การส่งเสริมการจ้างยุวแรงงานและพัฒนาทักษะผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษในรูปแบบกลไกประชารัฐ นโยบายเร่งด่วน (Agenda Based) : ส่งเสริมการจ้างยุวแรงงาน เป้าหมาย 10,230 คน และส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาทักษะฝีมือ ผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษ เป้าหมาย 12,640 คน โดยเน้นรูปแบบประชารัฐ ปัญหาสถานการณ์การขาดแคลนแรงงาน ปี 2561 แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะในระดับพื้นที่ ภาพรวมประเทศ 1. จำนวนผู้ว่างงาน 4 แสนคน และมีการขาดแคลนแรงงาน 2.5 แสนคน (ทั่วไป 2 แสนคน และภาคประมง 5 หมื่นคน) 2. ประเทศไทยไม่มีแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในรูปแบบประชารัฐ ปัญหาด้านการการจ้างยุวแรงงาน 1. จำนวนสถานประกอบการมีน้อยในบางจังหวัด 2. ปัญหาด้านข้อกฎหมาย นายจ้างไม่มั่นใจในการจ้างงาน 3. ขาดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องคุ้มครองให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น งานอันตราย อัตราค่าจ้าง การเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน นักศึกษาที่จะทำงาน 4. ขาดความร่วมมือกับสถานประกอบการในระดับพื้นที่ 5. ขาดการสร้างการรับรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนของสถานประกอบการและยุวแรงงาน ปัญหาด้านการจ้างงานผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษ 1. ผู้ต้องขังที่พ้นโทษต้องการทำงานอิสระมากกว่าที่จะทำงานในสถานประกอบการ 2. ผู้ต้องขังที่พ้นโทษมักทำงานในสถานประกอบการได้ไม่นาน 3. สถานประกอบการไม่นิยมรับผู้ต้องขังที่พ้นโทษเข้าทำงาน 4. ผู้ต้องขังที่พ้นโทษมีแนวโน้มเปลี่ยนงานบ่อย 1. โครงการประชารัฐรวมพลังสร้างยุวแรงงาน เพื่อส่งเสริมการมีงานทำให้แก่นักเรียน นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียนหรือช่วงว่างจากการเรียนซึ่งเป็นการทำงานในรูปแบบประชารัฐ 2. โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง เพื่อเป็นการพัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ต้องขังให้มีทุนทรัพย์เมื่อพ้นโทษ สร้างโอกาสในการทำงานภายหลังจากพ้นโทษออกมาสามารถเข้าร่วมงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการกิจการได้ 3. โครงการส่งเสริมการมีงานทำให้กับกลุ่มแรงงานเฉพาะ (นักเรียนนักศึกษา ผู้สูงอายุ คนพิการ ทหารปลดประจำการ ผู้พ้นโทษ และบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย) โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการมีงานทำให้กับกลุ่มแรงงานเฉพาะฯ เพื่อศึกษาและหามาตรการโดยแยกเป็นรายกลุ่ม โดยแยกเป็นรายกลุ่มได้แก่ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาจำนวน 1.7 แสนคน และกลุ่มผู้พ้นโทษจำนวน 30,000 คน โดยมีกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานหลัก 3.2 ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านคุ้มครองแรงงานและส่งเสริมสวัสดิการแรงงานกลุ่มงานเฉพาะ (กสร.) 3.3 ฝึกอบรมแรงงานให้แก่กลุ่มแรงงานเฉพาะ (กพร.) การส่งเสริมการจ้างยุวแรงงาน 1.จัดทำโครงการใหญ่ระดับกระทรวง และส่งให้พื้นที่ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ 2. ส่วนกลางควรทำ MOU ในระดับประเทศ ระดับจังหวัดจะได้ประสานความร่วมมือได้ง่ายขึ้น 3. ประชาสัมพันธ์การดำเนินการ และปฐมนิเทศ โดนดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ 4. อบรมนายจ้าง สถานประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจ้างงานนักเรียน นักศึกษา โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นผู้ประสานส่งตัวเข้าทำงาน มีตรวจเยี่ยมการทำงาน เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ 5. แก้ไขข้อกฎหมาย เช่น อัตราค่าจ้างรายชั่วโมง 6. มีมาตรการแรงจูงใจในการจ้าง เช่น สถานประกอบการสามารถลดหย่อนภาษีได้ 7. ส่วนกลางมีการทำสัญญาจ้างที่เป็นมาตรฐาน 8. ให้ภารกิจยุวแรงงานเป็นงานประจำของหน่วยงาน การพัฒนาทักษะผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษ 1. สอบถามสถานประกอบการถึงความต้องการที่จะรับผู้ต้องขังที่จะฝึกอาชีพ 2. ทัณฑสถานนำผู้ประกอบการเข้าไปฝึกอาชีพและพบผู้ต้องขังเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ 3. เลือกอาชีพที่เหมาะสมกับผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษ เช่น การรับงานไปทำที่บ้าน 4. ให้สถานประกอบการเข้าไปฝึกอาชีพผู้ต้องขังในเรือนจำ 5. เน้นการฝึกอาชีพอิสระ การบริหารจัดการด้านการตลาดที่จะให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพเองได้ 6. หาแหล่งเงินทุนให้กับผู้ต้องขังที่พ้นโทษในการกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยให้เป็นทุนสำหรับการประกอบอาชีพ (โดยบูรณาการให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการ) 7. สร้างความรับรู้ให้กับสังคมรอบข้างถึงความเข้าใจผู้พ้นโทษ (โดยบูรณาการกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) 8. ส่งเสริมให้ทำงานในภาคประมง โดยให้เรือนจำเป็นผู้กลั่นกรอง