าไต้หวันมีฐานะเป็นรัฐ สถานะทางการเมืองของไต้หวันจึงซับซ้อนยุ่งยาก(ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสาธารณรัฐจีน(จีนไต้หวัน)ได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ(UN) แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ) แม้เกาะไต้หวันจะปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช(รัฐ) และกลายเป็นเกาะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน(จีนแผ่นดินใหญ่) ซึ่งแค่รอเวลาที่จะกลับมารวมกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง(เหมือนฮ่องกง และ มาเก๊า) และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประกาศอีกว่า หากจำเป็น ก็จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการ หากไต้หวันประกาศเอกราชแยกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนจีนไต้หวันเองก็ไม่ยอมรับสถานะนี้ในทางการเมืองระหว่างประเทศและมองว่าตนเองเป็นประเทศเอกราชเหมือนชาติอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้วางอยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และพรรคก๊กหมินตั้งที่เป็นพรรคการเมืองสมัยเจียงไคเช็ก ก็ยังเป็นพรรคการเมืองที่สำคัญของไต้หวันมาจนปัจจุบันนี้ ส่วนเจียงไคเช็กผู้นำพรรคก๊กหมินตั๋งและผู้นำคนสำคัญได้ถูกยกย่องว่าเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของไต้หวันในเวลาต่อมา ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ไต้หวัน ได้ใช้รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ส่งผลให้เศรษฐกิจไต้หวันพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้ก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วอีกชาติหนึ่งของเอเชียตามหลังประเทศญี่ปุ่นและอีกหลายชาติของเอเชีย ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียในสมัยนั้น (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อ่องกง และสิงคโปร์) มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเร็ว เป็นหนึ่งในชาติอุตสาหกรรมใหม่(NICs)ในอดีต 4 ชาติ (เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และ สิงคโปร์) ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามเจียงไคเช็กมาอยู่ที่เกาะไต้หวัน (และยังคงใช้ชื่อทางการของประเทศว่า “ สาธารณรัฐจีน “ ตามเดิม ปัจจุบันชื่อทางการของไต้หวันก็ใช้ชื่อนี้) ในยุคที่เหมาเจ๋อตุงมีอำนาจในการปกครองในจีนแผ่นดินใหญ่(สาธารณรัฐประชาชนจีน) ผู้นำของประเทศจีนคอมมิวนิสต์ในแผ่นดินใหญ่ และ ผู้นำจีนก๊กมินตั๋งที่เกาะไต้หวัน ทั้งสองประเทศ ต่างแย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า จนที่นั่งคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ และ สมาชิกที่นั่งในองค์การสหประชาชาติ(UN) จึงตกไปเป็นของจีนแผ่นดินใหญ่ไปในที่สุดในเวลาต่อมา ผลจากสงครามกลางเมืองในจีน(ฝ่ายเจียงไคเช็ก VS ฝ่ายเหมาเจ๋อตุง) เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะและเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี ค.ศ พรรคก๊กมินตั๋ง ของฝ่ายเจียงไคเช็กที่เป็นฝ่ายแพ้ ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่ มาตั้งหลักที่เกาะไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปยึดอำนาจในจีนต่อไป แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

14 KOREA

15 เกาหลีใต้ ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เกาหลีในยุคแรกๆ (57 ปีก่อนคริสตกาล ถึงค.ศ. 668) เกาหลีปกครองด้วย 3 อาณาจักร คือ โคกุเรียว (Koguryo) เป็กเช (Paekche) และชิลลา (Shilla) ชึ่งปกครองทั้งคาบสมุทรเกาหลีและพื้นที่ส่วนบางส่วนในแมนจูเรีย ต่อมาในปี ค.ศ. 676 อาณาจักรชิลลาก็รวมคาบสมุทรทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเป็นครั้งแรกและได้สถาปนาอาณาจักรใหม่ชื่อว่าอาณาจักรโคเรียว อาณาจักรโคเรียว (Koryo,ค.ศ ) เป็นยุคที่ปกครองโดยขุนนาง มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ชื่อ “เกาหลี” (Korea) ก็มาจากคำว่า “Koryo” นั้นเอง ราชวงศ์โชซอน (ค.ศ ) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเกาหลี เป็นช่วงเวลาที่มีการปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ โดยได้รับอิทธิพลมาจากขงจื้อ ซึ่งราชวงศ์นี้ได้สร้างวรรณคดีและประดิษฐ์ตัวอักษรเกาหลีที่เรียกว่าอันกึล โดยมีเมืองฮันยาง (Hanyang) (โซล) เป็นเมืองหลวง

