ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ 1. สิบโทหญิงมัณฑนา น้ำประสารไทย รหัส59567809016 2. นางสาวสุนิดา ภาคภูมิ รหัส59567809017 3. นางสาวอินทิรา เพียรสุข รหัส59567809018 4. นางสาวรมิตา สกุลนี รหัส59567809021 5. นางสาวกมลวรรณ สุขทรรศนีย์ รหัส59567809024 6. นายธนา พัชนะพานิช รหัส59567809031
ประวัติความเป็นมา Michael Hammer เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1948 and James Champy ผู้มีแนวคิดกับการ Re-Engineering กล่าวคือวงการธุรกิจในอเมริกา กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ ที่พลิกฟื้นสถานการณ์โดยเร็วที่สุด ซึ่งมีพลังผลักดัน 3 ประการคือ (1) ลูกค้า (Customer) (2) การแข่งขัน (Competitions) (3) การเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนในหมู่นักบริหารปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการเปลี่ยนกรอบเค้าโครงของความคิด ( Paradigm )จากที่เคยเฉื่อยชา ต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ( Globalization )
ความหมายของการ Reengineering รีเอ็นจีเนียริ่ง คือ การรื้อปรับระบบ การรีเอ็นจีเนียริ่ง คือ รูปแบบการนำกระบวนการจัดการใหม่มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิม อย่างถอนรากถอนโคน
หลักการของรีเอนจีเนียริ่ง แฮมเมอร์และแชมฟี ได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้ 1. ต้องไม่ยึดติดอยู่กับหลักการเก่า ๆ และแนวคิดเดิม 2. ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นของใหม่ทั้งหมด 3. ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร 4. ต้องเน้นที่กระบวนการทำงานโดยใช้บุคลากรน้อยที่สุด 5. ต้องนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงาน 6. ต้องกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติให้ชัดเจน 7. ต้องจัดสายการบังคับบัญชาในองค์การให้สั้นลง โดยจัดองค์กรแบบแนวราบ (Flat organization) 8. ต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
กระบวนการของรีเอนจีเนียริ่ง แฮมเมอร์ได้บรรยาย ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 ได้กำหนดกระบวนการของรีเอนจีเนียริ่ง ไว้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นระดมพลัง 2. ขั้นวิเคราะห์ 3. ขั้นออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ 4. ขั้นนำไปใช้
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง 1.ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอะไรแบบไหนในอนาคต และพยายาม มองหาวิธีการที่จะสร้างผลกำไรจากธุรกิจนี้ 2.ต้องอาศัยการเริ่มและบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน ดังนั้นผู้บริหารที่มีอำนาจเพียงพอเท่านั้นจึงสามารถดูแลตรวจสอบ กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงรอยต่อระหว่างหน่วยงาน 3.สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน ผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศให้งานต่างๆมีความเร่งด่วน ผลักดันงานให้มีความต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง(ต่อ) 4.การออกแบบและกระบวนการจากภายนอก การที่องค์การจะหาความต้องการของลูกค้าได้นั้นจะต้องใช้วิธีการสำรวจวิจัยหลาย รูปแบบ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนักกับการศึกษาขั้นตอนต่างๆของงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ ทิ้งระบบเก่าโดยเร็ว ระบบอาจนำมาพิจารณาจุดที่สำคัญของงานได้บ้างในบางขั้นตอน 5.การดำเนินการกับที่ปรึกษาผู้บริหารควรจะเข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ คือ เริ่มตั้งแต่การออกแบบงาน การนำแผนไปปฏิบัติ และให้การอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การ เพื่อถ่ายทอดหลักการเหล่านั้นไปยังระดับล่าง 6.ทำการผนวกกิจกรรมของระดับบนลงสู่ระดับล่างการรีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่สามารถเริ่มต้นได้จากระดับล่าง เพราะอาจจะมีการ ขัดขวางจากกลุ่มคนหรือหน่วยงานภายในองค์การแต่การบริหารจากระดับบนสู่ระดับล่าง หรือจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนนั้น ไม่ได้มีความขัดแย้งกันโดยแท้จริงแล้ว การรีเอ็นจิเนียริ่งให้ดีนั้น ต้องอาศัยสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของการปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่องของระบบ TQM การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับบนลงสู่ระดับล่า ขณะเดียวกันวิธีการทำงาน เป็นเรื่องของการบริหารจากระดับล่างสู่ระดับบน
