1.3.1 การบริกรรมคือนึกพุทโธ
ทำไมต้องมีคำบริกรรม ถ้าไม่บริกรรมจะได้ไหม ใช้คำบริกรรมที่ไม่ใช่พุทโธได้ไหม
ความหมายของคำบริกรรม การบริกรรม คือ การกลั่นกรองอารมณ์ การบริกรรมเป็นเครื่องปัดเป่ากะเทาะ สลายตัวอารมณ์ที่หมักหมมนั่นให้จางตัวลง
คำบริกรรมเป็น นามธรรม จับต้องไม่ได้คำบริกรรมจะฟอกอารมณ์ให้สะอาดเกิดความเยือกเย็นตัวเบาปลอดโปร่งเป็นความสุขชนิดที่เหนือความสุขที่เคยได้มาก่อน
จุดประสงค์ของการบริกรรม คือ เพื่อให้ใจเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งของจิต คือ สมาธิเริ่มนึกคำบริกรรมจิตก็เป็นสมาธิ
ผู้ที่จะทำฌานจะหลีกเลี่ยงคำบริกรรมไม่ได้ การเริ่มต้นด้วยการบริกรรมที่ถูกจุดและตรงต่อวิถีที่จะนำไปสู่พลังอำนาจ คือ จุดศูนย์กลางของพลังจิต
การเน้นลงจุดเดียวนั้นเรียกว่า จุดพลัง ต้องเกิดจากความพอใจ คือ อิทธิบาท 4 ฉันทะ = ความพอใจ วิริยะ = ความเพียรพยายาม จิตตะ = การควบคุมจิต แน่วแน่มุ่งมั่น ไม่ฟุ้งซ้าน วิมังสา = ใช้ปัญญาพิจารณา
ฉันทะ คือ ความพอใจ ที่จะทำสมาธิ
วิริยะ คือ มีความเพียร บริกรรมทุกวัน
จิตตะ คือ ควบคุมจิตให้แน่วแน่ มุ่งมั่นกับสิ่งที่กำลังทำ
วิมังสา คือ วิเคราะห์ ไตร่ตรองว่าสิ่งที่กำลังทำถูกต้องหรือไม่
สรุป การทำสมาธิ บริกรรมพุทโธ ได้ผลมาแล้ว อย่างเหลือ คณานับ หมายความว่า คำบริกรรม “พุทโธ” ได้นำบุคคลเข้าสู่สมาธินับจำนวนหลายร้อยหลายพันล้านมาแล้วนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน การบริกรรม ย้ำลงที่จุดเดียว ซึ่งผลก็เป็นที่ปรากฏให้เห็นถึงความเป็นสมาธิมากมาย บังเกิดความลึกซึ้ง อย่าลืมความสำคัญของคำบริกรรม “พุทโธ”