16 เกาหลี เกาหลีเหนือมีผู้นำที่ปกครองด้วยอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ภายใต้พรรคแรงงานเกาหลีและใช้อุดมการณ์จูเช (Juche) (หลักว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง : คือ เอกราชทางการเมืองอย่างแท้จริง การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศด้วยตนเอง) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลงเศรษฐกิจเกาหลีเหนือยำแย่ลง เกาหลีเหนือ มีผู้นำคนแรก คือ คิมอิลซุง(Kim Il Sung) คนต่อมา คือ คิมจองอิล(Kim Jong-il ) และ คนปัจจุบัน คือ คิมจองอึน(Kim Jong-un) โดยในด้านการเมืองมีการความคุมอย่างเคร่งครัด และ ในด้านเศรษฐกิจและต่างประเทศ ใช้ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการปิดประเทศ นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังพยายามสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและพัฒนาศักยภาพทางการทหาร และครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ประวัติศาสตร์ ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปปลดอาวุธญี่ปุ่นในเกาหลี แต่สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถตกลงเรื่องการรวมเกาหลีกันได้ เพราะมีความต้องการในการใช้รูปแบบการปกครองที่ต่างกันของคนสองกลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน โยที่แต่ละฝ่ายได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจของโลกในสมัยนั้น โดยที่เกาหลีใต้ ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีเหนือ การสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต สงครามเกาหลีเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1950 โดยทางเกาหลีเหนือบุกรุกทางเกาหลีใต้ จบลงด้วยข้อตกลงสงบศึกเกิดขึ้นใน 3 ปีต่อมา คือ ปี ค.ศ โดยมีการกำหนดแบ่งประเทศเป็นเกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ด้วยเส้นขนานที่ 38 และเขตปลอดทหาร ตั้งแต่นั้นเกาหลีก็ออกแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ (ใช้ชื่อประเทศว่า “สาธารณรัฐเกาหลี“) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย กับ เกาหลีเหนือ (ใช้ชื่อประเทศว่า “สาธารณรัฐประชาชนเกาหลี” ) ที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ปี ค.ศ เกาหลีถูกรุกรานจากญี่ปุ่นและถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น และถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โชซอน เกาหลีตกเป็นอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ 35 ปี จนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร และถอนกำลังออกจาก คาบสมุทรเกาหลี เกาหลีใต้ได้พยายามฟื้นฟูตัวเองจากภาวะสงครามเกาหลีที่เสร็จ สิ้นลง หลัง ปี ค.ศ ได้พัฒนาประเทศด้วยแนวทางเสรีประชาธิปไตย ประกอบกับเน้นในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี การศึกษา การค้า ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความความเจริญและเศรษฐกิจ จนก้าวสู่ประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมก้าวหน้าสูงของเอเชีย จนได้รับสมญานามว่า เสือทางเศรษฐกิจของเอเชีย(เหมือนดังเช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์) และเป็นชาติอุตสาหกรรมใหม่(NICs)ของเอเชีย (เหมือนกับ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ในเวลานั้น) ปัจจุบันเศรษฐกิจของเกาหลีใต้พัฒนารวดเร็วอย่างมาก และก้าวสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วตามหลังญี่ปุ่น เหมือนดังเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน

17 เกาหลีใต้ ประวัติศาสตร์
รัฐธรรมนูญฉบับแรก กำหนดให้รัฐสภาของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นสภาเดี่ยว และเป็นองค์กรทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี ขึ้นบริหารประเทศ ใช้ระบบประธานาธิบดี(Presidential system) ในปี ค.ศ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1 มีการกำหนดให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการเลือกโดยตรงจากประชาชน และ ให้มีสองสภา ในปี ค.ศ มีการแก้ไขเป็นครั้งที่ 2 เพิ่มเติมบทบัญญัติว่า ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมหรือไร้ความสามารถ ให้รองประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งแทน ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 รัฐบาลรักษาการซึ่งปกครองประเทศภายหลังที่ได้เกิดเหตุการณ์ ประท้วงโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีซิงมันรี โดยกลุ่มนักศึกษา ประชาชน และได้รับการ สนับสนุนจากฝ่ายทหาร จนเป็นผลให้นายซิงมันรี ออกไปลี้ภัยยังต่างประเทศ จึงเกิดการแก้ไข รัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 3 โดยให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบรัฐสภา(Parliamentary system) โดยให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ส่วนประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกจากประชาชนทำหน้าที่เป็นเพียงประมุขของประเทศ และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ระบบรัฐสภาได้รับการนำมาใช้ในช่วงสั้นๆระหว่างเดือน สิงหาคม ค.ศ – กรกฎาคม ค.ศ ในปี ค.ศ (เดือนธันวาคม) มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 4 โดยได้เพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า ให้รัฐสภาออกกฎหมายเพิ่มการลงโทษต่อผู้ที่ทุจริตในการเลือกตั้งและให้ลงโทษต่อผู้ที่รับผิดชอบ ที่สังหารและทำร้ายผู้ที่ทำการประท้วง เรื่องการทุจริตการเลือกตั้ง อนึ่งมีการกำหนดบทลงโทษ ต่อผู้ต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตย และต่อข้าราชการที่ทำการคอร์รัปชั่น ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 5 ในยุครัฐบาลทหารรักษาการ โดยได้กำหนดให้นำ ระบบประธานาธิบดี(Presidential system) มาใช้อีกครั้ง และการมีสภาเดี่ยว กลับมาใช้ดังเดิม ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 6 เป้าหมายหลักก็คือการขยายวาระของการดำรงตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีออกเป็น 3 วาระ ข้อกำหนดคราวนี้มีผลให้ประธานาธิบดี ปัก จุงฮี สามารถดำรงตำแหน่ง ติดต่อกัน จนวาระที่สามได้ ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 7 ได้เพิ่มข้อกำหนดให้ประธานาธิบดี สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ตลอดชีวิต นั่นหมายถึงการยกเลิกการกำหนดวาระของการเป็นผู้นำประเทศนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้นายปัก จุงฮี สามารถดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศตลอดไป อนึ่ง ได้กำหนดให้มีการเลือก ตั้งประธานาธิบดีโดยผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral college) หรือเรียกว่า เป็นการเลือกทางอ้อม นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเพิ่มอำนาจให้กับประธานาธิบดีมากขึ้น เช่น เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก รัฐสภาจำนวนหนึ่งในสามของสภาทั้งหมด สามารถยุบสภาได้ และสามารถประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อสลายกลุ่มหรือบุคคลที่ทำการต่อต้านรัฐบาล ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 8 กระทำโดยรัฐบาลทหารของนายพลชุนดูฮวาน กำหนดให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้เพียงหนึ่งวาระเป็นเวลา 7 ปี และประธานาธิบดี จะได้รับการเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง(Electoral college) หรือเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ในปี ค.ศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ประธานาธิบดีห้จะต้องได้รับการเลือกโดยตรงจากประชาชน และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียวเป็นเวลา 5 ปี รัฐธรรมนูญฉบับแรกของเกาหลีใต้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ ภายหลังที่ก่อตั้งประเทศเป็นสาธารณรัฐขึ้น