Reengineering
ทีมงานกระบวนการให้บริการของสาขา ผู้นำการรีเอนจิเนียริ่งในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยนั้นมีบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำการ รีเอนจีเนียริ่ง ได้แก่ คุณบัณฑูร ล่ำชำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในการรีเอนจีเนียริ่งได้เริ่มจัดตั้งทีมงาน 5 ทีม ทีมงานกระบวนการให้บริการของสาขา ทีมงานกระบวนการให้บริการที่ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีมงานกระบวนการอนุมัติเครดิต ทีมงานกระบวนการแก้ไขหนี้ 5. ทีมงานกระบวนการโอนเงินและชำระเงินทุกประเภท
สำหรับกระบวนการที่ได้ดำเนินการและเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว คือ กระบวนการให้บริการที่สาขา โดยได้กำหนดขั้นตอนและเนื้องานที่สำคัญ ดังนี้ การปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการปฏิบัติงาน การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารบุคลากรและอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ การออกแบบงานและรูปแบบงานใหม่ การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ 6. การพัฒนาระบบข้อมูลที่จำเป็นสำหรับสาขา
ความสำเร็จจากการใช้ระบบ Reengineering ธนาคารกสิกรไทย ได้เริ่มทำรีเอนจีเนียริ่งเป็นครั้งแรกที่สาขาสนามเป้า กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งปรากฏว่าประสบความสำเร็จด้วยดี ดังต่อไปนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ปรากฏผลดังนี้ 1. ลดแบบพิมพ์จาก 7 แบบ เหลือเพียง 1 แบบ 2. ลดใบคำขอถอนเงินจาก 4 แบบ เหลือ 1 แบบ 3. ลูกค้าได้รับบริการรวดเร็วขึ้น โดยเฉลี่ย 60 – 70%
เป้าหมาย ทำการตั้งทีมงานขึ้นมา 4 ชุด ดังนี้ 1. ด้านการตลาด ทำหน้าที่ศึกษาถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงงานบริการโดยธนาคารกำหนดกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไว้ 5 กระบวนการซึ่งแต่ละกระบวนการต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รัดกุมที่สุด ต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อให้ได้การบริการที่ดีที่สุด
2. ด้านการเงิน ทำหน้าที่วางแผน และพัฒนาด้านการเงิน และด้านงบประมาณ 3. ด้านบุคลากร เพื่อให้ระบบการบริหารรวดเร็วขึ้น 4. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการลงทุนเทคโนโลยีของธนาคาร
ปัจจัยสำคัญที่จะให้การ Re-engineering ของธนาคารกสิกรไทยประสบความสำเร็จ
ผลจากการทำ Re-engineering ครั้งนั้น ก่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ กระจายอำนาจในการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมงาน พนักงานทุกคนทุกระดับ ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีเป้าหมาย องค์กรขนาดใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทย ที่มีพนักงาน 16,000 คน จึงประสบความสำเร็จในการทำ Re-engineering อย่างดี ผลประกอบการ รายได้ และกำไร เพิ่มขึ้นอย่างมาก
นอกจากนี้ แบงก์ได้มอบหมายให้บริษัท โอกิลวี่แอนด์เมเธอร์ (ประเทศไทย) จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ชื่อชุด "เพื่อบริการที่เป็นเลิศ" ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท แนวคิดภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้สะท้อนปรัชญา REENGINEERING กล่าวคือหัวใจสำคัญที่สุดของธุรกิจบริการคือการให้บริการที่เป็นเลิศ พนักงานผู้ให้บริการจะต้องผ่านการฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานใหม่หรือผู้บริหารระดับสูง ต้องมีการหมุนเวียนเข้ารับการอบรมเพื่อรับทราบถึงยุทธศาสตร์การแข่งขันและบริการใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาและคิดค้นออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าในมาตรฐานสากลได้นั่นเอง ธนาคารกสิกรไทย ทำรีเอนจีเนียริ่งทั้ง 5 ทีมงาน สำเร็จภายใน 7 ปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท ผลจากการทำรีเอนจีเนียริ่ง นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว ยังจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณปีละ 1,000 ล้าน นับว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนทำรีเอนจีเนียริ่ง
The End.