18 เกาหลีใต้ ประวัติศาสตร์
ถือได้ว่าเกาหลีใต้ยึดการปกครองแบบ ประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี(Presidential system) มาโดยตลอด ยกเว้นในช่วงสั้นๆระหว่างเดือนสิงหาคม 1960 –กรกฎาคม ค.ศ ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบรัฐสภา(Parliamentary system) เท่านั้น ประธานาธิบดี : ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นตัวแทนของรัฐในการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีความความเห็นชอบของรัฐสภา นายกรัฐมนตรี : ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้ (นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย อันดับที่หนึ่งที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ในฐานะเป็นหัวหน้าเหล่าข้าราชการทั้งหมด) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของเกาหลีใต้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ค.ศ ภายหลังที่ก่อตั้งประเทศ เป็นสาธารณรัฐขึ้น

19 HONG KONG

20 ฮ่องกง ประวัติศาสตร์ สมัยพระนางวิกตอเรียกษัตริย์อังกฤษ อังกฤษกำลังต้องการอาณานิคมในแถบทะเลจีนใต้ เพื่อใช้เป็นที่จัดส่งสินค้าโดยเฉพาะฝิ่น และประจวบเหมาะพอดีกับที่ฝ่ายอังกฤษและจีน กำลังมีปัญหาเรื่องการค้าฝิ่นในแถบกวางตุ้งของจีน จนทำให้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ขึ้น ในปี ค.ศ สุดท้ายอังกฤษชนะ และประกาศให้ดินแดนแถบนั้นเป็นของอังกฤษ ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ (หลังจากจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นกับอังกฤษ เกาะฮ่องกงถูกครอบครองโดยอังกฤษในปี ค.ศ. 1842) ฮ่องกง เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในเขต อำเภอซินอัน เมืองเซินเจิ้น “ ฮ่องกง " เป็นภาษากวางตุ้ง ซึ่งมาจากภาษาจีนกลาง(จีนแมนดาริน) ว่า "เซียงกั่ง" หมายความว่า “ ท่าเรือหอม" มีความเป็นมา สืบเนื่องมาแต่ครั้งที่กวางตุ้ง เป็นแหล่งปลูกไม้หอมชนิดหนึ่ง ส่งขายเป็นสินค้าออก โดยที่ต้องมาขนถ่ายสินค้ากัน ที่ท่าเรือน้ำลึกตอนใต้สุดของแผ่นดินจีน ด้วยภูมิประเทศของฮ่องกงเอง ที่เป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก ตั้งแต่นั้น จีนและอังกฤษกระทบกระทั่งกันเรื่องการค้าฝิ่นเรื่อยมา เกิดสงครามฝิ่นถึงสองครั้ง หลังสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 นี่เอง อังกฤษได้บีบบังคับให้จีนทำสัญญา โดยให้อังกฤษเช่าฮ่องกงทั้งหมด เป็นเวลา 99 ปี โดยกำหนดวันหมดสัญญาไว้วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ ด้วยภูมิประเทศของฮ่องกงเอง ที่เป็นเมืองท่าน้ำลึก เหมาะแก่การจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ จึงทำให้ฮ่องกงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก ในปี ค.ศ ฮ่องกงกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ภายใต้ชื่อ “เขตปกครองพิเศษฮ่องกง” (Hong Kong, The Special Administrative Region : SAR) ภายใต้นโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ (One Country Two Systems) ของจีนที่นำมาใช้กับฮ่องกง เหมือนกับที่จีนใช้กับ มาเก๊า กล่าวคือ ฮ่องกงสามารถมีรัฐบาลและปกครองตนเองต่อไปได้เป็นระยะเวลา 50 ปี ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่

21 ฮ่องกง ประวัติศาสตร์ ในปี ค.ศ ฮ่องกงกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ภายใต้ชื่อ “ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ” (Hong Kong, The Special Administrative Region : SAR) ภายใต้ “ นโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ “ (One Country Two Systems) ของจีนที่นำมาใช้กับฮ่องกง เหมือนกับที่จีนใช้กับ มาเก๊า กล่าวคือ ฮ่องกงสามารถมีรัฐบาลและปกครองตนเองต่อไปได้เป็นระยะเวลา 50 ปี ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี ค.ศ อังกฤษตั้งผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาประจำยังเกาะฮ่องกง ตั้งแต่นั้นมาอังกฤษได้ช่วยวางรากฐานการศึกษา การปกครอง และผังเมืองให้ฮ่องกงเป็นอย่างดี เพียง ชั่วพริบตาเดียว ฮ่องกงได้กลับกลายเป็นศูนย์กลางพาณิชย์และยังเป็นประตูเปิดสู่ประเทศจีน ปลายศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ ดินแดนตอนปลายคาบสมุทรเกาลูน(Kowloon)ก็ตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ และในปี ค.ศ อังกฤษยังได้สิทธิเช่าเขตนิวเทอริทอรี่ส์ หรือ ‘เขตดินแดนใหม่’ (New Territories) รวมทั้งเกาะรอบข้าง ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่าเมื่อครั้งอังกฤษเข้ายึดครองในสมัยสงครามฝิ่นเกือบสิบเท่า เป็นเวลา 99 ปี ซึ่งอังกฤษได้ทำพิธีส่งคืนเกาะฮ่องกง ให้แก่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ทั้งนี้เคยมีการเจรจาระหว่างอังกฤษโดย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับ นายเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำฝ่ายจีน เพื่อเจรจาขอเช่าเกาะฮ่องกงต่อ แต่ได้รับการปฏิเสธ และในปีเดียวกันนั้น วันที่ 26 กันยายน ผู้นำทั้งสองจึงเปิดเจรจาอีกครั้งและลงนามในสัญญา โดยมีสาระสำคัญว่า อังกฤษจะยอมส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน และจีนได้ให้สัญญาว่าจะยอมให้ฮ่องกง อยู่ในฐานะ "เขตปกครองตนเอง" ภายใน 50 ปี นายตงจิ้นหวา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฮ่องกง คนแรกหลังที่ฮ่องกงกลับมาอยู่ภายใต้อาณัติของจีนตามตามนโนบาย 1ประเทศ 2 ระบบ และจีนได้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้รัฐบาลปักกิ่งรับผิดชอบด้านกิจการต่างประเทศ การทหาร และความมั่งคงเท่านั้น ส่วนการบริหารยังคงให้อิสระแก่ชาวฮ่องกงเหมือนเดิม

22 ฮ่องกง ประวัติศาสตร์ ค.ศ. 1898 ค.ศ.1860 ค.ศ.1842 ค.ศ.1898 ค.ศ. 1898
ฮ่องกงมีพื้นที่รวม 1, ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะฮ่องกง(Hong Kong island) (80.30 ตร.กม.) เกาลูน(Kowloon) (46.71 ตร.กม.) เขตดินแดนใหม่ (New Territories) และเกาะอื่น ๆ ( ตร.กม.)

23 MACAU

24 มาเก๊า ประวัติศาสตร์ หลังจากนั้นมาเก๊าก็กลายเป็นผืนดินแห่งแรกที่ชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนตะวันออกไกล(Far East) ในปี ค.ศ ลีโอเนล เดอ โซซ่า(Leonel de Sousa) ทหารเรือชาวโปรตุเกสได้ลงนามทำสนธิสัญญากับเจ้าเมืองกวางตุ้งโดยในสนธิสัญญามีข้อตกลงอยู่ว่าหากโปรตุเกสสามารถปราบโจรสลัด และทำการยึดเมืองที่โจรสลัดครอบครองไว้ได้สำเร็จ จีนจะอนุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาทำการค้า ซึ่งในที่สุดโปรตุเกสก็สามารถยึดเมืองมาเก๊า อันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของโจรสลัดได้จริงๆ โปรตุเกสจึงมีโอกาสเข้ามาสร้างอาณานิคมอยู่ใน “มาเก๊า” ตามข้อตกลง นับตั้งแต่ปี ค.ศ เป็นต้นมา ช่วงต้นศตวรรษที่ 16 นักเรือชาวโปรตุเกส ได้เข้ามาบุกเบิกในการเดินทางมายังทวีปเอเชีย และในที่สุดวาสโกดากามา(Vasco Dagama)นักเดินเรือของโปรตุเกสก็เป็นชาติแรกที่เดินทางมาถึงเอเชียโดยมาถึงอินเดีย และได้เดินทางบุกเบิกเส้นทางผ่านช่องแคบมะละกาจนมาถึงจีนในเวลาต่อมา โปรตุเกสต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานานับประการ เพราะกว่าจีนจะให้การยอมรับก็ต้องใช้เวลาอยู่นาน และต่อมาในปี ค.ศ จอร์จ อัลวาเรส(Jorge Alvares) เป็นชาวโปรตุเกสคนแรกที่ได้เดินเรือมาถึงดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซี-เพิร์ล(ซีเกียง) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเข้าไปเพื่อติดต่อทำการค้าในจีนผ่านทางทะเลเป็นชาติตะวันตกชาติแรก และได้ติดต่อทำการค้ากับจีนและสร้างความพึงพอใจให้กับชาวจีน ความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนและโปรตุเกสจึงได้เริ่มต้นขึ้น มาเก๊า(Macau) หรือ อ้าวเหมิน(Aomen) (ภาษาจีนกลาง / จีนแมนดาริน) ในอดีตมาเก๊า เป็นเพียงหมู่บ้านเกษตรกรรมและประมงเล็กๆ ชนชาติดั้งเดิม ที่เข้ามาตั้งรกรากคือ ชาวจีนกวางตุ้งและฝูเจี้ยน ตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี แห่งการครอบครองมาเก๊าของโปรตุเกส ผู้คนมักพูดถึงมาเก๊าในฐานะอาณานิคมของโปรตุเกส แต่ในความเป็นจริงแล้ว โปรตุเกสปฏิบัติต่อมาเก๊าในฐานะ เป็นจังหวัดหนึ่งของโปรตุเกส แม้ว่าจะมีการแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่เข้ามาปกครองก็ตาม ในปี ค.ศ โปรตุเกสได้ทำพิธีส่งมอบมาเก๊าคืนแก่จีน ในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ นับตั้งแต่นั้นมา มาเก๊าก็กลับมาอยู่ในอาณัติของจีนอีกครั้งภายใต้ “ เขตปกครองพิเศษมาเก๊า ” (Macau, The Special Administrative Region : SAR) ภายใต้นโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ (One Country Two Systems) ของจีนที่นำมาใช้กับมาเก๊า เหมือนกับที่จีนใช้กับ ฮ่องกง กล่าวคือ มาเก๊าสามารถมีรัฐบาลและปกครองตนเองต่อไปได้เป็นระยะเวลา 50 ปี ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่

25 มาเก๊า (Macau) มาเก๊าตั้งอยู่ใกล้เขตมณฑลกวางตุ้ง บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ใกล้ๆ กับฮ่องกง ตั้งอยู่ทางฝั่งบริเวณทางด้านตะวันตกของปากแม่น้ำจูเจียงทางตอนใต้ของจีน ทางด้านทิศตะวันออกจะหันเข้าหาเกาะฮ่องกง ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 61 กิโลเมตร เขตบริหารพิเศษมาเก๊าครอบคลุมอาณาบริเวณที่เป็น เขตการปกครองพิเศษมาเก๊า มีเนื้อที่ทั้งหมด 29.2 ตารางกิโลเมตร - คาบสมุทรมาเก๊าประมาณ 8.5 ตร.กม. - เกาะตั้งจื่อ 6.2 ตร.กม. - เกาะลู่หวน 7.6 ตร.กม. - มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 25.8 ตร.กม. มาเก๊าจะมีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นจากการถมทะเลพื้นที่ละ 3.5 ตร.กม. บริเวณคาบสมุทรมาเก๊ามีลักษณะเป็นแนวยาว เชื่อมต่อกับเมืองจูไห่ของมณฑลกว่างตงประกอบด้วยคาบสมุทร มาเก๊า


ดาวน์โหลด ppt GEOGRAPHY OF ASIA TAWEESAK KUNYOCHAI อาจารย์สอง Satit UP

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google